บทที่ 9
การเขียนวิธีการดำเนินงานการวิจัย

วิธีดำเนินงานการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญ และถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัยเลยที

เดียว ซึ่งผู้วิจัยจะต้องรายงานเกี่ยวกับแผนการ และวิธีดำเนินงานเป็นลำดับ ก่อนลงมือปฎิบัติการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เช่น นำไปสู่การสรุปผล และข้อเสนอแนะต่อไป

การเขียนวิธีการดำเนินงานวิจัย มีลีลาการเขียนหลายรูปแบบ การเขียนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของ

เนื้อเรื่อง และการออกแบบวิธีวิจัย ที่ต้องการให้ผู้อ่านหรือผู้สนใจ สนใจเป็นพิเศษ ซึ่งการเขียนขั้นตอนนี้ปรกติจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

•  กระบวนการรวบรวมข้อมูล และ 2. กระบวนการปฎิบัติข้อมูล
1. กระบวนการรวบรวมข้อมูล เป็นการอธิบายให้เห็นอย่างชัดเจน สมบูรณ์ และกะทัดรัด เกี่ยว

กับวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล มีการให้เหตุผลของการเลือกข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งขั้นตอนโดยละเอียดเกี่ยวกับวิธีการรวบรวมข้อมูลนั้น นักวิจัยควรยึดหลัก 3 ประการด้วยกันด้วย

1) ข้อมูลที่รวบรวมจะต้องตอบปัญหาการวิจัย
2) รู้แหล่งที่มาของข้อมูลโดยละเอียด
3) เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้วิจัยในการนำข้อมูลไปใช้

•  กระบวนการปฎิบัติต่อข้อมูล เป็นกระบวนการที่นักวิจัยจะต้องอธิบายถึงแผนงาน และวิธีการ

ในการปฎิบัติต่อข้อมูลที่รวบรวมมาได้ และกำหนดวิธีการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลให้ชัดเจน มีการชี้แจงถึงขั้นตอน และกลวิธีในการวิเคราะห์การแปลความหมาย เช่น การตรวจสอบข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการสัมภาษณ์ การค้นคว้าจากเอกสาร รูปภาพ ตัวอย่างผลงานที่ได้ รวมทั้งค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ด้วยว่า มีวิธีการออกแบบอย่างไร เพื่อให้เหมาะสมกับข้อมูลที่นักวิจัยรวบรวมมาได้ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่แสดงความสามารถของนักวิจัยว่า ใช้วิธีการอย่างไรที่จะทำให้ได้ข้อมูลมา และสามารถนำมาใช้ยืนยันผลว่าเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ ซึ่งมีวิธีการที่นักวิจัยควรจะพิจารณาอยู่ 5 ขั้นตอนคือ
1) ชนิดของข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์
2) กระบวนการที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ซึ่งอาจะเป็นสถิติ การเปรียบเทียบข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้อง การวิเคราะห์เนื้อหา หรือเหตุผลของการกระทำเช่นนั้น
3) การนำเสนอข้อมูล

ซึ่งสิ่งที่ได้กล่าวมานี้ แล้วแต่ว่านักวิจัยจะมีวิธีการดำเนินงาน ขึ้นอยู่กับการออกแบบงานวิจัยนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1. กล่าวถึงวัตถุประสงค์ คำจำกัดความ และอธิบายศัพท์เฉพาะ
2. กล่าวถึงประชากรที่นำมาใช้ในงานวิจัย
3. กล่าวถึงวิธีการดำเนินงานโดยละเอียด ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล กลุ่มประชากร เครื่องมือที่ใช้ เกณฑ์ในการเลือกตัวแปรต่าง ๆ ของงานวิจัยกระบวนการวิจัย การสร้างมาตรฐาน ฯลฯ
4. วิธีการวิเคราะห์ การเรียนรู้ วิธีการวิเคราะห์ และการตีความหมาย
5. กล่าวถึงข้อตกลง ( หากยังมิได้กล่าวถึง )

วิธีการดำเนินการวิจัยนั้น จะต้องเขียนให้สั้น ย่อ กะทัดรัด ชัดเจน เพราะจะทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถแยกกล่าวได้เป็น 5 ขั้นตอนคือ

1. กล่าวนำเข้าถึงวัตถุประสงค์ และ หรือ สมมุติฐานของการวิจัย
2. ระบุลำดับขั้นตอนในการรวบรวมข้อมูล
3. บรรยายลักษณะของประชากร กลุ่มเป้าหมาย ของงานวิจัยให้ชัดเจนโดยการอ้างอิง มีการกล่าวถึงเครื่องมือที่ใช้ และอธิบายเหตุผลสำคัญ
4. แสดงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอ
5. สรุปวิธีการดำเนินการวิจัย

