ฉบับภาษาไทย, English version

บทคัดย่อ

    การวิจัยเรื่อง จริยธรรมเภสัชกร (Pharmacist's Ethics) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรค และ/หรือสนับสนุนการ จัดการศึกษาด้านจริยธรรม และ หาแนวทางพัฒนาระบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรมแห่ง วิชาชีพเภสัชกรรมโดยใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสารร่วมกับ ระดมความคิดจากครูผู้มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนจริยธรรมวิชาชีพ (ในช่วงเมษายน 2541 -มีนาคม 2542) พบว่า

    หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต(5ปี) ของ มหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีจำนวนหน่วยกิต 176-188 หน่วยกิต มีราย  วิชา 2-3 รายวิชา ที่จัดให้มีการเรียนการสอน หัวข้อ จริยธรรมวิชาชีพ ในปีการศึกษา 2541 พบสอนจริยธรรมรวม   จำนวน 5-16 ชั่วโมง (สอน 5-6 ชั่วโมง 4 แห่ง; สอน 8-10 ชั่วโมง 4 แห่ง ; สอน 15-16 ชั่วโมง 3 แห่ง) เทียบเท่ากับ 0.42-1.33 หน่วยกิต หรือร้อยละ 0.22-0.71 ของหลักสูตร

    วิธีการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย การบรรยายเป็นหลัก ร่วมด้วยการวิเคราะห์กรณีศึกษา การอภิปราย การสัมมนา การสำรวจข้อมูล หรือการฝึกพัฒนาจิตใจ ส่วนครูผู้รับผิดชอบการสอนจริยธรรมวิชาชีพ หรือ วิทยาศาสตร์ข้างใน(Inner Science) มีน้อย การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ศิษย์เรียนรู้เป็น (Learning how to learn) มีน้อย ความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ในแง่กัลยาณมิตร ซึ่งเป็นรากฐานวัฒนธรรมไทยเริ่มลดลง ครูผู้เป็นแบบอย่างที่ดีโดยการกระทำมีน้อย

    ความสัมพันธ์เชิงจริยธรรมระหว่างเภสัชกรกับผู้ป่วยลดลง การบริการเภสัชกรรมมีลักษณะเป็นธุรกิจมากขึ้น มีปัญหาจริยธรรมเกิดขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงหน้าที่ในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย ที่เน้นการถ่ายทอดความรู้ วิชาชีพมากกว่าการฝึกฝนพัฒนาตนด้านพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา

    กฎเกณฑ์ด้านจริยธรรมแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมมีทั้งของสากลและของไทย สภาเภสัชกรรม (ประเทศไทย) ประกาศใช้กฎเกณฑ์ตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 คือ ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วย จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2538 , ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วย ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการ    ประกอบ วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2540 , ประกาศ สภาเภสัชกรรม เรื่องการเลือกสรรยา พ.ศ.2540 และ ประกาศสิทธิของผู้ป่วย พ.ศ.2541 ส่วนเกณฑ์มาตรฐานการประกอบวิชาชีพสาขาต่างๆ อยู่ระหว่างการจัดทำ

    ข้อเสนอแนะ เพื่อให้มีการร่วมกันสร้างเภสัชกรให้เป็นบัณฑิตที่แท้ มีดังนี้

    นโยบายการสร้างบัณฑิตของมหาวิทยาลัย ต้องชัดเจนโดยการกระทำ คือสนับสนุนการสร้างใจบัณฑิตเท่าเทียม กับการสร้างเครื่องมือให้บัณฑิต (ความรู้วิชาชีพ) และปฏิรูปหลักสูตร ให้มีการเรียนรู้ชีวิตและโลกแห่งความเป็นจริง มากขึ้น โดยให้มีสัดส่วนขององค์ความรู้ 5 มิติ อย่างบูรณาการ คือวิทยาศาสตร์สุขภาพ , วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเภสัชกรรม, วิทยาศาสตร์สังคม, วิทยาการจัดการ และวิทยาศาสตร์ข้างใน ทัดเทียมกัน

    ปฎิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้แนวพุทธเป็นหลัก 3 วิธีผสมผสานกันคือ การเรียนรู้จากการสัมผัสของจริง การเรียนรู้จากการคิด และการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ( การสังเกตทดลองวิจัยและการเจริญสติ) เพื่อพัฒนาคนทั้ง 3 ด้านพร้อมๆ กันคือ ด้านพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา

    ปฏิรูปครู ครูต้องเป็นผู้นำเสริมศักยภาพตัวเองควบคู่กับการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และสร้างสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมองค์กรที่ให้คุณค่าต่อคุณธรรม จริยธรรม ในประชาคมมหาวิทยาลัย.


Thai version English version

Abstract

The study on Pharmacist's Ethics aims to analyse problems, obstacles and facilitated factors on professional ethics education. Documentary research and forum discussion among experienced teachers, teaching health professional ethics courses were used (during April 1998 to March 1999).The results indicate that:

Undergraduate five year pharmacy curricula (Bachelor Degree in Pharmaceutical Sciences) from 11 universities in Thailand contain 176-188 credits. In 1998 academic year, only 5-16 hours (equivalent to 0.42-1.33 credits or 0.22-0.71 % of curriculum) are in the topic of "pharmacy ethics"

The teaching methods are lecture, case analysis (case involving ethical and legal principles) panel discussion, seminar, data survey and mind training. There are a few teachers, who teach or are responsible for pharmacy ethics (Inner Sciences). A learning process of "how to learn" is still insufficient. The relationship among teachers and students root in Thai culture "teacher is a best friend" is declining. The role model of moral teacher is decreasing.

The ethical relationship between patients and pharmacists are pulled down, the pharmacy services are more business oriented, which induces ethical dilemmas. These outcomes reflected the quality of pharmacy education in universities, the pharmacy cirriculum and courses emphasized on body of knowledge transfer rather than the training process on student's consciences.

There are the international and national ethical criteria of pharmacy ethics. By the virtue of the Thai Professional Pharmacy Act B.E.2537,The Pharmacy Council adopted: The Regulation concerning the Code of Professional Pharmacy Ethics B.E. 2538 , The Regulation concerning the Obligations and Guidances in Professional Pharmacy Practices B.E. 2540; Drug Selection Notification B.E.2540 , and Patient Right Notification B.E. 2541.

Recommendations :

Strengthen university policies on training student's consciences along with the training of professional knowledges ; reform the curriculum coping the real world rather than follow book. Integrated courses of 5 aspects of sciences, Health Sciences, Physical Sciences and Pharmaceutical Technologies, Social Sciences, Management Sciences,and Inner Sciences should be arranged.

Reform the learning process by integrating 3 teaching-learning methods of Buddhist 's way : learning from facts in community , learning by thinking , and learning from directed experiences (experimentation/research and meditation).

The teacher must be a "moral role model" and influencing of university community to change organization culture toward the ethical value orientation.