URENUS (ยูเรนัส)

 

 

 

ure

      ประวัติความเป็นมา

     ดาวยูเรนัส (หรือ มฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3. ตั้งชื่อตามเทพเจ้า Ouranos ของกรีก สัญลักษณ์แทนดาวยูเรนัส คือ Uranus symbol.ant.png หรือ สัญลักษณ์ดาราศาสตร์ดาวยูเรนัส (ส่วนใหญ่ใช้ในดาราศาสตร์) ชื่อไทยของยูเรนัส คือ ดาวมฤตยู

ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล(Sir William Herschel) พบในปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W. Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมี วงแหวนจางๆโดยรอบ

และเราก็ได้เห็นรายละเอียด ของดาวยูเรนัสพร้อมทั้งวงแหวน และดวงจันทร์บริวารในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เมื่อยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) เคลื่อนผ่าน

 

    ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ

hh

 

       โครงสร้างภายใน

    บรรยากาศชั้นนอก ประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่ แต่ลึกลงไปมีส่วนประกอบของ แอมโมเนีย มีเทน ผสมอยู่ด้วย    ดาวยูเรนัสแผ่ความร้อนออกจากตัวดาวน้อยมาก อาจจะเป็นเพราะภายในไม่มีการยุบตัวแล้ว หรืออาจมีบางอย่างปิดกั้นไว้ก็ยังไม่ทราบแน่ชัด    นักดาราศาสตร์คาดว่า แกนของดาวยูเรนัส มีลักษณะคล้ายกับดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ถัดมาเป็นแกนชั้นนอกที่เต็มไปด้วยแอมโมเนียและมีเทน   เราจึงมองว่าดาวยูเรนัสเป็นสีเขียว

   คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์

    ดาวยูเรนัสโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 84 ปี แกนของดาวทำมุมกับระนาบระบบสุริยะถึง 98 องศา ทำให้ฤดูกาลบนดาวยาวนานมาก คือ     ด้านหนึ่งจะมีฤดูหนาว 42 ปี และอีกด้านจะร้อนนาน 42 ปี และบางที่บนดาวพระอาทิตย์จะไม่ตกเลยตลอด 42 ปี และบางที่ก็จะไม่ได้รับแสงเลยตลอด 42 ปี    ที่ระยะนี้ พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์แผ่มาน้อยมาก จึงทำให้กลางวันและกลางคืนของดาวยูเรนัสมีอุณหภูมิต่างกัน 2 องศาเซลเซียสเท่านั้น

 

 

moon

ดวงจันทร์ของดาวยูเรนัสบางส่วนตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก จากซ้ายไปขวา: พัก, มิแรนดา, แอเรียล, อัมเบรียล, ทิทาเนีย และโอเบอรอน

 

 

   ดาวบริวารของดาวยูเรนัส

  ดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดยักษ์ในระบบสุริยะ มีดวงจันทร์ที่รู้จักแล้ว 27 ดวง[1]   โดยทั้งหมดถูกตั้งชื่อตามตัวละครในผลงานการประพันธ์ของวิลเลียม เชกสเปียร์ และอเล็กซานเดอร์ โปป[2] โดยใน ค.ศ. 1787   ดวงจันทร์สองดวงแรกถูกค้นพบโดยวิลเลียม เฮอร์เชล ได้แก่ ทิทาเนียและโอเบอรอน ส่วนดวงจันทร์ทรงกลมอื่น ๆ ถูกค้นพบโดยวิลเลียม ลาสเซลล์   ในปี ค.ศ. 1851 (ได้แก่ แอเรียลและอัมเบรียล) และในปี ค.ศ. 1948 โดยเจอราร์ด ไคเปอร์ (มิแรนดา)[2] ดวงจันทร์ที่เหลือถูกค้นพบหลังจากปี ค.ศ.   1985 โดยภารกิจของวอยเอจเจอร์ 2 และด้วยความช่วยเหลือของกล้องโทรทรรศน์บนโลกที่ทันสมัย[1][3]

  ดวงจันทร์ของดาวยูเรนัสถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มดวงจันทร์รอบในสิบสามดวง (thirteen inner moons), กลุ่มดวงจันทร์ขนาดใหญ่ห้าดวง   (five major moons) และกลุ่มดวงจันทร์ทรงแปลกเก้าดวง (nine irregular moons)   โดยกลุ่มดวงจันทร์รอบในสิบสามดวงจะกระจัดกระจายอยู่ภายในบริเวณวงแหวนของดาวยูเรนัส   กลุ่มดวงจันทร์ขนาดใหญ่ห้าดวงเป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่และเป็นทรงกลม ในนั้น 4 ดวงเป็นดวงจันทร์ที่ยังมีกระบวนการภายใน มีภูเขาไฟ   และการเปลี่ยนแปลงบนเปลือกดาวอยู่[3] ดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มคือ ทิทาเนีย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,578 กม.   และยังเป็น 1 ใน 8 ดวงจันทร์ขนาดใหญ่ในระบบสุริยะ ส่วนกลุ่มดวงจันทร์ทรงแปลกเก้าดวง เป็นดวงจันทร์ที่มีรูปร่างผิดปกติและมีวงโคจรที่เอียง   (ส่วนใหญ่) ทำมุมกับดาวยูเรนัสและโคจรอยู่ไกลมาก

