หาบเร่.....สายป่านชีวิตไทย

กำเนิดของหาบเร่ไม่ปรากฎเป็นหลักฐานที่แน่ชัด หากได้ผูกพันกับวิถีชีวิตของไทยมาแต่โบราณ เป็นสายป่านเพื่อการดำเนินชีวิตที่สืบสานต่อกันเรื่อยมา และคงเอกลักษณ์ไทย ที่บ่งบอกถึงความอ่อนช้อย ที่แม้ไม้คานก็อ่อนเยิบพอเหมาะ ภาพของ "หาบเร่" กำลังจะเปลี่ยนไปตามความเจริญของบ้านเมือง หลายแบบได้สูญหายไปแล้วเหลือไว้เพียงความทรงจำ และอีกหลายแบบกำลังจะสูญหายไป เรื่องราวชุดหาบเร่นี้ จึงมุ่งหวังเพียงเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกภาพ.....บอกเรื่องราวของชีวิตไทยให้ปรากฎ



nooddle
ก๋วยเตี๋ยว
"หาบก๋วยเตี๋ยว" เป็นหาบเก่าทำด้วยไม้ ความสูงของหาบอยู่ในระดับเอว ไม้คานทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักของหาบ มีไม้ไผ่ชิ้นเล็ก ๆ สำหรับเคาะเป็นสัญญาณให้ทราบว่า ก๋วยเตี๋ยวหาบมาแล้ว ปัจจุบันยังคงพบเห็นได้ที่จังหวัดอุทัยธานี


sate
เนื้อสะเต๊ะ
"หาบเนื้อสะเต๊ะ" เป็นหาบเก่าทำด้วยไม้สัก ความสูงของหาบไม่เกินระดับหัวเข่า หาบด้านหนึ่งจะเป็นที่ตั้งของเตาปิ้ง ส่วนอีกด้านจะเป็นที่ตั้งของหม้อน้ำจิ้ม ซึ่งนิยมใช้ "หม้อเคลือบ" หรือ "หม้ออวย" แต่ตั้งเดิม "หาบเนื้อสะเต๊ะ" จะมีม้านั่ง 2 ขาเตี้ย ๆ หลายตัวติดหาบไปด้วย เพื่อให้ลูกค้านั่งล้อมหาบ


tuhun
ตือฮวน
"หาบตือฮวน" เป็นหาบเร่ของชาวจีน จะมีลักษณะเฉพาะตัว กล่าวคือหาบด้านหนึ่งจะเป็นหาบทำด้วยไม้ บรรจุกะละมังใส่น้ำซุปและเครื่องในหมูตั้งอยู่บนเตาถ่าน ส่วนหาบอีกด้านจะเป็นถังไม้สำหรับใส่ผักกาดดองต้มเปื่อย ปัจจุบันเนื่องจากตัวหาบมีน้ำหนักมาก จึงได้มีการดัดแปลงใช้เป็นรถเข็น


kla por pla
กระเพาะปลา
เป็นลักษณะหาบเร่ของชาวจีน ตัวหาบดั้งเดิมเป็นภาชนะทำด้วยทองเหลืองที่จะต้องล้างขัดทุกวัน ปัจจุบันที่พบเห็นได้มีเพียงหาบสแตนเลส ซึ่งทำความสะอาดได้ง่าย ตัวหาบด้านหนึ่งมีลักษณะคล้าย "หม้อ" ซึ่งบรรจุกระเพาะปลาตุ๋นน้ำแดง มีเตาถ่านขนาดเล็กอยู่ด้านล่างเพื่ออุ่นให้ร้อนอยู่เสมอ อีกด้านหนึ่งจะแบ่งเป็นชั้น ๆ คล้ายปิ่นโต ชั้นล่างสุดจะบรรจุกระเพาะปลาตุ๋นสำรองเพิ่มเติม ชั้นกลางจะเป็นที่บรรจุชามและช้อน ส่วนชั้นบนสุดจะเป็นที่วางเครื่องปรุงต่าง ๆ


