การถ่ายภาพอินฟราเรดมีมานานกว่า 70 ปีแล้ว แต่ผู้ที่จะถ่ายภาพอินฟราเรดมีจำนวนไม่มากนักเนื่องจากต้องใช้ฟิล์มเฉพาะ และมีความยุ่งยากในการถ่ายภาพพอสมควร อย่างไรก็ตามกล้องดิจิทัลในปัจจุบันจะมี CCD ที่สามารถบันทึกคลื่นอินฟราเรดใกล (near infrared) คือมีความไวไปถึงประมาณ 1000 นาโนเมตร ทำให้เราสามารถใช้กลองดิจิทัลบันทึกภาพอินฟราเรดได้ นอกจากนี้กลองดิจิทัลในปัจจุบันก็ให้รายละเอียดและความคมชัดสูงขึ้นมาก รวมทั้งเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่ๆ ที่สามารถพิมพ์ภาพได้ใกล้เคียงภาพถ่ายมากขึ้น การถ่ายภาพอินฟราเรดด้วยกล้องดิจิทัลจึงเป็นสิ่งน่าสนใจอย่างใหม่ สำหรับคนที่รักการถ่ายภาพทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง
ก่อนที่จะถ่ายภาพอินฟราเรดด้วยกลองดิจิทัล ท่านจะต้องรู้ก่อนว่ากล้องของท่านนั้น มีความสามารถที่จะบันทึกภาพอินฟราเรดได้ดีหรือไม่ เพราะกล้องดิจิทัลบางรุ่นจะมีฟิลเตอร์สำหรับกั้นรังสีอินฟราเรด (hot mirror) ไม่ให้ผ่านไปบันทึกลงบน CCD การทดสอบทำได้ไม่ยากนักโดยการเปิดกล้อง จากนั้นให้กดปุ่มใดปุ่มหนึ่งบนรีโมทคอนโทรของเครื่องรับโทรทัศน์ โดยหันเขาหาเลนส์ของกล้อง เมื่อมองที่จอ LCD ของกล้องแล้วถาเห็นแสงออกมาจาก รีโมทคอนโทร แสดงว่า กลองสามารถถ่ายภาพอินฟราเรดได
ภาพที่ 1 แสงจากรีโมทคอนโทรที่มองเห็นในจอ LCD ของกล้อง
เมื่อตรวจสอบแล้วว่ากล้องของท่านสามารถถ่ายภาพอินฟราเรดได้ อันดับต่อไปคือการหาอุปกรณสำหรับการถ่ายภาพ ซึ่งไดแก่ฟิลเตอร์อินฟราเรดและขาตั้งกล้อง เท่านี้ก็จะสามารถจถ่ายภาพอินฟราเรดได้แล้ว
ฟิลเตอร์
ฟิลเตอร์อินฟราเรด หรือเรียกกันเต็มๆ ว่า อินฟราเรดพาส(infrared pass) คือฟิลเตอร์ที่ยอม ให้อินฟราเรดผ่านแต่กั้นแสงขาวไม่ให้ผ่าน ดังนั้นเราจึงเห็นฟิลเตอร์เป็นสีดำสนิท เพราะตาคนไวแสงไปถึงประมาณ 780 นาโนเมตรเท่านั้น ฟิลเตอร์ที่ยอมให้เฉพาะอินฟราเรดผ่านมีจำหน่ายอยู่หลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันคือ IR72 ซึ่งจะยอมให้รังสีอินฟราเรดที่ 720 นาโนเมตรขึ้นไปผ่านไปได้ (คิดที่ประสิทธิภาพที่ 50%) ส่วนของฟิลเตอร์เจละตินของ� Kodak จะเป็นเบอร์ 89b หรืออาจจะใช้ นอกจากนี้ยังมีอยู่หลายเบอร์คือ 87 หรือ 87c สำหรับ ฟิลเตอร์แบบกระจกที่มีสมบัติเหมือน Kodar wratten filter 89b คือ Hoya R72 ซึ่งจะเหมาะสมกว่า เพราะมีความคงทนกว่าฟิลเตอร์แผ่นที่เป็นเจละติน
การถ่ายภาพ
