การควบคุมอาหารในผู้ป่วยโรคอ้วน |
||||
การควบคุมอาหารในผู้ป่วยโรคอ้วนมีวิธีดังนี้ | ||||
1. การลดพลังงานจากอาหาร | ||||
ตัวอย่างการคำนวณ |
||||
ชายน้ำหนัก 85 กก.สูง
160 ซม |
||||
BMI =85/1.6*1.6= 33.20=อ้วน |
||||
พลังงานที่คำนวณได้=85*25=2125
kcal |
||||
พลังงานที่ลดแล้ว=2125-500=1625
kcal |
||||
แต่ละมื้อไม่ควรเกิน
500 kcal |
||||
คนปกติคนเราต้องการพลังงานประมาณ 25-35 กิโลแคลอรี/น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ดังนั้นเราสามารถคำนวณพลังงานที่เราควรได้รับในแต่ละวัน โดยเอาน้ำหนักคูณด้วย 25 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นพลังงานทั้งหมด ถ้าเราต้องการลดน้ำหนักให้เอา 500 กิโลแคลอรีลบจากที่คำนวณได้ จะได้พลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน นำพลังงานที่ได้หารด้วย3 จะได้พลังงานที่ควรได้รับในแต่ละมื้อ โดยทั่วไปถ้าหากต้องการลดน้ำหนักผู้หญิง ควรได้พลังงานวันละ 1000-1200 กิโลแคลอรี สำหรับผู้ชายควรได้ 1200-1600 กิโลแคลอรีซึ่งจะทำให้น้ำหนักลดลง ครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ |
||||
สารอาหาร |
คำแนะนำ |
พลังงาน | ให้ลดจากพลังงานที่ต้องการวันละ500-1000 กิโลแคลอรี |
ปริมาณไขมัน | ไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงาน |
ไขมันอิ่มตัว | อยู่ระหว่างร้อยละ8-10 ของพลังงาน |
monounsaturated fat | ให้ร้อยละ 15 ของพลังงาน |
ไขมันไม่อิ่มตัว | ให้ร้อยละ 10ของพลังงาน |
ปริมาณ cholesterol | น้อยกว่า 300 มิลิกรัม/วัน |
โปรตีน | ให้ร้อยละ 15 ของพลังงาน |
คาร์โบไฮเดรต | ให้ร้อยละ 55 ของพลังงาน |
เกลือ | ให้น้อยกว่า 6 กรัมของเกลือแกง |
แคลเซียม | 1000-1500 มิลิกรัม/วัน |
ใยอาหาร | 20-30 กรัม/วัน |
|
2. การเปลี่ยนแปลงอาหารสำหรับคนอ้วน |
คนอ้วนจะมีกระเพาะที่ใหญ่กว่าคนปกติ เนื่องจากกระเพาะถูกยืดจากอาหาร ดังนั้นจึงมีอาการหิวบ่อย ทำให้การควบคุมอาหาร ประสบผลสำเร็จน้อย แต่อย่าเพิ่งย่อท้อให้พยายามควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย |
|
3. การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร |
พยายามรับประทานอาหารเฉพาะในมื้ออาหารโดยเฉพาะที่โต๊ะอาหาร และลุกขึ้นจากโต๊ะทันทีที่อิ่ม
|
สรุปสิ่งที่ผู้ป่วยต้องเรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร |
|
Back |