งานวิจัย

 

สาขา                                     Neuroscience

สาขาเฉพาะ                  Peripheral nervous system

หัวข้อวิจัยที่สนใจ         1.   Peripheral nerve injury and regeneration

2.      Diabetic neuropathy

3.   Toxic neuropathy e.g. drug-induced neuropathy

 

ทีมวิจัย                                ปัจจุบันได้ตั้งเป็น หน่วยวิจัยเส้นประสาท (Peripheral nerve research unit)         

                                    ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                                    ประกอบไปด้วยบุคลากรดังต่อไปนี้

 

                                   รศ.พญ.วิไล ชินธเนศ                หัวหน้าหน่วยวิจัย

                                    รศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์           ภาควิชาออร์โธปิดิกส์

                                               ผศ.นพ.สิทธิพร แอกทอง             ภาควิชากายวิภาคศาสตร์                            

                                    อ.นพ.ธนศิลป์ หวลมานพ         ภาควิชากายวิภาคศาสตร์

                                    นางอทิตยา แก้วเสมา               เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ

 

Peripheral nerve injury and regeneration

 

ถาม      ทำไมต้องศึกษาเรื่องนี้

ตอบ     เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system หรือ PNS) มีความสามารถในการงอกใหม่ของเส้นประสาทที่บาดเจ็บ (axonal regeneration / nerve regeneration) ได้ดีกว่าในระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system หรือ CNS) มาก แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการงอกใหม่ของเส้นประสาทที่ถูกทำลายใน PNS นั้นก็ยังคงช้ามาก คือ ประมาณ 1 มิลลิเมตรต่อวัน ทำให้ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานจากการพิการหรืออัมพาตของแขนขาเป็นเวลานานนับเดือนหรือปี จึงมีความพยายามในการศึกษาถึงกลไกการงอกใหม่นี้และหาทางเร่งกระบวนการนี้

 

 

Diabetic neuropathy

 

ถาม      หัวข้อนี้สำคัญอย่างไร

ตอบ     ความผิดปกติในระบบประสาทส่วนปลายเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน โดยอาการเด่นที่พบมาก คือ symmetrical sensory polyneuropathy ซึ่งจะร่วมกับระบบควบคุมการไหลเวียนเลือดที่ขาและเท้าที่ผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยเกิดแผลได้ง่ายและบ่อย อีกทั้งสามารถลุกลามได้มากโดยเฉพาะเมื่อมีการติดเชื้อแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมากต้องถูกตัดนิ้วเท้า เท้าหรือขาในแต่ละปี วิธีการเดียวในปัจจุบันที่พิสูจน์ได้ว่าป้องกันการเกิดเส้นประสาทเสื่อมในโรคเบาหวาน (diabetic neuropathy) คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติมากที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ไม่ง่ายนักในทางปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาโดยละเอียดถึงกลไกการเกิดภาวะนี้ เพื่อให้สามารถหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพมารักษาภาวะนี้ต่อไป

 

เทคนิคที่ใช้ในงานวิจัย             1.   Western blot analysis

2.       Immunohistochemistry

3.   Computer-assisted nerve morphometry

4.   Electron microscopic analysis

 

สถานที่วิจัย                        1.  ห้องปฏิบัติการชั้น 4 ตึกกายวิภาคศาสตร์

2.     ห้องปฏิบัติการ peripheral nerve ชั้น 11 ตึกอปร.

ด้วยความสนับสนุนจากศูนย์สัตว์ทดลอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ

หน่วยกล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอน ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

 

โครงการวิจัยที่กำลังทำ

        1.     Molecular mechanisms underlying paclitaxel(taxol)-induced neuropathy

          หัวข้อวิจัยปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์

           ได้รับการสนับสนุนบางส่วนโดยทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช คณะแพทยศาสตร์ 2547

          

      2.    p38 MAPK & structural changes in diabetic neuropathy

           ทุนวิจัยจากสวทช.์ 2547-2549

 

       3.    Role of MAPK in peripheral nerve regeneration

           ทุนวิจัยจากสกว.์ 2548-2550

     

    4.    Role of ERK in diabetic neuropathy

          

      5.    Repair of nerve injury

    ขณะนี้ต้องการรับนิสิตปริญญาโท ติดต่ออ.สิทธิพรได้เลยครับ

 

ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ที่สำคัญ

Chula Med J. Dec;44(12):927-938.        Abstract

 

J Med Assoc Thai. Oct;83(10):1196-1201.        Abstract

 

FASEB J. Nov;15(13):2508-2514.        PDF full text

 

Ann N Y Acad Sci. Nov;973:359-362.        Abstract

 

Diabetes. Jul;53(7):1851-1856.        PDF full text

 

 

 

setstats 1