บทที่ 8
การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

ขั้นตอนสำคัญในการทำวิจัย หลังจากได้ปัญหา วัตถุประสงค์และสมมติฐานในการวิจัยแล้ว ขั้น

ตอนที่สำคัญตามมา คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล คือการที่ผู้วิจัยพยายามรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ นำมาพิจารณา วิเคราะห์

วิจารณ์ แล้วสรุปผลมาเป็นคำตอบปัญหาการวิจัยว่าเป็นไปตามที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้หรือไม่ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล มีวิธีการหลายอยางเช่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยตรงจากผู้ให้ข้อมูล รวบรวมข้อมูลที่มีอยู่เดิมแล้ว หรือใช้ผู้สังเกตการณ์เก็บรวบรวมข้อมูล หรือใช้วิธีการหลาย ๆ วิธีรวมกัน

ขั้นตอนสำคัญของการรวบรวมข้อมูล

การรวบรวมข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นการรวบรวมข้อมูลภาคสนาม แบ่งได้เป็น 6 ขั้นตอน ตามที่บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ ( 2540 ) แบ่งไว้ ดังนี้

1. กำหนดตัวแปรที่ต้องการศึกษา ที่สำคัญ คือ ต้องทราบว่าอะไร คือตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม การวัดตัวแปรแต่ละตัววัดอย่างไร มีระดับการวัดของตัวแปรคืออะไร ตัวแปรและตัวมีความหมายอย่างไร ต้องนิยามความหมายเชิงปฏิบัติการให้ชัดเจนให้สามารถวัดได้

2. กำหนดข้อมูลหรือตัวชี้วัด จากตัวแปรที่ศึกษาจะต้องระบุข้อมูลและลักษณะของข้อมูลที่ต้องการว่ามีลักษณะอย่างไร ที่ตรงกับสภาพความเป็นจริง ควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือปัญหาและขอบเขตของการวิจัย

3. กำหนดแหล่งข้อมูล ต้องการข้อมูลหรือรวบรวมข้อมูลมาจากที่ไหนบ้างผู้ให้ข้อมูลเป็นใคร อยู่ที่ไหนเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ

4. เลือกวิธีรวบรวมข้อมูล ต้องวางแผนในวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างรอบคอบรวมทั้งคำนึงถึงขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม ซึ่งวิธีการเก็บข้อมูลจำเป็นต้องเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บว่ามีอะไร ถ้ามีแล้วก็สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะกับงานวิจัยที่ทำ ถ้าไม่มีก็ต้องสร้างเครื่องมือขึ้นมาใหม่ ซึ่งต้องคำนึงถึงหลักในการสร้างเครื่องมือที่ดี

5. นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้ ในการใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่มีอยู่แล้วหรือเครื่องมือที่สร้างขึ้นเอง ควรมีการทดลองใช้กับกลุ่มที่ใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวนไม่มากก่อนเพื่อดูข้อบกพร่องต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือและผู้วิจัยเองต้องนำเครื่องมือไปปรับปรุงแก้ไขหรืออาจจะต้องสร้างใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับงานวิจัยที่ทำ เพื่อให้เกิดคุณภาพของเครื่องมือวิจัย ที่สำคัญ คือจะต้องมีความตรงและความเที่ยงของเครื่องมือ

6. ออกรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนนี้เป็นการออกภาคสนาม ต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดีว่าจะเก็บข้อมูลอย่างไร คนเดียว หรือหลายคน ต้องมีการอบรมผู้เก็บข้อมูลในกรณีที่ใช้ผู้เก็บหลายคน ที่สำคัญต้องมีการประสานงานเพื่อให้แหล่งที่ต้องการเก็บข้อมูลยินยอม

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล มีหลายวิธีที่ใช้กันมากในทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่

•  การสัมภาษณ์โดยตรง

ผู้วิจัยไปทำการสัมภาษณ์จากหน่วยทดลองโดยตรง วิธีนี้ใช้กันมากในการทำสำมะโนและการสำรวจจากตัวอย่าง วิธีนี้เหมาะสำหรับงานวิจัยที่มีข้อคำถามเป็นจำนวนมาก ข้อคำถามมีความซับซ้อนมีคำศัพท์เฉพาะและมีคำจำกัดความที่ต้องการคำอธิบาย แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายสูง

