บทที่ 1

หลักการแสวงหาความรู้และธรรมชาติของการวิจัย

การวิจัยนั้นถือได้ว่า มีความสำคัญอย่างมากในทุกสาขาวิชา และอาชีพ ที่มีขึ้น หรือเกิดขึ้นในโลก จะเห็นได้ว่า สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ได้บรรจุวิธีวิจัยเข้าไปในหลักสูตรในทุกระดับชั้นของ การศึกษา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท จนกระทั่งถึงระดับปริญญาเอก นอกเหนือจากนั้นยังมีสถาบันวิจัยเฉพาะ สาขาเกิดขึ้นอย่างมากมาย ตลอดจนหน่วยงานเอกชน ทั้งที่แสวงหากำไร และไม่มีกำไร ที่มีการจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ ซึ่งเราอาจกล่าวรวม ๆ ได้ว่า การวิจัยมีส่วนช่วยพัฒนาหน่วยงานเล็ก ๆ ไปจนถึงระดับ ประเทศในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์

การที่มนุษย์ต้องดิ้นรนเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดอยู่ในสังคม และสามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ มนุษย์ส่วนมาก หรือเกือบทั้งหมดใช้สมองในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ มาตลอดเวลา นับตั้งแต่มนุษย์มีวิวัฒนาการ มนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็น และพยายามแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ทำให้มนุษย์ได้รับความรู้ใหม่ ๆ และสามารถประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านั้น เกิดขึ้นจากการ เสาะแสวงหาทั้งสิ้น โดยเริ่มต้นจากวิธีการที่ไม่มีแบบแผน และระบบ ใช้อารมณ์ และความรู้สึก และไม่มีเหตุผล พัฒนาขึ้นมาอย่างช้า ๆ เรื่อย ๆ จนเป็นวิธีการที่มีระบบแบบแผนที่สมบูรณ์ มีการใช้ความคิด และการใช้เหตุผล และเป็นวิธีการที่ได้รับการพัฒนามาใช้ในงานวิจัยในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีการที่สามารถทำให้มนุษย์ร่วม สังคมยอมรับในการทำให้เกิดความรู้ หรือคำตอบที่เชื่อถือได้ ซึ่งวิวัฒนาการของมนุษย์ในการหาความรู้ ความจริงมีวิวัฒนาการดังต่อไปนี้
1. วิธีการโบราณ มนุษย์ในสมัยโบราณนั้น มีวิธีการหาความรู้หลายวิธี ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

•  โดยความบังเอิญ (By Chance) ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากความไม่ตั้งใจ เช่น การค้นพบไฟ

หรือประโยชน์จากการใช้ไฟที่เกิด ขึ้นจากฟ้าผ่า การค้นพบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ซึ่งผลที่ได้รับกลับทำให้มนุษย์ได้ความรู้ในอีกเรื่องหนึ่ง เช่น การค้นพบไฟทำให้ ร่างกายอบอุ่นขึ้น ไฟสามารถใช้เป็นพลังงานความร้อนที่ทำให้ของสุก เป็นต้น

1.2 โดยขนบธรรมเนียมประเพณี (By Tradition) ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้รับจากการสืบทอดปฎิบัติต่อกันมาจนเป็นประเพณี เช่น การ แต่งกาย การทำความเคารพ การเขียนสีบนใบหน้า การบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ บนผนัง เพื่อเล่าเรื่องราว
1.3 โดยผู้มีอำนาจ (By Authority) เพราะผู้มีอำนาจถือได้ว่าเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคม เมื่อมีคนมีปัญหา หรืออยากรู้สิ่ง ต่าง ๆ ก็จะไปสอบถาม เมื่อได้รับคำตอบก็จะเชื่อตามนั้น เช่น พระ หมอผี หมอดู เป็นต้น
1.4 โดยประสบการณ์เฉพาะตน (By Personal Experience) เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้รับ หรือผ่านมาเป็นเครื่องสอน เช่น ปัญหาใดที่เคยใช้วิธีการใดแก้ไข แล้วได้ผลดี ก็จะใช้ความรู้เหล่านั้น เช่น การทำสีธรรมชาติได้จากแหล่งดินนั้น ๆ ใช้ใบไม้ และดอกไม้ นั้น ๆ มาบด หรือสกัดเพื่อให้ได้สีตามที่ต้องการ
1.5 โดยการลองผิดลองถูก (By Trial and Error) เป็นความรู้ที่ได้รับจากการลองทำดู ถ้าวิธีไหนดีก็จะจดจำไว้ ถ้าวิธีไหนไม่ดีก็จะทิ้งไป
1.6 โดยผู้เชี่ยวชาญ (By Expert) เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกรณี เช่น อยากรู้เรื่องการก่อกองไฟ ก็ไปเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ในการก่อไฟว่าทำได้อย่างไร หรืออยากเรียนรู้เรื่องการทำอาวุธก็ไปเรียนรู้จากพราน เป็นต้น