•  กล่าวซ้ำถึงวัตถุประสงค์ และหรือสมมุติฐานของการวิจัย การเขียนให้สั้นและย่อ เพื่อย้ำ

ให้ผู้อ่าน หรือผู้ทำวิจัยเห็นถึงส่วนสำคัญของการวิจัยอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ผู้อ่านไม่ต้องเสียเวลาย้อนกลับไปดูในบทที่ 1 อีกครั้งหนึ่ง
2. ลำดับขั้นตอนในการรวบรวมข้อมูล ในการวางแผนดำเนินการวิจัยนั้น ผู้วิจัยจะต้องกำหนดเรื่องราวที่ปฎิบัติตามลำดับก่อนหลังเป็นขั้น ๆ ไป เนื่องจากบางขั้นตอนจะต้องรอให้ขั้นตอนหนึ่งปฎิบัติให้เสร็จสิ้นเสียก่อน จึงสามารถดำเนินการต่อไปได้ ดังนั้นผู้วิจัยจำเป็นจะต้องลำดับ และเขียนตามลำดับเป็นระบบ ซึ่งอาจเริ่มจากการกำหนดหัวเรื่อง ปัญหา และความมุ่งหมายของการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องอ่าน และค้นคว้าเรื่องที่เกี่ยวข้อง พยายามสืบค้นหาแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ในงานวิจัย และก่อนที่จะลงมือรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยอาจจะต้องขอความร่วมมือจากบุคลากร หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งข้อมูล มีการกำหนดระยะเวลาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องให้รายละเอียดของการวิจัยทั้งหมด

ในวิธีการรวบรวมข้อมูลของการวิจัยนั้น จะใช้วิธีใดก็ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดที่เป็นประเด็นหลักในการรวบรวมข้อมูล ( สมมุติฐาน ) ตามแบบแผนของการวิจัย เช่น การวิจัยจากเอกสาร การวิจัยภาคสนาม หรือการวิจัยกึ่งทดลอง เพราะการวิจัยแต่ละประเภทมีวิธีการ และกรรมวิธีแตกต่างกัน บางแห่งอาจใช้ตัวอย่าง และสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง บางแห่งใช้แบบสอบถาม บ้างก็ใช้การสังเกต และวิเคราะห์ตัวอย่าง เพื่อให้ได้ข้อมูล และเนื้อหาตามสาระความเป็นจริง และเชื่อถือได้ รวมทั้งการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ที่รวบรวมมาไว้ด้วย ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานั้นผู้วิจัยจะต้องอธิบายได้โดยละเอียด และมีขั้นตอนอย่างเป็นระบบ

3. บรรยายลักษณะของประชากร กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือ ตัวแปรของข้อมูลกับการวิจัยนั้น ๆ ผู้วิจัยจะต้องเขียนไว้ในรายงานวิจัย เช่น

- ตัวอย่างประชากร
- เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
- ลักษณะของตัวแปร

