การจูงใจด้านราคาค่าโดยสารของระบบขนส่งสาธารณะ มีผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางหรือไม่: ผลเบื้องต้นจากการศึกษาแบบต่อเนื่องของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Do Transit Price Incentives Affect Changes in Travel Behavior? Preliminary Results from a Longitudinal Study of Chulalongkorn University Students

   

พุทธิพันธุ์ เศรณีปราการ, เกริกฤทธิ์ ศรีรุ่งวิกรัย และ เกษม ชูจารุกุล
Puttipan Seraneeprakarn, Kerkritt Sriroongvikrai and Kasem Choocharukul

   
   
บทคัดย่อ

การจูงใจด้านราคาค่าโดยสารของระบบขนส่งสาธารณะนับเป็นมาตรการหนึ่งของการจัดการอุปสงค์การเดินทาง ที่สามารถแก้ไขปัญหาการเพิ่มขึ้นของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้ในต่างประเทศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของมาตรการดังกล่าวในกรุงเทพมหานคร โดยพิจารณามาตรการการลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าและติดตามพฤติกรรมการเดินทางของกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วย นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่สามารถเดินทางได้ด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลและรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้ามหานคร การศึกษานี้อาศัยการออกแบบการทดลองอย่างเป็นระบบโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าโดยเสียค่าโดยสารเพียงครึ่งราคา และกลุ่มที่สามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร ผลจากการวิเคราะห์ทางสถิติทำให้ทราบถึง ระดับของการจูงใจด้านราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางในรูปแบบการเดินทางทั้ง 2 รูปแบบ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายเพื่อให้ผู้เดินทางเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลลดลงได้

กลับสู่หน้ารวมบทความ

   
   

ABSTRACT

Transit price incentives can be considered one of the travel demand management strategies that have been proved as an efficient tool to cope with the increase in personal car use in other countries. The objective of this study is to investigate the impacts of such a strategy in Bangkok. In this study, price reduction of urban rail transit is given to samples and their travel behavior is monitored. The samples consist of Chulalongkorn University’s students who are able to commute either by car or rail systems (BTS/MRT). Three groups are considered in the systematic experimental design: a control group, an experimental group given a halfprice transit fare, and an experimental group given a free transit ride. Results from statistical analysis will help understand the appropriate levels of price incentives affecting mode choices. Moreover, the results will be beneficial in formulating policy that can reduce car usage and increase BTS/MRT ridership.

KEYWORDS: Travel Demand Managment, Price Incentive, Travel Behavior, Experimental Design

Back to List of Papers

   
  © Copyright 2008, K. Choocharukul, Last Updated: June 26, 2004 .