ซึ่งวิธีการทั้ง 6 อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จะเป็นวิธีการที่ไม่มีระเบียบแบบแผน แต่ก็สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ได้ ซึ่งบางครั้งความรู้ที่ได้รับนั้น อาจเชื่อถือไม่ได้ก็ตาม

2. วิธีอนุมาน (Deductive Method) วิธีการอนุมานนี้ เกิดขึ้นจากการนำเอาหลักการของเหตุผลมาใช้ในการหาความรู้ความจริง วิธีนี้เป็นวิธีการเริ่มต้น ของการหาความรู้ความจริง โดยใช้เหตุผล โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นเหตุ และอาศัยความสัมพันธ์ของเหตุ 2 ประการ มาสรุปเป็นผล สามารถ เขียนเป็น Model ได้ดังนี้ เหตุใหญ่ (Major Course) เป็นข้อเท็จจริงใหญ่ ๆ ที่บอกเรื่องราวทั้งหมดเหตุย่อย (Minor Course) ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเฉพาะกรณี สรุป (Conclusion) เป็นผลที่ได้รับจากความสัมพันธ์ของเหตุใหญ่ และเหตุย่อย ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ที่ต้องการ
ตัวอย่าง วิธีอนุมาน
เหตุใหญ่ : นาย ก . เกิดขึ้นในตระกูลศิลปิน
เหตุย่อย : นาย ก . ชอบวาดเขียน หรือชอบเล่นดนตรีมาก
ข้อสรุป : นาย ก . จะต้องเป็นศิลปิน

จะเห็นได้ว่า ข้อสรุปที่ได้นั้น ความเที่ยงตรงขึ้นอยู่กับความเที่ยงตรงของเหตุใหญ่ และเหตุย่อยเป็นสำคัญ ถ้าเหตุใหญ่มีความเป็นจริงอยู่ และเหตุย่อยก็มีความจริงอยู่มากด้วย ข้อสรุปนั้นก็จะมีความน่าเชื่อถือมาก และมีความเป็นจริงได้มากด้วย วิธีการนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการหาความรู้อย่างมีแบบแผน ผู้วิจัยสามารถนำวิธีการนี้มาตั้งเป็นสมมุติฐานในการวิจัยได้
ในการหาความรู้แบบอนุมานนั้น มีข้อบกพร่อง 2 ประการคือ
1 ) การใช้วิธีการนั้นจะไม่ทำให้ค้นพบความรู้ใหม่ เพราะข้อสรุปจำกัดอยู่ในขอบต่อของเหตุใหญ่
2) การใช้วิธีพิจารณาความสัมพันธ์ของเหตุใหญ่ และเหตุย่อยไม่แจ่มชัด และไม่เป็นจริงเสมอไป จากข้อสรุปตามตัวอย่างในวิธีอนุมานนั้น นาย ก . จะเป็นวิศกรก็ได้ นาย ก . อาจเก่งคำนวณ และวิทยาศาสตร์ด้วย ทำให้นาย ก . ไม่อยากเป็นศิลปิน
ด้วยเหตุผลนี้เอง จึงมีผู้คิดค้นวิธีการที่เรียกว่าอุปมานมาใช้ในการหาผลสรุป โดยเริ่มจากการแก้ข้อมูลย่อย ๆ หลาย ๆ กรณี ซึ่งอาจใช้วิธีการต่าง หลายวิธี เช่น การสังเกต การสืบค้น การใช้เครื่องมือตามความเหมาะสม แล้วนำข้อมูลย่อยมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ แล้วจึงสรุปผลออกมา เรียกว่าวิธีอุปมาน

3. วิธีอุปมาน (Inductive Method) เป็นการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงย่อยๆก่อน แล้วมาจำแนกตามลักษณะและหาความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงตามลักษณะต่างๆ จึงค่อยแปลความหมายและสรุปผล

