บทความนี้เป็นข้อแนะนำสำหรับการเลือกซื้อกล้องถ่ายภาพนิ่งดิจิทัล (digital still camera) หรือที่มักเรียกกันทั่วไปว่ากล้องดิจิทัล โดยแยกพิจารณาในสองหัวข้อใหญ่คือคุณภาพของกล้อง และ องค์ประกอบต่างๆ กับความสะดวกในการใช้งาน
หลักการเลือกกล้องก็คือให้พิจารณาก่อนว่าท่านต้องการกล้องคุณภาพระดับเท่าใดในงบประมาณที่ท่านมีอยู่ เนื่องจากราคาของกล้องนั้นอิงกับคุณภาพเป็นอย่างมาก กล้องที่่คุณภาพสูงจะมีราคาแพงไปด้วย จากนั้นค่อยไปพิจารณาเปรียบเทียบสมบัติด้านการใช้งานว่าท่านต้องการความสามารถพิเศษใดบ้าง
คุณภาพของภาพจากกล้องดิจิทัลขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้
1. ความละเอียด (Resolution)
คำว่า ความละเอียด� หมายถึงจำนวนพิกเซล (pixel, Picture Element) ทั้งหมดบนตัวรับภาพ (image detector, Imager) ซึ่งอาจเป็นซีซีดี (CCD-Charge Coupled Device) หรือซีมอส (CMOS-Complementary Metal Oxide Semiconductor) ตัวอย่างเช่น 3.34 ล้านพิกเซล หรือ 2.1 ล้านพิกเซลเป็นต้น จำนวนพิกเซลของตัวรับภาพมีผลอย่างยิ่งต่อคุณภาพของภาพที่ได้ในด้านรายละเอียดและความคมชัด เนื่องจากกล้องที่มีจำนวนพิกเซลบนตัวรับแสงมากกว่าย่อมจะสามารถบันทึกรายละเอียดของภาพได้มากกว่า
ภาพที่ 1 แสดงรายละเอีดของภาพที่ได้จากกล้องที่มีความละเอียดต่างกัน
ในปัจจุบันกล้องดิจิทัลสามารถจัดกลุ่มตามความละเอียดได้อยู่เป็น 4 ระดับ คือ
1. ระดับความละเอียดต่ำมาก กล้องในกลุ่มนี้จะมีจำนวนพิกเซลประมาณ ไม่ถึง 3 แสนพิกเซล ที่พบเห็นกันทั่วไปคือ web camera หรือ toy camera
2 ระดับความละเอียดต่ำ กล้องในกลุ่มนี้จะมีจำนวนพิกเซลประมาณ 3 แสน ถึง 1.5 ล้านพิกเซล
3. ระดับความละเอียดปานกลาง กล้องในกลุ่มนี้จะมีจำนวนพิกเซลประมาณ 2.1- 4 ล้านพิกเซล
4. ระดับความละเอียดสูง กล้องในกลุ่มนี้จะมีจำนวนพิกเซล มากกว่า 4 ล้านพิกเซล
การเลือกกล้องระดับใดนั้นให้ดูวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นหลัก กล่าวคือไม่ต้องการคุณภาพมากนัก แค่ส่งรูปภาพขนาดเล็กๆ ผ่านอีเมล์หรือโทรศัพท์มือถือ กล้องราคาถูกในราคาระดับไม่กี่พันบาทคงพอต่อการใช้งานแล้ว หากต้องการสร้างโฮมเพจด้วยควรเลือกที่มีคุณภาพดีขึ้น โดยทั่วไปภาพที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตมักมีขนาดไม่เกิน 800x600 หรือประมาณ 5 แสนพิกเซลเท่านั้น กล้องระดับความละเอียดต่ำมีความสามารถเพียงพอที่จะให้คุณภาพดีได้ หากใช้กล้องที่มีความละเอียดสูงมากๆ เราก็ต้องมาลดความละเอียดของภาพลงเพื่อให้ไฟล์ของภาพมีขนาดพอเหมาะที่จะนำเสนอบนจอภาพ และหากใช้ภาพขนาดใหญ่ ไฟล์จะมีขนาดใหญ่ไปด้วยทำให้การ� load ภาพมาดูทำได้ช้า หากต้องการนำภาพไปพิมพ์ควรใช้กล้องที่มีความละเอียดสูง หรือปานกลางขึ้นกับว่าต้องการพิมพ์ให้ได้ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าใด