•  การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

ในกรณีที่คำถามไม่มากและไม่ซับซ้อน ปริมาณคำถามมีไม่มากนัก การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จะทำให้ได้ข้อมูลเร็วขึ้น แต่มีข้อเสียคือ สัมภาษณ์ได้เฉพาะหน่วยตัวอย่างที่มีโทรศัพท์เท่านั้น บางกรณีผู้ตอบอาจจะไม่เกรงใจ หรือไม่พอใจที่จะตอบ หรืออาจจะวางหูโทรศัพท์ก็ได้

•  การตอบแบบสอบถาม

เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยมอบแบบสอบถามพร้อมทั้งอธิบายวิธีบันทึกตลอดจนคำอธิบายศัพท์ต่างๆ ให้แก่หน่วยตัวอย่างล่วงหน้า ผู้วิจัยจะกลับไปรับแบบสอบถามตามวัน เวลาที่นัดหมายไว้ ถ้าการบันทึกแบบสอบถามไม่ถูกต้องหรือไม่เรียบร้อยก็จะได้มีการสอบถามหรือสัมภาษณ์เพิ่มเติมจนกระทั่งได้ข้อมูลตามที่ต้องการ

•  การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์

ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ วิธีนี้เหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่ไม่มีความสำคัญมากนัก เป็นข้อมูลง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อน ไม่มีศัพท์หรือคำจำกัดความที่ต้องการคำอธิบาย จำนวนข้อคำถามมีไม่มากนัก วิธีนี้มีข้อดีคือ เสียค่าใช้จ่ายน้อยแต่มีข้อเสียคือ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาน้อยหรือผู้บันทึกอาจจะเข้าใจข้อคำถามไม่ถูกต้อง หรือบันทึกอย่างขาดความรับผิดชอบ ข้อจำกัดคือ วิธีนี้ใช้สำหรับหน่วยตัวอย่างที่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น

•  การนับและการวัด

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลบางอย่างต้องใช้วิธีนับ เช่น การสำรวจจำนวนรถที่ผ่านจุดที่ต้องการศึกษา และในเวลาที่สนใจศึกษา จำนวนลูกค้าที่เข้าแถวเพื่อชำระเงินในคาบเวลาหนึ่งๆ จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลในคาบเวลาหนึ่ง การเก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบ แบบวัดเป็นต้น

6) การสังเกต

วิธีนี้ใช้ในโครงการวิจัยต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ และทางสังคมศาสตร์ เช่น การสังเกตตำแหน่งของ

ดวงดาวบนท้องฟ้า การสังเกตพฤติกรรมของคนในชุมชนที่มีต่อผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอาจจะเป็นข้อมูลเชิงคุณลักษณะหรือปริมาณก็ได้

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยต้องกำหนดขั้นตอนให้รัดกุมตั้งแต่ การวางแผนการเก็บรวบรวมกำหนดวิธีการให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง กำหนดวิธีบันทึกข้อมูล ถ้ามีผู้ช่วยในการเก็บข้อมูลต้องอบรมวิธีการเก็บให้มีความรู้ ความเข้าใจและชำนาญเท่าเทียมกัน จากนั้นจึงเก็บข้อมูลตามที่วางแผนไว้ เมื่อได้ข้อมูลกลับมาต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ได้รับก่อนนำไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูล

ในการวิเคราะห์ข้อมูล จำเป็นต้องเข้าใจมาตรที่ใช้วัด ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังได้กล่าวไปแล้วสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบของการวิจัย สรุปเป็นด้านใหญ่ๆ 2 ด้าน คือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ แบ่งเป็น การวิเคราะห์โดยใช้สถิติบรรยายและสถิติอ้างอิง

