Peera Pacharintanakul

ผศ.ดร. พรชัย พัชรินทร์ตนะกุล

  • นักวิชาการอิสระ

  • อาจาย์พิเศษคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

  • คณะศาสนาและปรัชญา มมร.

  • คณะพุทธศาสตร์ มจร.

  • และ สถาบันพระปกเกล้า

  • โทรศัพท์ +66(0)94 560 7431

  • Email: pornchai.p AT chula DOT ac DOT th

ประวัติและผลงานของ ผศ.ดร.พรชัย พัชรินทร์ตนะกุล 2

 

Life and Work of Asst Prof Dr Pornchai Pacharin-tanakun 

ผลงานและกิจกรรมของ ผศ.ดร.พรชัย พัชรินทร์ตนะกุล ตั้งแต่เดือน มกราคม 2558 ถึงปัจจุบัน

 

phra thep 14 มกราคม 2562 ชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร

 

 

phra thep 2

 

 

 

 

16 June 256116 มิถุนายน 2561 ชมรมผู้รับพระราชทุนมูลนิธิอานันทมหิดล เยี่ยมชมสถานีรถไฟฟ้าสนามไชย และอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

 

   

มีรายได้เท่าไรจึงจะพอ? (Facebook: Phonchai P-t 25 มีนาคม 2561) !!! ใหม่ล่าสุด !!!

          มีรายได้เท่าไรจึงจะพอ? ช่างเป็นคำถามที่น่าขบขันชวนหัวเราะเสียจริงๆ เรื่องรายได้ที่เป็นเงินเป็นทองนี้จะมีใครพอกันเล่า ยิ่งมีรายได้มากก็ยิ่งไม่พอ ยิ่งมากยิ่งดีไม่มีวันสิ้นสุด คนเราจะพอก็ต่อเมื่อมีสาเหตุที่จะต้องชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบกันระหว่างรายได้กับสาเหตุนั้นๆ ว่าสิ่งใดจะคุ้มค่ามากกว่า เช่น รายได้ที่ผิดกฎหมายอาจจะทำให้ต้องเข้าคุก (ได้แก่การปล้น ฆ่า ชิงทรัพย์ ฉก ชิง วิ่งราว ขโมย ฉ้อโกง ฉ้อราษฎร์ บังหลวง ค้ามนุษย์ ฯลฯ เป็นต้น) หรือรายได้ที่ผิดศีลธรรมอาจทำให้ต้องเสียชื่อเสียง (ได้แก่ การดำเนินกิจการร้านอาบ อบ นวด การตั้งโรงงานผลิตเหล้า เบียร์ บุหรี่ การค้าอาวุธ ฯลฯ เป็นต้น) ซึ่งในสองกรณีดังกล่าว ถ้ามีการใช้ปาฏิหาริย์ทางกฎหมาย เปิดช่องให้พ้นผิด หรือการใช้ช่องทางของสื่อมวลชน เพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงและสร้างความเข้าใจผิดให้แก่สังคม ว่าตนไม่ได้เป็นผู้กระทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย หรือผิดศีลธรรม ฯลฯ ผู้ที่อยากรวยเร็วก็คงจะดำเนินการสร้างรายได้ด้วยวิธีการของตนอย่างไม่มีขีดจำกัด ส่วนผู้ที่ไม่ได้กระทำการอันผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรมอยู่แล้ว ก็ย่อมจะกอบโกยรายได้ตลอดไป ได้อย่างไม่สิ้นสุดอยู่แล้ว … (อ่านต่อ)

 

26 พฤศจิกายน 2560 ชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ประชุม ณ ราชกรีฑาสโมสร กรุงเทพมหานคร

 

 

 

 

3 sep 603 กันยายน 2560 ชมรมผู้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล ประชุม ณ ราชกรีฑาสโมสร กรุงเทพมหานคร

 

 

 

25 aug 6025 สิงหาคม 2560 ชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล เยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิทยสิริเมธี (VISTEC) และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) ณ วังจันทร์ จังหวัดระยอง

 

 

 

11 may 6011 พฤษภาคม 2560 คณะกรรมการประจำคณะศาสนาและปรัชญา มหามกุฎราชวิทยาลัย ประชุม ณ ศาลายา จังหวัดนครปฐม

 

 

 

