WebQuest: ความงามของสวนสาธารณะในกรุงเทพ
WebQuest: Beauty of Bangkok Public Parks
ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

19 สิงหาคม 2548 - 16 กันยายน 2548


tourbkk
บทนำ
มีกลุ่มนิสิตเก่าริเริ่มโครงการที่สามารถสร้างความเข้าใจ เกิดความรัก และภูมิใจในศิลปะ วัฒนธรรมไทย ให้กับเยาวชน คนไทย โดยการแนะนำการเที่ยวสถานที่ โดยเน้นความงามและคุณค่าในเชิงศิลปะ โดยในชั้นแรกนี้ จะเน้นสถานที่ ภายในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัย ซึ่งจะสามารถเที่ยวชมด้วยการเดินเสร็จสิ้นได้ภายในเวลาอันสั้น ไม่เกินครึ่งวัน โดยจะมีการประกวดงานของกลุ่มต่างๆ ที่เสนอมา และหากได้รับการคัดเลือก จะนำขึ้นแสดงใน Website ของภาควิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มของท่านได้รับเชิญให้นำเสนอ Package นำเที่ยวในโครงการ ดังกล่าว

ลักษณะงาน
เพื่อให้ได้ Tour Package แนะนำสถานที่เที่ยวชมที่มีคุณภาพสูงสุด และเหมาะกับกรอบเวลาการจัดทำ ที่โครงการสืบสานศิลปะ วัฒนธรรมไทยกำหนดไว้ คือภายในวันที่ 23 กันยายน 2548 จึงระบุให้ สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ โดยให้มีสมาชิกกลุ่ม 5-6 คน ประกอบด้วยภารกิจ ตามบทบาท 3 วิชาชีพๆ ละ 2 คน คือ

1. นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ศิลป์ จะทำหน้าที่สำรวจสถานที่ ในแง่ของประวัติ ความเป็นมา และรายละเอียดต่างๆ โดยเน้นความงาม และคุณค่าในเชิงศิลปะ ที่คาดว่านักท่องเที่ยวจะให้ความสนใจ
 2. นักจัดกิจกรรม จะทำหน้าที่สำรวจ ประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยว ตลอดจนวางแผน จัดลำดับหัวข้อ ข้อมูลในการนำเสนอ โดยเน้นความสะดวก ความรวดเร็ว และ สาระประโยชน์ โดยเน้นการหารายละเอียดของเส้นทางเดิน ทั้งภายนอก และภายในสถานที่นั้นๆ และออกแบบกิจกรรมที่เน้นคุณค่าในเชิงความงาม
3. นักออกแบบ การนำเสนอแหล่งท่องเที่ยว (Electronic Thai Artistic Tour) จะทำหน้าที่สำรวจ รูปแบบการนำเสนอในเชิงการจัดวางหน้าจอ โดยเน้นรูปแบบที่ดูสวยงาม และ functions ซึ่งในการนำเสนอจริง อาจทำเป็น PowerPoint presentation หรือ Webpages ตามความถนัด


ขั้นตอน กระบวนการดำเนินงาน

ผลงานของกลุ่มท่านจะประกอบไปด้วย
1. Tour package presentation เป็น WebPages จำนวนไม่น้อยกว่า 5 หน้าจอหลัก
2. การรายงานผลการดำเนินงาน ประกอบไปด้วย
- รายงานผลการสำรวจตัวอย่าง Websites ตามลักษณะงานในแต่ละบทบาทวิชาชีพ ตามแบบรายงานที่ทางโครงการกำหนดขึ้น
- รายงานความก้าวหน้า
การดำเนินงานของกลุ่มรูปแบบการรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่ม
- รายงานสรุปการดำเนินงาน และผลงาน
รูปแบบการรายงาน
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- เอกสารรายงาน


ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. การประชุม เลือกหัวหน้ากลุ่ม และจัดสรรงาน  
19 สิงหาคม 2548
2. การสำรวจข้อมูลตามบทบาทงาน พร้อมข้อสรุป จากมติการประชุมกลุ่ม
25 สิงหาคม 2548
3. การจัดทำ Tour package presentation   

     -  รายงานความก้าวหน้า  ครั้งที่ 1
     -  รายงานความก้าวหน้า  ครั้งที่ 2
 2 กันยายน 2548
16 กันยายน 2548
     -  กำหนด ร่างผลงาน
 9 กันยายน 2548
4. ส่งผลงานที่สมบูรณ์
22 กันยายน 2548
5. การรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่ม และ นำเสนอผลงาน
23 กันยายน 2548
6. ส่งภาคนิพนธ์ สรุปผลการดำเนินงาน
30 กันยายน 2548


การประเมินผล

การประเมินผลประกอบไปด้วย

1. การรายงานผลการสำรวจข้อมูลตามบทบาทงาน การรายงานความก้าวหน้า  และ การส่งร่างผลงาน
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~tampai1/ampai/webquest/survey1.htm
30 %
2. การจัดทำTour package presentation      
     -  จากแบบประเมินการจัดทำ   และ
การส่งผลงาน
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~tampai1/ampai/webquest/eval_prd.htm
40 %
3. การรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่ม