สถิติบรรยาย ใช้เพื่ออธิบายข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้การเลือกใช้ขึ้นกับวัตถุประสงค์การวิจัย ชนิดของตัวแปร เพื่อวิเคราะห์แล้วจะนำเสนอด้วยตารางหรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม สถิติบรรยายที่อธิบายลักษณะตัวแปรเชิงปริมาณ คือ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม เปอร์เซนต์ไทล์ เดไซล์ ควอไทล์ พิสัย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติบรรยายที่ใช้อธิบายลักษณะของตัวแปรเชิงคุณภาพ คือ ร้อยละ อัตรา สัดส่วน อัตราส่วนและฐานนิยม สถิติบรรยายที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเส้น ส่วนตัวแปรเชิงคุณภาพใช้การสร้างตารางไขว้

สถิติบรรยายใช้เพื่อสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเป็นการบรรยายลักษณะของข้อมูลของกลุ่มที่ศึกษา

มาทั้งหมดเท่านั้นไม่สามารถสรุปไปประชากร การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีนี้ ไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น และไม่ต้องมีการทดสอบสมมุติฐานทางสถิติ สถิติที่ใช้วิจัยทั่ว ๆ ไป คือ

1. การแจงแจงความถี่

2. การห่าค่าร้อยละ

3. สัดส่วน

4. การวัดค่าตัวกลาง ( ฐานนิยาม มัธยฐาน ค่าเฉลี่ย )

5. การวัดค่าการกระจาย ( พิสัย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน และสัมประสิทธิ์ความผันแปร )

6. การอธิบายความสัมพันธ์ ( สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเส้น และการสร้างตารางไขว้ (Crosstabulation table)

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอ้างอิง (Inferential Statistic)

สถิติอ้างอิงใช้เพื่อสรุปข้อมูลที่ศึกษาได้จากกลุ่มตัวอย่าง แล้วอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็นมา

ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อสรุปผลไปยังประชากรเป้าหมายการเลือกใช้สถิติขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การวิจัย ชนิดของตัวแปร รูปแบบการวิจัย และข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติแต่ละตัวที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้น ๆ สถิติที่ใช้ได้แก่

1. การใช้สถิติอ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย

2. การใช้สถิติอ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วน

3. การใช้สถิติอ้างอิงเพื่อหาความสัมพันธ์และการทำนาย และการวิเคราะห์ตัวแปรพหุคูณ
การใช้สถิติอ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ผู้วิจัยต้องพิจารณา

1. แบบของการวิจัย (Research design) โดยพิจารณาจำนวนกลุ่ม ของกลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมมาว่ากลุ่มตัวอย่างมีกี่กลุ่ม

2. ชนิดของตัวแปรที่ใช้เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของความแตกต่าง

3. ข้อมูลที่ได้ กลุ่มตัวอย่าง ต้องมาจากการสุ่ม (Randomness)

4. ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

สถิติอ้างอิง เป็นสถิติที่ใช้เพื่อนำผลการวิเคราะห์ที่ได้จากตัวอย่างเพื่ออ้างอิงไปถึงประชากร การเลือก

ใช้ขึ้นกับวัตถุประสงค์การวิจัย รูปแบบการวิจัยและชนิดของตัวแปรสถิติอ้างอิงแบ่งเป็น สถิติอ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วนกับสถิติอ้างอิงเพื่อหาความสัมพันธ์และการทำนาย ใช้อธิบายความสัมพันธ์และการทำนาย ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม หรือการสร้างสมการ ทำนายตัวแปร และสถิติทีใช้วิเคราะห์ตัวแปรพหุคูณใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามที่มีหลายตัวพร้อม ๆ กัน

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงคุณภาพได้ถูกนำมาใช้ในการดำเนินการวิจัยอย่าง

แพร่หลาย แต่อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยเชิงคุณภาพนั้น อาจจะมีปัญหาในเรื่องของ ความน่าเชื่อถือของข้อมูลอยู่บ้าง แต่การวิจัยเชิงคุณภาพก็มีหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบเพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือ และความเที่ยงตรง นั้นคือ การ ตรวจสอบข้อมูลก่อนทำการวิเคราะห์ ซึ่งการตรวจสอบข้อมูลที่ใช้กันมากในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Trianguiation) ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้อย่างได้ผล โดยมีรายละเอียดดังนี้

•  การตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Data Triangulation) คือ การพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มานั้นถูกต้อง

