TAPE MEASURE BEAM OPTIMIZED FOR RADIO DIRECTION FINDING
Tape Measure 3 Element Yagi - RDF Optimized Beam
สร้างโดย Joe Leggio WB2HOL
E20FBA เรียบเรียง สร้าง และทดสอบ

สายอากาศชนิดนี้สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการความแน่นนอนของรูปแบบการรับและการกระจายของคลื่นวิทยุและยิ่งมีผลที่ดีเยี่ยมในการที่เราจะไปใช้ในกิจกรรม ARDF แถมเจ้าสายอากาศนี้ยังสามารถส่งออกอากาศได้ แถมยังสามารถซื้ออุปกรณ์ในการสร้างจากร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างได้ในครั้งเดียวครบหมดทุกรายการ ต้นทุนต่ำแต่ได้ผลเกินราคา ถ้ามองจากการออกแบบนั้นสุดแสนที่จะง่ายถ้าใครเคยลองสร้าง RDF2 มาแล้วจะบอกว่ามันไม่มีอะไรมากแค่เพิ่มอีลีเมนท์ด้านหน้าเข้าไปเท่านั้น และคุณ Paul McMahon หรือ VK3DIP ได้ใช้โปรแกรม YAKI DESIGN คำนวนค่าเกณฑ์การขยายของสายอากาศชนิดนี้ดังตารางด้านล่าง

Performance Predicted by YAGI-CAD
GAIN 7.3 dBd
Front-to-Back Ratio >50 db
3 db Beamwidth E = 67.5 degrees
3 db Beamwidth H = 110 degrees

สายอากาศชนิดนี้ใช้การแมตชิ่งแบบ HAIRPIN MATCH ซึ่งการใช้การแมตชิ่งแบบนี้มันมีความยืดหยุ่นสูงและยังสามารถช่วยในเรื่องค่าของค่า SWR ที่สามารถทำให้ต่ำลงได้ดี เพราะในขณะที่เราออกไปล่า FOX ในป่าย่อมมีการเกิดการกระแทกและการเกี่ยวขึ้นถ้าเกิดเราใช้การแมตแบบอื่นจะค่อนข้างลำบากและอีกอย่างตัวสายอากาศเองมันไม่สามารถคงสภาพของสายอากาศได้ตลอดเวลา หากเราต้องลัดเลาะเข้าไปอาจเกิดการกระแทกและการเกี่ยวขึ้น ถ้าเกิดเราใช้การแมตแบบอื่นจะค่อนข้างลำบากและอีกอย่างตัวสายอากาศเองมันไม่สามารถคงสภาพได้ตลอดเวลาหากเราต้องลัดเลอะเข้าไปใช่ในป่านะครับ ในการสร้างชุดแมตชิ่งก็ไม่มีอะไรมากเราเพียงใช้ลวดอาบน้ำยาเบอร์ 18 หรือ 22 SWG.ทำเป็นรูปตัวยู “U” มีความยาวระหว่าง 4-5 นิ้วเท่านั้นนะครับเกือบลืมบอกไปว่าการสร้างสายอากาศชนิดนี้มีหน่วยในการสร้างเป็นนิ้วนะครับไม่ยากเกินไปสำหรับผู้ที่จะสร้างนะครับ ส่วนสายฟีดที่ต่อจากสายอากาศไปเข้าเครื่องรับวิทยุนั้นเราใช้สายนำสัญญาณขนาด 50 โอมห์ธรรมดาคืออาจใช้สาย เบอร์ RG58 ความยาวแล้วแต่ผู้ใช้ถนัดนะครับคราวหน้าผมจะนำเจ้าสายอากาศชนิดนี้ติดวงจร ATTENUTOR เข้าไปด้วยนะครับ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้าง

