IQ (Intelligence Quotient) มาจากสูตรคำนวณระดับความฉลาดของคนเรา โดยคนทั่วไปจะมีระดับ IQ ปานกลางอยู่ที่ 90-109 ส่วนอัจฉริยะนั้นจะมี IQ 140 ขึ้นไป
           คนที่มี IQ ดีไม่ใช่ในด้านการเรียนเก่งเพียงอย่างเดียว หากในทางจิตวิทยาแล้วหมายถึงคนที่มีสติปัญญาดี มีความสามารถในการจำ เข้าใจ และนำไปใช้ สามารถแสดงเหตุผลวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าในเรื่องต่างๆ สามารถแก้ไขปัญหาสถานการณ์ สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังสามารถทำกิจกรรมที่มีความสลับซับซ้อนหรือเป็นนามธรรมได้ดีด้วย

                 IQ มีที่มาจาก 2 ส่วน คือพันธุกรรม และการเลี้ยงดู ซึ่งการเลี้ยงดูที่ดีและถูกต้องนั้นเอง ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเพิ่มระดับ IQ ขึ้นได้ ว่ากันว่าพ่อแม่สามารถพัฒนา IQ ลูกปกติให้สูงขึ้นไปได้อีกประมาณ 20 คะแนน โดยการเลี้ยงลูกที่ดีตั้งแต่แรกคลอด ซึ่งมีกลเม็ดเคล็ดลับดังนี้ ...

ให้สัมผัสรักที่อบอุ่น เพราะการสัมผัส โอบกอด จะทำให้ลูกรู้สึกว่าตนเองเป็นที่รัก ตนเองมีค่า และเมื่อเด็กรู้สึกดีต่อตัวเอง ก็มักจะทำให้เป็นคนใฝ่เรียนรู้และใช้ความคิดได้มากกว่า
ให้เวลาลูกเพียงพอเมื่อลูกต้องการ นอกจากนี้ควรให้ลูกหัดอยู่คนเดียวบ้าง เช่น จัดสถานที่ที่ลูกจะได้อยู่คนเดียวอย่างสงบและปลอดภัย เพื่อลูกจะได้มีเวลาเป็นของตนเองที่จะคิด ทำ หรือคิดค้นในเรื่องที่สนใจหรือปรารถนาได้อย่างไม่ต้องกังวล ทำให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง
จัดหารอุปกรณ์ เครื่องใช้ และของเล่นที่เหมาะสมตามฐานะเพื่อลูกจะสามารถหยิบขึ้นมาเล่น หรือคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆจากสิ่งของเหล่านั้นได้ทันที
ควรปล่อยให้ลูกได้คิดสร้างสรรค์เต็มที่ไม่ควรวุ่นวาย คาดคั้น บังคับให้ลูกทำสิ่งต่างๆมากจนเกินไป จนลูกไม่สามารถสร้างสรรค์ได้เลย
ควรชมลูกเมื่อทำสิ่งที่ดี และให้กำลังใจเมื่อลูกทำผิดและรู้ว่าผิด คำชื่นชมเป็นกำลังใจสำคัญที่ช่วยให้ลูกฝ่าฟันไปได้
สนับสนุนให้ลูกได้ทำในสิ่งที่ลูกชอบและถนัด เช่น
ลูกสนใจดนตรีหรือกีฬาใดๆก็ควรปลูกฝังและส่งเสริมอย่างเต็มที่
ชักชวนลูกให้สนุกกับการได้คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆในทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องเล็กเรื่องน้อย เช่น ให้ลูกได้ออกแบบและตกแต่งห้องนอนของลูกเอง เลือกเสื้อผ้าและของใช้เอง
มองความสามารถของลูกตามความเป็นจริง เพื่อที่จะไม่มีการคาดหวังที่สูงเกินไป จนกลายเป็นการไปกดดันลูกให้ทำในสิ่งที่ยากเกินวัยหรือพัฒนาการของลูก
แสดงให้ลูกเห็นว่าคุณกระตือรือร้นและพร้อมที่จะรับฟังสิ่งที่ลูกพูดเสมอ เป็นการเปิดกว้างทางความคิดให้ลูก
ก่อนที่จะออกคำสั่งกับลูกต้องคอดเสมอว่าคำสั่งเชิงบวกย่อมดีกว่าคำสั่งเชิงลบ เช่น "ให้ทำ" แม้จะอยู่ในบริบทที่จำกัดก็ย่อมดีกว่าคำสั่งว่า "อย่าทำ" อยู่ดี