หรือไม่ วิธีการตรวจสอบของข้อมูลนั้น จะต้องตรวจสอบแหล่งที่มา 3 แหล่ง ได้แก่ เวลา สถานที่ และบุคคล

- การตรวจแหล่งเวลาหมายถึง การตรวจสอบว่าตัวแปรอยู่ในช่วงเวลาต่างกัน หรือเหมือนกัน ถ้าเหมือนกันควรตรวจสอบในช่วงเวลาที่ต่างกันด้วย
- การตรวจสอบสถานที่หมายถึง การตรวจสอบตัวแปรในสถานที่เดียวกันหรือไม่ หากมาจากสถานที่เดียวกันมีผลออกมาเหมือนกัน ผู้วิจัยควรตรวจสอบในแหล่งสถานที่ ที่แตกต่างกันด้วย
- การตรวจสอบบุคคลหมายถึง ถ้าบุคคลผู้ให้ข้อมูลเปลี่ยนไป ข้อมูลจะเหมือนเดิมหรือไม่

2. การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย (Investigator Triangulation) คือการตรวจสอบว่าผู้วิจัยแต่ละคน

จะได้ข้อมูลต่างกันอย่างไร โดยการเปลี่ยนตัวผู้สังเกตแทนการใช้ผู้วิจัยคนเดียวกันทั้งหมด ซึ่งจะสร้างความแน่ใจได้ดีกว่าผู้วิจัยเพียงคนเดียวมาก

3. การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี (Theory Triangulation) คือ การตรวจสอบว่าผู้วิจัยสามารถใช้

แนวคิดทฤษฎีที่ต่างไปจากเดิมตีความข้อมูลแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจทำได้ง่ายกว่าใน ระดับสมมุติฐานชั่วคราว (Working Hypothesis) และแนวคิดขณะลงมือตีความสร้างข้อสรุปเหตุการณ์ และแต่ละอย่าง ซึ่งโดยปกตินั้น การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎีนั้นทำได้ยาก

การตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological Triangulation) คือการเก็บรวบรวมข้อ

มูลจากแหล่งเก่า เพื่อรวบรวมข้อมูลเรื่องเดียวกันโดยใช้การสังเกตควบคู่กับการซักถามพร้อมกันก็ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเอกสาร หรือทำการซักถามผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อความแน่นอนว่าเหมาะสมหรือไม่

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และยากในกระบวนการวิจัยโดยเฉพาะ วิธีการหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์ เป็นวิธีการสร้างข้อสรุปจากการศึกษารูปแบบ หรือข้อมูลจำนวนหนึ่ง มักไม่ใช้สถิติช่วยในการวิเคราะห์ หรือถ้าใช้สถิติก็ไม่ได้ใช้ในการวิเคราะห์เป็นวิธีวิเคราะห์หลัก แต่ใช้เป็นข้อมูลเสริม ดังนั้น ผู้วิเคราะห์ข้อมูลจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการวิจัย ผู้วิเคราะห์ข้อมูลควรมีความรอบรู้ในเรื่องแนวคิดทฤษฎี มีความรู้จริงด้วยตัวเอง สามารถสร้างข้อสรุปผลเป็นกรอบแนวคิด โดยปกติแล้ว ผู้เขียนจะนำวิธีการวิเคราะห์มาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ จะเป็นข้อความบรรยาย (Descriptive) ซึ่งได้จากการสังเกต สัมภาษณ์ และจดบันทึก
2. การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) คือ การกระทำกับข้อมูลที่ได้จากเอกสาร

การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป
การวิเคราะห์ข้อมูลแบบนี้ มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด

1. การวิเคราะห์แบบอุปนัย
2. การจำแนกชนิดข้อมูล
3. การเปรียบเทียบข้อมูล

•  การวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) คือ การตีความสร้างข้อสรุปข้อมูลจากสิ่งที่เป็น

รูปธรรม หรือปรากฎการณ์ที่มองเห็น เช่น พิธีกรรม การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ การทำงาน ฯลฯ เมื่อผู้วิจัยได้เห็นหรือสังเหตหลาย ๆ เหตุการณ์ต่าง ๆ แล้วจึงลงมือสรุป แต่หากข้อสรุปนั้นยังไม่ได้รับการตรวจสอบอื่น ๆ ก็ถือว่า ผลที่ได้เป็นสมมุติฐาน หากได้รับการยืนยันก็ถือว่าเป็นข้อสรุปได้