Image may contain: 39 people31 มีนาคม 2560 ชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล” เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พระพันวสาอัยยิกาเจ้า ณ วังสระปทุม

 

 

 

 

 

 

 

Image may contain: 9 people, people smilingคนที่มีความสุขที่สุดคือคนที่ไม่คิดฟุ้งซ่าน (ในหนังสือ “เรื่องน่ารู้สำหรับประชาชน” ฉบับปี 2561 ของชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล” กรุงเทพฯ)

          ความสุขคืออะไร? ตามหลักการทางพุทธศาสนา ความสุขคือการได้พบกับสิ่งที่รักที่พอใจ การไม่พลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจ การไม่พบกับสิ่งที่ไม่รักไม่พอใจ การพลัดพรากจากสิ่งที่ไม่รักไม่พอใจ และความสมหวังในสิ่งใดๆที่ปรารถนา ซึ่งถ้าเราสังเกตให้ดี การได้พบหรือไม่พบ การพลัดพรากหรือไม่พลัดพราก และความสมหวังหรือไม่สมหวัง ล้วนแต่จะต้องรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าคือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง เราจะรู้ว่าเราได้พบหรือไม่ได้พบ และพลัดพรากหรือไม่พลัดพราก กับสิ่งที่รักที่ชอบหรือไม่รักไม่ชอบ ก็ต่อเมื่อเราได้รับรู้หรือไม่รับรู้สิ่งนั้นๆโดยผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น เช่น การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น ฯลฯ และความสมหวังหรือไม่สมหวังต่อความปรารถนาของเรา จะทราบได้ก็ต่อเมื่อเราได้รับรู้หรือไม่รับรู้ ต่อสิ่งที่เราปรารถนาทางประสาทสัมผัสเช่นกัน ... (อ่านต่อ)

 

การวัดสมองของผู้ปฏิบัติสมาธิจิตเป็นห้องสังเกตการณ์ของพุทธศาสนา (Facebook: Phonchai P-t 15 มีนาคม 2560)

          วิทยาศาสตร์มีวิธีการที่จะศึกษาทำความเข้าใจธรรมชาติด้วยแนวทางหลักสองแนวทางประกอบกัน ได้แก่ (1) การเก็บรวบรวมข้อมูลและ (2) การคิดค้นหาคำอธิบายของข้อมูลนั้นๆ … (อ่านต่อ)

 

Ananda 10 dec 5910 ธันวาคม 2559 เวลา 16:30 นาฬิกา ชมรมผู้รับพระราชทานทุน “อานันทมหิดล” เป็นเจ้าภาพร่วมในการบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

 

 

3 ตค 59 มมรวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความจริงของพุทธศาสนาว่า ... การเจริญสติสามารถลดความเจ็บปวดทางกายได้ (Facebook: Phonchai P-t 17 พฤศจิกายน 2559)

          ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบหลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่าการเจริญสติสามารถลดหรือบรรเทาความเจ็บปวดอย่างได้ผล ซึ่งความจริงความรู้ที่ได้จากการค้นพบนี้เป็นเรื่องที่เก่าแก่โบราณแล้ว ดังที่ได้กล่าวไว้ในพระสูตรชื่อ กายคตาสติสูตร ซึ่งอยู่ในส่วนที่เรียกว่ามัชฌิมนิกาย ของพระสุตตันตปิฎก ... (อ่านต่อ)

 

30 ตค 59 ทุนอานันท30 ตุลาคม 2559 ชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล” ประชุม ณ อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

 

การเจริญสติลดความปวด3 ตุลาคม 2559 ชั้นเรียนปีที่ 3 และ 4 คณะศาสนาและปรัชญา หลังจากสอบกลางภาคเสร็จแล้ว

 

 

Ananda 59-09-044 กันยายน 2559 ชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล” ประชุม ณ อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

 

https://scontent.fbkk7-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/14089199_1118182024931991_6631307465154164409_n.jpg?oh=fe286eb1aa714fb52d19fd1bd97ed971&oe=583DBCD3การเจริญสติมีประโยชน์ต่อสังคมอย่างยิ่ง (Facebook: Phonchai P-t 24 สิงหาคม 2559)

