เนื่องจากโรคนิ่วไตในคนไทยมีสาเหตุที่สำคัญ คือ การมีสารก่อนิ่วมาก และมีสารยับยั้งนิ่วน้อย จึงควรส่งเสริมให้ผู้ป่วย และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนิ่วไต ในการป้องกันที่สาเหตุดังกล่าวคือ
1. การดื่มน้ำ ร่างกายคนปกติต้องการน้ำอย่างน้อย วันละ 2 ลิตร (คิดเป็นปริมาณน้ำประมาณ 8 แก้ว ซึ่งมีขนาดโดยเฉลี่ย) ในคนที่เสียเหงื่อมากกว่าปกติ หรือผู้ป่วยโรคนิ่ว ควรดื่มน้ำเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 2.5 - 3 ลิตร ยกเว้นในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ
2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคนิ่วไต ที่พบในคนไทย ควรแนะนำให้แก้ไขดังนี้
2.1 อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรเลือกรับประทานอาหารบางชนิดให้น้อยลง เช่นข้าวเหนียวนึ่ง ขนมจีน และเปลี่ยนแปลงวิธีการเตรียมอาหาร โดยทำให้สูญเสียปริมาณโพแทสเซียม และซิเทรตที่มีอยู่ในอาหารให้น้อยที่สุด เช่นหลีกเลี่ยงการแช่น้ำ หรือการทิ้งน้ำจากการประกอบอาหาร ควรนึ่งผักแทนการลวกผัก เป็นต้น
2.2 อาหารไขมัน ควรสนับสนุนให้รับประทานไขมันให้มากขึ้น แต่ควรเลือกชนิดของไขมัน เช่น น้ำมันจากพืช น้ำมันจากปลา น้ำนม เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องรับประทานไขมันชนิดที่ขายในรูปของอาหารเสริม เพราะมีราคาแพง และไม่มีความแตกต่างในด้านคุณค่าของอาหารแต่อย่างไร
2.3 ผักและผลไม ้ควรรับประทานเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มะนาว ส้ม มะขามสุก มะละกอสุก มะเขือเทศ และกล้วย นอกจากจะมีสารยับยั้งนิ่ว เป็นซิเทรต และแมกนีเซียม โพแทสเซียม ในปริมาณสูงแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระร่วมหลายชนิดอีกด้วย
2.4 สมุนไพร ยังไม่มีการศึกษาที่น่าเชื่อถือที่พอจะบอกได้อย่างแน่ชัดว่า สมุนไพรชนิดใดป้องกัน หรือรักษาโรคนิ่วไตได้ แต่พบว่าการรับประทานหญ้าหนวดแมว เป็นระยะเวลานานสามารถลดขนาดของนิ่วลงได้
2.5 ยา เนื่องจากยาทุกชนิดมีทั้ง ผลด ีและผลเสีย การใช้ยาโดยไม่มีเหตุผลสมควร สามารถก่อให้เกิดโรคต่างๆได้ สำหรับโรคนิ่วยาที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก ่แคลเซียม วิตามินดี ยาขับกรดยูริก เป็นต้น ยาที่ใช้ป้องกันนิ่วแนะนำให้เฉพาะผู้ที่มีประวัติเกิดนิ่วซ้ำบางรายเท่านั้น ยาชนิดอื่นที่อาจมีประโยชน์ในด้านการป้องกัน และรักษาคือ วิตามินซ ีและ วิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่ยังไม่มีการศึกษาอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามก่อนใช้ยาใดๆควรปรึกษาแพทย์เสมอ
2.6 อาหารเสริม ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่า อาหารเสริมที่โฆษณาสรรพคุณในการรักษาโรคนิ่วไตนั้น สามารถรักษาโรคได้จริง จึงไม่แนะนำให้รับประทานอาหารเสริมใดๆ
3. การดูแลสุขภาพ หมั่นดูแล และสังเกตอาการผิดปกติด้วยตนเองเป็นประจำ และควรตรวจร่างกายกับแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อธำรงไว้ซึ่งสุขภาพ และทำให้วินิจฉัย และรักษาโรคได้อย่างรวดเร็ว