เรือพระราชพิธีเป็นศิลปะอันทรงคุณค่าที่บรรพบุรุษเนรมิตร สร้างสรรค์ไว้เพื่อใช้ในวโรกาสที่พระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปที่สำคัญจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง พระราชพิธีรับพระราชสาสน์ และ รับราชฑูตของพระเจ้าแผ่นดินประเทศอื่น ประเพณีนี้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พระราชพิธีนี้มีการจัดริ้วกระบวนเรือที่ยิ่งใหญ่ตระการตา เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค
เรือพระราชพิธีถือได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัฒนธรรม และฝีมือช่างที่เยี่ยมยอด ทั้งช่างแกะสลัก ช่างรัก ช่างประดับกระจก ช่างไม้ ช่างเขียน สามารถกล่าวได้ว่าส่วนที่งดงามที่สุดของเรือพระราชพิธี คือ "โขนเรือ" แสดงให้เห็นถึงศิลปะลวดลายที่งดงามยิ่งนัก
- เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ ๙
- เป็นเรือพระที่นั่งรองทองบัลลังก์กัญญา โขนเรือเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ เทียบเท่าเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และอเนกชาติภุชงค์ ลงรักปิดทอง ประดับกระจก ลวดลายเขียนลายดอกพุดตาน ปลายหางเรือเป็นกนกหางครุฑ การสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ ๙ เนื่องในมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ลักษณะของลำเรือ ตัวเรือยาว ๔๔.๓๐ เมตร กว้าง ๓.๒๐ เมตร กินน้ำลึก ๑.๑๐ เมตร พลประจำเรือ ๖๔ นาย เป็นฝีพาย ๕๐ นาย
- เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
- เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง โขนเรือเป็นรูปหงส์ ลำปัจจุบันสร้างขึ้นในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เพื่อทดแทนลำเดิมที่ได้สร้างมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ พายที่ใช้เป็นพายทอง พอพายจะพายในท่านกบิน ลักษณะของลำเรือ เป็นเรือพื้นดำ ตัวเรือยาว ๔๔.๗๐ เมตร กว้าง ๓.๑๕ เมตร ลึก ๐.๙๐ เมตร กินน้ำลึก ๐.๔๑ เมตร น้ำหนัก ๑.๕๖ ตัน ฝีพาย ๕๐ นาย นายท้าย ๒ นาย นายเรือ ๒ นาย
- เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
- เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง ซึ่งมีโขนเป็นรูปพญานาค ๗ เศียร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เป็นเรือพื้นเขียว พายที่ใช้เป็นพายทองเช่นเดียวกับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลักษณะของลำเรือ ตัวเรือยาว ๔๒.๙๕ เมตร กว้าง ๒.๙๕ เมตร ลึก ๐.๗๖ เมตร กินน้ำลึก ๐.๓๑ เมตร น้ำหนัก ๑๕.๓๖ เมตร ฝีพาย ๕๔ นาย นายท้าย ๒ นาย
- เรือครุฑเหินเห็จ
- เป็นเรือรูปสัตว์ โขนเรือเป็นรูปพญาครุฑ กายสีแดง ลงรักปิดทองประดับกระจก ลำเดิมสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ แต่ถูกระเบิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ลำปัจจุบันสร้างใหม่ในปี ๒๕๑๑ โดยนำโขนเรือเดิมนำมาซ่อมแซม ส่วนท้ายเรือสร้างขึ้นใหม่ ทำการซ่อมใหญ่เพื่อใช้ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ในวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๕ ลักษณะของลำเรือ ตัวเรือยาว ๒๖.๕๐ เมตร กว้าง ๒ เมตร กินน้ำลึก ๐.๗๕ เมตร กำลัง ๒.๖๐ เมตร พลประจำเรือ ๔๑ นาย เป็นฝีพาย ๓๔ นาย
- เรือเอกไชยหลาวทอง
- เป็นเรือคู่ชัก พื้นเรือสีดำ ลำปัจจุบันได้สร้างใหม่ในปี ๒๕๐๔ แทนลำเดิมที่ถูกระเบิด ได้รับความเสียหายในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทำการซ่อมใหญ่เพื่อใช้ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ในวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๕ ลักษณะของลำเรือยาว ๒๗.๕๐ เมตร กว้าง ๑.๕๙ เมตร ลึก ๐.๕๙ เมตร
- เรืออสุรปักษี
- เป็นเรือรูปสัตว์ โขนเรือเป็นยักษ์กายสีม่วงอมเขียว มีลักษณะครึ่งยักษ์ครึ่งนก ส่วนบนเป็นยักษ์ ส่วนล่างเป็นนก ลงรักปิดทองประดับกระจก ลักษณะของลำเรือ ตัวเรือยาว ๒๔ เมตร กว้าง ๒.๑๐ เมตร ลึก ๐.๕๕ เมตร กำลัง ๒.๖๐ เมตร พลประจำเรือ ๕๗ นาย เป็นฝีพาย ๔๐ นาย
จากปฎิทินของผลิตภัณฑ์ National/Panasonic/Technics ประจำปี ๒๕๔๐
แหล่งข้อมูล: สำนักพระราชวัง, พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ, กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ
GO BACK HOME