Pla Kem
ปลาเค็ม
"หาบปลาเค็ม" พบเห็นได้ในแถบจังหวัดชายทะเล โดยมีปลาอินทรีเค็มเป็นสินค้าหลัก และมีปลาหมึกแห้ง กุ้งแห้ง ปลาหวาน หอยแมลงภู่แห้ง ปลากะตัก เป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ยังได้มีการดัดแปลงหาบปลาเค็มเป็น หาบอาหารทะเลต้มหรือเผาอีกด้วย


rice & curry
ข้าวแกง
"หาบข้าวแกง" ในอดีตสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามสถานีรถไฟ สถานีรถยนต์โดยสารระหว่างจังหวัด หรือตลาดสด ตัวหาบสานด้วยตอกไม้ไผ่หรือหวาย ค่อนข้างแข็งแรง หาบทั้งสองข้างจะบรรจุหม้ออะลูมิเนียมหลายใบ ซึ่งประกอบด้วยหม้อข้าวสวย และหม้อกับข้าว จำนวนมากน้อยแล้วแต่ขนาดของหาบ ปัจจุบันยังคงพบเห็นได้ตามตรอกซอกซอย


vetgetable
กับข้าวสด
ในพื้นที่หรือชุมชนใด ที่อยู่ค่อนข้างห่างไกลจากตลาดจ่ายกับข้าว ก็จะมีกับข้าวสดบรรจุลงในหาบสานด้วยตอกไม้ไผ่ หรือหวาย ขนาดค่อนข้างใหญ่ หาบมาบริการจนถึงบ้าน ปัจจุบันยังคงมีให้พบเห็นทั่วไป


plaklim
ปลากริมไข่เต่า
"ปลากริมไข่เต่า" เป็นหาบขนมไทย ๆ มาแต่ครั้งโบราณ ลักษณะหาบรูปกระบุงทรงสูง สาแหรกทำด้วยหวายทั้งเส้น หาบแต่ละข้างจะบรรจุหม้อดินขนาดใหญ่ข้างละใบ ใบหนึ่งจะเป็นขนมรสหวาน ส่วนอีกใบจะเป็นขนมรสเค็ม หาบขนมชนิดนี้นับวันแต่จะสูญหายไป


thai desert
ขนมไทย
"หาบขนมไทย" แต่ดั้งเดิมตัวหาบสานด้วยตอกไม้ไผ่หรือหวาย ฝีมือค่อนข้างประณีต มีกระด้งขนาดพอดีกับหาบปิดด้านบนเพื่อวางขนมประเภท ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ สำหรับขนมถ้วยฟูหรือขนมน้ำดอกไม้ นิยมใส่ในตู้กระจกอีกชั้นหนึ่ง สาแหรกหาบทำด้วยหวายทั้งเส้น ไม้คานทำด้วยไม้ไผ่ที่ค่อนข้างอ่อนช้อยเมื่อเวลาหาบ แต่ปัจจุบันตัวหาบสานด้วยไม้ไผ่หรือหวายค่อนข้างแข็งแรง ขนมที่วางขายก็แตกตางไปจากเดิม


juikuey
จุ๋ยก้วย
"จุ๋ยก้วย" หรือขนมถ้วยแบบจีน เป็นหาบเร่ของชาวจีน ตัวขนมทำจากแป้งข้าวจ้าว ผสมน้ำปูนใส นึ่งให้ร้อนอยู่เสมอ เวลารับประทาน มีหัวไชเท้าสับละเอียดโรยหน้า เป็นขนมราคาถูก รับประทานแล้วอิ่มท้องไปนาน ปัจจุบันยังพอพบได้ในละแวกที่มีชาวจีนอาศัยอยู่


juikuey
กาแฟลอยน้ำ
การใช้เรือเป็นพาหนะเพื่อเร่ขายสินค้าตามลำน้ำนั้น นับเป็นหาบเร่ที่มีมาแต่ดั้งเดิม จนอาจจะกล่าวได้ว่า เป็นต้นกำเนิดของหาบเร่ในประเทศไทย ด้วยแม่น้ำลำคลองนับเป็นสายชีวิตของคนไทยมาแต่โบราณ "กาแฟเรือ" ลักษณะเป็นกาแฟคั่วบด ใช้ถุงชงแบบดั้งเดิม ซึ่งปัจจุบันกำลังจะสูญหายไป


fruit
ผลไม้
จัดเป็นหาบเร่ประเภทรถเข็น ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม มี 3 ล้อ ตัวรถประกอบขึ้นด้วยไม้และกระจก ตรงกลางมีลักษณะเป็นกระบะหรือกล่อง แบ่งเป็นช่อง ๆ ด้านบนมีบานกระจกเลื่อนปิดเปิดได้ บรรจุผลไม้ต่าง ๆ บริเวณขอบล้อต่อเป็นกล่องกระจกแบ่งเป็นช่อง ๆ บรรุของขบเคี้ยวจำพวกเมล็ดแตงโม ลูกอม ฯลฯ มีระฆังทองเหลืองใบย่อม ๆ แขวนไว้ที่ด้านเข็น เพื่อสั่นเป็นสัญญาณ

จากปฏิทินขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๓๘
GO BACK HOME