การบำรุงรักษาเครื่องดูดความชื้น

Go to Chapter 1   บทนำ

Go to Chapter 2   วิธีการใช้เครื่องดูดความชื้นโดยทั่วๆ ไป

Go to Chapter 3   การบำรุงรักษา



Introduction

Chapter 1

บทนำ

    หน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านการให้บริการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์คงตระหนักดีว่า เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์นั้นมีราคาสูง และมีความละเอียดอ่อนมาก ดังนั้นนอกจากภาระด้านการปรับปรุงการใช้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามพิกัดของเครื่องแล้ว การดูแลสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการและการบำรุงรักษาเครื่องมือให้สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์การใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพก็เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป นักวิทยาศาสตร์ผู้ใช้ (operator) และวิศวกรประจำเครื่อง (service engineer) ต้องร่วมมือกันดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการและเครื่องมือต่างๆ อย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอเป็นกิจวัตร ถือเป็นรากฐานที่ดีในการบำรุงรักษาเครื่องมือและจะก่อให้เกิดผลดี คือ เป็นการเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องมือให้ยืนยาว รักษาสมรรถภาพของเครื่องตามอายุที่ควรจะเป็น และลดการใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ไม่จำเป็นลง เป็นต้น ห้องปฏิบัติที่ดีจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของงานวิทยาศาสตร์ทุกสาขา ดังนั้นการมีห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมย่อมจะก่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพของงานได้มากขึ้น นอกจากนั้นประสิทธิภาพของห้องปฏิบัติการยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมภายในห้องด้วย องค์ประกอบของสภาพแวดล้อม เช่น ระบบความชื้นภายในห้อง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก ในการวิเคราะห์/ทดสอบด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่นี้จะมีปัญหาการถูกรบกวนระบบ เนื่องมาจากบรรยากาศภายนอก คือ คาร์บอนไดออกไซด์(CO2) และ น้ำ(HO2) ดังนั้นในขณะทำการวิเคราะห์ตัวอย่างจึงต้องควบคุมปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และความชื้น เช่น เครื่อง FT-IR ต้องหมั่นทำความสะอาดในห้องปฏิบัติการและบริเวณเครื่องไม่ให้มีฝุ่น เพราะถ้าฝุ่นเข้าไปภายในจะทำให้เกิดความเสียหายได้ อุณหภูมิก็มีผลต่ออายุการใช้งานของเครื่องต้องควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 30 องศาเซลเซียส เนื่องจากภายในเครื่องมือประกอบด้วยวงจรอิเล็คทรอนิคส์ มีความไวต่อความชื้นมากเป็นพิเศษ จึงจำเป็นต้องดูแลไม่ให้เครื่องมือและห้องปฏิบัติการมีความชื้นมากเกินไป โดยควบคุมความชื้นด้วยเครื่องดูดความชื้น (ความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน 75%) เนื่องจากเครื่อง FT-IR นี้เป็นเครื่องลำแสงเดี่ยวจึงมีปัญหาเรื่องปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ หากอุณหภูมิสูงเกินไปจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง


Back to the top of this list



Chapter 2

วิธีการใช้เครื่องดูดความชื้นโดยทั่วๆ ไป

    ความชื้น คือ ปริมาณน้ำที่ผสมอยู่ในอากาศซึ่งมีค่าแตกต่างกันไป เมื่อต้องการดูดเอาปริมาณความชื้นออกจากห้องต้องพึ่งเครื่องดูดความชื้น เครื่องดูดความชื้นมีหลายแบบ แตกต่างกันตามความเหมาะสมของลักษณะงานและห้องปฏิบัติการ รูปด้านล่างเป็นเครื่องดูดความชื้นที่ใช้กับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ของศูนย์เครื่องมือฯ


                 

  

            รูปแสดงเครื่องดูดความชื้นที่ใช้อยู่ประจำ
      ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์/ทดสอบของศูนย์เครื่องมือฯ



