Department of English

Faculty of Arts, Chulalongkorn University


2202124  Introduction to Translation

 

Informative Text (Thai-English) Discussion

The translations given on this page are neither comprehensive nor definitive.  They are here to give you an idea of the range of possibilities and to spark discussion.  Suggestions and comments are welcome.

 

Translate the following into English.


ความเป็นมาของ มูลนิธิโครงการหลวง


ปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนชาวเขาที่ดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ทรงพบว่าชาวเขาปลูกฝิ่นแต่ก็ยังมีฐานะยากจน จึงทรงรับสั่งถามว่ามีรายได้จากพืชชนิดอื่นนอกจากฝิ่นที่ปลูกขายขายหรือไม่ ชาวเขากราบบังคมทูลว่าพวกเขาปลูกท้อพื้นเมือง แม้ว่าลูกจะเล็กแต่ก็ยังได้กำไรพอๆ กับฝิ่น ขณะนั้นสถานีทดลองดอยปุยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำลังมีการทดลองเกี่ยวกับไม้ผลเขต หนาวและประสบผลสำเร็จในการนำกิ่งพันธุ์ท้อลูกใหญ่มาต่อกับท้อพื้น เมือง  พระองค์จึงทรงให้ค้นคว้าหาพันธุ์ท้อที่เหมาะสมสำหรับบ้านเราเพื่อให้ได้ท้อผลใหญ่ หวานฉ่ำ  ที่ทำกำไรได้ไม่แพ้ฝิ่น และพระราชทานเงินจำนวน 200,000 บาท ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อจัดหาที่ดินเพิ่มเติมสำหรับดำเนินงานวิจัยทดลองไม้ผลเขตหนาว  ซึ่งต่อมาพื้นที่แห่งนี้กลายเป็นโครงการหลวงนั่นเอง

เริ่มแรกโครงการหลวงเป็นโครงการซึ่งใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมกับเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวาย  ดำเนินงานโดยอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการปฏิบัติงานถวาย    ทำให้งานมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยการปลูกพืชเขตหนาว ชนิดต่าง ๆ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปปลูกทดแทนฝิ่นได้ดี

 

 

Translation 1: Sample for Critique


In 1969 when King Bhumibol Adulyadej visited hilltribe villagers on Doi Pui near his Bhuping residence, he saw that they grew opium yet were still poor and asked them of any other plant income. The villagers replied that they grew local peaches, which though small, gave them as good a return as opium. At the time, Kasetsart University's Doi Pui Research Station was experimenting with temperate fruits and had succeeded in grafting large peach varieties onto the local tree. The King therefore suggested researching peaches suitable for our climates that would be large, sweet, juicy, and as profitable as opium, giving 200,000 to Kasetsart to purchase more land on which to study temperate fruits. This later became the Royal Project.

Initially the Project was supported by his personal funds together with public donations to him and operated by university and organization volunteers, most of whom were academics. This produced rapid progress especially in temperate fruit trees research which farmers have substituted for opium with good results.

 

 

Translation 2: Sample for Critique


In 1968 King Bhumibhol Adulyadej visited the hill tribes on Doi Pui, near Bhubing Palace. He found that the highlanders grew opium poppies but were still poor. He asked them about other kinds of crops they grew to earn their living in addition to commercial opium.  They told His Majesty that they grew local peaches. Even though the fruits were small, the profits were close to poppies. At that time, Kasetsart University’s Doi Pui Research Station was conducting experiments on winter fruits. They succeeded in grafting large peach branches with local peach trees. His Majesty, therefore, commissioned them to conduct the research for the peach species that is compatible with Thai plums so that they could bear large sweet and succulent fruits that were as profitable as opium. His Majesty provided the funding of 200,000 baht for Kasetsart University to acquire additional land for cold season fruit experiment. The land later became the Royal Project Foundation.

At the beginning, the Royal Project Foundation was supported by His Majesty’s personal funding and donations from the public.  The project was run by volunteers from universities and related government agencies who were mostly scholars intending to work for His Majesty. As a result, the progress was quick, especially when it came to the research on the various types of cold weather fruits which farmers could grow instead of opium.