          เมื่อปลายปี 2558 รัฐสภาของสหราชอาณาจักรได้จัดพิมพ์เผยแพร่รายงานฉบับหนึ่ง ที่ว่าด้วยประโยชน์ของการเจริญสติ รายงานฉบับนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่รัฐสภาของไทยน่าจะได้ดำเนินการตามบ้าง แต่ขณะนี้รัฐสภาไทยที่สมาชิกส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ยังเงียบเป็นเป่าสากอยู่ เพราะมัวแต่สาละวนอยู่กับกิจการงานของผู้แต่งตั้งรัฐสภาอย่างมิรู้เหนือรู้ใต้ แต่ขณะเดียวกันรายงานนี้กำลังเป็นตัวอย่างให้รัฐสภาของประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลายในโลกได้ดำเนินการตาม อย่างไรก็ตามการเจริญสติก็ไม่ใช่วิธีการใช้ชีวิตที่อาจแก้ปัญหาได้ทุกชนิดทุกประการเสมอไป (อ่านต่อ)

 

https://scontent.fbkk7-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/14117915_1118177801599080_5035834541491956436_n.jpg?oh=b349cf16b018b9f8698d4e7f933314b2&oe=5851EA3Fการบริโภคทางเศรษฐศาสตร์ด้วยสติอาจสร้างความสุขให้ได้โดยไม่ต้องมีสมบัติมาก (Facebook: Phonchai P-t 24 สิงหาคม 2559)

          เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ว่าด้วยการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นั่นคือเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาว่า (1) ทำอย่างไรผู้ผลิตจึงจะผลิตสิ่งของและบริการให้ได้มากที่สุด ที่มีคุณภาพดีที่สุด และด้วยค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด (2) ทำอย่างไรผู้ขายจึงจะแพร่กระจายสิ่งของและบริการให้ได้มากที่สุด สู่ผู้บริโภคมากที่สุด และด้วยค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด และ (3) ทำอย่างไรผู้บริโภคจึงจะบริโภคสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีที่สุด บริโภคได้มากที่สุด และโดยมีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด (อ่านต่อ)

 

https://scontent.fbkk7-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/14063876_1118175561599304_5434861175845922220_n.jpg?oh=981b3ef2c617c18b9fb128f99ca5b488&oe=58848142การเจริญสติกำลังแพร่หลายไปทั่วทุกภาคส่วนของสังคมตะวันตก (Facebook: Phonchai P-t 24 สิงหาคม 2559)

          ปุถุชนทั้งหลายทั่วโลกล้วนแต่ใช้ชีวิตในท่ามกลางแห่งความเครียด ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในอาชีพใด ไล่เรียงมาตั้งแต่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน พนักงานของรัฐ ตลอดไปจนกระทั่งถึงพนักงานในภาคธุรกิจเอกชน ผู้ที่มีอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ และผู้ประกอบการ ฯลฯ ในขณะนี้บุคคลหลากหลายในทุกสาขาอาชีพเหล่านี้ โดยเฉพาะในโลกตะวันตก กำลังมุ่งมั่นปฏิบัติสมาธิเพื่อการเจริญสติกันอย่างแพร่หลายมโหฬารมาก ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และการเจริญสติเช่นนี้ได้ก่อให้เกิดผลที่ดีอย่างไรหรือไม่?(อ่านต่อ)

 

https://scontent.fbkk7-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/14067469_1118171564933037_8641006030803618765_n.jpg?oh=6e26a356e9f64cb3ab8e63942bd689e7&oe=584CD948การบำบัดโรคแบบพลาเซโบ คือการบำบัดโรคด้วยอำนาจจิต (Facebook: Phonchai P-t 24 สิงหาคม 2559)

          การบำบัดโรคแบบพลาเซโบหรือ "การบำบัดโรคเก๊" เป็นการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่ได้ใช้วิธีการหรือยาที่ถูกต้องทางการแพทย์ แต่ใช้วิธีหลอกคนไข้ว่าได้รับการรักษาหรือได้รับยาด้วยวิธีการที่ถูกต้องแล้ว คำว่า พลาเซโบ” (placebo) ในภาษาอังกฤษ แปลว่าการเอาอกเอาใจ หรือการกระทำให้เกิดความพอใจ (to please) คำนี้ถือกำเนิดขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 13 ซึ่งมีความหมายถึงการจ้างให้คนมาแสดงความเศร้าโศกและร้องไห้ในงานศพ ซึ่งในปัจจุบันยังมีการปฏิบัติกันในสังคมจีนบางแห่ง ที่จ้างนักร้องไห้อาชีพมาร้องไห้ในงานศพของญาติที่เคารพนับถือ เพื่อแสดงถึงความอาลัยรัก (แต่ถ้าผู้ตายเป็นที่อาลัยรักจริง ทำไมญาติพี่น้องร้องไห้ไม่ออก จนถึงกับต้องจ้างคนมาร้องไห้แทน?!) (อ่านต่อ)