การคำนวณหาขนาดของภาพที่มีคุณภาพสูงสุดใกล้เคียงภาพถ่ายทั่วๆไป สามารถใช้สูตร ขนาดของภาพพิมพ์ = จำนวนพิกเซลบนแต่ละด้านของภาพต้นฉบับ / 300 หน่วยที่ได้เป็นนิ้ว ตัวอย่างเช่นภาพต้นฉบับขนาด 800x600 พิกเซล เราจะพิมพ์ได้ขนาด (800/300) x (600/300) = 2.67 x 2 น้ิว และถ้าภาพต้นฉบับมีขนาด 3000x2000 พิกเซล เราจะพิมพ์ได้ขนาด 10 x 6.67 นิ้ว อย่างไรก็ตามเราสามารถพิมพ์ภาพให้มีขนาดใหญ่กว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็ได้ แต่คุณภาพจะเริ่มลดลงไปบ้าง ขึ้นกับเครื่องพิมพ์ที่ใช้ด้วยว่าใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ระบบใด หากพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ เราอาจเพิ่มขนาดจากเกณฑ์ได้ไม่มากนัก โดยยังมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่พอยอมรับได้ แต่หากเป็นระบบระบบการพิมพ์พ่นหมึก หรืออิงค์เจ็ต(inkjet) เราจะสามารถพิมพ์ภาพขนาด 8x10 น้ิวได้จากต้นฉบับที่มีความละเอียด 3 ล้านพิกเซลและยังได้ภาพที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ดังนั้นหากต้องการนำกล้องไปใช้เพื่อผลิตสิ่งพิมพ์ ขนาด A4 ควรใช้กล้องที่มีความละเอียด 6 ล้านพิกเซล แต่หากต้องการพิมพ์ภาพด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตให้ได้ภาพขนาดโปสการ์ด 4x6 หรือสัก 5x7 นิ้ว กล้องที่มีความละเอียด 2-3 ล้านพิกเซลก็คงเพียงพอกับการใช้งานแล้ว หากต้องการภาพขนาด A4 ควรใช้กล้องที่มี รายละเอียดมากกว่า 4 ล้านพิกเซลขึ้นไป
2. เลนส์ (Lens)
กล้องดิจิทัลที่สามารถถอดเปล่ียนเลนส์ได้ มักเป็นกล้องระดับมืออาชีพและมีราคาแพง ดังนั้นผมจะกล่าวถึงปัจจัยเรื่องเลนส์ของกล้องดิจิทัลในส่วนที่เป็นกล้องที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้เป็นหลัก โดยทั่วไปกล้องดิจิทัลมักมีเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้ (Optical zoom) หรือที่เราเรียกกันว่าเลนส์ซูม กล้องที่มีเลนส์ซูมนั้นจะมีราคาสูงกว่ากล้องที่ไม่สามารถเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้พอสมควร
กล้องดิจิทัลที่ผลิตมาส่วนใหญ่สามารถซูมได้ในช่วงที่เป็นเลนส์มุมกว้างจนถึงเป็นเลนส์ถ่ายไกล เพื่อให้สามารถถ่ายภาพทั่วไปได้เกือบทุกประเภท ถ้าอยากทราบว่ากล้องตัวใดสามารถซูมได้เท่าใดนั้นให้ดูจากเลนส์ของกล้องได้ เช่น 7-21 mm เป็นต้น ถ้าเปรียบเทียบกับกล้อง 35 มม. ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป จะเห็นว่าเลนส์ของกล้องดิจิทัลจะมีขนาดเล็ก และความยาวโฟกัสน้อยกว่า ทั้งนี้เนื่องจากขนาดของฟิล์มในกล้อง 35มม มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของตัวรับแสงในกล้องดิจิทัล เพื่อความสะดวก ผู้ผลิตมักนำเสนอข้อมูลทั้งสองส่วนคือความยาวโฟกัสของเลน์ที่ใช้จริงกับความยาวโฟกัสที่เทียบเท่ากล้อง 35 มม เช่น กล้อง Nikon Coolpix 950, zoom lens 7-21mm (38-118mm, 35mm equivalent) แสดงว่าเลนส์ของกล้องนี้สามารถเป็นเลนส์มุมกว้างและเป็นเลนส์ถ่ายไกลได้เล็กน้อย (โดยปกติในกล้อง 35 มม เราจะจัดให้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสต่ำกว่า 50มม เป็นเลนส์มุมกว้างและมากกว่า 50 มม เป็นเลนส์ถ่ายไกล) ผู้ผลิตมักประชาสัมพันธ์ความสามารถในการซูมของกล้องโดยใช้ คำว่า 2X หรือ 3X ซึ่งเป็นสิ่งที่บอกเพียงกว้างๆ เท่านั้น อย่างไรก็ดีก็เป็นส่ิงที่ง่ายต่อการเปรียบเทียบ เช่นเราจะทราบได้ทันทีว่า กล้อง zoom 3x มีความสามารถในการซูมดีกว่า กล้อง zoom 2x ทั้งนี้มีสิ่งที่ควรระวังคือกล้องบางรุ่น จะมีความสามารถในการทำ digital zoom ได้ด้วย การทำ digital zoom ต่างจากการซูมที่เกิดจากการเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์ กล่าวคือ เป็น interpolation ด้วยการเพิ่มพิกเซลให้มากขึ้นจากการคำนวณ จึงทำให้ได้ภาพที่ขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ทำให้ภาพมีความคมชัดลดลดง ดังนั้นการเลือกเลนส์ให้เปรียบเทียบที่ Optical Zoom เป็นหลัก
กล้องบางรุ่นได้เพิ่มความสามารถให้กับเลนส์โดยสามารถเป็นเลนส์ถ่ายใกล้ได้ด้วย ข้อนี้ก็เป็นข้อเด่นที่น่าจะพิจารณาเพิ่มเติม เช่น กล้อง nikon coolpix สามารถถ่ายได้ใกล้ถึง 1 นิ้ว นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ควรพิจารณาถึงความสามารถในการปรับตัวเลขเอฟ (f number) หากกล้องมีตัวเลขเอฟหลายๆ ค่าจะทำให้ผู้ถ่ายสามารถเลือกใช้ความชัดลึกของภาพได้หลากหลายระดับกว่า รวมทั้งความสว่างของเลนส์ด้วย โดยพิจารณาจากตัวเลขเอฟที่น้อยที่สุด ขณะที่เขียนบทความนี้กล้อง Olympus รุ่น camdia 2040Z และ 3040Z ให้ความสว่างมากที่สุด คือ ที่ f1.8
3. การจัดเรียงตัวของเซลล์รับแสง
โดยส่วนใหญ่ CCD ของกล้องจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและจะจัดเรียงเป็นแบบตารางหมากรุกคือต่อกันในแนว 0 องศาในแนวนอน และ 90 องศาในแนวตั้ง จะมีแต่เพี่ยง Fuji Film ที่สร้าง CCD เป็นรูปแปดเหลี่ยม และเรียงตัวเป็นแนว 45 โดยที่ Fuji บอกไว้ว่ามีจุดเด่น 4 ข้อคือ
1. resolution สูงขึ้นเพราะระยะห่างระหว่างเซลล์ในแนวตั้งและแนวนอนลดลง ซึ่งสัมพันธ์กับการมองเห็นของมนุษย์
2. signal to noise ratio (s/n) ดีขึ้น เพราะเนื้อที่รับแสงมากขึ้น
3. dynamic range ดีขึ้น เพราะเนื้อที่รับแสงมากขึ้น
4. sensitivity ดีขึ้น เพราะเนื้อที่รับแสงมากขึ้น