 

 

Reference


 


 

Discussion

 


 

Vocabulary


 

Links



 

Source

"ความ เป็นมา," Royal Project Foundation

1.เริ่มต้น

          เมื่อปีพุทธศักราช 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรชีวิตของชาวเขาที่ บ้านดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จึงทรงทราบว่าชาวเขาปลูกฝิ่นแต่ยากจน รับสั่งถามว่านอกจากฝิ่นขายแล้ว เขามีรายได้จากพืชชนิดอื่นอีกหรือเปล่า ทำให้ทรงทราบว่า นอกจากฝิ่นแล้ว เขายังเก็บท้อพื้นเมืองขาย แม้ว่าลูกจะเล็กก็ตาม แต่ก็ยังได้เงินเท่าๆกัน โดยที่ทรงทราบว่า สถานีทดลองดอยปุย ซึ่งเป็นสถานีทดลองไม้ผลเขตหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำกิ่งพันธุ์ท้อลูกใหญ่มาต่อกับต้นตอท้อพื้นเมืองได้  ให้ค้นคว้าหาพันธุ์ท้อที่เหมาะสมสำหรับบ้านเรา เพื่อให้ได้ท้อผลใหญ่ หวานฉ่ำ ที่ทำรายได้สูงไม่แพ้ฝิ่น โดยพระราชทานเงินจำนวน 200,000 บาท ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับจัดหาที่ดินสำหรับดำเนินงานวิจัยไม้ผลเขตหนาวเพิ่มเติมจากสถานี วิจัยดอยปุยซึ่งมีพื้นที่คับแคบ ซึ่งเรียกพื้นที่นี้ว่า สวนสองแสน ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้น
          เมื่อ พ.ศ. 2512 เริ่มต้นโครงการหลวงเป็นโครงการส่วนพระองค์ โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มีชื่อเรียกในระยะแรกว่า “โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมกับเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวาย สำหรับเป็นงบประมาณดำเนินงานต่างๆ และพระราชทานมีเป้าหมายสำหรับการดำเนินงาน ดังนี้

          1.    ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม
          2.    ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้และต้นน้ำลำธาร
          3.    กำจัดการปลูกฝิ่น
          4.   รักษาดิน และใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง คือ ให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า และทำไร่ ทำสวน ในส่วนที่ควรเพาะปลูก
                อย่าสองส่วนนี้รุกล้ำซึ่งกันและกัน

          การดำเนินงานต่างๆ ของโครงการหลวง มีอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการด้านต่างๆ ปฏิบัติงานถวาย ทำให้การปฏิบัติงานก้าวหน้าอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยการปลูก พืชเขตหนาวชนิดต่างๆ เกษตรกรสามารถนำไปปลูกทดแทนฝิ่นได้ผลดี

          พ.ศ. 2537 โครงการควบคุมยาเสพติดของสหประชาชาติ (UNDCP) ได้ทูลเกล้าฯถวายเหรียญทองเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณในการแก้ปัญหายาเสพติด โดยส่งเสริมให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น แต่ปลูกพืชอื่นแทน จึงกล่าวได้ว่าโครงการหลวงเป็นโครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่นแห่งแรกของโลก

          เมื่อ วันที่ 10 มกราคม 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำรัสในโอกาสเสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมคณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขา ความว่า

"เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขา เพื่อจะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถที่จะเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้กับเขาเอง   ที่มีโครงการนี้ จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือ มนุษยธรรม หมายถึงให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร สามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัว มีความเจริญก้าวหน้าได้  อีกอย่างหนึ่งก็เป็นเรื่องช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควรจะช่วยเพราะเป็นปัญหาใหญ่คือ ปัญหาเรื่องยาเสพติด  ถ้าสามารถช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้างเขาจะเลิกปลูกยาเสพติดคือ ฝิ่น  ทำให้นโยบายการระงับการปราบปรามการสูบฝิ่นและค้าฝิ่นได้ผลดี  อันนี้ก็เป็นผลอย่างหนึ่ง  ผลอีกอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญมากก็คือ ชาวเขาตามที่รู้เป็นผู้ที่ทำการเพาะปลูก โดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง  ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยชาวเขา ก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความดี ความอยู่ดีกินดี และปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ  เพราะถ้าสามารถทำโครงการนี้ได้สำเร็จ ให้เขาอยู่เป็นหลักแหล่ง สามารถที่จะมีความอยู่ดีกินดีพอสมควร และสนับสนุนนโยบายจะรักษาป่า รักษาดินให้เป็นประโยชน์ต่อไป  ประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนมาก"
 





 

 


Home  |  Introduction to Translation  |


Last updated April 8, 2018