1. ท่อ PVC ขนาด 1/2" ตัดความยาวขนาด 8" และ 12 "อย่างละ 1 ท่อน

2. ตลับเมตรความกว้างขนาดประมาณ 1” ยาว 5 เมตร 1 ตลับ

3. ข้อต่อ PVC แบบกากบาทสำหรับท่อขนาด 1/2" จำนวน 2 ตัว

4. ข้อต่อ PVC แบบสามทางสำหรับท่อขนาด 1/2" จำนวน 2 ตัว

5. เข็มขัดลัดท่อแบบโลหะ ขนาด 22-29 mm. จำนวน 6 ตัว

6. ลวดทองแดงอาบน้ำยาเบอร์ 18 หรือเบอร์ 22 SWG ยาว 1 เมตรใช้ประมาณแค่ 4 ½”

7. สายนำสัญญาณ RG 58 พร้อมขั้วต่อความยาวตามความต้องการ

8. เทปพันสายไฟ/กาวติดท่อหรือใช้กาวตราช้างใช้หยอดเวลาประกอบเสร็จกันหลุด

9. คัตเตอร์/กรรไกร/ไขควง/ SWR. METER

10.และที่ขาดมิได้ ตะกั่วบัดกรี/หัวแร้งแช่

11.ตลับเมตรวัวความยาวหรือไม้บรรทัด

วิธีการสร้าง

ตัดท่อให้ได้ตามความยาวที่กำหนดหลังจากนั้นนำท่อทั้งหมดประกอบตามรูปถ้าเพื่อนท่านใดต้องการต่อด้ามจับด้วยให้ใส่ท่อกากบาทที่ด้านหลังข้อต่อบแบบสามทางแทนแต่ผู้เขียนไม่ต้องการต่อด้ามจับจึงใช้แบบสามทางต่อเข้าแทนหลังจากที่ประกอบเสร็จให้ขยับท่อให้แน่นและวัดความยาวให้ได้ตามแบบหลังจากนั้นนำท่อทั้งหมดที่ประกอบแล้วไปวางบนพื้นที่ราบๆแล้วกดลงทุกข้อเพื่อให้ท่อนั้นให้ได้ฉากเวลาประกอบอีลีเมนต์ไปแล้วจะได้ไม่เบี้ยวหลังจากนั้นหยอดกาวลงไปตามข้อต่อกันการขยับ ในแบบนั้นเจ้าของต้นแบบเขาออกแบบไว้ที่ความถี่ 146.565 MHz. แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้ทำตามต้นแบบปรากฏว่าที่ความถี่ 145.000MHz. SWR. ไม่ถึง 1:1.3 และที่ความถี่ 144.000MHz SWR.ไม่ขยับเลยแต่ที่ความถี่ 145.99875 MHz. ขึ้นเกิน 1:1.5 ซึ้งผู้เขียนคิดว่าไม่จำเป็นที่ต้องแก้ไขเนื่องจากเราใช้กันในความถี่ปกติก็ไม่มีใครไปใช้ถึงความถี่นั้นอยู่แล้ว หลังจากที่เราทำบูมเสร็จก็มาทำการตัดอีลีเมนต์ต่างๆโยเริ่มที่ Director โดยตัดความยาว 35 1/8" หรือตัดที่ 35" กับอีก 1 หุน (1" มี 8 หุน) ทีนี้มาถึงตัวพระเอก Driven Element ตัดความยาว 35 1/2" หรือ 35" ครึ่ง แล้วตัดแบ่งครึ่งให้เท่าๆกันโดยแต่ละอันจะได้ความยาว 17 3/4" ในแต่ละข้างหลังจากที่ตัดแล้วแบ่งครึ่งแล้วทำการขูดบริเวณด้านปลายเพื่อทำการบัดกรีตามรูปหลังจากนั้เราก็มาตัด Refletor ตัดความยาว 41 3/8" หรือ 41" กับอีก 6 หุน เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเทคนิคการวางตำแหน่ง Director, Refletor ให้ได้ตำแหน่งกลางเราใช้วิธีการทบปลายทั้งสองข้างเข้าหากันแล้วทำตำหนิไว้ที่ด้านปลายเวลาวางลงไปบนท่อ PVC. มันจะมีรอยฉีดพลาสติกตรงกลางเป็นเกณฑ์อยู่แล้วทำให้เป็นเรื่องง่ายเวลาเราจับแล้วขันเข็มขัดลัดท่อถ้าเลื่อนเราก็สามารถขยับได้แต่ก่อนที่จะนำอีลีเม้นท์ทั้งหมดไปยึดกับบูมเพื่อนๆต้องทัการลบคมของเทปวัดก่อนโดยการใช้กรรไกรตัดให้มลตามภาพมิฉนั้นอาจเกิดอันตรายได้ข้อนี้ควรระวังมากๆ หลังจากขันทั้งสองด้านเสร็จโดยที่ไม่ต้องแน่นมากพอเราจัดตำแหน่งตรงแล้วเราค่อยขันให้แน่นส่วนตัว Driven Element เราวางตามตำแหน่งเหมือนในรูปได้เลยไม่ต้องไปกังวลเรื่องระยะห่างของแต่ละด้านหลังจากที่เรายึดตัวอีลีเม้นทั้งหมดเข้ากับบูมแล้วค่อยทำการบัดกรี ชุดแมตชิ่งก่อนโดยเราตัดลวดที่เตรียมไว้ที่ความยาว 4 1/2" แล้วงอเป็นรูปตัวยูตามภาพแล้วค่อยบัดกรีสายนำสัญญาณเข้าไปเมื่อบัดกรีเสร็จควรโยกดูความแข็งแรงเมือใช้งานได้แล้วควรพันด้วยเทปพันสายไฟกันสายขยับและเกะกะนะครับเป็นอันเสร็จทีนีเรามาดูที่แนวการกระจายคลื่นของสายอากาศชนิดนี้นะครับ สายอากาศชนิดนี้เมื่อทำเสร็จผู้เขียนแทบไม่ต้องทำการปรับแต่งใดๆเลยพอต่อเข้าเครื่องวัดก็ได้แต่ยิ้มอย่าง๓มิใจแต่เวลาเพื่อนทดสอบตอนวัดค่า SWR. ให้หันสายอากาศออกไปในทิศทางที่โล่งอย่าใกล้โลหะหรือกำแพงมากไปเพราะมันมีผลกระทบต่อค่า SWR. แถบทั้งสิ้น