วิธีการใช้เครื่องดูดความชื้นโดยทั่วๆ ไป
    1. เสียบปลั๊ก
    2. ครั้งแรกให้หมุนปุ่มควบคุมตามเข็มนาฬิกาไปที่ “MAX DRY” เครื่องจะทำงานต่อไปเรื่อยๆ
        - พัดลมจะเริ่มดูดความชื้นจากอากาศในห้อง ผ่านคอยล์ซึ่งจะกลั่นเอาความชื้นออกทำให้ได้อากาศแห้งและอุ่นผ่านออกมาทางตะแกรงด้านหน้า
        - ตั้งปุ่มควบคุมที่จุดนี้ 3-4 วัน คอยสังเกตความชื้นในบริเวณนั้นว่าแห้งไปบ้างหรือไม่ ถ้าเหงื่อหรือน้ำหยุดไหล และมีกลิ่นอับหายไปก็ให้หมุนปุ่มควบคุมทวนเข็มนาฬิกา จนกระทั้งถึงระดับความแห้งที่ต้องการ
        - ควรให้เครื่องทำงานต่อไปนานเท่าที่ยังมีความชื้นอยู่ในห้อง
    3. บนคอยล์จะมีละอองน้ำแข็งเกาะบางๆ เมื่อเริ่มให้เครื่องทำงานครั้งแรก แต่จะหายไปภายใน 60 นาที
        - ถ้าอากาศภายในห้องเย็นประมาณ 65องศาF (17องศาC) หรือต่ำกว่า จะเกิดละอองน้ำแข็งเกาะที่คอยล์ฉะนั้นควรหยุดเดินเครื่อง
    4. ครั้งแรกที่เครื่องทำงานจะดูดความชื้นเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งบริเวณนั้นแห้ง
    5. การที่เครื่องลดปริมาณความชื้นลง แสดงว่า เครื่องได้ทำงานตามหน้าที่ของมันแล้ว ทำให้บริเวณนั้นมีความชื้นระดับพอเหมาะ
    6. การทำงานของเครื่องเป็นอย่างไร ควรตัดสินด้วยการสังเกตจากกลิ่นของความชื้นมากกว่าปริมาณความชื้นที่ถูกกำจัดออกไปเป็นน้ำอยู่ในถังภายในเครื่อง
    7. ระบบควบคุมความชื้น (Humidistat) เพื่อให้เครื่องมีประสิทธิภาพ ประหยัด เครื่องจะทำงานอัตโนมัติเมื่อมีความชื้นมากเกินไปและจะหยุดทำงานเมื่อความชื้นลดลงถึงจุดที่ตั้งไว้ ปุ่มควบคุมนี้จะตั้งไว้ที่จุดใดก็ได้ระหว่าง OFF” และ “MAX DRY”
    8. ด้านหลังของเครื่องจะมีถังน้ำจุ แขวนอยู่สำหรับรองรับน้ำที่เกิดจากความชื้นในอากาศ โดยมีสวิตซ์ปิดอัตโนมัติเทื่อน้ำเต็ม เมื่อถังไม่มีน้ำเครื่องจะทำงานต่อไป สวิตซ์จะปิดเปิดตามระดับน้ำในถัง (เพื่อกันน้ำล้น) เมื่อน้ำมีปริมาณ ? ของถังเครื่องจะหยุดการทำงาน ถ้าต้องการปรับระดับน้ำในถังสูงต่ำให้หมุนสกรูที่กลางสปริงสแตนเลส ทวนเข็มนาฬิกาทีละ ? รอบ จนกระทั่งได้ระดับน้ำที่ต้องการ
    9. อาจเอาถังน้ำออกและต่อท่อยางไปยังปลายท่อที่เครื่อง เพื่อให้น้ำไหลทิ้งก็ได้


Back to the introduction




Chapter 3

การบำรุงรักษา
     เครื่องดูดความชื้นที่ใช้งานเป็นเวลานานแล้ว จะเกิดการสะสมของสิ่งสกปรกที่มากับอากาศและลงไปผสมกับน้ำในถังของเครื่อง หรือส่วนที่น้ำสัมผัส รวมทั้งจะเกาะติดกับขดคอยล์ความชื้น ซึ่งการสะสมของสิ่งสกปรกนั้นนอกจากจะทำให้สกปรกแล้ว ยังทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องเสื่อมลง สิ้นเปลืองพลังงานเพิ่มขึ้น เพื่อทำให้เครื่องดูดความชื้นมีประสิทธิภาพในการใช้งานเหมือนเดิม ย่อมต้องทำความสะอาด ทั้งนี้การทำความสะอาดเครื่องดูดความชื้นนั้น มีความยากลำบากและความซับซ้อนไม่เหมือนกัน ในการทำความสะอาด เพื่อให้การทำความสะอาดนั้นมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากที่สุด คือ การทำความสะอาดที่ทำให้เครื่องดูดความชื้นมีสภาพใกล้เคียงกับสภาพเดิมมากที่สุด ต้องใช้ต้นทุน ระยะเวลา และรบกวนเวลาการใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์และอุปกรณ์น้อยที่สุด

