๒๖ มิถุนายน วันสุนทรภู่

วัยเด็ก
พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) เกิดเมื่อรุ่งอรุณของวันจันทร์ ขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนแปด ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๒๙ ในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ชื่อเดิมว่า "ภู่" บิดาเป็นชาวบ้านกล่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นคนใกล้ชิดของกรมพระราชวังหลัง พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (ทองอิน) ซึ่งมีวังอยู่ริมคลองบางกอกน้อย คือระหว่างสถานีรถไฟธนบุรีกับโรงพยาบาลศิริราชในปัจจุบัน บ้านของเด็กชายภู่น่าจะอยู่แถวสถานีรถไฟธนบุรี เมื่อก่อนบริเวณนี้เรียกกันว่า สวนลิ้นจี่ ในวัยเด็กสุนทรภู่ได้รับความว้าเหว่เมื่อบิดากับมารดาต้องแยกจากกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่เมืองแกลงอันเป็นบ้านเกิด มารดามีสามีใหม่และมีบุตรสาว ๒ คน ชื่อ "ฉิม" กับ "นิ่ม" สุนทรภู่เป็นคนที่รักน้องแม้จะเป็นน้องต่างบิดาก็ตาม ในวัยเด็กได้เข้าเรียนหนังสือกับพระที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) มีความรู้ทางหนังสือพอที่จะทำงานเสมียน มารดาได้นำเข้าถวายตัวรับใช้เจ้านายที่ตนสังกัดอยู่ตั้งแต่ยังเด็กมาก เมื่อถวายตัวแล้วจึงกลับออกไปอยู่บ้านและเรียนหนังสือที่วัด สุนทรภู่คุ้นเคยกับขนบธรรมเนียมในรั้วในวังตั้งแต่ยังเยาว์ จึงเป็นเหตุให้สุนทรภู่มีความรู้เฉลียวฉลาดกว่าเด็กธรรมดาด้วยกัน พอโตขึ้นจึงเข้าไปรับใช้เจ้านายเป็นเสมียนในกรมพระคลังสวน ความรู้ความสามารถทางกาพย์กลอน ก็เริ่มฉายแววออกมา

วัยหนุ่ม
สมัยหนุ่มวัยแตกพานราวอายุ ๑๘ ปี สุนทรภู่ได้รักกับหญิงสาวชาวคลองบางกอกน้อยชื่อ "สร้อย" และมักแอบพลอดรักกันในสวนละแวกนั้น ดังคำโคลงที่ว่า เคยชื่นกลืนกลิ่นสร้อย สวาทน้อง กลางสวน เมื่อได้เสียกันแล้วก็มิได้อยู่ด้วยกัน เมื่อสุนทรภู่เข้าไปเป็นเสมียนในกรมพระคลังสวน ได้รู้จักกับสาวชาววัง ๓ คนคือ "จัน" "พลับ" และ "สร้อย" (ไม่ใช่คนที่คลองบางกอกน้อย) สำหรับความรักของสุนทรภู่กับ "พลับ" และ "สร้อย" นั้นได้แยกกันเสียก่อน แต่สำหรับ "จัน" หรือแม่จัน เป็นความรักที่สร้างความเจ็บปวดให้กับกวีเอกเป็นอย่างยิ่ง สำหรับแม่จันเป็นคนในวังหลัง บิดาเป็นคนสนิทของเจ้านาย ความรักระหว่างสุนทรภู่กับแม่จันเป็นการลักลอบรักกันเพราะผู้ใหญ่ไม่พึงใจ ดังที่สุนทรภู่ได้กล่าวไว้ว่า ถ้าเกี้ยวมั่งก็จะเฆี่ยนเอาเจียนตาย กับแม่จันนี่เอง เป็นเหตุให้สุนทรภู่ต้องถูกจองจำ เมื่อพ้นโทษก็ออกไปหาบิดาที่เมืองแกลง เพื่อจะบวชล้างมลทินที่ต้องจำคุก แต่ก็ไปเป็นไข้มาเลเรียอย่างแรงแทบจะเอาชีวิตไม่รอด เลยไม่ได้บวช จากประสพการณ์ที่ได้เห็นจากบ้านกล่ำ เมืองแกลง การเดินทาง