Fuji บอกว่า superCCD นี้สามารถเพิ่ม resolution มากขึ้น 60% หรือเป็น 1.6 เท่าของ CCD ทั่วๆ ไป โดย Fuji ได้วางตลาดกล้องที่ใช้ CCD แบบใหม่นี้ ไปเมื่อปี 1999 กับ รุ่น Finepix 4700Z และรุ่นต่อๆ มาที่มีเครื่องหมาย Supper CCD โดยมีจำนวนเซลล์รับแสงบน superCCD 2.4 ล้าน pixel แต่ภาพความละเอียดสูงสุดจะได้ถึง 4.3 Megapixel จากการ interpolation
คำถามอยู่ที่ว่าแล้วคุณภาพของภาพดีหรือไม่เมื่อเทียบกับกล้อง 3 ล้านพิกเซลในตลาดที่มีราคาใกล้เคียงกัน การทดสอบและการเปรียบเทียบกล้องต่างๆ สามารถไปอ่านได้จาก website ที่ทดสอบกล้องโดยตรง ซึ่งทั้งหมดเห็นตรงกันว่าคุณภาพไม่ดีเหมือนที่ FUJI บอกไว้ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ super CCD เพราะเทคโนโลยีตัวนี้เป็นการนำเอา ลักษณะของการเห็นของคนเรามาใช้สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา กล่าวคือคนเราจะเห็นรายละเอียดในแนวนอนได้มากกว่าแนวตั้งเล็กน้อย และทั้งแนวนอนและแนวตั้งมากกว่าในแนวเฉียง Super CCD ก็อาศัยหลักการนี้ มาทำให้แต่ละเซลล์อยู่ใกล้กันในแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งจะทำให้ได้รายละเอียดมากกว่าเดิม อันที่จริงแนวคิด นี้ไม่ใช่ไม่มีใครทำมาก่อน ในระบบการพิมพ์ ink jet เขาก็ทำให้ resolution ของเครื่องพิมพ์ในแนวนอนมากกว่าในแนวตั้ง เช่น 1440x720 dpi เป็นต้น แต่ Fuji เป็นคนแรกที่นำมาใช้กับกล้องดิจิทัล แต่ปัญหาอยู่ที่ภาพที่บันทึกจาก supper CCD จะต้องถูกจัดเรียงใหม่เป็นแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งต้อง Interpolate อีกครั้ง ตรงนี้เองเลยทำให้คุณภาพที่ควรได้กลับต้องลดลงไปมากพอควร
4. ชนิดและการจัดเรียงฟิลเตอร์
กล้องดิจิทัลส่วนใหญ่จะใช้ฟิลเตอร์ RGB บังอยู่หน้าตัวรับแสง โดยเซลล์รับแสง 1 เซลล์จะมีฟิลเตอร์บังได้เพียงหนึ่งสีเท่านั้น นี่ย่อมแสดงว่าเมื่อถ่ายภาพแล้วแต่ละพิกเซลจะเก็บข้อมูลภาพมาเพียงสีใดสีหนึ่งเท่านั้น แต่ภาพที่เราได้ในแต่ละพิกเซลมีข้อมูลครบสามสี ข้อมูลภาพอีกสองสีที่เกิดขึ้นมาในพิกเซลไม่ใช่ข้อมูลจากภาพที่ถ่าย แต่เกิดจากการ interpolation ของซอฟแวร์ภาพในกล้อง การเรียงตัวของสีแต่ละสีว่ามีลำดับอย่างไรก็จะมีผลต่อคุณภาพด้านความคมชัด ความถูกต้องของสี การไม่มีสีเหลือบ กล้องส่วนใหญ่จะจัดเรียงฟิลเตอร์แบบ เบเยอร์ (Bayer) คือ RGBG อย่างไรก็ตามกล้องบางรุ่นโดยเฉพาะของ Canon ได้ใช้ฟิลเตอร์สี CMGY เช่น Cannon PowerShot G1, A5, Pro70 ข้อมูลเรื่องฟิลเตอร์นี้ผู้ผลิตมักไม่ได้ให้รายละเอียดไว้ เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละรายได้ใช้โครงสร้างของฟิลเตอร์ไม่แตกต่างกันมากนัก ผู้ซื้อโดยทั่วไปมักไม่ได้ข้อมูลในส่วนนี้
5. ซอฟแวร์