 การทำความสะอาดภายนอก
        ตัวตู้ภายนอก ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยา ขี้ผึ้งหรือยาขัดเฟอร์นิเจอร์ใดๆ ทำความสะอาดเช็ดถูตัวตู้ ใช้แต่ผ้าสะอาดไม่มีน้ำมันหรือผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดก็เพียงพอ ควรทำความสะอาดตะแกรงและขดคอยล์ความเย็น เมื่อเห็นว่าสกปรก โดยใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดตะแกรงให้ทั่ว ขดคอยล์ อากาศที่ผ่านขดคอยล์ความชื้นจะมีฝุ่นละอองเชื้อราปนมาด้วย ซึ่งจะมาเกาะพอกที่ขดคอยล์เป็นธรรมดาและจะถูกซะล้างไปจากคอยล์โดยน้ำที่เกาะคอยล์นี้เช่นกัน อย่างไรก็ดีนานๆ ผงฝุ่นละอองเหล่านี้อาจจับพอกหนาจึงจำเป็นต้องใช้แปรงอ่อนๆ ปัดความสะอาด ขณะที่ฝุ่นละอองเปียกและอ่อนตัวอยู่ ถ้าปล่อยทั้งไว้ให้แห้งแข็งตัวแล้วจะปัดทำความสะอาดยาก อาจต้องใช้น้ำช่วยถ้าจำเป็น ถ้าจำเป็นต้องล้างคอยล์ด้วยน้ำ ต้องระวังอย่าใช้น้ำมากจนเข้าไปในส่วนประกอบต่างๆ ที่มีไฟฟ้า ใช้ขวดน้ำพลาสติกบีบล้างหรือเข็มฉีดยาฉีดน้ำเพื่อควบคุมปริมาณน้ำไม่ให้ไปถูกส่วนประกอบที่เป็นไฟฟ้า อย่าใช้ท่อน้ำรดต้นไม้ฉีดเป็นอันขาด พัดลมภายในเครื่องดูดความชื้นได้รับการหล่อลื่นมาจากโรงงานแล้วไม่จำเป็นต้องหยอดน้ำมันบ่อยๆ

Back to the introduction



 




 การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

    เป็นข้อแนะนำการบำรุงรักษาเครื่องมือและส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่ผู้ใช้เครื่องมือสามารถตรวจสอบหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที ในกรณีที่เครื่องดูดความชื้นเกิดปัญหาขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการใช้เครื่องเป็นเวลานาน ถ้ามีปัญหาหรือเครื่องขัดข้องโปรดตรวจสอบก่อนเรียกช่าง เพื่อแก้ปัญหาและลดค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยตรวจสอบข้อบกพร่องง่ายๆ ดังนี้
1. ปัญหา เครื่องดูดความชื้นไม่ทำงาน
    สาเหตุ
    - เสียบปลั๊กไว้หรือไม่ หรือปลั๊กหลวม
    - ฟิวส์ขาดหรือสวิตซ์อัตโนมัติตัด
    - อากาศแห้งถึงระดับที่ตั้งไว้
    - น้ำเต็มถัง
    - สวิตซ์ ON-OFF ไม่ได้เปิด
    วิธีแก้ไข
    - เสียบปลั๊กให้แน่น
    - เปลี่ยนฟิวส์หรือสับสวิตซ์อัตโนมัติใหม่
    - เครื่องดูดความชื้นหยุดโดยอัตโนมัติเมื่อความชื้นถึงระดับที่ตั้งไว้
    - ถ้าต้องการให้อากาศแห้งมากก็ปรับปุ่มไปที่ตำแหน่ง MAX DRY
    - ถ้าน้ำเต็มถึงระดับเครื่องจะหยุดทำงานเองโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นต้องเทน้ำในถังทิ้ง แล้วเครื่องจะทำงานต่อ
    - เปิดสวิตซ์ ON-OFF