 

   การค้นพบ

ในครั้งแรก ดวงจันทร์ทิทาเนียกับดวงจันทร์โอเบอรอน ถูกค้นพบโดยเซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล เมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1787 6 ปีหลังจากที่เขาค้นพบดาวเคราะห์ของตัวเอง ต่อมา เฮอร์เชลได้ค้นพบดวงจันทร์อีกถึง 6 ดวง

] รายชื่อ

อันดับ
ลำดับค้นพบ
ชื่อ
ภาษาอังกฤษ
ภาพ เส้นผ่านศูนย์กลาง
(กม.)
มวล
(18 ×  กก.)
กึ่งแกนเอก
(กม.)[4]
คาบดาราคติ
(วัน)
ความเอียงของวงโคจร
(°)[4]
ความเยื้องศูนย์กลาง
[5]
ปีที่ค้นพบ[2]
ค้นพบโดย
[2]
1 06 VI คอร์ดีเลีย Cordelia 0040 40 ± 6
(50 × 36)
000004 0.044 00049000 49,751 0000.33 0.335034 000.084 0.08479° 0.00026 1986 เทอร์ไรล์
(วอยเอจเจอร์ 2)
2 07 VII โอฟีเลีย Ophelia 0043 43 ± 8
(54 × 38)
000005 0.053 00053000 53,764 0000.37 0.376400 000.103 0.1036° 0.00992 1986 เทอร์ไรล์
(วอยเอจเจอร์ 2)
3 08 VIII เบียงกา Bianca 0051 51 ± 4
(64 × 46)
000009 0.092 00059000 59,165 0000.43 0.434579 000.193 0.193° 0.00092 1986 สมิท
(วอยเอจเจอร์ 2)
4 09 IX เครสซิดา Cressida 0080 80 ± 4
(92 × 74)
000034 0.34 00061000 61,766 0000.46 0.463570 000.006 0.006° 0.00036 1986 ซินนอตต์
(วอยเอจเจอร์ 2)
5 10 X เดสดิโมนา Desdemona 0064 64 ± 8
(90 × 54)
000018 0.18 00062000 62,658 0000.47 0.473650 000.111 0.11125° 0.00013 1986 ซินนอตต์
(วอยเอจเจอร์ 2)
6 11 XI จูเลียต Juliet 0094 94 ± 8
(150 × 74)
000056 0.56 00064000 64,360 0000.49 0.493065 000.065 0.065° 0.00066 1986 ซินนอตต์
(วอยเอจเจอร์ 2)
7 12 XII พอร์ชา Portia 0135 135 ± 8
(156 × 126)
000170 1.70 00066000 66,097 0000.51 0.513196 000.059 0.059° 0.00005 1986 ซินนอตต์
(วอยเอจเจอร์ 2)
8 13 XIII รอซาลินด์ Rosalind 0072 72 ± 12 000025 0.25 00069000 69,927 0000.55 0.558460 000.279 0.279° 0.00011 1986 ซินนอตต์
(วอยเอจเจอร์ 2)
9 27 XXVII คีวปิด Cupid 0018 ~18 000000.38 0.0038 00074000 74,800 0000.61 0.618 000.1 0.1° 0.0013 2003 โชวัลเทอร์และ
ลิสซาวเวอร์
10 14 XIV เบลินดา Belinda
belinda
0090 90 ± 16
(128 × 64)
000049 0.49 00075000 75,255 0000.62 0.623527 000.031 0.031° 0.00007 1986 ซินนอตต์
(วอยเอจเจอร์ 2)
11 25 XXV เพอร์ดิตา Perdita 0030 30 ± 6 000002 0.018 00076000 76,420 0000.63 0.638 000 0.0° 0.0012 1999 คาร์คอชกา
(วอยเอจเจอร์ 2)
12 15 XV พัก Puck
punk
0162 162 ± 4 000290 2.90 00086000 86,004 0000.76 0.761833 000.319 0.3192° 0.00012 1985 ซินนอตต์
(วอยเอจเจอร์ 2)
13 26 XXVI แมบ Mab 0025 ~25 000001 0.01 00097000 97,734 0000.92 0.923 000.133 0.1335° 0.0025 2003 โชวัลเทอร์และ
ลิสซาวเวอร์
14 05 V มิแรนดา Miranda
miranda
0470 471.6 ± 1.4
(481 × 468 × 466)
006600 65.9 ± 7.5 00129000 129,390 0001.4 1.413479 004 4.232° 0.0013 1948 ไคเปอร์
15 01 I แอเรียล Ariel
ariel
1157 1,157.8 ± 1.2
(1162 × 1156 × 1155)
135000 1,353 ± 120 00191000 191,020 0002.5 2.520379 000.260 0.260° 0.0012 1851 ลาสเซลล์
16 02 II อัมเบรียล Umbriel
umbriel
1169 1,169.4 ± 5.6 117000 1,172 ± 135 00266000 266,300 0004.1 4.144177 000.205 0.205° 0.? 1851 ลาสเซลล์
17 03 III ทิทาเนีย Titania
titania
1577 1,576.8 ± 1.2 353000 3,527 ± 90 00435000 435,910 0008.7 8.705872 000.340 0.340° 0.0011 1787 เฮอร์เชล
18 04 IV โอเบอรอน Oberon
vo
1522 1,522.8 ± 5.2 301000 3,014 ± 75 00583000 583,520 0013 13.463239 000.058 0.058° 0.0014 1787 เฮอร์เชล
19 22 XXII ฟรานซิสโก Francisco 0022 ~22 000000.72 0.0072 04000000 4,276,000 0266 −266.56 147.459° 0.1459 2003 [6] ฮอลแมนและคณะ
20 16 XVI แคลิแบน Caliban 0072 ~72 000025 0.25 07000000 7,231,000 0579 −579.73 139.885° 0.1587 1997 แกลดแมนและคณะ
21 20 XX สเตฟาโน Stephano 0032 ~32 000002.2 0.022 08000000 8,004,000 0677 −677.37 141.873° 0.2292 1999 แกลดแมนและคณะ
22 21 XXI ทริงคูโล Trinculo 0018 ~18 000000.39 0.0039 08000000 8,504,000 0749 −749.24 166.252° 0.2200 2001 ฮอลแมนและคณะ
23 17 XVII ซิคอรักซ์ Sycorax 0150 ~150 000230 2.30 12,179,000 1288 −1288.28 152.456° 0.5224 1997 นิโคลสันและคณะ
24 23 XXIII มาร์การิต Margaret 0020 ~20 000000.54 0.0054 14,345,000 1687 1687.01 051 51.455° 0.6608 2003 เชปเพิร์ดและ
ยิวอิตต์
25 18 XVIII พรอสเพอโร Prospero 0050 ~50 000008.5 0.085 16,256,000 1978 −1978.29 146.017° 0.4448 1999 ฮอลแมนและคณะ
26 19 XIX เซเทบัส Setebos 0048 ~48 000007.5 0.075 17,418,000 2225 −2225.21 145.883° 0.5914 1999 แคเวลาร์สและคณะ
27 24 XXIV เฟอร์ดินานด์ Ferdinand 0020 ~20 000000.54 0.0054 20,901,000 2805 −2805.51 167.346° 0.3682 2003 ฮอลแมนและคณะ