 

Ananda 59-07-3131 กรกฎาคม 2559 ชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล” ทัศนศึกษา ณ พระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา

 

 

 

mbu seminar 2015-0722 - 24 กรกฎาคม 2558 คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จัดสัมมนาวิชาการประจำปี ณ อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี

 

 

 

มหาอำนาจแห่งสติ (2)ประเทศไทยจะเป็นมหาอำนาจแห่งการเจริญสติ (2) (“ปรัชญาปริทรรศน์” กรกฎาคม – กันยายน 2558)

            ส7.1 ประธานร่วมคนที่หนึ่งเคยเป็นโรคซึมเศร้า และเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่ไม่ได้ผล แต่หลังจากที่ได้ไปฝึกอบรมการเจริญสติ โดยความเห็นชอบและการส่งเสริมจากแพทย์ประจำตัว ก็ได้พบว่าตนเองเข้าใจจิตของตนได้ดีขึ้น และสามารถสร้างกลไกที่ทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ซึมเศร้าได้ ปัจจุบันท่านนี้มีชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น สามารถดำเนินการประชุมให้ตรงเป้าได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการประชุมน้อยลง และมีความเชื่อมั่นมากขึ้นในการพูดวิทยุและในที่ประชุมสภา ท่านได้กำหนดลมหายใจเข้าออกเสมอในเวลาว่าง เช่น เวลาเดิน หรือเวลารับประทานอาหาร ปัจจุบันท่านเลิกทานยาแล้ว และไม่มีอาการซึมเศร้าอีกเลย … (อ่านต่อ)

 

โพธิธรรม 3โพธิธรรม: จอมยุทธกังฟูแห่งวัดเส้าหลิน (3) (“ปัญญาจักษุ” กรกฎาคม – กันยายน 2558)

คำสอนและการปฏิบัติธรรมของโพธิธรรม
เราได้กล่าวถึงชีวประวัติและตำนานของโพธิธรรมมาแล้ว ในที่นี้จะได้กล่าวถึงคำสอนและการปฏิบัติธรรมของโพธิธรรม ซึ่งเป็นปฐมาจารย์ผู้นำการปฏิบัติพุทธศาสนาแบบนิกายฌานจากอินเดียมาสู่จีน คำสอนและแนวการปฏิบัติที่สำคัญของโพธิธรรมมีสามประการดังนี้ ... (อ่านต่อ)

 

 

 

ประเทศไทยจะเป็นมหาอำนาจทางศาสนาประเทศไทยจะเป็นมหาอำนาจทางศาสนา คำบรรยายในการประชุมทางวิชาการประจำเดือนของสมาคมค้นคว้าทางจิตแห่งประเทศไทย และชมรมศึกษาวิทยาศาสตร์ทางจิต ณ โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ 27 มิถุนายน 2558

 

 

การปฏิบัติธรรมกับวิทยาศาสตร์การปฏิบัติธรรมกับวิทยาศาสตร์ คำบรรยายในการเสวนาทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในงานวิสาขบูชาและอัฏฐมีบูชา ณ สนามหลวง 5 มิถุนายน 2558

 

 

Padmasambhava 2Padmasambhava: The Lotus Born (2) (“Mongkhon Miti” May - June 2015)

