เกณฑ์ในการวัดการจราจรติดขัดในประเทศไทยในมุมมองของผู้ปฏิบัติ
Congestion Measures in Thailand: State of the Practice

เกษม ชูจารุกุล
Kasem Choocharukul

   
บทคัดย่อ

ปัญหาการจราจรในปัจจุบันนับเป็นปัญหาวิกฤต ก่อให้เกิดความสูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางอย่างมหาศาล ถึงแม้ว่าหน่วยงานต่างๆ จะมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนและมีการใช้เกณฑ์ต่างๆ ในการวิเคราะห์ ประเมิน และนิยามสภาพการจราจรติดขัด อาทิเช่น การใช้ระดับการให้บริการ ความล่าช้า อัตราเร็วเฉลี่ยของยานพาหนะ หรืออัตราส่วนระหว่างปริมาณการจราจรกับความสามารถในการให้บริการของถนน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันผู้ปฏิบัติแต่ละรายมีเกณฑ์ที่ใช้ที่แตกต่างและยังไม่มีความสอดคล้องกัน หรือแม้มีการใช้ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกันแต่ก็มีการใช้บรรทัดฐานที่แตกต่างกัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการสำรวจเกณฑ์ที่ใช้ในการวัดการจราจรติดขัดในประเทศไทย จากมุมมองของผู้ปฏิบัติ ซึ่งทำการศึกษาจากบุคลากรและเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจราจร ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์กับคำจำกัดความ ความเหมาะสมและความสามารถในการสะท้อนถึงสภาพการจราจรที่แท้จริงของแต่ละเกณฑ์ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้เกณฑ์ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาสามารถนำมาเป็นฐานในการประเมินความต้องการของเกณฑ์ในการวัดการจราจรติดขัด อีกทั้งยังสามารถทำให้ทราบถึงสถานะของการพัฒนาตัวชี้วัดการจราจรในประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดการจราจรติดขัดที่เหมาะสม และสอดคล้องกันสำหรับประเทศไทยต่อไป

กลับสู่หน้ารวมบทความ

   
   


ABSTRACT

Traffic congestion problem is now considered as a critical issue, resulting in commuters’ substantial loss of travel time and cost. Although several congestion mitigation strategies have been promptly employed in the country and many congestion measures such as level of service, average travel speed, and volume-to-capacity ratio have been used to analyze, assess, and define the congestion level, it can be seen that presently congestion measures are inconsistently utilized among practitioners. This paper aims to present a survey result illustrating the current state of the practice of congestion measures in Thailand, particularly from practitioners’ perspectives, from both government and private agencies. Analysis and comparison of the measures are presented in terms of their definitions, needs, and abilities to reflect actual traffic conditions, as well as potential problems in applying such measures. Findings are expected to shed some light on the status quo of the current practice in the country, which would further lead to a consistent development of a sound methodology to quantify congestion in Thailand in the future.

KEYWORDS: Congestion Measures, Traffic Congestion, Congestion Survey

Back to List of Papers

   
  © Copyright 2008, K. Choocharukul, Last Updated: June 26, 2004 .