     -  จากการนำเสนอ    
20%
     -  จากแบบประเมินความร่วมมือ  
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~tampai1/ampai/webquest/eval_col.htm
10%



   
บทสรุป
จากการที่ได้ร่วมกิจกรรมนี้ นิสิตจะพบว่าประเทศไทยมีมรดกทางศิลปะที่มีมูลค่าหาที่เปรียบไม่ได้ แต่การที่จะทำให้ คนทั่วไปได้สัมผัส เห็นคุณค่า และเกิดความภูมิใจนั้น ต้องมีการศึกษา ระดมความคิด ความร่วมมือของบุคคลในบทบาทต่างๆ ดำเนินงานตามลักษณะงานที่เกี่ยวข้อง และการนำเสนอที่ดี เพื่อให้ผู้สนใจเตรียมความพร้อม ความเข้าใจ และ ได้ประโยชน์สูงสุด เมื่อไปชมสถานที่จริง นอกจากนั้นนิสิตจะพบว่า ในยุคสารสนเทศนี้มีข้อมูลแทบทุกเรื่อง ที่เราสนใจศึกษา อย่างไรก็ตาม หัวใจของการใช้ข้อมูล คือผู้ค้นคว้าเอง ซึ่งจะต้องสืบค้นข้อมูลเรื่องเดียวกัน จากหลายแหล่ง หลายประเภท และใช้ความสามารถ ในการคัดสรรข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และสอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนดขึ้น

แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารโครงการนี้ เป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มอาจค้นคว้าเพิ่มเติมตามความสนใจ หรือ ที่เกี่ยวข้อง

แหล่งข้อมูล ตัวอย่าง Websites
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
Office of tourism Development
http://tourism.applymail.com/

Thailand for Visitors
http://thailandforvisitors.com/central/bangkok/bkk-parks.html

Landscape Architecture Guide
Public Open Space (POS): landscape planning and environmental impact design (EID)
http://www.gardenvisit.com/landscape/LIH/landscape_planning/parks.htm
TourThai.com
http://www.tourthai.com/province/bangkok/index_t.shtml

NEW PARKS EVALUATION CRITERIA
http://ils.unc.edu/parkproject/swplan/SysAppendixE.pdf

North Carolina State Parks
http://www.ils.unc.edu/parkproject/ncparks.html
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
http://www.tat.or.th/tourthai/

ไทยเที่ยวไทย
http://www.sabuy.com/ttt/

ข้อมูลวัฒนธรรม 76 จังหวัด
http://www.nectec.or.th/oncc/

General Information about Thailand
http://www.zee-asia.com/thailanddestination/introduction/information/thaiinfo.htm

ศิลปะไทย
http://webindex.sanook.com/arts_and_culture/visual_art/

Thai arts and culture
http://www.zee-asia.com/thailanddestination/introduction/arts&culture/thaiarts.htm

A Walking Tour In Chinatown:An Old Place With A New Look
http://www.thaiwaysmagazine.com/thai_article/1917_bangkok_chinatown/bangkok_chinatown.html

Walking Streets Ratanakosin Walking Tour
http://thailandforvisitors.com/central/bangkok/ratanakosin/

Top Sightseeing Tours in Bangkok 
http://www.siamtraveler.com/index.cfm?menuid=20

Map of Bangkok
http://longlate.tripod.com/gen/m44_g9.html

Exploring Oregon
http://www.thedalles.k12.or.us/dry_hollow/dh_faculty/lhughitt/webquests/exploring_oregon.htm


แหล่งข้อมูลบุคคล: การติดต่อขอความรู้ ควรเป็นในรูปของการขอความคิดเห็น โดยนิสิตจะศึกษาเองก่อน จึงขอความคิดเห็น
 
ด้านข้อมูลส่วนของเนื้อหา ประวัติศาสตร์ศิลป์ และการจัดรายการนำชม
ผศ. สัญญา วงศ์อร่าม Sanya.W@Chula.ac.th
อาจาย์ วัชรินทร์ ฐิติอดิศัย Watcharin.T@Chula.ac.th
อาจาย์ อริยาพร คุโรดะ ariyap_r@kku.ac.th
้านการออกแบบ และจัดการด้านสื่ออีเลคโทรนิก
ร.ศ. ดร. ปุณณรัตน์ พิชญะไพบูล Poonarat.P@Chula.ac.th
อาจารย์ พรเทพ เลิศเทวะศิริ lertporn@chula.com
อาจารย์ ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์ ropuchong@yahoo.com
คุณอัครพันธ์ พยัคคาพร akkraphan@hotmail.com
ด้านประสานงานการจัดโครงการ
อาจารย์ ดร. อำไพ ตีรณสาร ampai.ti@chula.ac.th,


noodle
walking1
walking2