Padmasambhava and Tibet

King Trisong Detsen (B.E. 1285 – 1340) was the 38th king of the Yarlung Dynastry and was the first emperor of Tibet. He was the first king to succeed in bringing various ethnic groups in Tibet under one and the same rule. According to one of the legends, in B.E. 1303 this king invited the monk rector of Nalanda University, Santaraksita, to Tibet. Santaraksita had started to construct Samye Monastery which is the first Buddhist monastery in Tibet when demons who resided in the area decided to obstruct the establishment of the Buddha Dhamma there. The King then invited Padmasambhava to come and get rid of those demons. It turned out that the demons were all succumbed to Padmasambhava's power but they did not die or escape. They were and are still around, converted to Dhamma practitioners by Padmasambhava. This is the right way to fight evil forces under all forms of Buddhism. Buddhism doesn't destroy evil (It's not possible to be destroyed anyway.) but converts it to supporting power for the journey of dhamma or the dhamma practice aiming at enlightenment. … (more)

 

Padmasambhava T2ปัทมสมภพ: ผู้เกิดบนดอกบัว (2) (“มงคลมิติ” พฤษภาคม – มิถุนายน 2558)

ปัทมสมภพกับประเทศทิเบต

กษัตริย์ตรีซอง เทตเซน เป็นกษัตริย์องค์ที่ 38 แห่งราชวงศ์ยาร์ลุง และเป็นจักรพรรดิองค์แรกของทิเบต (พ.ศ.1285 – 1340) นั่นคือกษัตริย์พระองค์นี้ได้รวบรวมชนเผ่าต่างๆในทิเบตให้อยู่ภายใต้การปกครองเดียวกันได้สำเร็จเป็นองค์แรก ตามตำนานเรื่องหนึ่งกล่าวว่าในปี พ.ศ.1303 กษัตริย์พระองค์นี้ได้เชิญพระอธิการแห่งมหาวิทยาลัยนาลันทา ชื่อ ศานตรักษิต มายังทิเบต พระศานตรักษิตได้ริเริ่มสร้างวัดซัมเย ซึ่งเป็นวัดในพุทธศาสนาวัดแรกในแผ่นดินทิเบต แต่ปรากฏว่าปีศาจร้ายที่สิงสู่อยู่ในบริเวณนั้นได้ทำการขัดขวางไม่ให้พุทธธรรมตั้งมั่นลงได้ กษัตริย์จึงได้เชิญปัทมสมภพมายังทิเบตเพื่อปราบปีศาจร้ายเหล่านั้น ปรากฏว่าปีศาจถูกปราบจนราบคาบแต่ไม่ได้ตายหรือหนีหายไปไหน ปีศาจยังคงอยู่โดยปัทมสมภพสามารถเปลี่ยนใจปีศาจให้หันเข้าสู่ธรรม นี่เป็นหลักการต่อสู้กับสิ่งชั่วร้ายที่ถูกต้องตามแบบพุทธศาสนาทุกนิกาย นั่นคือการไม่ทำลายสิ่งชั่วร้าย (เพราะถึงอย่างไรก็ทำลายไม่ได้อยู่ดี) แต่ให้ปรับเปลี่ยนความชั่วเพื่อเป็นพลังแห่งการเดินทางทางธรรม หรือการปฏิบัติธรรมที่จะนำไปสู่การรู้แจ้ง (อ่านต่อ)

 

มหาอำนาจ 1ประเทศไทยจะเป็นมหาอำนาจแห่งการเจริญสติ (1) (“ปรัชญาปริทรรศน์” เมษายน – มิถุนายน 2558)

          รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร (สหราชอาณาจักรประกอบด้วยสี่อาณาจักรได้แก่อังกฤษ สก็อตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) ได้แต่งตั้งกลุ่มทำงานกลุ่มหนึ่งชื่อว่า กลุ่มรัฐสภารวมพรรคว่าด้วยการเจริญสติ (Mindfulness All-Party Parliamentary Group) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากทุกพรรคการเมือง กลุ่มนี้ไม่ใช่คณะกรรมาธิการปกติ แต่เป็นกลุ่มบุคคลที่ตั้งขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเพื่อทำการศึกษาและรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วทำรายงานต่อรัฐสภา โดยเฉพาะกลุ่มดังกล่าวได้ทำการศึกษาเรื่องของสติ รวมทั้งการพัฒนาสติ หรือการฝึกสติ หรือการเจริญสติ ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม 2557 แล้วได้จัดทำรายงานเบื้องต้นออกมาเมื่อเดือนมีนาคม 2558 โดยใช้ชื่อรายงานว่า สหราชอาณาจักร ชาติที่สมบูรณ์ด้วยสติ (Mindful Nation UK) (UK [ยูเค] เป็นชื่อย่อของ United Kingdom [ยูไนเต็ด คิงดอม] ซึ่งแปลว่าสหราชอาณาจักร) ในบทความนี้เราจะพิจารณาว่ารายงานนี้มีสาระสำคัญอะไร มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาหรือไม่อย่างไร และสุดท้ายชาวพุทธและประเทศพุทธทั้งหลาย โดยเฉพาะชาวไทยและประเทศไทย ควรจะตั้งสติต่อเรื่องนี้อย่างไร … (อ่านต่อ)

