การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพา ในงานสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการเดินทาง

Application of Personal Digital Assistant in Travel Behavior Survey

   

ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์, เกษม ชูจารุกุล และ ชาญชาย โชติบัณฑ์
Saksith Chalermpong, Kasem Choocharukul and Chanchai Jotiban

   
   
บทคัดย่อ

การสำรวจข้อมูลปฐมภูมิมีความจำเป็นอย่างยิ่งในงานทางด้านวิศวกรรมขนส่งและจราจร โดยเฉพาะการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางซึ่งต้องมีการจัดการข้อมูลปริมาณมาก ทำให้กระบวนการเก็บข้อมูลต้องใช้เวลาและกำลังคน มีค่าใช้จ่ายสูง และเกิดความผิดพลาดได้ง่าย ในบทความนี้ผู้แต่งจึงเสนอการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์แบบพก (Personal Digital Assistant, PDA) เพื่อช่วยในการสำรวจข้อมูล ในการพัฒนาระบบดังกล่าว ผู้แต่งได้ทำการทบทวนปัญหาและอุปสรรคของการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางที่มีการปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ในขั้นตอนการเตรียมการ ในช่วงระหว่างการเก็บข้อมูล และช่วงหลังการเก็บข้อมูล ทั้งยังทำการเปรียบเทียบจุดอ่อนจุดแข็งระหว่างการใช้ PDA และแบบฟอร์มกระดาษ จากนั้นจึงนำเสนอการพัฒนาโปรแกรมสำรวจข้อมูลการเดินทาง ซึ่งมีรากฐานแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบจากการทบทวนที่กล่าวมา แล้วนำโปรแกรมที่พัฒนาได้ไปทำการทดสอบเก็บข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางในภาคสนาม แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจ แต่ก็ยังพบจุดบกพร่องที่สามารถพัฒนาได้อีกหลายจุด ซึ่งผู้แต่งจะทำการปรับปรุงและทดสอบโปรแกรมในโครงการขนาดใหญ่ขึ้นในการศึกษาขั้นต่อไป

กลับสู่หน้ารวมบทความ

   
   

ABSTRACT

Primary data collection is essential in transportation and traffic engineering work, particularly travel behavior survey, which requires a large amount of primary data management. Travel survey process is time-consuming, labor-intensive, costly, and prone to human errors. In this paper, we propose the application of Personal Digital Assistant (PDA) for travel data survey. In the course of system development, we reviewed problems and obstacles faced by researchers while conducting traditional travel data collection at various stages, namely preparation, surveying, and post-survey stages. We compared strengths and weaknesses of PDA application and traditional pencil-and-paper method. We present the application that we developed for travel data collection, whose system architecture is based on the aforementioned review of problems. Finally, we tested the application by conducting actual travel survey in the field. While the results are generally satisfactory, several areas of weaknesses were identified for further improvement. The program will be refined and tested in the next stage of research, which involves a larger scale of data collection effort.

KEYWORDS: Travel Data Collection, Personal Digital Assistant, Travel Behavior Survey

Back to List of Papers

   
  © Copyright 2008, K. Choocharukul, Last Updated: June 26, 2004 .