โดยทั่วไปแล้วภาพที่เราถ่ายด้่วยกล้องดิจิทัลจะมีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับการส่งภาพผ่านทางเน็ต ดังนั้นเพื่อให้สามารถส่งภาพได้อย่างสะดวก รวดเร็ว จึงต้องการเปลี่ยนขนาดของภาพให้เล็กลง บทความนี้จะกล่าวถึงหลักการและวิธีการเปลี่ยนขนาดของภาพด้วย Photoshop

ขนาดของภาพดิจิทัล

ภาพดิจิทัลเป็นภาพสองมิติโดยกำหนดขนาดของภาพเป็นจำนวนพิกเซลในแนวตั้งและแนวนอน เช่น 1200x1600 หรือ 480x640 พิกเซล เป็นต้น เราสามารถกำหนดขนาดของภาพได้ตั้งแต่ในขณะถ่ายภาพ ซึ่งอาจตั้งเป็น Large, Medium และ Small หรือแบบอื่น ขึ้นกับกล้องแต่ละยี่ฮ้อ ขนาดของภาพดิจิทัลนี้จะไม่คิดเป็นระยะทาง เช่น นิ้ว หรือ เซนติเมตร เพราะภาพที่มีจำนวนพิกเซลเท่ากัน อาจมีขนาดเป็นระยะทางที่แตกต่างกัน หากถูกนำไปแสดงบนอุปกรณ์ที่มีความละเอียดต่างกัน ตัวอย่างเช่น ภาพขนาด 480x640 พิกเซล เมื่อนำไปแสดงบนจอทีี่มีความละเอียด 72 dpi (dot per inch) จะมีขนาด 6.66x8.88 นิ้ว แต่หากไปแสดงผลที่จอ 133 dpi จะมีขนาดเพียง 3.61x4.81นิ้ว ดังนั้นจะสังเกตเห็นว่าขนาดของภาพที่กำหนดในสเป็คของกล้องทุกตัวจะใช้พิกเซลเป็นเกณฑ์

การเปลี่ยนขนาด ใน Photoshop

การปรับขนาดของภาพสามารถทำได้ทั้งให้ใหญ่ขึ้นและเล็กลง อย่างไรก็ดีการทำให้ใหญ่ขึ้น มักไม่นิยมทำกันเพราะไม่ได้ทำให้คุณภาพของภาพสูงขึ้นแต่อย่างโด ภาพที่ปรับให้ใหญ่ขึ้นความคมชัดจะลดลงไปมาก ตามกำลังขยายที่ปรับตั้ง แต่สำหรับการปรับภาพให้เล็กลงนั้น ภาพจะสูญเสียรายละเอียด ไปบ้างเนื่องจากภาพมีขนาดเล็กนั่นเอง และจะได้ไฟล์ที่มีขนาดเล็กลงไปด้วย นอกจากนี้การ save ภาพเป็น jpeg ก็จะทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กมากยิ่งขึ้น ตามอัตรา การบีบอัดข้อมูล หากเราตั้งให้มีอัตราการบีบอัดน้อย (maximum quality) ไฟล์ก็จะมีขนาดเล็กกว่าเดิมไปไม่มากนัก โดยมเนื้อที่ประมาณขนาดหนึ่งในสี่ของไฟล์ tiff แต่หากเราตั้งให้มีการบีบอัดมากขึ้น เช่น medium หรือ low ไฟล์ที่ได้จะมีขนาดเพียง หนึ่งในยี่สิบ หรือ หนึ่งในสี่สิบของ ไฟล์ที่เป็น tiff เลยทีเดียว

การเปลี่ยนขนาดจะทำได้โดยใช้คำสั่ง Image > Image size แล้ว Photoshop จะแสดงหน้าต่าง ซึ่งบอกถึีงขนาดของภาพที่เปิดอยู่

ในกรอบบนสุดของหน้าต่าง คือ Pixel dimensions บอกขนาดของภาพเป็นพิกเซล ส่วนภาพในกรอบล่าง Print size บอกขนาดของภาพเป็นหน่วยของระยะทางเช่นนิ้วหรือเซ็นติเมตรที่จะไปปรากฏบนอุปกรณ์ส่งออก