 

โพธิธรรม 2โพธิธรรม: จอมยุทธกังฟูแห่งวัดเส้าหลิน (2) (“ปัญญาจักษุ” เมษายน – มิถุนายน 2558)

ตำนานเกี่ยวกับโพธิธรรม
หัวข้อข้างต้นเป็นเรื่องชีวประวัติของโพธิธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือพอสมควร แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีเกร็ดเรื่องราวอื่นที่เกือบจะเป็นชีวประวัติได้ แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันมาก จึงถือว่ายังเป็นตำนานอยู่ ตำนานเหล่านี้พอจะสรุปได้เป็นเรื่องๆดังนี้ ... (อ่านต่อ)

 

มนุษย์ทุกคนมาจากอัฟริกามนุษย์ทุกคนมาจากอัฟริกา (“ปรัชญาปริทรรศน์” มกราคม – มีนาคม 2558)

          มนุษย์ทุกคนในโลกมีต้นกำเนิดมาจากทวีปอัฟริกา หมายความว่าถ้าเราทุกคนไล่เรียงบรรพบุรุษของเราถอยหลังขึ้นไปเรื่อย เมื่อถึงจุดดึกดำบรรพ์จุดหนึ่งเราจะพบว่าบรรพบุรุษของทุกคนล้วนอยู่ในอัฟริกาทั้งสิ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราทุกคนเป็นคนผิวดำ ซึ่งลำพังการดูสีของผิวหนังด้วยตาเปล่าก็คงจะบอกได้ว่าไม่ใช่อย่างแน่นอน การเปลี่ยนแปลงของสีผิวรวมทั้งลักษณะทางร่างกายอื่นๆปรากฏขึ้นในภายหลัง ซึ่งเกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอดตามทฤษฏีของวิวัฒนาการ กล่าวโดยสรุปที่กล่าวมานี้หมายความว่ามนุษย์เกิดขึ้นครั้งแรกในโลกที่ทวีปอัฟริกา แล้วก็เคลื่อนย้ายหลักแหล่งและขยายเผ่าพันธุ์กระจายไปทั่วโลก  จากมนุษย์ผิวดำกลายเป็นมนุษย์ผิวเหลือง ผิวขาว และผิวแดง อยู่กันเต็มไปหมดจนไม่มีที่ว่างบนโลกนี้เลย ยกเว้นในทวีปแอนตาร์กติกา ดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ … (อ่านต่อ)

 

Bodhidharm 1โพธิธรรม: จอมยุทธกังฟูแห่งวัดเส้าหลิน (1) (“ปัญญาจักษุ” มกราคม – มีนาคม 2558)

          ในบทความนี้ ผู้เขียนใคร่ขอนำท่านผู้อ่านหยุดพักเรื่องวิชาการอันหนักไม่ว่าจะเป็นวิชาการทางพุทธศาสนาหรือวิทยาศาสตร์ และหันมาให้ความสนใจกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนากันบ้าง เพื่อที่เราจะได้รู้จักศาสนาของเราดีขึ้น จะได้รู้ว่าพระและฆราวาสในอดีตได้มีส่วนในการเผยแพร่และอธิบายศาสนาอย่างไรสู่ชุมชนต่างๆ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าท่านเหล่านี้ไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธและไม่ได้ก่อตั้งศาสนาอื่นใดนอกเหนือไปจากศาสนาพุทธ ดังนั้นสิ่งใดที่ท่านสอนก็คงจะหนีไม่พ้นคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งอาจจะมีการดัดแปลงให้เป็นไปตามยุคสมัยและตามสถานที่บ้าง และอาจจะไปไกลถึงขั้นการตั้งนิกายใหม่ๆขึ้นก็เป็นได้ เช่น นิกายมหายาน และนิกายวัชรยาน เป็นต้น และในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนี้อาจจะเกิด “ประจิมยาน” (ยานตะวันตก) ขึ้นก็ได้ เนื่องจากพุทธศาสนาและการปฏิบัติเจริญสติและสมาธิกำลังเป็นที่นิยมกันมากในโลกตะวันตก แต่ยานทั้งหลายเหล่านี้ก็ยังคงยึดหลักธรรม หรือหวังว่าจะคงยึดหลักธรรมที่เป็นพื้นฐานสำคัญของศาสนาพุทธอย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะหลักการของเรื่อง อริยสัจ ไตรลักษณ์ กรรม และปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น มีแต่การปฏิบัติตัว (วินัย) และวิธีการสอน (อุบาย) เท่านั้นที่แตกต่างกัน แต่เนื้อหาธรรมะตรงกันหมด … (อ่านต่อ)