ตัวอย่าง
เก็บข้อมูล โดยการสังเกต : นาย ก . ชอบวาดรูปมาก
เก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ : นาย ก . ไม่ชอบคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
เก็บข้อมูล โดยการสืบค้น : นาย ก . สืบเชื้อสายจากศิลปินใหญ่สมัยกรุงเก่า
เก็บข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือ : นาย ก . ทำวิชาวาดเขียนได้ดีแต่อ่อนทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
วิเคราะห์ข้อมูล : นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณา และวิเคราะห์สรุปผล : นาย ก . เป็นศิลปินวาดภาพผู้ยิ่งใหญ่จะเห็นได้ว่า วิธีการอนุมานนี้ ผลสรุปขึ้นอยู่กับการเก็บข้อมูล ถ้าข้อมูลที่ได้รับความเที่ยงตรง และเป็นตัวแทนที่ดี ข้อสรุปก็จะมีความน่าเชื่อถือ และเที่ยงตรงมาก วิธีการ อุปมานนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วิธีใหญ่ ๆ ดังนี้

1) อุปมานแบบสมบูรณ์ (Perfect Induction) คือ การเก็บข้อมูลจากทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมทั้งกลุ่มประชากร องค์กร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมด แล้วนำมาหาความสัมพันธ์จากข้อมูลย่อย แปลความหมายแล้ว จึงสรุปวิธีการที่ทำให้ได้ความรู้ความจริงที่เชื่อถือได้ เพราะเก็บข้อมูลจาก ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในทางปฎิบัติทำได้ยาก และทำไม่ได้ทุกกรณี ทำให้ผู้วิจัยจะต้องใช้มากทั้งเวลา กาย และทุน
2) อุปมานแบบไม่สมบูรณ์ (Imperfect Induction) เป็นการศึกษาโดยใช้การรวบรวมข้อมูลบางส่วนของประชากร แล้วจึงสรุปผลโดยการอนุมาน เอาว่า ความรู้หรือข้อมูลจากบางส่วนของประชากรนั้น ๆ สามารถใช้แทนกลุ่มประชากรทั้งหมดได้ จึงสรุปผลการใช้วิธีการนี้ ความสำคัญอยู่ที่การ เลือกกลุ่มตัวแทนประชากร ที่ใช้ในการศึกษานั้น จะต้องเลือกลุ่มประชากรที่ดี วิธีการนี้มีข้อดีคือ เหมาะที่จะนำไปใช้ในทางปฎิบัติ เนื่องจาก สะดวก ประหยัด แรงงาน เวลา และทุนทรัพย์

4. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรืออนุมาน และอุปมาน วิธีการนี้เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ชาลล์

ดาวิน กล่าวว่า การหาข้อ สรุปที่เชื่อถือได้นั้น จะต้องใช้วิธีการอุปมาน และอนุมานมาใช้ร่วมกัน ต่อมาจอนห์ ดิวอี้ ได้พัฒนาต่อมาเป็นวิธีการ แบบ สะท้อนความคิด และไตร่ตรองอย่างรอบคอบ (Reflective Thinking) ซึ่งถือเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
4.1 ขั้นนิยามปัญหา (Problem)
4.2 ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis)

4.3 ขั้นเก็บข้อมูล (Data Collection)
4.4 ขั้นตอนวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
4.5 ขั้นสรุปผล (Conclusion)

4.1 ขั้นนิยามปัญหา (Problem) เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นจากความสงสัย ที่ไม่อาจอธิบายสิ่งที่ตน

อยากรู้ได้ หรือไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ปรากฎขึ้น
4.2 ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ศึกษาพยายามทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น และพยายามจำกัด ขอบเขตของปัญหาที่เกิดขึ้นได้ชัดเจน โดยอาศัยการสังเกต การสืบค้นจากทฤษฎี และสิ่งที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ จากนั้นจึงตั้งเป็นสมมุติฐาน ซึ่งเป็นการลองคิดหาคำตอบที่ดีที่สุด เพื่อตอบปัญหาที่ตั้งไว้
4.3 ขั้นเก็บข้อมูล (Data Collection) เป็นขั้นตอนศึกษาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาโดยการเก็บข้อมูล ที่จำเป็นจากประสบการณ์ เอกสาร ทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความคิดรอบคอบ เพื่อนำไปใช้ตรวจสอบสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นว่าสมเหตุสมผลหรือไม่
4.4 ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เป็นการลงมือปฎิบัติการเพื่อทดสอบสมมุติฐาน โดยวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปโดย ใช้การวิเคราะห์แบบมีเหตุผล
4.5 ขั้นตอนการสรุปผล (Conclusion) คือ การตอบคำถาม และสรุปสิ่งที่ได้ศึกษาคำตอบต้องเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้ เนื่องจากมีกระบวนการหา คำตอบที่มีระบบแบบแผน มีการใช้เหตุผล