ภาพการสร้าง

ประกอบบูมแล้วจัดให้ได้ฉากแล้วค่อยหยอดกาว
ลบคมกันบาด
ขูดเพื่อให้บัดกรีติด
ประกอบชุดแมทชิ่ง
ดูกันชัดๆ
จัดสายให้เรียบร้อย
พร้อมวัดและทดสอบ
ค่า SWR.ที่วัดด้านนอกอาคาร
ค่า SWR. ที่วัดภายในอาคาร
หลังจากการสร้างแล้วขณะใช้งานอาจจะจับลำบากแบบนี้
เราแค่ใส่ข้อต่อสี่ทางเข้าไปที่ด้านท้ายแทนข้อต่อแบบสามทางเราก็จะทำด้ามจับได้แบบนี้
จะพกไปไหนแบบถอดเก็บพับไปสะดวกแสนสะดวกครับ

การทดสอบ

ผมได้ทำการทดสอบลองรับสัญญาณดูโดยปกติที่บ้านผมใช้สายอากาศยางยืนหน้าบ้านตัวเองจะไม่สามารถรับสัญญาณ HS0VET ได้เพราะท่านอยู่ไกลเหลือเกินบ้านผมอยู่รามอินทรา กม.7 ส่วนเพื่อนอยู่เกือบนครปฐมผมใช้สายอากาศต้นนี้แล้วรับได้เฉยเลยก็เลยส่งออกอากาศเรียกดูปรากฎว่าเสาที่สูงไม่เกินสองเมตรทำมุม 45 องศากับเรียกเพื่อนที่อยู่ไกลออกไปได้ถึง 40 กิโลเมตร !!และได้ทำการลองส่ายหาทิศทางแล้วบอกได้ว่าเยี่ยมจริงๆกับสายอากาศที่ลงทุนไม่เกินสองร้อยกว่าบาททำไม่เกินสามสิบสาทีหรือเร็วกว่านั้น!!
  Copyright©E20EHQ/KB3KCI The Radio Amateur Radio 2004 - All Rights Reserved
MSN Spaces of E20EHQ Updated 1 September, 2008