 

Padmasambhava 1Padmasambhava: The Lotus Born (1) (“Mongkhon Miti” January - February 2015)

          In this article I shall lead the readers to taking a break from the usual heavy academic stuff, be it the discipline of Buddhism or Science. Let’s now pay attention to some important persons in the history of Buddhism so that we’ll get more acquainted with our own religion. It will be seen how monks and lay people in the past played a role in the propagation and interpretation of the Buddhist teachings in various communities. It’s certain that they didn’t establish Buddhism or any other religions. So their teachings are not anything other than the Buddha’s though they might have tuned Buddha’s words in accordance with times and places and even have formed new sects, such as Mahayana and Vajrayana. Moreover, in the present era of information and communication technology, a new sect in the western world (Occidental Yana or Pacchimayana?) might be fermenting since Buddhism together with its practice of mindfulness and meditation are very popular there. In any case, all the past, present and, hopefully, future yanas agree on the important basic teachings, especially the principles of the Four Noble Truths, the Common Three Characteristics, Kamma and Dependent Originations. The teacher’s conduct (vinaya) and pedagogic technique might be varied but basic teachings of dhamma are, or should be, all the same. … (more)

 

ปัทมสมภพ 1ปัทมสมภพ: ผู้เกิดบนดอกบัว (1) (“มงคลมิติ” มกราคม – กุมภาพันธ์ 2558)

            ในบทความนี้ ผู้เขียนใคร่ขอนำท่านผู้อ่านหยุดพักเรื่องวิชาการอันหนักไม่ว่าจะเป็นวิชาการทางพุทธศาสนาหรือวิทยาศาสตร์ และหันมาให้ความสนใจกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนากันบ้าง เพื่อที่เราจะได้รู้จักศาสนาของเราดีขึ้น จะได้รู้ว่าพระและฆราวาสในอดีตได้มีส่วนในการเผยแพร่และอธิบายศาสนาอย่างไรสู่ชุมชนต่างๆ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าท่านเหล่านี้ไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธและไม่ได้ก่อตั้งศาสนาอื่นใดนอกเหนือไปจากศาสนาพุทธ ดังนั้นสิ่งใดที่ท่านสอนก็คงจะหนีไม่พ้นคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งอาจจะมีการดัดแปลงให้เป็นไปตามยุคสมัยและตามสถานที่บ้าง และอาจจะไปไกลถึงขั้นการตั้งนิกายใหม่ๆขึ้นก็เป็นได้ เช่น นิกายมหายาน และนิกายวัชรยาน เป็นต้น และในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนี้อาจจะเกิด “ประจิมยาน” (ยานตะวันตก) ขึ้นก็ได้ เนื่องจากพุทธศาสนาและการปฏิบัติเจริญสติและสมาธิกำลังเป็นที่นิยมกันมากในโลกตะวันตก แต่ยานทั้งหลายเหล่านี้ก็ยังคงยึดหลักธรรมที่เป็นพื้นฐานสำคัญของศาสนาพุทธอย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะหลักการของเรื่อง อริยสัจ ไตรลักษณ์ กรรม และปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น มีแต่การปฏิบัติตัว (วินัย) และวิธีการสอน (อุบาย) เท่านั้นที่แตกต่างกัน แต่เนื้อหาธรรมะตรงกันหมด … (อ่านต่อ)

 

Site Meter