กล้องดิจิทัลส่วนใหญ่จะมีปัญหาการผลิตสีม่วงของดอกไม้ ซึ่งผู้ถ่ายภาพจะสังเกตเห็นตั้งแต่ถ่ายภาพโดยการ มองที่ LCD ดังจะเห็นได้จากผลไม้ด้านล่างซึ่งเป็นสีม่วงแต่เมื่อถ่ายภาพแล้วกลับได้เป็นสีน้ำเงิน

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะการทำงานในด้านสีของกล้อง เกี่ยวข้องกับสองส่วน ส่วนแรกคือส่วนที่กล้องจะต้อง หาอุณหภูมิสีของแสงในขณะถ่ายภาพ ส่วนที่สองคือการปรับแก้สีของภาพ การหาอุณหภูมิสีของแสงนั้น ผู้ถ่ายภาพส่วนใหญ่จะตั้งเป็น Auto เพื่อให้กล้องหาให้ว่า อุณหภูมิแสงตอนถ่ายภาพนั้นเป็นเท่าใด อย่างไรก็ดีกล้องส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชันให้ผู้ใช้ปรับ เอง เช่นตั้งเป็นทังสเตน ฟลูออเรสเซนต์ เดไลต์ หรือ แสงจากท้องฟ้าที่มีเมฆ อย่างไรก็ตามกล้องที่คุณภาพสูงจะสามารถปรับแบบ Custom ได้ จากภาพด้านบน กล้องคำนวณให้ว่าเป็น 4800 เคลวิน ซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงแน่นอน เพราะขณะถ่ายภาพนั้นเป็นเวลากลางวัน แสงที่ตกลงบนผลไม้นั้นเป็นแสงจากท้องฟ้า ดังนั้นจึงทำการตั้งค่า White Balance แบบ Custom คือตั้งค่าสีขาว ที่กระดาษขาว แล้วถ่ายภาพได้ภาพดังข้างล่าง อุณหภูมิสีที่แท้จริงขณะถ่ายภาพคือ 5450 เคลวิน

แม้ว่าภาพนี้จะมีสีอุณหภูมิสีถูกต้อง แต่สีม่วงยังอมสีน้ำเงินอยู่ ไม่ตรงกับสีที่ตาเห็น และหากถ่ายภาพด้วยการตั้งเป็น daylight ซึ่งอุณหภูมิสี คือ 5500 เคลวิน จะได้ภาพที่แดงขึ้นอีกเล็กน้อย

หากตั้งค่าอุณหูมิสีเป็น 6500 เคลวินจะได้ภาพดังข้างล่าง

การตั้งค่าอุณหสีที่ถูกต้องก็ยังไม่อาจทำให้สีม่วงกลายเป็นสีม่วงที่ถูกต้องได้ ทั้งนี้เนื่องจากข้อจำกัดในการผลิตสีบางสี ดังนั้นกล้องจึงต้องมีระบบการปรับแก้สี เพื่อให้สีภาพทั้งหมดดูสวยงามมากซึ่งจะทำให้สีบางสี โดยเฉพาะสีม่วงนั้นผิดเพี้ยนไป ดังจะเห็นได้ว่าการตั้งค่าอุณหภูมิสีที่ 6500 เคลวิน สีม่วงจะถูกแต่สีเขียวที่เป็นฉากหลังจะผิดไปมาก และดูเป็นภาพที่ไม่สวย กล้องจึงต้องปรับให้มีอุณหูมิสีเพียง 4800 เพื่อให้สีเขียวสวยไว้ก่อน ส่วนสีม่วงซึ่งเป็นสีที่ผลิตได้ยาก ก็ยอมให้เพี้ยนไป อย่างไรก็ดี หากเรามีโปรแกรม Photoshop CS และถ่ายภาพมาเป็น raw การแก้สีจะทำได้ไม่ยากนัก โดยเมื่อท่านเปิด raw file แล้วให้ ไปเลือกที่ Calibrate Tab แล้วไปปรับค่าสี โดยเปลี่ยน hue ของสีน้ำเงินไปด้านบวก ดังในภาพ

การปรับดังภาพด้านบนจะเป็นการแก้สีน้ำเงินให้กลับมาเป็นสีม่วง ซึ่งจะสังเกตเห็นว่า สีเขียวของใบไม้ด้านหลังยังคงสีเขียว สด ตรงความเป็นจริงตามที่เห็นในธรรมชาติ