การถ่ายภาพอินฟราเรดควรเลือกวันที่อากาศแจ่มใส มีแดดค่อนขางแรง เนื่องจากการถ่าย ภาพอินฟราเรดเป“นการไปถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 700-1000 นาโนเมตร หากถ่ายภาพในวันที่ฟาหม่นมีเมฆเต็มไปหมด โทนหรือน้ำหนักสีของภาพที่ถ่ายได้จากแบน กล่าวคือมีความเปรียบต่าง (contrast) ต่ำ และเนื่องจากกล้องแต่ละรุ่นไม่ได้บอกว่า CCD ของตนเองนั้นมีความไวเท่าไหร่เมื่อนำไปถ่ายภาพอินฟราเรด ผู้ใช้ต้องคาดเดาเอาเอง หรือทดสอบความไวของ CCD ก่อน โดยการพิจารณาจาก histogram ซึ่งสามารถทำได้โดยการลองถ่ายภาพก่อน แล้วนำภาพมาเปิดใน photoshop แล้วใช้คำสั่ง Image > Histogram ถ้าภาพที่ถ่ายได้มีข้อมูลคลอบคลุมตั้งแต่ส่วนขาวถึงดำของภาพแสดงว่า ค่า ISO ที่ตั้งไว้แล้วถูกต้อง แต่ถ้าตั้งไม่ถูกต้อง histogram จะมีค่ามากที่ส่วนขาวสุดหรือดำสุด
ภาพที่2 แสดง higtogram ของภาพที่ถ่ายด้วย ISO 50 100 200 และ 400 ตามลำดับจากซ้ายไปขวา
จากภาพที่ 2 จะเห็นการสูญเสียรายละเอียดในส่วนสว่างของ ISO 200 และ 400 ดังนั้นความไวที่เหมาะสมในการถ่ายภาพคือ 100 และ 50 ซึ่ง histogram แสดงให้เห็นว่าภาพถ่ายสามารถเก็บรายละเอียดมาได้หมดตั้งแต่ส่วนสว่างไปถึงส่วนเงา และผมเลือกใช้ที่ ISO 50 เพราะเป็นช่วงที่มี noise น้อยที่สุดของกล้อง อย่างไรก็ดีท่านอาจใช้วิธีดูจาก LCD ของกล้องก็ได้ และตรวจสอบไดวาภาพที่ถายแลวนั้น ไดรับแสงมากหรือนอยไป แต่วิธีนี้ไม่ค่อยดีนัก เพราะการดูภาพจากจออาจไม่เที่ยงตรงนักขึ้นกับสภาพแสงในการมองจอภาพเป็นอย่างมาก
การโฟกัส ผมแบ่งกลุ่มกล้องดิจิทัลเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มที่ถ่ายอินฟราเรดได้ดีและกลุ่มที่พอถ่ายได้ ความแตกต่างของกล้องสองกลุ่มอยู่ที่ความสะดวกในการถ่ายภาพ กล้องกลุ่มถ่ายภาพอินฟราเรดได้ดีนั้นเมื่อท่านติดฟิลเตอร์อินฟราเรดเข้าไปที่เลนส์แล้ว จะมองเห็นภาพบนจอ lcd ได้อย่างชัดเจน การโฟกัสด้วยกล้องกลุ่มนี้จะไม่มีปัญหาเพราะระบบออโตโฟกัสจะทำงานได้ แต่หากจอ LCD มืดและระบบออโตโฟกัสไม่สามารถหาระยะโฟกัสได้แล้ว ท่านต้องหาโฟกัสด้วยระบบ manual ทั้งนี้ควรทดสอบระยะโฟกัสของกล้องโดยติดฟิลเตอร์ไว้แล้วทดลองถ่ายภาพโดย ตั้งระยะโฟกัสต่างๆ กัน จากนั้นค่อยมาพิจารณาว่าภาพที่ชัดเจนนั้นเกิดจากการถ่ายภาพด้วยระยะโฟกัสเท่าใด
การเปลี่ยนภาพสีเป็นภาพขาวดำ
เมื่อได้ถ่ายภาพจนเพียงพอแล้ว ก็ถึงคราวที่จะต้องตกแต่งภาพ เนื่องจากภาพที่ถ่ายมาเป็นภาพในโหมด RGB ภาพจึงมีสีปนอยู่บ้างขึ้นอยู่กับชนิดของฟิลเตอร์ที่ใช้ และระบบสมดุลสีขาวที่เราตั้ง
original
เมื่อได้ภาพสีแล้วก็ต้องเปลี่ยนโหมดให้เป็นขาวดำ การเปลี่ยนเป็นภาพขาวดำด้วย Photoshop ามารถทำได้หลายวิธี เช่น
Image > Mode > Grayscale
ภาพด้านล่างเป็นภาพที่ได้จากกล้อง Canon Powershot G2 โดยติดฟิลเตอร์ IR82 ภาพซ้ายเป็นภาพจาก gray scale ที่ได้จากการเปลี่ยนโหมดในโฟโตช็อป ภาพขวาเป็นภาพหลังจากการใช้ AutoLevel ใน Photoshop
