Child Management

                                                       การปรับพฤติกรรมเด็กในการทำฟัน

                                                                             

การจัดการพฤติกรรมโดยวิธีการทางจิตวิทยา

การปรับและเสริมพฤติกรรมเด็กในการรักษาทางทันตกรรม

               ความรู้ความสามารถในวิชาอื่น ๆ ที่ทันตแพทย์ได้รับจากหลักสูตร ท.บ. นั้นอาจเพียงพอ

สำหรับการบำบัดรักษาโรคในช่องปากในผู้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วย

เด็กซึ่งทันตแพทย์ต้องมีความรู้ความสามารถในการปรับพฤติกรรมเด็กให้ยอมรับการทำฟันอีกอย่าง

หนึ่ง จึงจะทำให้การทำฟันในเด็กประสบผลสำเร็จ

                การทำให้เด็กยอมรับการทำฟันและการเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อการทำฟันนั้น

เป็นศาสตร์และศิลปะอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องมีการฝึกอบรม และมีประสบการณ์ที่มากเพียงพอ การ

บำบัดรักษาทางทันตกรรมสำหรับเด็กที่ดีนั้น มิได้หมายความแต่เพียงว่า อุดฟันหรือถอนฟัน ฯลฯ

ให้สำเร็จไปได้แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นก็พอ แต่ความจริงแล้วการทำฟันเด็กที่ดีนั้นมีความหมายที่

กว้างและครอบคลุมเกินไปกว่านั้นอีกมาก

            ปกติเด็กเปรียบเหมือนผ้าขาว เด็กยังไม่มีประสบการณ์และการเรียนรู้ ดั้งนั้น การทำฟันครั้ง

แรกของเขาเป็นอย่างไรเขาก็จะมีความรู้สึกอย่างนั้นตลอดไป ยากที่จะลบเลือนหรือเปลี่ยนแปลงได้

การทำงานกับเด็กในทางทันตกรรมนั้นจะเริ่มต้นตั้งแต่เด็กเดินเข้าประตูสำนักงานทันตแพทย์

เข้ามาจนถึงห้องทำฟัน ขณะทำฟัน จนถึงส่งเด็กกลับบ้านไปทันตแพทย์และผู้ร่วมงานทุกคนล้วนแล้ว

แต่มีบทบาทและหน้าที่ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมของเด็กในการทำฟันด้วยกันทั้งสิ้น และควรได้รับการ

ฝึกฝนอบรมมาอย่างดีในการแนะนำและจูงใจเด็กให้ยอมรับการทำฟัน นอกเหนือไปจากการมีความเสียสละความเมตตากรุณาความห่วงใยเด็กอย่างจริงใจ และความสามารถของทันตแพทย์

ปัจจุบันเรามีวิธีปรับพฤติกรรมเด็กในการทำฟันที่มีประสิทธิภาพและมีหลักฐานยืนยันและ

อ้างอิงเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทันตแพทย์มีความเข้าใจพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจ

ของเด็กมากขึ้นและนำมาใช้ ในการแนะนำและจูงใจเด็กให้ยอมรับการทำฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไปเด็กที่มาพบทันตแพทย์เพื่อทำฟันมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือเด็กร่วมมือและไม่

ร่วมมือ สาเหตุแรกที่ทำให้เด็กเกิดความไม่ร่วมมือในการทำฟันก็คือความกลัวซึ่งอาจมาจากประสบ-

การณ์ที่เคยได้รับหรือไม่เคยได้รับก็ตาม และยังขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดและลักษณะนิสัยของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย

ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะพาบุตรหลานของตนมาหาทันตแพทย์ต่อเมื่อเด็กมีอาการเกี่ยวกับ

ฟันแล้ว เช่นฟันผุ ปวดฟัน เหงือกบวม หน้าบวม ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นการรักษาก็จะยุ่งยากขึ้นตามลำดับ

ของอาการที่ปรากฏ อาจจะต้องมีการเจ็บปวดบ้าง เช่นรักษาประสาทฟัน ถอนฟัน หรือได้รับความเบื่อหน่ายจากการที่จะต้องอ้าปากให้ทันตแพทย์ทำการรักษาเป็นเวลานาน ๆ แต่ถ้าผู้ปกครองพาเด็ก

ไปหาทันตแพทย์เสียตั้งแต่ยังไม่มีอาการ การตรวจ การรักษาก็ง่าย เด็กจะรู้สึกสนุกสนานในขณะทำ

ฟัน ทัศนคติของเด็กต่อการทำฟันก็จะเป็นไปในทางที่ดี แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะคิดว่า ถ้าเด็กมีปัญหาเรื่องฟันก็พาไปหาทันตแพทย์ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทันตแพทย์ โดยทิ้งภาระทั้งหมดไว้ให้กับทันตแพทย์ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เพราะเด็กจะมาอยู่กับทันตแพทย์เพียงชั่วขณะที่เด็กมารับการรักษาฟันเท่านั้น อาจเป็นเวลาเพียงแค่ครึ่งชั่วโมง หนึ่งชั่วโมง ฯ ซึ่งหมายถึงเป็นชั่วระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น แต่เด็กจะอยู่กับผู้ปกครองแทบตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ดังนั้นผู้ปกครองจะเป็นผู้ที่ดูแลเด็กได้ดีที่สุด

ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็เพื่อให้นิสิต ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงหลักการของการ

ปรับพฤติกรรมเด็กให้ยอมรับการทำฟันอย่างถูกต้องสามารถแนะนำและจูงใจเด็กให้มีพฤติกรรมใน

การทำฟันที่ดี ไม่หวาดกลัวและเป็นมิตรกับทันตแพทย์ ซึ่งนอกจากจะทำให้ทันตแพทย์สามารถทำฟัน

ให้เขาได้แล้ว ยังเป็นการทำให้เด็กเรียนรู้ว่าการทำฟันนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดาที่ทุกคนต้องทำ ไม่น่า

กลัว เป็นการเสริมสร้างทัศนคติต่อการทำฟันทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้แก่เด็ก เด็กจะเจริญเติบโต

เป็นผู้ใหญ่ที่มีทันตสุขภาพสมบูรณ์ไม่ต้องบำบัดรักษามากอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพราะทันตแพทย์

สามารถดูแลสุขภาพในช่องปากให้เด็กได้อย่างดีและถูกต้องเมื่อเด็กไม่กลัวการทำฟัน

ในการปรับพฤติกรรมเด็กในการทำฟันนี้ นิสิตจำเป็นต้องเรียนรู้ปัญหาและพฤติกรรมของ

เด็กในวัยต่าง ๆ ครอบครัวและทัศนคติในการอบรมเด็ก ขณะเดียวกันตัวทันตแพทย์และทันตบุคคลากร

เองก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจด้วย นอกจากนั้นสถานที่สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศในคลินิกก็ต้องจัด

เตรียมให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่เป็นเด็กด้วยเช่นเดียวกัน

การบำบัดรักษาทางทันตกรรมเด็กที่ดี

การทำฟันเด็กที่ดีนั้นมีหลักการดังนี้

1. Quality นั่นคือการทำงานต้องมีคุณภาพอันหมายรวมถึงทางด้านการรักษาและ

การป้องกันร่วมไปด้วย

2. Comfort ต้องมีความสะดวกสบายทั้งทันตแพทย์ผู้ทำการรักษา ทั้งของเด็ก

ผู้ปกครองและผู้ร่วมงานทุกคนด้วย

3. Motivation ต้องมีการกระตุ้นให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อการทำฟัน เพื่อเด็ก