กินไอศครีม ต้องระวังปริมาณคาเฟอีน!

               ไม่น่าเชื่อว่าประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นแถบยุโรปจะเป็นต้นคิดผลิตไอศครีมและขยายตัวไปยังสหรัฐ

อเมริกา ถึงขนาดขึ้นชื่อว่าคนอเมริกันคลั่งไคล้การกินไอศกรีมมากจนติดเป็นนิสัยและถึงขั้นกลายเป็นผู้นำ

อุตสาหกรรมการผลิตไอศกรีมไปในที่สุดในบ้านเราเองคงไม่มีใครไม่รู้จักไอศครีมผิดกันตรงที่พฤติกรรมการ

กินของคนไทยยังไม่ถึงกับติดเป็นนิสัย แต่ก็คุ้นเคยกันดี โดยเฉพาะยามอากาศร้อน อบอ้าวส่วนประกอบหลัก

ของไอศครีม นั้นได้แก่ นม น้ำตาล น้ำ ไข่ และปรุงแต่งด้วยสี กลิ่น รสส่วนรสชาติยอดนิยมของคอไอศกรีม

ทั้งหลายคงหนีไม่พ้น รสช็อกโกแลต และรสกาแฟ เป็นที่ทราบกันดีว่าส่วนผสมเหล่านี้มีคาเฟอีนติดมาด้วย

เมื่อนำมาผสมกับไอศครีม ก็ย่อมต้องได้รับสารคาเฟอีนไปด้วยทุกครั้งที่บริโภคไอศครีมคาเฟอีนเป็นสารที่เกิด

ขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยจะพบในเมล็ด ใบ หรือผลของพืชมากกว่า 63 ชนิด เช่น กาแฟ ชา เมล็ดโคล่าที่นำมา

ทำเครื่องดื่มประเภทโคล่า และช็อกโกแลต เป็นต้น เมื่อร่างกายได้รับคาเฟอีนเข้าไปคาเฟอีนจะถูกดูดซึมได้

หมด และค่อนข้างเร็วในทางเดินอาหารคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางโดยจะออกฤทธิ์เพิ่มขึ้น

ตามปริมาณคาเฟอีนที่ร่างกายได้รับ หากได้รับในปริมาณ 50-200 มิลลิกรัม จะทำให้ไม่ง่วงมีความตื่นตัวและ

กระปรี้กระเปร่า ในระดับปานกลาง 200 - 500 มิลลิกรัม อาจทำให้ปวดศีรษะ เครียด กระวนกระวายมือสั่นนอน

ไม่หลับและหากได้รับในปริมาณมาก 1,000 มิลลิกรัม อาจทำให้เกิดพิษของคาเฟอีนที่เรียกว่า Caffeinismซึ่งจะ

มีอาการกระสับกระส่ายอยู่นิ่งไม่ได้ หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปัสสาวะบ่อยผลจากการได้รับคาเฟอีนข้าง

ต้นนี้ เป็นผลเฉียบพลันที่เกิดกับผู้ที่ไม่ได้รับคาเฟอีนเป็นประจำ และเป็นการได้รับภายในครั้งเดียวแต่ผู้ที่ได้รับ

คาเฟอีนเป็นประจำ ฤทธิ์เหล่านี้จะลดลงเนื่องจากมีการทนต่อฤทธิ์ของคาเฟอีนได้สถาบันอาหารได้ทำการสุ่ม

ตัวอย่างไอศครีมชนิดต่างๆ ที่มีสารคาเฟอีนเป็นองค์ประกอบอยู่จำนวน 5 ยี่ห้อเพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณ

คาเฟอีน ผลการวิเคราะห์แสดงดังตารางเมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็อย่าหลงลืมกันว่าไม่ควรกินไอศครีมที่มีคาเฟอีน

ในปริมาณมาก ๆแต่ถ้าขาดไอศครีมไม่ได้ละก็ควรเลี่ยงไปเลือกกินจำพวกรสผลไม้ต่างๆดูบ้างจะได้ไม่ต้อง

ตกเป็นทาสคาเฟอีนโดยไม่รู้ตัว