คำศัพท์
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น จะเรียกว่า โหนด ( node ) หรือ โฮสต์ ( host )
2. เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่ต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ต จะมีชื่อเฉพาะเป็นของตนเองที่ได้จดทะเบียนเอาไว้ เรียกว่า "ชื่อโดเมน" ( domain name ) เช่น md2.md.chula.ac.th, mozart.inet.co.th เป็นต้น
3. นอกจากจะต้องมีชื่อโดเมนแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่ต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ต จะต้องมีที่อยู่หรือหมายเลข IP เป็นของตนเองด้วย เช่นเครื่อง md2.md.chula.ac.th มีหมายเลข IP เป็น 161.200.96.2, เครื่อง mozart.inet.co.th มีหมายเลข IP เป็น 202.44.200.1 เป็นต้น
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ต ต้องใช้ PROTOCOL ที่มีชื่อว่า TCP/IP ในการรับ-ส่งข้อมูล
5. โดยปกติแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ จะต่ออยู่กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา โดยผ่านสายที่เชื่อมต่อเป็นการถาวรเรียกว่า "สายเช่า" ( leased line ) และส่วนใหญ่ก็มักจะใช้ระบบปฏิบัติการ ( Operating System ) แบบ UNIX
6. ยังมีการเชื่อมต่ออีกแบบหนึ่ง ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้ต่ออยู่กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา แต่จะเชื่อมต่อเพียงชั่วคราวเท่านั้น เช่น วันละครั้งหรือ 2 ครั้ง เพื่อรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิคส์ ( Electronic Mail ) UseNet news และรับ-ส่งไฟล์เท่านั้น โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จะใช้โปรโตคอลที่มีชื่อว่า UUCP
ชื่อโดเมนที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ .com มีอยู่ถึงกว่า 3 ล้านชื่อ รองลงมาคือ .edu และ .net ประเทศไทยมี 6,362 โดเมนที่ลงท้ายด้วย .th แต่ไม่ได้หมายความว่า ทั้งประเทศไทยจะมีโดเมนเพียงเท่านี้ เพราะมีหลายองค์กรที่ลงท้ายด้วย .com แทนที่จะเป็น .co.th หรืออย่างที่บางกอกโพสต์เป็น http://www.bangkokpost.net เป็นต้น
สำหรับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มีอยู่ 2 แห่งที่ได้ผลใกล้เคียงกัน คือที่ InternationalData พบว่ามีประมาณ 23.5 ล้านคน และที่ Matrix Informational and Directory Services พบว่ามี 26.4 ล้านคนที่ใช้อินเทอร์เน็ต
จากการสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 1996 พบว่ากลุ่มอายุ 18-24 ปีที่ใช้อินเทอร์เน็ตมีจำนวนเกือบ 5 ล้านคน และจะเพิ่มเป็น 10 ล้านคนในปี 2001
จากการสำรวจตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1994 เป็นต้นมา จำนวนผู้ใช้ซอฟท์แวร์ในเวิลด์ไวด์เว็บ ผลปรากฎว่า ยังมีผู้ที่นิยมใช้ Netscape มากกว่า Microsoft Internet Explorer สำหรับเวอร์ชั่นที่ใช้ของทั้งสองโปรแกรม 78% ใช้ Netscape เวอร์ชั่น 3 และ 90% ใช้ Microsoft Internet Explorer เวอร์ชั่น 3
ญี่ปุ่น มีสายเชื่อมต่อกับสหรัฐฯที่ใหญ่ที่สุดทาง T-3 มีคนใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 1.5 ล้านคนเทียบเท่ากับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเอเซียรวมกัน มีการคาดการณ์ว่าจะมีชาวญี่ปุ่นใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 10 ล้านคนในปี 2000 ขณะนี้มีผู้ให้บริาการอินเทอร์เน็ตกว่า 300 ราย