ในการที่ข้อสรุปไม่ได้รับการยืนยันนั้น เรียกว่า สมมุติฐานชั่วคราว (Working Hypothesis) เช่น สมมุติฐานที่อาจตั้งขึ้นจากการพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น จากนั้นจึงศึกษารวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ดังนั้น ตลอดเวลาที่นักวิจัยทำการวิจัย และลงมือวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น มีการบันทึกโดยจำแนกออกเป็น 6 ขั้นตอน ในหนึ่งเหตุการณ์ได้แก่ใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร อะไร มีความหมายอย่างไรในการทำสิ่งเหล่านี้ นักวิจัยจะต้องหัดสนใจ และมีวุฒิภาวะ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งโดยปกติแล้ว จะทำได้โดยการบันทึก ซึ่งเป็นการบังคับในผู้วิจัยวิเคราะห์ วิเคราะห์ในระดับหนึ่ง และสร้างเป็นข้อสรุป ในการพิสูจน์สมมุติฐานนั้น การวิจัยเชิงคุณภาพ แตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีการตีกรอบทฤษฎี แต่ผู้วิจัยจะไม่กำหนดสมมุติฐานจาก กรอบแนวคิดอันใดอันหนึ่งได้โดยเฉพาะ ตรงกับผู้วิจัยจะปรับ และเปลี่ยนสมมุติฐานอยู่เสมอโดยการพิสูจน์ สมมุติฐานเหล่านั้นตลอดเวลา สมมุติฐานอาจถูกหรือผิดก็ได้ เมื่อสมมุติฐานนี้ถูกพิสูจน์ และตรวจสอบแล้ว จึงจะเป็นข้อสรุป ซึ่งจะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ หัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้างสมมุติฐาน

2. การวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูล (Typologlcal Analysis) คือ การจำแนกข้อมูลเป็นชนิด (Typologles) คำว่า Typologles หมายถึง ขั้นตอนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ

1) แบบใช้ทฤษฎี 2) แบบไม่ใช้ทฤษฎี

•  แบบใช้ทฤษฎี คือ การแยกชนิดในเหตุการณ์นั้น ๆ โดยการยึดแนวคิดทฤษฎีเป็นกรอบ ซึ่ง

สามารถแยกชนิดออกได้ดังนี้
- การกระทำ (acts) คือ เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ หรือพฤติกรรม ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
- กิจกรรม (Activies) 8nv เหตุการณ์หรือสถานการณ์ขนบประเพณีที่เกิดขึ้นในลักษณะต่อเนื่อง มีความผูกพันธ์กับคนบางกลุ่ม
- ความหมาย (Meaning) คือ การที่บุคคลอธิบาย หรือสื่อสารในความหมายเกี่ยวกับการกระทำหรือกิจกรรม อาจเป็นการให้ความหมายในลักษณะเกี่ยวกับโลกทัศน์

- ความสัมพันธ์ (Relationship) คือ ความเกี่ยวโยงระหว่างบุคคลหลาย ๆ คน ในสังคมที่ศึกษาในรูปแบบหนึ่ง อาจจะเป็นรูปของการเข้าได้ หรือความขัดแย้งก็ได้
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรม (Participation) คือ การที่บุคคลมีความผูกพันธ์ และเข้าร่วมกิจกรรม หรือปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์
- สภาพหรือสถานการณ์ (Setting) คือ สภาพการณ์ที่การกระทำ หรือกิจกรรมเกิดขึ้นจริง
ผู้วิจัยจะต้องแยกออกเป็นขั้นตอน เพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ และตรวจสอบ ซึ่งในการวิเคราะห์นั้น ผู้วิจัยจะต้องพยายามตอบคำถามว่าสิ่งที่วิเคราะห์นั้น มีรูปแบบอย่างไร เกิดขึ้นอย่างไร เพราะเหตุใด และจะมีผลกระทบต่อกิจกรรม สถานการณ์ หรือความสัมพันธ์นั้น ๆ ได้อย่างไร ซึ่งการตอบคำถามเหล่านั้นจะต้องอาศัยการเก็บข้อมูลหลายอย่าง หลายวิธี ผู้วิจัยเองจะต้องวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง และรอบครอบ เพราะเหตุที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นจากเรื่อง ๆ เดียว ดังนั้นจึงมีผลกระทบ และเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ นั้น อาจแบ่งออกได้เป็น
1) เกิดขึ้นจากสาเหตุเดียว (Singie Cause)
2) หลายสาเหตุแต่ไม่ซับซ้อน (Multiple Cause หรือ List)
3) หลายสาเหตุ ซึ่งพอกพูนทำให้ซับซ้อน (Cumuiative Cause) ซึ่งโดยปกติแล้ว กรอบทฤษฎีที่นิยมใช้กันมากในการจำแนกชนิด คือ ทฤษฎีโครงสร้างตามหน้าที่

