WebQuest: โครงการสืบสานศิลปะไทย ไทยเทื่ยวไทย
ภาควิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทนำ

      ภาควิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะริเริ่มโครงการสืบสานศิลปะไทย ที่สามารถสร้างความเข้าใจ เกิดความรัก และภูมิใจในศิลปะ วัฒนธรรมไทย ให้กับเยาวชน คนไทย  โดยในชั้นแรกนี้ จะเน้นการแนะนำการเที่ยวสถานที่ หรือกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมไทย ภายในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง  ซึ่งจะสามารถเที่ยวชมเสร็จสิ้นได้ภายในวันเดียว  โดยจะมีการประกวดงานของกลุ่มต่างๆ  ที่เสนอมา และหากได้รับการคัดเลือก จะนำขึ้นแสดงใน Website ของภาควิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กลุ่มของท่านได้รับเชิญให้นำเสนอ Package นำเที่ยวในโครงการ ดังกล่าว
 


ลักษณะงาน

เพื่อให้ได้ Tour Package แนะนำสถานที่เที่ยวชมที่มีคุณภาพสูงสุด และเหมาะกับกรอบเวลาการจัดทำที่โครงการสืบสานศิลปะ วัฒนธรรมไทยกำหนดไว้ คือภายในวันที่ 23 มกราคม 2546 จึงระบุให้สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ โดยให้มีสมาชิกกลุ่ม 6 คน ประกอบด้วยภารกิจตามความเชี่ยวชาญ 3 วิชาชีพๆ ละ 2 คน คือ 
1. นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ศิลป์ 
จะทำหน้าที่สำรวจแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ  ที่มีศิลปะวัตถุ หรือ โบราณสถาน ที่มีความโดดเด่น และคาดว่านักท่องเที่ยวจะให้ความสนใจ
 2. มัคคุเทศก์ 
จะทำหน้าที่สำรวจ ประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยว ตลอดจนวางแผน จัดลำดับหัวข้อ ข้อมูลในการนำเสนอ โดยเน้นความสะดวก ความรวดเร็ว และ สาระประโยชน์
 3. นักออกแบบ 
การนำเสนอแหล่งท่องเที่ยว (Electronic Thai Artistic Tour) จะทำหน้าที่สำรวจ รูปแบบการนำเสนอในเชิงการจัดวางหน้าจอ  โดยเน้นรูปแบบที่ดูสวยงาม และ functions ซึ่งในการนำเสนอจริง อาจทำเป็น Powerpoint presentation หรือ Webpages ตามความถนัด


ขั้นตอน กระบวนการดำเนินงาน

ผลงานของกลุ่มท่านจะประกอบไปด้วย 
1. Tour package presentation อาจทำเป็น Powerpoint presentation หรือ Webpages จำนวนไม่น้อยกว่า 5 หน้าจอ
 2. การรายงานผลการดำเนินงาน ประกอบไปด้วย 
 - รายงานผลการสำรวจตามลักษณะงานในแต่ละบทบาทวิชาชีพ ตามแบบรายงานที่ทางโครงการกำหนดขึ้น
- การรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่ม อาจทำเป็น Powerpoint presentation หรืออื่นๆ ตามความถนัด
 ขั้นตอนการดำเนินงาน 
1. การประชุม เลือกหัวหน้ากลุ่ม และจัดสรรงาน  11 ธันวาคม2545
2. การสำรวจข้อมูลตามบทบาทงาน 
    พร้อมข้อสรุป จากมติการประชุมกลุ่ม
18 ธันวาคม 2545
3. การจัดทำ Tour package presentation  ส่งภายใน 23 มกราคม 2546
4. การรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่ม  13 กุมภาพันธ์ 2546

 
แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารโครงการนี้ เป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มอาจค้นคว้าเพิ่มเติมตามความสนใจ หรือ ที่เกี่ยวข้อง

แหล่งข้อมูลเอกสาร 

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
http://www.tat.or.th/tourthai/
ไทยเที่ยวไทย
http://www.sabuy.com/ttt/
ข้อมูลวัฒนธรรม 76 จังหวัด
http://www.nectec.or.th/oncc/
General Information about Thailand
http://www.zee-asia.com/thailanddestination/introduction/information/thaiinfo.htm
ศิลปะไทย
http://webindex.sanook.com/arts_and_culture/visual_art/
Thai arts and culture
http://www.zee-asia.com/thailanddestination/introduction/arts&culture/thaiarts.htm
Silpathai index in Bangkok Post
http://www.bangkokpost.net/silpathaifiles/

แหล่งข้อมูลบุคคล:  การติดต่อขอความรู้ ควรเป็นในรูปของการขอความคิดเห็น โดยนิสิตจะศึกษาเองก่อน จึงขอความคิดเห็น
ด้านข้อมูลส่วนของเนื้อหา ประวัติศาสตร์ศิลป์ และการจัดรายการนำชม (มัคคุเทศก์)
ผศ. สัญญา วงศ์อร่าม  Sanya.W@Chula.ac.th
อาจาย์ วัชรินทร์ ฐิติอดิศัย  Watcharin.T@Chula.ac.th
อาจาย์ อริยาพร คุโรดะ  ariyap_r@kku.ac.th
ด้านการออกแบบ และจัดการด้านสื่ออีเลคโทรนิก
ร.ศ. ดร. ปุณณรัตน์ พิชญะไพบูล  Poonarat.P@Chula.ac.th
อาจารย์ พรเทพ เลิศเทวะศิริ  lertporn@chula.com
อาจารย์ ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์  ropuchong@yahoo.com
คุณอัครพันธ์ พยัคคาพร  akkraphan@hotmail.com
ด้านประสานงานการจัดโครงการ
อาจารย์ ดร. อำไพ ตีรณสาร  ampai.ti@chula.ac.th,

 


การประเมินผล

การประเมินผลประกอบไปด้วย 
1. การรายงานผลการสำรวจข้อมูลตามบทบาทงาน  30 %
2. การจัดทำTour package presentation จากแบบประเมินการจัดทำ  40 %
3. การรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่ม   
- จากการนำเสนอ  20%
- จากแบบประเมินความร่วมมือ  10%

 
บทสรุป
      จากการที่ได้ร่วมกิจกรรมนี้ นิสิตจะพบว่าประเทศไทยมีมรดกทางศิลปะที่มีมูลค่าหาที่เปรียบไม่ได้ แต่การที่จะทำให้คนทั่วไปได้สัมผัส เห็นคุณค่า และเกิดความภูมิใจนั้น ต้องมีการศึกษา ระดมความคิด ความร่วมมือของบุคคลในบทบาทต่างๆ ดำเนินงานตามลักษณะงานที่เกี่ยวข้อง และการนำเสนอที่ดี  เพื่อให้ผู้สนใจเตรียมความพร้อม ความเข้าใจ และได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อไปชมสถานที่จริง
      นอกจากนั้นนิสิตจะพบว่าในยุคสารสนเทศนี้มีข้อมูลแทบทุกเรื่องที่เราสนใจศึกษา อย่างไรก็ตามหัวใจของการใช้ข้อมูล คือผู้ค้นคว้าเอง ซึ่งจะต้องสืบค้นข้อมูลเรื่องเดียวกันจากหลายแหล่ง หลายประเภท และใช้ความสามารถในการคัดสรรข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และสอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนดขึ้น
 



 


http://www.spa3.k12.sc.us/WebQuestTemplate/webquesttemp.htm