ตัวอย่างประชากรนั้น ผู้วิจัยจะต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าคือใคร มีหลักเกณฑ์อย่างไรในการเลือกกลุ่มประชากรนั้น ๆ มีประชากรเท่าไรในการศึกษาวิจัย แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย หรือไม่ และกระบวนการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นอย่างไร ดังนั้น ถ้าไม่ต้องการจะเน้นเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะแล้ว ก็ควรจะกล่าวถึงกลุ่มประชากรเป็นอย่างแรก ผู้วิจัยอาจแสดงข้อมูลที่เปรียบเทียบกันได้ของตัวอย่างประชากร เพื่อให้ผู้อ่านได้ใช้วิจารณญาณตัดสินใจ ความเป็นตัวแทนที่เชื่อถือได้ของตัวอย่างที่เลือกมา ที่ไม่มีอคติ และไม่ยุติธรรม ในการวิจัยส่วนใหญ่นั้น ประชากรจะต้องเป็นตัวแทน ของประชากรที่ต้องการศึกษา เพราะงานวิจัยส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้กลุ่มประชากรทั้งหมดได้ ดังนั้น จึงใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง เพื่อลดจำนวนประชากร ซึ่งการสุ่มนั้นมีหลายวิธี เช่น การสุ่มแบบง่าย การสุ่มแบบเป็นระบบ การสุ่มแบบแบ่งชั้น การสุ่มแบบหมู่พวก ซึ่งเราเรียกว่า Probability Sample, หรือการสุ่มโดยวิธี พิจารณาถึงความน่าเป็นไปได้ของตัวอย่าง อีกประเภทได้แก่ การสุ่มโดยพิจารณาถึงความน่าเป็นไปได้ของตัวอย่าง อีกประเภทได้แก่ การสุ่มโดยพิจารณาถึงความไม่น่าจะเป็นไปได้ของตัวอย่าง (Non Probalility Sample) ซึ่งวิธีการนี้มักจะไม่ค่อยทราบรายละเอียดมากนัก และไม่แนะนำให้ใช้เนื่องจากจะได้ประชากรเฉพาะ ที่ไม่สามารถเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรใหญ่ได้ ได้แก่ การเลือกประชากรแบบ อุบัติการ (Accidental Sample) เช่น การเลือก 10 คนแรกที่พบ แบบสัดส่วน Quoto Sample) เลือกโดยถือสัดส่วนขององค์ประกอบตามต้องการ เช่น เลือกตามสัดส่วนของเพศ อายุ การศึกษา หรือรายได้ แบบเจาะจง (Purposive Sample) คือการเลือกตัวอย่างโดยมีเหตุผลเฉพาะ และเลือกแบบความสะดวก (Convenience Sample) โดยถือเอาความง่าย และสะดวกเป็นสำคัญ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
ในการเขียนการดำเนินการวิจัยนั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีส่วนสำคัญมากในการเก็บข้อมูล ดังนั้น ผู้วิจัยจะต้องอธิบายเครื่องมือในการเก็บ ข้อมูลโดยละเอียด และเครื่องมือเหล่านั้นควรเป็นเครื่องมือที่ได้ตรวจสอบแล้ว เช่น คำถามต่าง ๆ ของแบบสอบถาม คำถามของการสัมภาษณ์ คำถามในการวิเคราะห์ภาพ หรือเอกสาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการตรวจสอบว่า เป็นเครื่องมือที่ใช้เฉพาะการวิจัยนั้น ๆ จริง ๆ และเหมาะสมกับการวิจัยนั้น ๆ เนื่องจากเครื่องมือจะเป็นตัวช่วยให้งานวิจัยมีความแม่นยำ ดังนั้นควรมีการตรวจสอบโดยวิธีทางสถิติ หรือโดยกลุ่มผู้อำนวจการ

ลักษณะของตัวแปร
การเขียนระบุตัวแปร และข้อมูลในวิธีการดำเนินการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจ และคุ้นเคยกับคุณสมบัติ และลักษณะของการจัดรูปของข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ในลำดับต่อไป ดังนั้นในการบอกลักษณะสำคัญของตัวแปร จึงนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการวิจัย ใช้เพื่อนำมาพิจารณาในการวิเคราะห์ เพื่อหาคำตอบตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

4. วิธีการวิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูล
เมื่อได้รับข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแล้ว ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดในบทต่อ

ไป ข้อมูลที่รับมานั้นจะมีจำนวนมาก และปะปนกันอยู่อย่างไม่มีระเบียบ ทำให้เข้าใจได้ยาก ดังนั้น ผู้วิจัยจะต้องจัดลำดับข้อมูลใหม่ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายตามความต้องการ ผู้วิจัยจะต้องกล่าวถึงวิธีการนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์อย่างละเอียด พร้อมทั้งให้เหตุผลการใช้ค่าทางสถิติ ต้องอธิบายอย่างละเอียดว่า ใช้สถิติอะไรด้วย มีการเปรียบเทียบอะไร อย่างไร มีการใช้ตาราง รูปภาพ ตัวอย่างอย่างไร เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นจริง และคล้อยตามเหตุผลที่น่าเชื่อถือได้ ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องอ้างอิงแหล่งวิชาการ ที่เอื้ออำนวยให้นักวิชาการเหล่านั้นมาใช้ในการวิจัยด้วย

5. สรุปวิธีการดำเนินการวิจัยทั้งหมด
การเขียนสรุปวิธีการดำเนินงานนั้น ผู้วิจัยจะต้องเขียนลำดับขั้นตอนก่อนหลังในส่วนที่เป็นหัวใจของการดำเนินการวิจัยว่ามีอะไรเป็นหลัก และกระทำอย่างไร ทั้งการรวบรวมข้อมูล การปฎิบัติต่อข้อมูลที่ได้มา พร้อมที่จะเขียนลงไว้ในบทสรุป เพื่อเป็นการประหยัดเวลาเป็นผู้อ่าน