5. วิธีการของมิลล์ (Mill's Method) วิธีการนี้เป็นการหาคำตอบโดยใช้เหตุผลทางตรรกศาสตร์ นอกจากจะใช้เหตุผล ด้วยวิธีอุปมาน และอนุมาน และวิทยาศาสตร์ วิธีการนี้มีหลักการของความสัมพันธ์ เชิงเหตุผล 5 ประการ
5.1 วิธีของความสอดคล้อง (Agreement) หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นร่วมันตั้งแต่ 2 อย่าง และสิ่ง 2 อย่างที่เกิดขึ้นจะเป็นเหตุ หรือผลของเหตุการณ์นั้น เช่น หลังจากที่นิสิตทุกคนในคณะศิลปกรรมได้ศึกษาวิชาศิลปะไทย นิสิตทำงานออกแบบทุก ชิ้นงานเป็นงาน ที่เป็นแบบไทยอย่างชัดเจน ซึ่งอาจสรุปว่า วิชาไทยนั้นมีอิทธิพลต่อการออกแบบนิสิต
5.2 วิธีของความแตกต่าง (Difference) หมายถึงสิ่งแตกต่าง 2 สิ่ง เกิดขึ้นในเรื่องที่ต่างกัน ทำให้ผลแตกต่างกัน เช่น นิสิต 2 คน คนหนึ่งเรียนพื้นฐานวิชาวาดเส้นมามาก อีกคนหนึ่งมิได้เรียนมาเลย ก็อาจสรุปได้ว่า คนที่เรียนพื้นฐานวิชา วาดเส้นมามากจะมีพื้นฐานที่ดีกว่าอีกคนที่ไม่เคยเรียนมาเลยก็ได้
5.3 วิธีของความสอดคล้อง และไม่สอดคล้อง (Agreement and Disagreement) คือ การผสมผสานกันระหว่าง วิธีที่ 1 และ 2 เช่น ในการออกแบบนั้น แบ่งนิสิตออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเรียนวิชา Creative Design ซึ่งเป็นพื้นฐาน ของการออกแบบที่สำคัญ ส่วนอีกกลุ่มนั้นไม่ได้เรียน Creative Design เมื่อให้นิสิตทั้ง 2 กลุ่มออกแบบงาน 2 มิติ กลุ่มที่เรียน Creative Design นั้นทำได้ดีกว่ามาก จึงสรุปได้ว่าวิชา Creative Design นั้นเป็นพื้นฐานสำคัญ สำหรับการเรียนการออกแบบ

5.4 วิธีของส่วนที่เหลือ (Residue) วิธีการนี้จะพิจารณาเงื่อนไขบางข้อที่น่าสงสัยว่าจะมีความสัมพันธ์กับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วพยายามขจัดเงื่อนไขอื่นๆออกไปให้หมด จนเหลือเงื่อนไขสุดท้าย ถ้าหากยังมีเงื่อนไขสุดท้ายแล้วยังมีปรากฎการณ์นั้นๆเกิดขึ้น ก็สรุปได้ว่าเงื่อนไขสุดท้ายเป็นมูลเหตุหรือเกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เช่นจากการหาสาเหตุของการที่สัตว์ในสวนสัตว์เกิดไข้หวัดนก

สิงโต กิน น้ำเปล่า ไก่ เนื้อวัว ปลา ตาย

เสือ กินน้ำเปล่า ไก่ เนื้อวัว ตาย

จระเข้ กิน ปลา กระดูกไก่ ตาย

จะเห็นว่าไก่ เป็นตัวร่วมของทุกการตายของทุกตัว จึงสรุปได้ว่าไก่เป็นสาเหตุการตายด้วยโรคไข้หวัดนก

5.5 วิธีการแปรผันของตัวแปรร่วมกัน (Concomitant Variation) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการ เปลี่ยนแปลงของอีกสิ่งหนึ่งในสถานภาพเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงของอีกสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะเหมือนกัน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน เช่น การเกิดของเด็ก ขึ้นอยู่กับจำนวนคู่แต่งงาน ถ้าแต่งงานมากเด็กก็เกิดมาก

ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย (Research Assumption) การวิจัยนั้นความจริงเป็นขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถ นำมาประยุกต์ ใช้ทางมนุษย์ศาสตร์ได้ดี ดังนั้น การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ข้อตกลงเบื้องต้นนั้นแบ่งออกได้ดังนี้

