เมื่อแรกคลอดลูกจะเริ่มพัฒนาจากการใช้ศีรษะก่อน หลังจากลูกคลอดออกมา แล้วจะสังเกตได้ว่ามีปฏิกิริยาหนึ่ง ที่เป็นสัญชาตญาณเลยคือถ้ามีอะไรมากระทบหรือแตะๆที่แก้มของลูก ลูกจะหันไปดูดเลยเนื่องจากเข้าใจว่าเป็นหัวนมของแม่ การเคลื่อนไหวศรีษะของเด็กจะดีกว่าส่วนอื่นในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดของเด็กเอง คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะรู้ดีว่าถ้าอยากให้ลูกหันมาดูกนมเราเพียงเอานิ้วเขี่ยๆ ที่แก้มเขาเขาก็จะหันมาแล้วรีบดูดนมทันทีเลย

           คุณแม่หลายท่านอาจสงสัยว่าเมื่อลูกคลอดออกมาใหม่ๆลูกมองเห็นอะไรหรือยังก็ต้องตอบกันชัดๆ ว่าการเห็นของเด็กๆจะพัฒนาอย่างช้าๆ เมื่อคลอดใหม่ๆนั้นลูกแยกได้เฉพาะความมืดกับความสว่าง ต่อมาพออายุได้สัก 2-3 อาทิตย์ ลูกจะเริ่มมองเห็นสิ่งของที่อยู่ใหล้ๆ และเมื่ออายุ 1-2 เดือนลูกจะทั้งมองเห็นและจำหน้าผู้คนได้บ้างแล้วโดยเฉพาะหน้าของคุณแม่ ต่อมาเมื่ออายุประมาณ 3 เดือนเด็กจะมองไปรอบๆ ทุกทิศโดยอาจจะยังควบคุมการทำงานของตาทั้งสองข้างได้ไม่ดีนัก บางครั้งจึงดูว่ามีลัษณะตาเขๆ ซึ่งเมื่อโตขึ้นอีกนิดจะหายไปเอง

           หลังคลอดถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าบางครั้งขณะลูกหลับเขายิ้มคนเดียว ซึ่งจริงๆแล้ว ยิ้มแบบนี้ถือว่ายังไม่ได้เกิดจากอารมณ์ของลูกแต่เป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อใบหน้าเท่านั้น การยิ้มอย่างมีความหมายจะเริ่มเมื่อลูกอายุครบ 1-2 เดือน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะตื่นเต้นดีใจเป็นที่สุด กับรอยยิ้มครั้งแรกที่ลูกยิ้มให้

          เมื่อลูกเริ่มมองเห็น เริ่มแยกแยะใบหน้าของผู้คนได้คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า เมื่อไหร่ลูกจะเริ่มกลัวคนแปลกหน้า ตามตำราแล้วเมื่อเด็กอายุ 2 เขาจะยังไม่มีปฏิกิริยาใดๆต่อคนแปลกหน้าเพียงแค่มองๆดูเฉยๆ แต่พออายุประมาณ 3 เดือน เด็กมักยิ้มให้คนแปลกหน้าได้โดยไม่กลัวเลย ทีนี้มาถึงอายุ 5 เดือนนี่ซิคะ เด็กจะมีปฏิกิริยากลัวคนแปลกหน้าเห็นแล้วเป็นต้องร้องไห้จ้า หากลูกมีอาการกลัวคนแปลกหน้าหรือสิ่งของบางอย่างในระยะนี้ก็ให้พยายามหลีกเลี่ยงเสีย

          พัฒนาการต่อมาคือการพลิกคว่ำซึ่งไม่มีกฎเกณฑ์ตามตัวว่า กี่เดือนลูกจะพลิดคว่ำ พลิกหงายได้ (โดยทั่วไปที่จะทำได้คือเด็กอายุประมาณ 4 เดือน) พอเริ่มพลิกได้เขาจะเห่อมากขยันพลิกคว่ำพลิกหงายอยู่เรื่อยๆ ซึ่งคุณแม่ต้องคอยระมัดระวังเรื่องการตกเตียง ซึ่งมักเกิดบ่อยๆในระยะนี้ ควรหาอะไรมากั้นให้ดีอย่าชะล่าใจว่าเอาลูกไว้กลางเตียงที่แสนจะกว้างใหญ่แล้ว เจ้าตัวเล็กความสามารถสูง และกำลังเห่อเขาอาจพลิกจนตกได้เช่นกัน