และธรรมชาติ เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพฯ สุนทรภู่จึงได้แต่งนิราศขึ้นให้ชื่อว่า "นิราศเมืองแกลง" แม่จันเป็นหญิงหน้าตาคมคาย จริตจก้านและอารมณ์รุนแรง สุนทรภู่ทำงานเสมียนอยู่ได้สองปีเศษก็ออกจากหน้าที่ ตอนนั้นอายุได้ ๒๑ ปี ก็ออกไปเมืองแกลง และได้รู้จักกับหญิงชาวบ้านสองคนเป็นคนใกล้ชิดฉันญาติทางฝ่ายบิดา ชื่อ "ม่วง" และ "คำ" หญิงสองคนนี้ได้คอยให้การรักษาพยาบาลสุนทรภู่เมื่อเจ็บไข้ และเกิดความรักกัน จนสุนทรภู่เดินทางกลับกรุงเทพฯ เมื่อกลับจากเมืองแกลง ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายเห็นว่า ไม่สามารถห้ามหรือขัดขวางความรักระหว่างสุนทรภู่กับแม่จัน มารดาจึงจัดแจงสู่ขอแม่จันให้กับสุนทรภู่ได้อยู่กินกันตามประเพณี โดยชายากรมพระราชวังหลังทรงสู่ขอให้ กับแม่จันภรรยาคนนี้ทำให้สุนทรภู่ได้รับรสรักที่หวานชื่น ขมขื่น เผ็ดร้อน ครบทุกรส แม่จันเป็นยอดในทางหึงหวงและแสนงอน เมื่อสุนทรภู่ทนความหึงเจ้าแง่เจ้างอนไม่ไหว ก็เป็นเหตุให้ทะเลาะกันเสมอๆ เพราะสุนทรภู่เป็นคนขี้เหล้าและเจ้าชู้ ครั้งหนึ่งในระหว่างที่โกรธกับแม่จันและยังไม่ได้ทันคืนดีกัน สุนทรภู่ต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ซึ่งในขณะนั้นทรงผนวชอยู่ ไปนมัสการพระพุทธบาทในฐานะมหาดเล็กสามัญ มีหน้าที่พายเรือ และบังคับช้างนำขบวน คนที่มีแผลหัวใจอย่างสุนทรภู่เมื่อใดสู้กับศึกในอก ก็อาศัยสุราเป็นเพื่อนและระบายความรู้สึกออกมาทางการประพันธ์ร้อยกรอง สุนทรภู่ได้สร้างผลงานขึ้นชิ้นหนึ่ง นั่นคือ "นิราศพระบาท" แต่งไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๐ ใน พ.ศ. ๒๓๕๙ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงโปรดทางวรรณคดีเป็นพิเศษ จึงได้ทรงมีการประชุมนักกวีฟื้นฟูกันเป็นงานใหญ่ ทรงรับสั่งให้เรียกตัวสุนทรภู่เข้ามารับราชการในกรมอาลักษณ์ สุนทรภู่เป็นที่โปรดปรานของพระองค์มาก จนโปรดยกให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร มีตำแหน่งเป็นกวีที่ปรึกษาและพระราชทานบ้านกับที่ดินให้อยู่อาศัย เมื่อเป็นที่โปรดปรานสุนทรภู่ก็มีความสุข แต่เมื่อกลับจากพระพุทธบาทก็ไม่สามารถปรับความเข้าใจกับแม่จันเมียรักได้จนต้องแยกทางกันเดิน อย่างไรก็ตาม สุนทรภู่ก็ได้รู้จักกับผู้หญิงอีกหลายคน ได้แก่ "แม่แจ่ม" เป็นชาวบางระมาด กินอยู่ด้วยกันไม่เท่าไรก็เลิกกัน "แม่แก้ว" เป็นชาวบางบำหรุ อยู่กันไม่นานก็เลิกกัน "แม่นิ่ม" อยู่บางกรวย รายนี้ไม่ได้เลิกกันแต่แม่นิ่มมาด่วนตายเสียก่อน และกับแม่นิ่มนี่เอง สุนทรภู่มีบุตรไว้ดูต่างหน้าคนหนึ่งชื่อ พัด "แม่ม่วง" ไม่ทราบแน่ว่าเป็นคนถิ่นไหน ได้กันแล้วก็แยกกันไปอีก "แม่น้อย" เป็นคนบางกอกน้อย ได้กันแล้วก็ร้างกันไป "แม่นกน้อย" อยู่วัดแจ้ง "แม่กลิ่น" อยู่แถววัดเลียบ "แม่งิ้ว" เป็นชาวบางกอกน้อย ได้กันแล้วไม่นานก็เลิกกัน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคนชื่อ "บัวคำ" "เกษ" "แดง" และ "สาย" จึงนับได้ว่าสุนทรภู่เป็นคนที่มีความรักฟุ่มเฟือยที่สุดคนหนึ่ง คือมีภรรยารวมกันถึง ๑๙ คนชั่วระยะเวลาราว ๑๐ ปีเท่านั้น และหลังจากนั้นสุนทรภู่ยังมีภรรยาอีก ๔ คน คือ "ปราง" "นวล" "อิน" และ "ทอง" รวมทั้งหมดในชีวิตของสุนทรภู่มี ภรรยาถึง ๒๓ คน

วัยผู้ใหญ่
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ สุนทรภู่อายุ ๓๙ ปี ได้บวชอยู่ที่วัดพระเชตุพนและออกจาริกแสวงบุญไปในที่ต่างๆหลายแห่ง ทุกๆแห่งที่ไปก็มักจะเขียนเป็นนิราศ สาเหตุที่ต้องออกบวชเนื่องจากสุนทรภู่เป็นคนที่ดื่มสุราจัด เมื่อมีการห้ามปรามก็ขัดขืน ใครห้ามปรามก็จะถูกทำร้ายจนบาดเจ็บ มีผู้นำเรื่องขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงให้จำขังสุนทรภู่เป็นการลงโทษ ต่อมาไม่นานพระองค์ก็เสด็จสวรรคต เมื่อสิ้นแผ่นดินของเจ้านายที่ทรงโปรดแล้ว สุนทรภู่ก็หมดที่พึ่ง ครั้นจะทนทำราชการในกรมอาลักษณ์ต่อไปก็ไม่เหมาะ เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรง โปรดทางกวีนัก สุนทรภู่จึงออกบวช ในขณะที่บวชได้เป็นพระอาจารย์ของพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ถึงสามพระองค์ คือเจ้าฟ้าชายอาภรณ์ เจ้าฟ้าชายกลาง และเจ้าฟ้าชายปิ๋ว สุนทรภู่ได้แต่งหนังสือเด็กเรื่อง "พระไชยสุริยา" และแต่งประวัติของตนเองในหนังสือ "รำพันพิลาป" รวมทั้งหนังสือ "เพลงยาวถวายโอวาท" และ "สวัสดิรักษา" ในระยะการบวชนี้เป็นระยะที่ชะตาของสุนทรภู่ตกต่ำที่สุด บวชเป็นพระก็ไม่มีวัดจะอยู่ ดังคำประพันธ์ที่ว่า

และสุนทรภู่รู้สึกหมดอาลัย ถึงกับปลง ดังคำประพันธ์ที่ว่า

สุนทรภู่บวชอยู่ที่วัดเลียบ (วัดราชบูรณะ) และได้ถวายอักษรเจ้าฟ้าชายกลาง และเจ้าฟ้าชายปิ๋ว จนกระทั่งคราวหนึ่ง พระภู่เกิดอธิกรณ์ (ดื่มสุรา) จึงถูกขับออกจากวัด สุนทรภู่มีความอาลัยรักในศิษย์ ขัตติยวงศ์เป็นอันมาก ก่อนที่จะจากไปจึงได้ถวายอักษรเป็น "เพลงยาวถวายโอวาท" อันเป็นการแสดง ถึงพระมหากรุณาธิคุณ และความในใจของตน นอกจากนี้ยังได้แต่งหนังสือ "สวัสดิรักษา" ถวายเจ้าฟ้า ชายกลางและเจ้าฟ้าชายปิ๋วเช่นเดียวกัน "สวัสดิรักษา" เป็นหนังสือเชิงสอนวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีงาม แม้จะเป็นของโบราณ แต่ ในสมัยนี้ยังมีผู้ปฏิบัติตามสวัสดิรักษาอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้ปฏิบัติตามเรื่องสวัสดิรักษาถือว่าเป็นสิริมงคล แก่ตัว การนุ่งห่มผ้าตามสีของวัน ก็เป็นการปฏิบัติตามสวัสดิรักษาเหมือนกัน เมื่อสุนทรภู่อายุ ๔๑ ปี ขณะที่ถูกขับออกจากวัดราชบูรณะ สุนทรภู่ได้ลงเรือไปกับหนูพัดบุตรชาย ที่เกิดกับแม่นิ่ม พร้อมกับศิษย์ที่ยังจงรักภักดี มุ่งหน้าไปอยุธยาเพื่อจะไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองเป็นการ สะเดาะเคราะห์ ในตอนนี้สุนทรภู่ได้เขียนนิราศคือ "นิราศภูเขาทอง" ปี พ.