โดยทั่วไปภาพที่ได้จากกล้องดิจิทัลจะมีการตั้งค่า print size ไว้ที่ 72 dpi(ppi) ดังนั้นหากเราต้องการ ส่งพิมพ์ไปยังเครื่องพิมพ์ควรเปลี่ยนค่าในช่องให้เป็นค่าที่เหมาะสมสำหรับเครื่องพิมพ์แต่ละชนิด ส่วนที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของภาพคือ ช่องล่างสุดต้องถูกคลิ๊กให้มีเครื่องหมายถูกทั้งสองช่อง ช่องบนสุด Constrain Proportions เมื่อถูกเลือกแล้ว ขนาดของภาพที่เปลี่ยนไปจะมีสัดส่วนเช่นเดียวกับภาพต้นฉบับเสมอ สำหรับช่องล่าง Resample Image นั้น ถ้าไม่ถูกคลิ๊กเราจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ภาพต้นฉบับได้เลย จะเปลี่ยนแต่ print size ดังนั้นหากต้องการเปลี่ยนขนาดของภาพแล้ว ช่องส่วนนี้ควรถูกคลิ๊ก จะสังเกตเห็นว่าด้านขวา ของ Resample Image มีที่สำหรับตั้งเทคนิค interpolation แบบต่างๆ หากต้องการให้ภาพที่มีคุณภาพดี ควรเลือกเป็น bicubic อย่างไรก็ดีจะเสียเวลาในการคำนวณ มากกว่าแบบอื่นๆ

ใน photoshop ท่านสามารถกำหนดขนาดไฟล์สุดท้ายได้ โดยโปรแกรมจะคำนวณอัตราการบีบอัดให้ ตัวอย่างเช่น ภาพด้านล่าง มีขนาด 480x640 pixels ต้องการ save ให้มีขนาดไม่เกิน 50K เมื่อใช้ คำสั่ง save for web แล้ว

โปรแกรมก็จะแสดงหน้าต่างสำหรับให้ปรับตัั้งและมีภาพก่อนและหลังการ save ให้ดูด้วย

ให้ไปดูที่การปรับขนาดไฟล์ของภาพที่มุมขวาบน จะเห็นดังภาพด้านล่าง

ให้คลิ๊กที่ optimized เพื่อให้มีเครื่องหมายขีดถูก�แล้วไปคลิ๊กที่เครื่องหมายสามเหลี่ยมด้านบน แล้ว photoshop จะแสดงหน้าต่างให้เลือกขนาดไฟล์ที่ต้องการ

ให้พิมพ์ขนาดของไฟล์ที่ต้องการ ในช่อง Desired File Size ตัวอย่างเช่น 50K แล้วคลิ๊ก OK ก็จะกลับมาที่หน้าต่างเดิม จากนั้น คลิ๊ก OK แล้ว photoshop จะคำนวณให้ว่าจะต้องบีบอัดข้อมูลด้วยอัตราเท่าไรจึงจะได้ขนาดของไฟล์ไม่เกินที่กำหนด

ข้อควรระวังในการเปลี่ยนขนาดของภาพ

ขนาดของภาพและการบีบอัดข้อมูล เป็นสิ่งที่มีผลต่อขนาดและคุณภาพของภาพที่จะได้ หากต้องการให้ภาพมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูง ก็จะได้ไฟล์ใหญ่ แต่หากต้องการภาพขนาดใหญ่แต่ต้องการให้ไฟล์มีขนาดเล็ก โดยเพิ่มอัตราการบีบอัดภาพ ภาพที่ได้ก็จะแตกเป็นบล็อค ดังนั้นเรามักจะเห็นว่าภาพที่เห็นในเว็บเพจต่างๆ มักจะเป็นภาพที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก สำหรับดูคร่าวๆ ก่อน หากต้องการภาพขนาดใหญ่และมีรายละเอียดสูงผู้เขียนเว็บมักจะให้ผู้ใช้สามารถ download ไปเก็บไว้ที่ ฮาร์ดดิสก์ของผู้ใช้ได้โดยตรง

ภาพด้านล่างนี้แสดงการเปรียบเทียบให้เห็นว่าการบีบอัดสูงๆ เมื่อเปิดภาพออกมาดูอีกครั้งภาพจะสูญเสียคุณภาพไปอย่างไร

ภาพข้างบนนี้ save for web โดยกำหนดขนาดไฟล์ที่ 40K และ ได้ image quality ที่ 88%

ภาพนี้ save for web โดยกำหนดขนาดไฟล์ที่ 10K และ ได้ image quality ที่ 22%

เมื่อเปรียบเทียบภาพสองภาพด้านบนจะเห็นว่า ภาพที่มีอัตราการบีบอัดสูง หรือ มี image quality ต่ำ จะมีลักษณะเป็น บล็อคๆ ในบริเวณที่เป็นสีพื้น เช่นที่ท้องฟ้า ความคมชัดและรายละเอียดก็จะลดน้อยลงไปมาก สังเกตจากเส้นเชือกต่างๆ ว่าแทบมองไม่เห็น ดังนั้นการหากไม่ต้องการให้ภาพมีคุณภาพต่ำ ไม่ควร save ที่อัตราต่ำมากเกินไป โดยทั่วไป ควรอยู่ที่ 60-90 % ขึ้นกับว่าเป็นภาพที่มีรายละเอียดมากหรือน้อย

copyright thaicolor@hotmail.com