          ขั้นต่อไปคือการนั่ง เด็กมักนั่งตัวตรงๆได้เองเมื่ออายุประมาณ 7-9 เดือน ซึ่งเด็กตื่นเต้นมากเมื่อเขาสามารถนั่งได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามบางครั้งนั่งๆอยู่ลูกอาจเมื่อย เพลียล้มตึงลงดื้อๆ เพื่อความปลอดภัยให้นั่งบนเตียงหรือเบาะนุ่มๆไปก่อนก็แล้วกัน
           เมื่อนั่งได้แล้วก็มักตามมาด้วยการคลานได้ (ประมาณ 8-9 เดือน) จริงๆลูกอาจหัดคลานมาตั้งแต่อายุ 6 เดือนแล้ว การคลานเป็นพัฒนาการที่ยากสำหรับเด็ก ต้องการการประสานงานของกล้ามเนื้อหลายอย่าง ทั้งแขนๆขาๆ ท่าคลานของเด็กจะแตกต่างกันไปไม่ต้องไปกังวลคะ เด็กบางคนข้ามขั้นไม่คลานแต่ไปหัดเดินเอาเลยก็ม
           สำหรับการยืนนั้นเป็นอีกพัฒนาการหนึ่ง ที่เด็กแต่ละคนทำได้ เมื่ออายุแตกกต่างกันไป บางคนหัดยืนตั้งแต่อายุ 9 เดือน บางคน 1 ขวบยังไม่ยืนแต่ก็ไม่ได้มีผลเสียหายแต่อย่างใด

          ต่อจากการยืนก็มาถึงการเดิน เด็กบางคน 9 เดือนก็เดินเองได้แล้ว แต่จริงๆอายุเฉลี่ยของเด็กที่เดินได้คือที่ 12 เดือนถึง 15 เดือนแล้วแต่สภาวะของเด็กแต่ละคน เช่น น้ำหนักตัว ประสบการณ์ที่เคยหกล้ม โรคภัยของเด็ก การหัดให้ลูกเดินเป็นเรื่องที่สนุกและน่าจดจำ เขาจะเริ่มจากจับมือเรา 2 มือ เดินไป ถ้ากำลังเห่อจะร้องให้ช่วยจับมือเดินทั้งวัน ต่อมาจะปล่อยมือหรือจับคุณแม่มือเดียวแล้วตามด้วยไม่จับมือเลย โดยเดินได้ระยะทางสั้นๆ แล้วค่อยๆ ยาวขึ้น ช่วงนี้ลูกจะขยันหัดเดินมาก เขาจะตื่นเต้นดีใจถ้าสามารถเดินได้ด้วยตัวเอง และจะหัดทำซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่ม่เบื่อ
          มาถึงเรื่องการพูด โดยทั่วไปเด็กจะเริ่มพูดแบบมีความหมายเมื่ออายุเกือบ 1 ขวบ สำหรับเรื่องการพูดนี้เด็กบางคนพูดช้ามาก มีข้อสังเกตว่าเด็กที่ไม่พูดเลยจนอายุ 2 ขวบ ถือว่าผิดปกติต้องพบแพทย์คะ เพราะอาจมีปัญหาที่ต้องแก้ไข เช่น การที่หูไม่ได้ยินเป็นต้น สำหรับการพูดนี้ ก็แตกต่างกันไปมาก ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย บางคนคุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยคุยด้วย เด็กจะพูดช้าและที่เห็นกันในปัจจุบันคือ ผู้ใหญ่บางคนชอบพูดกับเด็กโดยใช้ภาษาเด็ก (แกล้งพูดไม่ชัด) โดยเข้าใจว่าพูดกับเด็กก็ต้องทำเป็นพูดไม่ชัดเหมือนเด็กเช่น "น้องอายคนจ๋วยของน้า" การทำแบบนี้ ทำให้เด็กพูดไม่ชัดตามไปด้วย พบได้บ่อย ดังนั้นคุยกับเด็ก ควรออกเสียงให้ชัดเจน เป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กเล็กด้วย

           อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องยึดหลัว่าอายุเท่านี้ลูกต้องทำนั่นทำนี่ได้ ไม่ต้องกังวลหากลูกมีพัฒนาการบางอย่างช้าไปบ้าง คนเป็นพ่อเป็นเป็นแม่ก็มักจะอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบกับเด็กอื่นในวัยไล่เลี่ยกันว่าเขาทำได้แล้วนะ ลูกเรายังทำไม่ได้ขอให้คิดไว้เสมอว่า พัฒนาการในวัยเด็กไม่ได้บ่งชี้สติปัญญาของเด็กเสมอไป ให้รู้ไว้เป็นบรรทัดฐานบ้างเท่านั้นเอง อย่างไรก็ขอให้มีความสุข กับการเฝ้าดูลูกโตวันโตคืนมีพัฒนาการต่างๆ ที่น่าตื่นเต้นน่าจดจำตลอดไปนะคะ