2. แบบไม่ใช้ทฤษฎี คือการจำแนกข้อมูลที่จะวิเคราะห์ตามความเหมาสมกับข้อมูล ซึ่งอาจใช้สามัญสำนึก หรือประสบการณ์ของผู้วิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะจำแนกข้อมูลเป็นชนิดง่าย ๆ ตามประเภทที่ผู้วิจัยสังเกต เมื่อจำแนกข้อมูลเป็นชนิดแล้ว ผู้วิจัยจะพิจารณาดูความสม่ำเสมอของการเกิดของข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการอธิบายสาเหตุของปรากฎการณ์ ในการจำแนกข้อมูลเป็นชนิดทั้งโดยใช้ หรือไม่ใช้กรอบแนวทฤษฎีนี้ ผู้วิจัยจะได้กำหนดหน่วยวิเคราะห์ให้แก่ข้อมูลด้วย
3. การวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบข้อมูล (Constant Comparison) คือ การใช้วิธีการ

เปรียบเทียบโดยการนำข้อมูลมาเทียบเป็นปรากฎการณ์ มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น สามารถทำได้โดยการที่ผู้วิจัยสังเกต หรือรวบรวมข้อมูลได้หลาย ๆ อย่าง แล้วนำมาแยกตามชนิด นำมาเปรียบเทียบกันโดยทำตารางหาความสัมพันธ์จากสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น และสรุปผลออกมา
ตัวอย่างตาราง

อะไร
( พฤติกรรม )

อะไร / อย่างไร
( กิจกรรม )

ความหมาย

ใคร

อย่างไร
( ความสัมพันธ์ )

ที่ไหน

1. การออกบบอักษร
2. ลักษณะ STYLE

ในการเปรียบเทียบนี้ Glaser และ Strauss (1965) ได้ใช้วิธีการเปรียบเทียบในการวิเคราะห์จะนำไปสู่การสร้างข้อสรุป และการสร้างทฤษฎี ขั้นตอนในการวิเคราะห์แบบเปรียบเทียบมี 4 ขั้นตอน คือ
1. เปรียบเทียบเหตุการณ์ (Incidents) โดยการแยกเหตุการณ์ออกเป็นประเภท (Catagories) และให้รหัสลงไป เช่น 1, 2, 3,......

2. ประมวลประเภทของข้อมูล และคุณลักษณะ (Properties) ของประเภทเข้าด้วยกัน เป็นการสั่งสมข้อค้นพบ หรือข้อสรุปย่อย ๆ จากการเปรียบเทียบประเภทของข้อมูล และคุณลักษณะของประเภทซึ่งกันและกัน เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ผู้วิจัยก็จะเริ่มเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้น ทำให้เกิดความสัมพันธ์ และเกิดเป็นแนวคิดย่อย ๆ ขึ้น
3. ขยายวงของการเปรียบเทียบแล้ว เลือกเฟ้นเป็นเหตุการณ์ที่เป็นกุญแจสำคัญ ผู้วิจัยจะใช้กรอบแนวคิดที่ได้จากการสรุปลักษณะความสัมพันธ์ของข้อมูลในเหตุการร์ต่าง ๆ ในข้อ 2 มาพิจารณาเหตุการณ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ เมื่อขยายวงของการเปรียบเทียบออกไป คุณสมบัติที่ได้คล้ายคลึง และที่แตกต่างกันของข้อมูลก็ยิ่งมีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้วิจัยพบข้อสรุปได้
4. สร้างข้อสรุป เมื่อผู้วิจัยได้เปรียบเทียบจนข้อมูลอิ่มตัวแล้ว สิ่งที่ผู้วิจัยจะต้องทำต่อ คือ การตัดทอน (Reduce) คุณลักษณะของข้อมูลที่เปรียบเทียบกันจนเหลือแต่คุณลักษณะร่วมที่มีความหมาย และมีความสัมพันธ์แล้ว นักวิจัยก็จะสร้างข้อสรุปจากข้อมูลนั้น ๆ

การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร / การวิเคราะห์เนื้อหา
ในการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารนั้น สามารถทำได้โดยวิธีการเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ วิธีเชิงปริมาณ คือ การทำให้ข้อมูลของเอกสารนั้น จัดออกเป็นตัวเลขได้ เช่น ในภาพเขียนลักษณะอิมเพรสชั่นนิสนั้น สามารถแยกออกมาได้ว่า ใช้สีจำนวน 4 สี เพื่อให้เกิดเป็นภาพภาพนั้น หรือคนใช้คำพูด พูดซ้ำ ๆ กันกี่ครั้ง วิธีการทางคุณภาพคือ การตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Induction) จากเอกสาร ประกอบกับเอกสารอื่น ๆ โดยอาจมีการแบ่งประเภทตามเนื้อหาของเอกสาร และเปรียบเทียบเนื้อหาประเภทต่าง ๆ ตามเนื้อหา แล้วเปรียบเทียบเฉพาะเนื้อหาเท่านั้น
ในการวิจัยทางมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การวิเคราะห์เนื้อหามีบทบาทโดดเด่นในการช่วยบรรยาย หรือแยกแยะสาระ (Message) ของข้อความที่ได้ศึกษา ซึ่งตัวบทที่จะวิเคราะห์นั้นมีองค์ประกอบหลัก ๆ 6 ประการ ได้แก่

1. แหล่งที่มาของข้อความ หรือสาระได้แก่ ผู้สื่อ (Source/Sender)
2. กระบวนการใส่ความของสาระ (Encoding Process)
3. ตัวสาระ และข้อความ (Message)
4. วิถีถ่ายทอดสาระไปยังผู้อื่น (Channel of Transmission)
5. ผู้รับสาระ (Detector)
6. กระบวนการถอความหมายของสาระ (Deceoding Process)

ซึ่งในกรอบแนวคิดนี้ ตัวสาระ หรือข้อความเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นวิธีการวิจัยที่สามารถช่วยวิเคราะห์ตัวสาระ หรือข้อความที่ถูกสื่อได้เป็นอย่างดี ผู้วิจัยจะต้องมีข้อถึงระมัดระวังสองประการคือ

1. เนื้อหาที่จะได้จากการวิเคราะห์เอกสาร ตามเนื้อหาที่มีอยู่ในเอกสารที่ไม่ใช่เนื้อหาที่ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด
2. คุณลักษณะเฉพาะที่นักวิจัยจะบรรยายหรือวิเคราะห์ ควรเป็นคุณลักษณะที่ดึงขึ้นมาได้จากเอกสารมากกว่าการบรรยาย หรือวิเคราะห์ โดยมีกรอบแนวคิดทฤษฎีกำหนดไว้ล่วงหน้า กรอบแนวคิดเป็นเพียงสิ่งที่นำมาช่วยในการสร้างข้อสรุป หรือโยงข้อมูลที่ดึงออกมาได้เท่านั้น มิฉะนั้นการวิเคราะห์เนื้อหาก็จะไม่สามาารถทำได้อย่างเป็นระบบ และขาดภววิสัย