1. ข้อตกลงที่เกี่ยวกับรูปแบบกายภาพทางธรรมชาติ (Assumption of Uniformity of Nature) หมายถึง ข้อตกลงของปรากฎการณ์ ต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมีระบบ มีเหตุผล และเงื่อนไขที่ก่อให้เกิด มีแบบฉบับตายตัวที่เกิดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถเกิดขึ้นอีกได้ ซึ่งข้อตกลงนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ข้อย่อย ดังนี้

•  ชนิดของธรรมชาติ (Postulate of Natural Kinds) หมายถึงธรรมชาติมี โครงสร้าง คุณสมบัติ และจดหมายของตัวเอง เช่น การจัดหมวดหมู่ของ สัตว์ พืช ดิน น้ำ ไว้เป็นกลุ่มเป็นพวก

•  ความสม่ำเสมอ (Postulate of Constancy) หมายถึงปรากฎการณ์ตาม ธรรมชาติ จะคุมคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะอย่าง เช่น น้ำจะแข็งเมื่ออากาศเย็นจัด แต่ถ้าอากาศอุ่นขึ้น น้ำแข็งก็จะละลาย เป็นน้ำ

1.3 ความเป็นเหตุเป็นผล (Determinism) หมายถึง ปรากฎการณ์ทั้งหลายใน ธรรมชาติมีสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น และผลก็จะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านั้น เช่น ถ้าอยากวาดภาพสีน้ำ หากเรามีแต่น้ำไม่มีสีก็ไม่สามารถ วาดภาพได้

2. ข้อตกลงที่เกี่ยวกับขบวนการทางจิตวิทยา (Assumption Concerning the Psychological Process) ข้อตกลงนี้หมายถึง การที่บุคคลได้รับความรู้ต่าง ๆ โดยอาศัยจิตวิทยา 3 ประการ ได้แก่ การรับรู้ (Perceiving) การจำ (Remembering) และการใช้เหตุผล (Reasoning) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ ได้แก่

2.1 ความเชื่อถือของการรับรู้ (Postulate of Reliability of Percieving) หมายถึง การรับรู้ของบุคคลต้องเชื่อถือได้ และมีความแน่นอน หรือมีความเที่ยงตรง

2.2 ความเชื่อถือของการจำ (Postulate of Reliability of Remembering) หมายถึงว่า การจำต้องมีความน่าเชื่อถือว่าถูกต้อง ซึ่งการจำนี้ทำได้โดย การจดบันทึก หรือใช้เอกสาร เทปบันทึก หลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ต้องทำ อย่างถูกต้อง

2.3 ความเชื่อถือของการใช้เหตุผล (Postuiate of Reliability of Reasoning) หมายถึงการใช้เหตุผลในการหาความรู้ ต้องมีความเชื่อมั่นว่า ได้มาอย่าง ถูกต้อง มีระบบความคิดที่เป็นระบบ และสามารถนำมาใช้เป็นทฤษฎี หรือกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือได้

ความรู้จริง และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ความรู้จริง และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องนั่นมีอยู่มาก และเกี่ยวข้องกับการทำวิจัยทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ทำวิจัย จะต้องมีความรู้ความเข้าใจใน เรื่องที่จะทำ และรู้ถึงทฤษฎีที่ใช้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องของการวิจัยต่อไป ความรู้จริง หมายถึงสิ่งที่มนุษย์พยายาม เสาะแสวงหา เป็นสิ่งที่เชื่อถือได้ และสามารถนำไปใช้ได้ในโอกาสต่อไป ความรู้นี้มีลักษณะสำคัญคือ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นจะต้อง แน่นอนคงตัวเสมอไป จะดำรงอยู่ในสภาพนั้น ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อปรากฎการณ์ หรือสถานการณ์เปลี่ยนไป ความรู้จริง เหล่านั้นก็อาจเปลี่ยนแปลงได้
ความรู้จริงแบ่งออกได้เป็น 2 ประการใหญ่ ๆ คือ

1. ความรู้จริงส่วนบุคคล (Personal Fact) เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นกับคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะเป็นการรับรู้เฉพาะตัว ความรู้จริงใน ส่วนนี้ แต่ละบุคคลจะรับรู้ไม่ตรงกัน และมักอยู่ในรูปนามธรรม เช่น ความฝัน ความกลัว ความเชื่อ ซึ่งความจริงประเภทนี้ตรวจสอบได้ยาก