 

      

u

      วงแหวน

       วงแหวนของดาวยูเรนัสมีความมืดมาก ผิดกับวงแหวนที่สว่างของดาวเสาร์ ถ้าไม่มองด้วยกล้องโทรทัศน์ก็จะมองไม่เห็น    วงแหวนของดาวยูเรนัสถูกพบโดยหอดูดาวแอร์บอร์นในปี 1977 ซึ่งเป็นยานชนิดพิเศษที่นำกล้องโทรทัศน์ไปด้วย    นักดาราศาสตร์บนเครื่องบินเฝ้ามองดูดาวยูเรนัสเมื่อมีดาวฤกษ์เคลื่อนไหวมาตรงข้ามหน้าของมัน ยานวอยเอเจอร์ 2    มองดูที่วงแหวนเมื่อมันบินผ่านดาวยูเรนัส วงแหวนของดาวยูเรนัสจะแคบ วงแหวนที่กว้างที่สุดคือช่องว่างที่ใหญ่ซึ่งประกอบไปด้วยก้อนฝุ่น      ยานวอเยเจอร์พบส่วนโค้งบางอย่าง ซึ่งเป็นส่วนของวงแหวนที่ไม่สมบูรณ์ วงแหวนของดาวยูเรนัสประกอบด้วยชิ้นน้ำแข็งมืดที่เคลื่อนไหว   น้ำแข็งประกอบด้วยมีเทนแข็ง ชิ้นส่วนของมันอาจจะชนกันและทำให้เกิดฝุ่นที่อยู่ในช่องว่างระหว่างวงแหวน