ขั้นตอนในการวิเคราะห์เนื้อหา

1. ผู้วิจัยจะต้องตั้งกฎเกณฑ์ขึ้น
2. ผู้วิจัยจะต้องวางเค้าโครงของข้อมูล โดยการทำรายชื่อ หรือข้อความในเอกสารที่จะถูกนำมาวิเคราะห์ แล้วแบ่งไว้เป็นประเภท (Categories) การกระทำเช่นนั้นจะช่วยให้มีความสม่ำเสมอ
3. ผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึง บริบท (Context) หรือสภาพแวดล้อมประกอบของข้อมูลเอกสารที่นำมาวิเคราะห์ เช่น ใครเป็นผู้เขียน ใครอ่าน ช่วงเวลาเป็นอย่างไร เพื่อให้การวิเคราะห์เป็นไปอย่างประสิทธิภาพ มีการบรรยายคุณลักษณะเฉพาะของเนื้อหาโดยไม่โยงไปสู่ลักษณะของเนื้อหาเข้ากับบริบทของเอกสาร และมีการโยงคุณลักษณะดังกล่าว เข้ากับกรอบแนวคิดทฤษฎีที่เหมาะสม จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีความกว้างขึ้น และนำไปสู่การอ้างใช้กับข้อมูลอื่น ๆ ได้
4. โดยปกติการวิเคราะห์เนื้อหาจะทำตามเนื้อหาที่ปรากฎ (Manifest Content) ในเอกสารมากกว่ากระทำกับเนื้อหาที่ซ่อนอยู่ (Latent Content)
5. การวัดความถี่ของการใช้ หรือการใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ แล้วให้ได้คำตอบที่มีความหมายสัญลักษณ์กับสิ่งที่ต้องการค้นหา ซึ่งวิธีการนี้อาจจจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนแต่ไร้ความหมาย

ในการวิเคราะห์เนื้อหานั้น หัวใจสำคัญคือการวางระบบข้อมูลโดยการจัดประเภทของคำ และข้อความที่จะวิเคราะห์ ซึ่งการจัดประเภท (Categories) นั้น ควรมีลักษณะดังนี้

1. ระบบจำแนกประเภทควรสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย
2. ระบบจำแนกประเภทควรมีครอบคลุม คือ สามารถรองรับคำ และข้อความที่จะถูกแจงได้เป็นอย่างดี มีการระบุรายละเอียด แนวคิด ตัวแปรให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. ต้องมีความเด่นชัดในตัวเอง
4. ไม่ควรมีความซ้ำซ้อนเหลือมกัน
5. มีการใช้หลักการเดียวกันในการจัดระบบตลอดงานวิจัย และวิเคราะห์

ข้อเสนอแนะในการวิเคราะห์

- อย่าปล่อยข้อมูลทิ้งไว้ โดยมิได้วิเคราะห์ค้างอยู่
- จัดทำระบบข้อมูล เพื่อให้ทบทวน และตรวจสอบได้
- สร้างเรื่อง (Theme) และแยกประเภท (Catagories) ไปพร้อมกับการตรวจสอบ
- ทำดรรชนี (Indexs) และระหัส (Code) ให้ละเอียด และครอบคลุมทุกแง่มุม และอย่าย่อข้อมูลจนทำให้ขาดสาระสำคัญไป
- จัดแยกข้อมูลออกเป็น File
- เวลาวิเคราะห์ ควรหยุดคิด และพิจารณาอย่างละเอียด
- ทุกครั้งที่ตัดสินใจวิเคราะห์อย่างไร ให้จดลงบันทึกวิธีการด้วย
- สนุกกับการวิเคราะห์
- อ่านงานของนักวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ฝึกให้มีความเห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น
- ระลึกอยู่เสมอว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นมาได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นนักวิจัยจึงต้องมองรอบ ๆ ตัว
- สาเหตุที่ตรงไปตรงมามักจะไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง
- จะต้องไม่สับสนระหว่างความสัมพันธ์กับสาเหตุ สิ่งที่เป็นความสัมพันธ์ไม่ใช่สาเหตุเสมอไป

สรุป การวิเคราะห์เป็นกระบวนการที่รวมถึงกิจกรรมหลายอย่างที่มุ่งไปสู่การทำความเข้าใจ ข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มา ได้แก่การตีความสร้างข้อสรุป การจำแนกชนิด และการเปรียบเทียบข้อมูล การเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เพื่อหาคำอธิบาย และข้อสรุปทั้งหมดเพื่อหาคำตอบภายใต้กรอบความคิด หรือทฤษฎี เพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือ และแม่นยำที่สุด