ในประเทศจีน อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ถูกควบคุมจากรัฐบาล โดยข้อมูลทุก ๆ packet จะต้องผ่าน gateway ที่รัฐบาลดูแลอยู่ มีผู้ใช้ประมาณ 150,000 คน, ในเวียตนาม มีการเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ตหลายอัตรา แต่สำหรับผู้มีรายได้น้อยคิดค่าบริการเดือนละไม่เกิน 500 บาท, ในสิงคโปร์ รัฐบาลควบคุมอินเทอร์เน็ตโดยบังคับให้ทุกโฮสต์ต้องผ่าน Singapore Broadcast Authority สิงคโปร์มีประชากรทั้งหมด 3 ล้านคน และ 1 แสนคนใช้บริการอินเทอร์เน็ต นับเป็นประเทศแรกในเอเซียที่มีค่าเฉลี่ยประชากรรวมต่อคน ที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด
1. ฮาร์ดแวร์
- เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ระดับ 286 ขึ้นไป หน่วยความจำอย่างน้อย 640K จอภาพ VGA หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ Apple Macintosh Classic ( 2 Mb ) ขึ้นไป
- โมเด็มความเร็วไม่ควรต่ำกว่า 9600 bps ( V.32 ) ถ้าเป็น 14.4 Kbps ( V.32 bis ) หรือ 28.8 Kbps ( V.34 ) ก็จะช่วยให้ใช้งานได้สะดวกขึ้นมาก
2. ซอฟท์แวร์
เนื่องจากโปรแกรมใช้งานบนอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ จะอยู่ที่เครื่องโฮสต์ของศูนย์บริการฯ อยู่แล้ว โปรแกรมที่ผู้ใช้จะต้องมี ก็มีเพียงโปรแกรมสื่อสาร ซึ่งใช้ในการควบคุมโมเด็มและทำหน้าที่จำลองเทอร์มินอลเท่านั้นเอง ตัวอย่างของโปรแกรมสื่อสารเหล่านี้เช่น Telix, Procomm Plus, Telemate เป็นต้น และควรเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการรับ-ส่งไฟล์โดยใช้โปรโตคอล zmodem ด้วย โดยทั่วไปศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตจะมีแผ่นดิสก์เก็ตสำหรับติดตั้งโปรแกรมลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ โดยผู้ใช้เรียกคำสั่ง install จากแผ่นดิสก์เก็ต จากนั้นโปรแกรมก็จะถูกติดตั้งลงในฮาร์ดดิสก์
3. Login, Logout
การเข้าสู่เครื่องโฮสต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกับการเข้าไปใช้งานในระบบ LAN หรือเข้าไปใช้งาน BBS คือต้องใส่ชื่อและรหัสผ่านให้ถูกต้อง ( Login Name, Password ) เมื่อต้องการออกจากการใช้งานเครื่องโฮสต์ ก็พิมพ์คำสั่ง Logout หรือ exit ตัวอักษรเล็กกับใหญ่ ถือว่าเป็นคนละตัวกัน
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในเมืองไทย มี 16 ราย ได้แก่
1. ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตประเทศไทย http://www.inet.co.th
2. บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต http://www.ksc.net.th
3. บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด http://www.loxinfo.co.th
4. บริษัท สามารถไซเบอร์เน็ต จำกัด http://www.samart.co.th
5. บริษัท อินโฟนิวส์ จำกัด http://www.infonews.co.th
6. บริษัท เอเซีย ออนลายน์ จำกัด http://www..asiaaccess.net.th
7. กลุ่มบริษัทยูไนเต็ดคอมมูนิเคชั่น จำกัด http://www.wnet.net.th
8. บริษัท เอเน็ต จำกัด http://www.anet.co.th
9. กลุ่มบริษัทเทเลคอมเอเซีย จำกัด
10. บริษัท ดิไอเดีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด
11. บริษัท อินเตอร์ฟาร์อีส วิศวการ จำกัด (มหาชน)
12. บริษัท ดาต้าลายไทย จำกัด
13. บริษัท สยามทีวี แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
14. บริษัท ชมะนันทน์กรุ๊ป จำกัด
15. บริษัท ซี เอส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
16. บริษัท คอมพิวเทค ไมโครซิสเต็ม จำกัด