ศ. ๒๓๗๕ ขณะที่สุนทรภู่บวช อยู่ที่วัดพระเชตุพนได้ลงเรือไปอยุธยา โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะไปที่วัดเจ้าฟ้าอากาศนารถนรินทร์ ซึ่งเป็นที่มา ของนิราศชื่อ "นิราศวัดเจ้าฟ้า" เมื่อสุนทรภู่อายุ ๔๖ ปี ได้ไปธุระที่เมืองเพชร ได้ไปพบคนรักเก่าๆ เขามีลูกมีผัวไปหมดแล้ว ก็บังเกิดอารมณ์ตามประสานักกลอน จึงได้แต่งนิราศชื่อ "นิราศเมืองเพชร" เนื้อเรื่อง เต็มไปด้วยอารมณ์และความระลึกต่างๆ พ.ศ. ๒๓๘๔ สุนทรภู่ได้เดินทางไปเมืองสุพรรณเพื่อจะไปแสวงหาแร่ที่นำมาซัดเป็นทองคำ เพื่ออยากร่ำรวย อยากสบาย แต่เมื่อไปแล้วก็พบกับความผิดหวัง จึงแต่งนิราศ ชื่อว่า "นิราศสุพรรณ" แต่นิราศสุพรรณมิได้แต่งเป็นกลอนแปดเหมือนอย่างเคย กลับแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ เห็นจะเป็นด้วยมีคนนินทาว่าแต่งเป็นแต่กลอนตลาด ทำให้เกิดความทะนง อยากจะให้คนที่ดูหมิ่น เห็นฝีมือจึงได้แต่งแบบโคลงอวด ในนิราศเรื่องนี้เป็นนิราศของคนแก่วัย ๕๕ จึงมีแต่อารมณ์ของคนที่เห็น โลกเป็นอนิจจัง และความหลังความรักครั้งก่อนๆ รวมทั้งความแตกฉานในศาสตร์ต่างๆของท่าน ใน พ.ศ. ๒๓๘๕ สุนทรภู่ได้เดินทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ การเดินทางผ่านไปทางไหนๆ ก็มักจะเป็นการเตือน ความทรงจำครั้งเก่าๆให้มาสู่ปัจจุบัน และนั่นก็คือความบันดาลใจให้เกิดนิราศเรื่อง "นิราศพระประธม" อันเป็นผลงานที่แสดงความเป็นอัจฉริยะทางกลอน และนักรัก

กลอนบทข้างต้นสุนทรภู่แต่งไว้ในนิราศอิเหนา ซึ่งเป็นนิราศทำนองเพลงรักที่อ่อนหวาน ซาบซึ้ง แต่เป็นที่ น่าเสียดายที่ไม่สามารถจะทราบได้ว่า สุนทรภู่แต่งเรื่องนี้เมื่อใด นอกจากสุนทรภู่จะได้แต่งนิราศอันเกี่ยวกับชีวิตของตน การเดินทาง การต่อสู้กับความอยุติธรรม ความยากไร้ และอื่นๆไว้มากแล้ว สุนทรภู่ยังได้แต่งหนังสือเรียนสำหรับเด็ก หนังสือเล่มนี้คือ "พระไชย สุริยา" เป็นบทเรียนภาษาไทยซึ่งเป็นต้นฉบับของการแยกอักษรออกเป็นหมวดหมู่ ตามลักษณะของเสียง เป็นเล่มแรกของการศึกษาในประเทศไทย เด็กสมัยรัชการที่ ๕-๖ รู้จักหนังสือเล่มนี้ดี เพราะเป็นทั้งหนังสือ หัดอ่านและหนังสือสอนศีลธรรม พ.