ซอฟแวร์มีส่วนสำคัญไม่น้อยต่อคุณภาพของภาพที่ได้จากกล้องดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการ interpolation การปรับสมดุลสีขาว (white balance) การลดสัญญาณรบกวน (noise reduction) การปรับความคมชัด (sharpness) ความอิ่มตัวตัวของสี (saturation) และอื่นๆ กล้องราคาถูกมักมีซอฟแวร์ที่ปรับทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองเกือบทั้งหมด ผู้ใช้งานไม่สามารถปรับได้นัก อย่างไรก็ดี กล้องที่มีคุณภาพสูงขึ้น ผู้ใช้สามารถปรับรายละเอียดการทำงานของซอฟแวร์ได้บ้างตามสภาพแสงและวัตถุที่ถ่าย กล้องแต่ละบริษัทก็จะใช้ซอฟแวร์ที่พัฒนามาสำหรับกล้องตัวนั้นๆ โดยเฉพาะ และซอฟแวร์ที่ใช้ในกล้องนี้เรียกว่า firmware� ซึ่งบริษัทอาจมีการปรับปรุง firmware สำหรับเสริมให้คุณภาพและการทำงานของกล้องนั้นๆ ดีขึ้นเป็นระยะ ผู้ใช้ควรตรวจสอบกับ web site ของกล้องตอนเองว่ามีการปรับปรุง firmware หรือไม่อย่างไร
จากที่กล่าวมาทั้ง 5 ปัจจัยต่างก็มีผลต่อคุณภาพของภาพสุดท้ายที่ได้ ผู้ซื้อควรพิจารณาจากคุณภาพของภาพที่ได้เป็นสำคัญว่ากล้องนั้นๆ ให้คุณภาพเป็นที่น่าพึงพอใจหรือไม่ กล้องที่มีคุณภาพใกล้เคียงหรืออยู่ในระดับเดียวกัน มักมีราคาไม่แตกต่างกันมาก
องค์ประกอบอื่นๆ และความสะดวกในการใช้งาน
นอกจากเรื่องคุณภาพแล้ว ควรพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ ประกอบไปด้วย
1. ชนิดของสื่อ
กล้องในปัจจุบันใช้สื่อสำหรับเก็บข้อมูลภาพอยู่ หลากหลายและยิ่งมีเพ่ิมมากขึ้นตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป คือ ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) คอมแพ็คแฟลช�(Compact Flash), สมาร์ทมีเดีย (Smart Media) เมมโมรีสติก(Memory Stick) พีซีการ์ด(PC Card) ไมโครไดร์ฟ(Microdrive) มินิซีดี (miniCD)
สื่อแต่ละชนิดมีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลแตกต่างกันไป ทั้งทางด้านความจุ และความเร็ว และขนาด สื่อที่มีความคุ้มค่าคิดเป็นราคาต่อเมกะไบต์มากที่สุด คือ มินิซีดี แต่ด้วยความช้าของการบันทึกข้อมูล ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก และมีเพียง sony เท่านั้นที่ใช้สื่อดังกล่าว อย่างไรก็ตาม sony ได้เพีิ่ม buffer ภายในเพื่อให้สามารถถ่ายภาพต่อได้เร็วขึ้น สำหรับสื่อที่ได้รับความนิยมมาก มีคือ สมาร์ทมีเดีย ซึ่งใช้ในกล้อง Olympus Fuji และอื่นๆ อีกหลายบริษัท คอมแพ็คแฟลชก็นับว่าเป็นสื่อที่นิยมไม่น้อยโดยใช้ในกล้อง Nikon Canon Casio Kodak ส่วน memory stick นั้นเป็นลิขสิทธิ์ของโซนี่และใช้ในกล้องเกือบทุกรุ่นของตนเอง ส่วนไมโครไดรฟ์นั้น มีขนาดเท่ากับของคอมแพ็คแฟลชแต่มีความหนามากกว่า 2 มม ดังนั้นกล้องที่จะสามารถใช้ สือบันทึกที่เป็น ไมโครไดร์ฟได้ต้องเป็น ชนิด type II ปัจจุบัน อุปกรณ์สำหรับอ่านการ์ดต่างๆ มีแพร่หลายมากขึ้น และราคาก็ไม่ได้สูงมากนัก ไม่ว่าท่านเลือกใช้สื่อใดท่านก็สามารถส่ง ภาพเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ได้เสมอไม่ว่าจะใช้แบบ desktop หรือ notebook