2. ความรู้จริงที่เป็นสาธารณะ (Public Fact) เป็นความจริงที่คนกลุ่มหนึ่งรับรู้ได้ตรงกัน มักเป็นความจริงที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม และรับรู้ได้โดยประสาทสัมผัสโดยตรง เช่น ม้ามี 4 ขา ช้างมีงวง และงา ซึ่งความจริงประเภทนี้ตรวจสอบได้ง่าย
ซึ่งความรู้จริงทั้ง 2 ประเภทนี้ จะพบเห็นได้มากในงานวิจัย ทั้งทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ส่วนความรู้จริงส่วนบุคคลนี้ จะพบมากในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์

ความหมายของทฤษฎี

ทฤษฎี หมายถึงข้อกำหนดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของโครงสร้าง ความคิดรวบยอด และตัว

แปรต่าง ๆ เพื่อให้สามารถอธิบาย และคาดการณ์ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น การเกิดทฤษฎีต่าง ๆ นั้น เกิดขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าทดลองกับข้อมูลเป็นเวลานาน จนได้ความรู้จริง ที่เชื่อถือได้ ทฤษฎีสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ สภาพ และตามกาลเวลา หรือบางครั้งในกรณีที่มีผู้สามารถนำหลักฐานมาพิสูจน์ลบล้างได้
ประโยชน์ของทฤษฎี และความรู้จริง
1. ช่วยเป็นเครื่องนำทางในการค้นหาความรู้จริงใหม่
2. ช่วยสรุปความรู้จริงให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้
3. ช่วยในการหาส่วนที่ยังบกพร่องให้ครบถ้วน
4. ความรู้จริงช่วยสร้างทฤษฎีเพิ่มขึ้น
5. ความรู้จริงช่วยในการปรับปรุงทฤษฎีเก่าให้เหมาะสม
6. ความรู้จริงช่วยบอกความถูกต้องของทฤษฎีได้

ประโยชน์ของทฤษฎีต่อการวิจัย

1. ทฤษฎีช่วยในการตั้งสมมุติฐาน
2. ทฤษฎีช่วยบอกว่าปัญหาที่ศึกษานั้น มีข้อมูลอะไรบ้าง แหล่งใด
3. ทฤษฎีช่วยกำหนดแนวทางในการออกแบบงานวิจัย
4. ทฤษฎีช่วยทำให้ทราบขั้นตอนในการจัดทำข้อมูล
5. ทฤษฎีช่วยเป็นแนวทางในการสรุป
6. ทฤษฎีช่วยในการนำความรู้จริงที่ได้ศึกษาไปใช้อ้างอิง และอธิบายต่าง ๆ
7. ทฤษฎีช่วยในการพยากรณ์ปรากฎการณ์ต่าง ๆ

ความหมายของการวิจัย
งานวิจัย หมายถึงการเสาะแสวงหาความรู้ที่เชื่อถือได้ โดยใช้วิธีการใช้เหตุผลมีวิธีการ และแบบแผนขั้นตอนที่ต่อเนื่องอย่างเป็นระบบที่สมบูรณ์ เพื่อให้ได้ผลสรุป และองค์ความรู้
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ดังนี้
1. เพื่อแก้ไขปัญหา (Problem Soiving Research)

2. เพื่อสร้างทฤษฎี (Theory - Development Research) เนื่องจากทฤษฎีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ สามารถนำมา อ้างอิง (Generalization) อธิบาย (Explanation) ทำนาย (Prediction) ควบคุม (Control) ปรากฎการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี มนุษย์จึงจำต้องสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้น
3. เพื่อพิสูจน์ทฤษฎี ( Theory Testing Research) เนื่องจากทฤษฎีนั้นมีอยู่มากมาย และอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ทฤษฎี และความรู้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานภาพ กาลเวลา ดังนั้นมนุษย์จึงจะต้องทำการศึกษา และตรวจสอบ ทฤษฎีต่าง ๆ เหล่านั้น ว่ายังเหมาสมหรือไม่
บทบาทของการวิจัย