ศ. ๒๓๘๓ สุนทรภู่อายุ ๕๑ ปี ได้แต่งเรื่อง "สุภาษิตสอนหญิง" เป็นแบบการฝึกหัดตนของ กุลสตรีซึ่งเป็นที่นิยมมากในขณะนั้น แม้ปัจจุบันก็ยังใช้ได้ดีอยู่ ก่อนที่จะเกิดสุภาษิตสอนหญิง มีหนังสือ ประเภทเตือนมารยาทสตรีอยู่ก่อนแล้วเล่มหนึ่งคือ "กฤษณาสอนน้อง" ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ไว้เป็นทำนองนิทาน ให้กฤษณาซึ่งเป็นพี่สาวสอนนางจิระประภาน้อง แต่สุนทรภู่แต่งเป็นทำนองสอนศีลธรรมและจรรยามารยาทให้กับผู้หญิง ในด้านกิริยามารยาท การแต่งกาย การวางตัว การเข้าสังคม การใช้จ่าย ได้ละเอียดลออยิ่งนัก สุนทรภู่ครั้งเมื่ออยู่ที่วัดมหาธาตุได้รับความอุปถัมภ์จากพระองค์เจ้าลักขณาณุคุณ พระองค์ทรง โปรดสักวามาก เวลาที่พระองค์จะทรงสักวาก็มักจะรับสั่งให้สุนทรภู่ลงเรือร่วมไปด้วย ในระหว่างที่สุนทร ภู่อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ ได้แต่งกลอนเฉลิมพระเกียรติของพระองค์เจ้าลักขณา ขึ้นถวายด้วย (แต่หนังสือนี้ยังหาไม่พบ) และในตอนนี้สุนทรภู่ก็ได้แต่งเรื่องพระอภัยมณีที่แต่งค้างไว้ตั้งแต่ ครั้งรัชกาลที่ ๒ ด้วย การแต่งหนังสือพระอภัยมณีของสุนทรภู่จะแต่งคราวละเล่ม สองเล่ม ไม่รีบร้อน เพราะเป็นหนังสือเรื่องยาว พระองค์เจ้าลักขณาเห็นก็ทรงรับสั่งให้แต่งต่อเพิ่มเติม เรื่องนี้แต่งจบลงในสมัย รัชกาลที่ ๓ จากนั้นสุนทรภู่ได้แต่งหนังสืออีกเล่มหนึ่งคือ "ลักษณวงศ์" เรื่องนี้สุนทรภู่มิได้แต่งคนเดียว จนจบบริบูรณ์ แต่มีคนอื่นแต่งต่อจากสุนทรภู่ที่แต่งค้างไว้ นอกจากนี้สุนทรภู่ยังได้แต่งหนังสือเรื่อง จันทโครบ เรื่องนครกาย และเรื่องพระสมุท สุนทรภู่จะตกระกำลำบากอยู่นานเท่าใดไม่ปรากฎ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ไปอยู่ที่พระราชวังเดิม และต่อมากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงอุปการะ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงโปรดเรื่องพระอภัยมณีมาก เมื่อให้ความอุปการะแล้วก็ทรงรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งถวายอีกเดือนละเล่ม ระหว่างอยู่ในความอุปถัมภ์สุนทรภู่ได้มีโอกาสไปพระปฐมเจดีย์ จึงได้แต่งนิราศเรื่อง "นิราศพระ ประธม" การไปนมัสการพระปฐมเจดีย์คราวนี้ สุนทรภู่ได้นำหนูพัดและหนูตาบติดตามไปด้วย ออกเดิน ทางเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปี พ.ศ. ๒๓๘๕ ต่อมาสุนทรภู่รับอาสาสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปทำธุระส่วนพระองค์ที่เมืองเพชรบุรี และได้แต่งนิราศเรื่อง "นิราศเมืองเพชร" อันเป็นนิราศเรื่องสุดท้าย สุนทรภุ่มีบุตร ๓ คน เป็นชายทั้งหมดคือ พัด ตาบ และนิล สุนทรภู่ได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ ปีเถาะ รวมอายุ ๗๐ ปี (นามสกุลของสุนทรภู่ไมปรากฎ แต่เล่ากันว่าผู้สืบสกุลของสุนทรภู่ใช้สกุล ว่า "ภู่เรือหงษ์")
จากหนังสือ: เพชรของสุนทรภู่ โดย ตรีรัตน์ รมณีย์ จัดพิมพ์โดยแพร่พิทยา พิมพ์ครั้งที่สอง กันยายน ๒๕๑๓
หนังสือที่สุนทรภู่แต่ง
นิราศ
นิทาน
สุภาษิต
บทละคร
บทเสภา
บทเห่กล่อม
รวมวรรณกรรมของสุนทรภู่ ทั้งหมด ๒๔ เรื่อง
BACK TO HOMEPAGE