2. ชนิดของแบตเตอรี่
แบตเตอรี่เป็นส่ิงสำคัญมากต่อการทำงานของกล้อง และกล้องแต่ละรุ่นก็แตกต่างกันไป หากกล้องที่ท่านสนใจใช้ แบตเตอรี่ที่เป็นอัลคาไลน์ท่านจะพบว่า ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อยมากเพราะ กล้องดิจิทัลส่วนใหญ่จะมีจอภาพ ซึ่งต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่มากพอสมควร ทางเลือกคือให้หาแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จได้ อาจเป็น NiCd หรือ NiMH ดังนั้นหากท่านจะเลือกกล้องที่ใช้แบตเตอรี่ขนาด AA แล้วก็ต้องบวกค่า แบตเตอร่ีและเครื่องชาร์จไปด้วยเพราะเป็นอุปกรณ��์จำเป็น แบตเตอรี่ที่เป็นที่นิยมใช้อีกประเภทหนึ่งคือ ลิเธียมไอออน ซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ใช้งานได้นาน และมักแถมมาให้กับกล้องพร้อมอุปกรณ์สำหรับชาร�์จไฟ หากท่านถ่ายภาพไม่มากนัก กล้องที่มีแบตเตอรี่แบบนี้นับว่าตอบสนองต่อการใช้งานได้ดีทีเดียว แต่ถ้าถ่ายภาพต่อเนื่องกันมากๆ นานๆ แล้วควรมีสำรองไว้อย่างน้อย 1 ก้อน อย่างไรก็ดี แบตเตอรี่แบบนี้ มีราคาสูงกว่า NiMH ค่อนข้างมาก
3. ช่องมองภาพทางออฟติก (optical view finder)
เนื่องจากกล้องดิจิทัลต้องใช้พลังงานมากโดยเฉพาะการเปิดจอ LCD ถ่ายภาพตลอดเวลา ดังนั้น กล้องบางรุ่นได้ออกแบบให้มีช่องมองภาพไว้ด้วย เพ่ือใช้เล็งและจัดองค์ประกอบของภาพโดยไม่ต้องใช้จอ LCD ทำให้ สามารถถ่ายภาพได้นานมากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 3 เท่า ทั้งนี้ช่องมองภาพของกล้องที่ดีจะต้องปรับขนาดภาพที่เห็นตาม การซูมของเลนส์ได้ด้วย นอกจากนี้กล้องที่มีคุณภาพดีมักเพิ่มความสามารถด้านการปรับแก้สายตา เพื่อให้คนที่สายตาสั้นหรือยาว สามารถถ่ายภาพได้โดยไม่ต้องสวมแว่นสายตา กล้องรุ่นใหม่ๆ ระดับบนที่ราคาค่อนข้างแพงได้ใช้ ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ (electronic view finder,EVF) มาแทนช่องมองภาพทางออฟติก ซึ่งจะสามารถเห็นข้อมูลของค่าต่างๆ ที่ตั้งไว้ เช่นเดียวกับการมองภาพจาก LCD แต่คุณภาพของภาพที่เห็นยังค่อนข้างหยาบ
4. Uncompressed file
การท่ีกล้องสามารถจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ผ่านการบีบอัด นับเป็นความสามารถพิเศษอย่างหนึ่งต่อการพิจารณาเลือกกล้อง เนื่องจากการบีบอัดข้อมูลจะมีการสูญเสียข้อมูลของต้นฉบับไปบ้าง ขึ้นกับว่าบีบอัดมากหรือน้อย เช่น หากจัดเก็บไฟล์เป็น jpeg ด้วยอัตราการบีบอัดแบบ superfine ก็มีการสูญเสียไม่มากนัก สังเกตด้วยตาไม่ออก แต่ถ้ามากขึ้นเช่นเป็น normal หรือ basic ก็จะเห็นความบกพร่องของภาพได้ ทั้งนี้ในการถ่ายภาพที่ต้องการความถูกต้องมากที่สุด การจัดเก็บข้อมูลเป็น TIFF ก็จะได้เปรียบกว่า jpeg และบางครั้งหากผู้ใช้ต้องการข้อมูลดิบที่ไม่ผ่านกระบวนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใดๆ โดยซอฟแวร์ ของกล้องเลย ควรเลือกกล้องที่มี raw format