ผลของการวิจัยจะเอื้อประโยชน์ให้มนุษย์เป็นอย่างมากทั้งทางทฤษฎี และปฎิบัติในทางวิทยาศาสตร์นั้น ทำให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติ มากขึ้น สามารถควบคุม และพยากรณ์สิ่งต่าง ๆ ล่วงหน้าได้ หรือสามารถคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ได้ ในทางสังคมศาสตร์ และ มนุษย์ศาสตร์นั้น ผลของการวิจัยทำให้มนุษย์มีความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันดีขึ้น ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทำให้สามารถ ปรับตัวไดี้ดขึ้น และนอกจากนั้นงานวิจัยยังทำให้เกิดวิชาหรือวิทยาการใหม่ ๆ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีระบบ ผลของงาน วิจัยยังสามารถทำให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง และทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญคือ การวิจัยมีส่วนช่วย ในการพัฒนาหน่วยงานประเทศชาติไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
ลักษณะ และธรรมชาติของการวิจัย
ลักษณะ และธรรมชาติของงานวิจัยจึงมีดังนี้
1. การวิจัยต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน เพื่อการนำไปสู่การสร้างกฎเกณฑ์ และทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการอธิบาย อ้างอิง ทำนาย หรือควบคุม
2. เป็นการกระทำอย่างมีระบบ สามารถวางแผนล่วงหน้าได้อย่างมีเหตุผลอันจะไปหาข้อสรุปที่เชื่อถือได้
3. เป็นการตรวจสอบปัญหา
4. ผู้ทำวิจัยต้องมีความรู้ และความสามารถในเรื่องนั้น ๆ มองเห็นภาพของปัญหาชัดเจน ต้องมีการศึกษาทั้งจากเอกสาร และสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเห็นแนวทางในการแก้ปัญหานั้น ๆ ในทุกแง่ทุกมุม มีใครที่ศึกษาเรื่องเหล่านั้นบ้าง มีข้อค้นพบอะไร มีตัวแปร อะไรบ้าง มีการเก็บข้อมูลอย่างไร วิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร จึงจะได้คำตอบที่เหมาะสม
5. เป็นการรวบรวมข้อมูลใหม่เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะ ถ้ามีข้อมูลอยู่แล้วก็ต้องค้นหาวัตถุประสงค์ใหม่ การเขียนขึ้น จากของเดิมไม่ถือว่าเป็นงานวิจัย
6. การวิจัยต้องอาศัยข้อมูลที่มีความเที่ยงตรง และเชื่อถือได้ ดังนั้นการวิจัยจึงจะต้องจัดระบบมีการออกแบบที่ดี มีอุปกรณ์การเก็บเครื่องมือ ที่มีคุณภาพ เพื่อความน่าเชื่อถือ
7. การวิจัย เป็นกระบวนการหาความรู้ที่ตั้งอยู่บนฐานของการใช้เหตุผล ทุกขั้นตอนต้องสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล เพื่อให้ข้อสรุปที่มี ความน่าเชื่อถือ
8. ต้องมีการบันทึก และรายงานผลอย่างละเอียด และจะต้องสื่อสารได้อย่างชัดเจน
9. ผู้ทำวิจัยต้องมีความอดทน และความพากเพียร
10. การทำงานวิจัยบางชิ้นต้องอาศัยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว และกล้าตัดสินใจ เพราะงานวิจัยบางชิ้นอาจขัดกับความเชื่อของคนทั่วไป และประเพณี หรือวัฒนธรรมผู้วิจัยจะต้องมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เพื่อให้การดำเนินการวิจัยเป็นผลสำเร็จ
ลักษณะของนักวิจัยที่ดี
คำว่า วิจัย มาจากคำว่า Research ซึ่งแยกความหมายตามตัวอักษรที่ประกอบกันได้ดังนี้
R = Zrecrultment & Relationship) หมายถึงการฝึกฝนให้มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ที่มีความสัมพันธ์กัน
E = (Education & Efficieney) หมายถึงผู้วิจัยต้องมีการศึกษา และความรู้ในความสามารถในการวิจัย
S = (Sciences & Stimulation) หมายถึง การเป็นศาสตร์ที่ต้องการพิสูจน์ค้นคว้า เพื่อหาความจริง ผู้วิจัยจะต้องมีความคิด สร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะทำวิจัย
E = (Evaluation & Environment) หมายถึง รู้จักประเมินผลว่ามีประโยชน์สมควรแก่การดำเนินการต่อไป หรือไม่ และต้อง ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการวิจัยได้อย่างเหมาะสม และเที่ยงตรง สามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้ดี สังเคราะห์ และวิเคราะห์ได้อย่างมีคุณภาพ
A = (Aim & Attitude) หมายถึง มีจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายที่แน่นอน และมีทัศนคติที่ดีต่อการติดตามผลการวิจัย
R = (Result) หมายถึง ผลงานของการวิจัยไม่ว่าจะออกมาในลักษณะใดก็ตาม จะต้องได้รับการยอมรับเนื่องจากเป็นการทำงานอย่างมีระบบ
C = (Suriosity) หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็น มีความสนใจ และขวนขวายอยู่ตลอดเวลา
H = (Horizon) หมายถึง ผลงานของการวิจัย จะเป็นเสมือนแสงสว่าง ซึ่งหมายถึงการแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ด้วยคำจำกัดความดังกล่าว จึงสามารถสรุปคุณลักษณะของนักวิจัยที่ดีดังนี้

1. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติทางด้านความรู้สึก และอารมณ์ (Emotion Drive)

- มีความสนใจอยากรู้อยากเห็น
- มีทัศนะคติที่ดีต่อการแสวงหาความรู้
- มีความสุขต่องานวิจัยที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ที่มีประโยชน์
- มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
- มีความกระตือลือล้นในการทำงาน

2. เป็นผู้มีความรู้ (Knowledge)

- มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ และคัดเลือกผลงานจากเอกสาร ได้อย่างรวดเร็ว และเหมาะสม
- มีการทำงานอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ
- มีความรอบรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย
- มีความสามารถในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ และพยากรณ์ได้ดี
- มีความสามารถในการวิเคราะห์ สงเคราะห์ และสรุปผลได้ดี
- มีความคิดสร้างสรรค์

3. การตัดสินใจ (Decision)

- มีการตัดสินใจที่ดี
- กล้าคิด กล้าตัดสินใจ
- มีความรอบคอบ และใช้เหตุผล
- มีความเชื่อมั่นในหลักของเหตุ และผล
- มีความสามารถในการประเมินฐานะ และศักยภาพของตนเอง
- มีความเชื่อมั่นในตนเอง
- มีความขยัน และอดทนต่อการแสวงหาความรู้ มีจิตใจกว้าง ยอมรับคำวิจารณ์ของผู้อื่นทั้งบวก และทางลบ
- มีความสามารถในการควบคุมตนเองให้ทำตามหลักการ และยุติธรรม
- มีความหวังที่จะเห็นงานวิจัยสำเร็จอย่างมีคุณภาพ
- มีความสามารถในการประเมินสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

ขั้นตอนของการทำวิจัย

การทำงานวิจัยนั้น ผู้ทำวิจัยสามารถวางแผนการทำงานวิจัยไว้ล่วงหน้าได้ เพื่อให้งานวิจัยนั้นสำเร็จตามเป้าหมาย ดังนี้
1. การเลือกหัวข้อปัญหา เป็นการกำหนดขอบเขตของการศึกษา ว่าจะศึกษาเรื่องอะไร มีขอบเขตกว้างขวางแค่ไหน
2. ศึกษาค้นคว้าทฤษฎี เป็นการหาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในตัวปัญหา ผู้วิจัยจะต้องศึกษาจากเอกสาร เพื่อให้เกิดความรู้ที่ กว้างขึ้น ในขอบเขตของการวิจัย
3. ให้คำจำกัดความปัญหา ผู้วิจัยจะต้องเขียนบรรยายถึงความเป็นมาของปัญหา ความมุ่งหมาย ตัวแปร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง นิยามศัพท์ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้
4. สร้างสมมุติฐาน เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้า โดยอาศัยเหตุผล โดยอาศัยประสบการณ์ เอกสาร และความรู้ ใน ขอบเขตของงานวิจัย
5. ขัดเกลาปัญหา และสมมุติฐาน เพื่อความชัดเจนของสมมุติฐาน และสมเหตุ สมผล และพิจารณาว่าสมมุติฐานเหล่านั้นเพียงพอ และ ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษาหรือไม่
6. พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาว่า ข้อมูลคืออะไร และได้มาอย่างไร
7. วางแบบแผนการวิจัย เป็นการวางแผนงานของการวิจัย มีการกำหนดขั้นตอนในแผนการ พร้อมทั้งสามารถอธิบายด้วยความมีเหตุผลได้
8. สร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล มีการตรวจสอบความเชื่อมั่น และความเที่ยงตรงของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
9. เลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้เป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ได้ศึกษา
10. เก็บรวบรวมข้อมูล
11. จัดกระทำข้อมูล มีการจัดทำข้อมูลเพื่อให้สะดวกในการวิเคราะห์ วางแผนงาน ที่จะเสนอข้อมูลที่ค้นพบ เพื่อการสรุป และนำเสนออย่างมีความหมาย
12. รายงานวิจัย เป็ฯการเขียนผลการวิจัยตามแนวทางการเขียนรายงานวิจัย โดยการใช้ภาษาที่ถูกต้อง รัดกุม และเข้าใจง่าย