หรือ Image > Adjust > Desaturate
หรือใช้วิธี Split Channel แล้วเลือกเอาสีใดสีหนึ่งมาเป็นภาพขาวดำ ซึ่งที่เหมาะที่ส ุดคือสีเขียวเพราะมักจะเป็นภาพที่มีความคมชัดมากที่สุด อย่างไรก็ดีบางภาพสีแดงหรือสีน้ำเงินอาจให้น้ำหนักสีดีกว่า ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะภาพเป็นส ำคัญ ต้องทดลองดูว่าท่านชอบน้ำหนักสีภาพเป็นอย่างไร
red
green
blue
how to split
สำหรับตัวผมเองชอบที่จะเปลี่ยนจาก RGB ไปเป็น Lab ก่อน จากนั้นจึง Split Channel แล้วตัด Channel a ละ b ทิ้งไป คงเหลือไว้แต่ Channel Lightness เพราะให้น้ำหนักส ีที่ชอบ และ noise ไม่มากนัก
ภาพข้างล่างแสดงภาพที่ได้จากการถ่ายภาพก่อนการเปลี่ยนเป็นภาพขาวดำและภาพจาก Channel Lightness
ภาพซ้ายเป็นภาพจาก Channel Lightness ภาพขวาที่ไดัรับการปรับน้ำหนักส ีด้วยคำสั่ง AutoLevel ใน Photoshop
ภาพตัวอย่าง
ภาพด้านล่างเป็นภาพที่ถ่ายจากสวนสาธารณะที่ Tsurugamine เมือง Yohomama ในประเทศญี่ปุ่น
เนื่องจากมีข้อเขียนบอกไว้ว่าเราสามารถนำฟิล์มสไลด์สีที่ผ่านการสร้างภาพมาแล้ว ในส่วนที่เป็นสีดำ มาใช้แทนฟิลเตอร์อินฟราเรดได้ ผมก็เลยทดสอบประสิทธิภาพของการนำหางฟิล์มสไลด์ของฟิล์ม Fuji มาใช้ โดยภาพสองภาพข้างล่างนี้เป็นการเปรียบเทียบภาพที่ถ่ายด้วยกล้องตัวเดียวกัน ระหว่างฟิลเตอร์ IR76 (ภาพซ้าย) และ หางฟิล์มสไลด์ (ภาพขวา) จะเห็นว่าภาพอินฟราเรดจากหางฟิล์มสไลด์มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้เลยทีเดียว แม้ว่าการผลิตน้ำหนักสีออกจะให้ความเปรียบต่างต่ำ (low contrast) กว่าภาพจากฟิลเตอร์ IR โดยตรง แต่ก็พอช่วยปรับแต่งได้โดย photoshop ถือได้ว่าเป็นฟิลเตอร์ชั่วคราวที่พอนำมาถ่ายได้ แต่ถ้าจะให้ภาพที่น่าประทับใจ ยังคงสู้ฟิลเตอร์ IR แท้ๆ ไม่ได้
จากที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นขั้นตอนง่ายๆ ที่สามารถได้ภาพอินฟราเรดจากกล้องดิจิทัล หากท่านใดสนใจจะศึกษาให้ลึกซึ้งกว่านี้ ขอให้ไปอ่านรายละเอียดเพ่ิมเติมด้านข้อมูลพื้นฐานของการถ่ายภาพอินฟราเรด และเทคนิดการถ่ายภาพให้สวยงาม รวมทั้งการเลือกใช้ฟิลเตอร์จาก web site ดังต่อไปนี้ http://www.cliffshade.com/dpfwiw/ir.htm และ http://www.echeng.com/digital_photo/infrared/ ซึ่งจะมี link ไปยังอีกหลายแห่ง ขอให้มีความตั้งใจแล้วท่านจะสนุกกับการถ่ายภาพ
NOTE อย่ามองดวงอาทิตย์ผ่านฟิลเตอร์อินฟราเรดเป็นอันขาดไม่ว่าฟิลเตอร์จะดำเพียงใด เพราะจะทำให้ท่านตาบอดแบบถาวรได้
Copyright@ by Chawan Koopipat, Kchawan@chula.ac.th