5. White balance
ในการถ่ายภาพในสภาวะแสงที่แตกต่างกัน เช่นแสงไฟทังสเตน ฟลูออเรสเซนต์ หรือแสงแดด มักจะได้ภาพที่มี สีแตกต่างกันไป หากกล้องมีระบบสมดุลสีขาวที่ดีแล้ว ซอฟแวร์ตัวนี้จะพยายามปรับให้สีของภาพที่ได้ออกมาเป็นสี ที่ถูกต้อง แต่ส่วนใหญ่แล้วซอฟแวร์จะไม่สามารถแก้สีเพี้ยนจากแหล่งกำเนิดแสงได้สมบูรณ์ ดังนั้นสีที่ได้ก็ยังคงผิดเพี้ยนอยู่ กล้องที่มีฟังก์ชันให้ผู้ที่ถ่ายภาพ สามารถปรับ white balance แบบ manual ได้เองนั้นจะได้เปรียบ เพราะสามารถปรับค่าสีขาวของภาพให้เป็นสีขาว ที่แท้จริง ทำให้ภาพถ่ายนั้นมีสมดุลของสีถูกต้องไปด้วย กล้องบางรุ่นจะมีฟังก์ชันสำเร็จรูปโดยผู้ใช้เพียงปรับชนิดของ แหล่งกำเนิดแสงให้ตรงกับแสงที่ใช้ถ่ายภาพเท่านั้น แม้ว่าจะไม่แม่นยำร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังนับว่าดีกว่าไม่มีเสียเลย
6. แฟลช
กล้องดิจิทัลเกือบทั้งหมดจะมีแฟลชในตัว เพื่อให้สามารถถ่ายภาพได้ในที่มีแสงน้อยๆ ได้ แต่เนื่องจากแฟลชมีขนาดเล็กระยะใช้ งานจึงไม่ไกลนักและมักมีปัญหาเรื่องตาแดง เพราะหลอดแสงแฟลชบนกล้องมักอยู่ในระดับเดียวกับเลนส์ ดังนั้นหากต้องการหลีก เลี่ยงการเกิดตาแดงในภาพที่ใช้แฟลช ควรเลือกกล้องที่แฟลชอยู่ห่างจากเลนส์มากๆ เช่นกล้องที่มีระบบ pop up flash อย่างไรก็ดี กล้องบางรุ่นได้เพิ่มฟังก์ชันการลบตาแดงเข้าไปด้วยซึ่งก็เป็นการแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าต้องการถ่ายภาพโดยใช้แฟลชในระยะไกลๆ แล้วควรเลือกกล้องที่มี ฐานเสียบแฟลช (hot shoe) หรือมีจุดที่สามารถนำสายแฟลชจากภาพนอกมาต่อเข้าได้
7. โครงสร้างและรูปร่างของกล้อง
กล้องที่ได้รับการออกแบบสวยงาม จับถนัดมือ ปุ่มและแป้นหมุนต่าง ๆ ใช้งานง่าย มีความคงทน จอภาพหมุนได้และมองเห็นภาพได้ชัดเจนแม้ว่ามีแสงส่องเข้าที่จอภาพโดยตรง เป็นองค์ประกอบสำคัญ ไม่น้อยสำหรับการเลือกกล้อง ส่ิงต่างๆ เหล่านี้แต่ละคนก็ให้ความสำคัญแตกต่างกันไป ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือท่านควรไปทดลอง จับและลองใช้งานกล้องตัวที่ท่านสนใจว่า เมื่อถึงเวลาใช้งานจริงๆ แล้วชอบหรือไม่ชอบส่วนไหน ทั้งจอภาพ ปุ่ม และอื่นๆ
8. อื่นๆ
ยังมีข้ออื่นๆ อีกมากที่ไม่สามารถแนะนำได้หมด เช่นระบบการโฟกัส ระบบการถ่ายภาพเผื่อ และอื่นๆ ท่านควรตรวจสอบจาก specifications ของกล้องต่างๆ ให้ละเอียดเพื่อการตัดสินใจที่คุ้มค่าที่สุด