2. ปัญหา เครื่องดูดความชื้นทำงานตลอดเวลาไม่มีการหยุด
    สาเหตุ
    - หน้าต่างหรือประตูของห้อง เปิดไว้
    - บริเวณห้องใหญ่หรือกว้างมากเกินไป
    - อากาศไหลผ่านเครื่องดูดความชื้นตัน
    - เครื่องอาจจะติดตั้งหรือเริ่มเดินใหม่ๆ
    - ปุ่มปรับความชื้นตั้งอยู่สูงสุด
    วิธีแก้ไข
    - ปิดประตูหน้าต่างของห้องให้หมด
    - ดูขนาดของเครื่องว่าเล็กเกินไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากผู้แทนจำหน่ายหรือคู่มือของเครื่อง
    - ตะแกรงสกปรกทำความสะอาดตามข้อแนะนำบำรุงรักษา
    - ตั้งเครื่องดูดความชื้นไม่ถูกต้อง จะต้องตั้งเครื่องให้มีระยะห่างอย่างน้อยมีช่องว่างด้านหน้าและด้านหลังเครื่องไม่น้อยกว่า 3 ฟุต
    - เครื่องอาจจะเดินติดต่อกันถึง 4 อาทิตย์ โดยตั้งไว้ที่ตำแหน่ง MAX DRY ในระยะเดินเครื่องใหม่ๆ จนกว่าห้องจะแห้ง
    - เเครื่องดูดความชื้นจะไม่ตัดถ้าตั้งปุ่มปรับความชื้นไว้ตำแหน่งสูงสุด

3. ปัญหา เครื่องทำงานแต่ห้องไม่แห้งพอ
    สาเหตุ
    - ปุ่มตั้งความชื้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำไป
    - เพิ่งติดตั้งเครื่องดูดความชื้นใหม่ๆ
    - ตั้งเครื่องไม่ถูกที่
    - อุณหภูมิห้องเย็นเกินไป

    วิธีแก้ไข
    - ตั้งปุ่มปรับความชื้นให้สูงขึ้น
    - ตั้งปุ่มปรับความชื้นให้อยู่ในตำแหน่งสูงสุดในระยะ 3-4 อาทิตย์แรก อาจจะใช้เวลานานในระยะนี้
    - เครื่องดูดความชื้นจะไม่ดูดความชื้นจากบริเวณที่ปิดกั้นหรือมุมอับ เช่น มีผ้าม่าน ผนังกั้นจากที่เครื่องดูดความชื้นตั้งอยู่
    - เครื่องดูดความชื้นจะไม่ทำงาน ถ้าอุณหภูมิในห้องต่ำกว่า 65องศาฟาเรนไฮท์ (17องศาเซลเซียส) จะเห็นมีน้ำแข็งเกาะที่คอยล์ปิดสวิตซ์เครื่องดูดความชื้นให้น้ำแข็งละลายจึงเปิดสวิตซ์ใหม่และอุณหภูมิต้องสูงกว่า 65องศาฟาเรนไฮท์ (17องศาเซลเซียส)

4. ปัญหา เครื่องดูดความชื้นในอากาศน้อยลง
    สาเหตุ
    - เนื่องจากความชื้นในอากาศมีน้อย

    วิธีแก้ไข
    - แสดงว่าปกติ ถ้าระดับความชื้นในอากาศลดลงถึงที่ต้องการแล้ว


Back to the top of this list

5. ปัญหา มีน้ำแข็งเกาะที่คอยล์
    สาเหตุ
    - เครื่องเพิ่งเดิน
    - อากาศในห้องเย็นเกินไป
    - อากาศไหลผ่านคอยล์ไม่เพียงพอเพราะตัน
    วิธีแก้ไข
    - เป็นของธรรมดาที่มีน้ำแข็งเกาะที่คอยล์ในระยะแรก น้ำแข็งจะหายไปภายใน 60 นาที น้ำแข็งเกาะเพราะ ฟรีออนซ์ไหลผ่านคอยล์
    - เครื่องดูดความชื้นจะไม่ทำงาน ถ้าอุณหภูมิในห้องต่ำกว่า 65องศาฟาเรนไฮท์ (17องศาเซลเซียส) จะเห็นมีน้ำแข็งเกาะที่คอยล์ปิดสวิตซ์เครื่องดูดความชื้นให้น้ำแข็งละลายจึงเปิดสวิตซ์ใหม่และอุณหภูมิต้องสูงกว่า 65องศาฟาเรนไฮท์ (17องศาเซลเซียส)
    - ดูข้อการบำรุงรักษา

6. ปัญหา มีน้ำในถังน้อย
    สาเหตุ
    - อากาศแห้งถึงระดับที่ตั้งไว้
    - อากาศแห้งเพียงพอ
    - อากาศไหลผ่านเครื่องดูดความชื้นตัน
    - อุณหภูมิห้องต่ำเกินไป

    วิธีแก้ไข
    - เครื่องดูดความชื้นหยุดโดยอัตโนมัติเมื่อความชื้นถึงระดับที่ตั้งไว้
    - ถ้าต้องการให้อากาศแห้งมากก็ปรับปุ่มไปที่ตำแหน่ง MAX DRY
    - ความชื้นจะถูกดูดน้อยลงเมื่ออากาศแห้ง
    - ตะแกรงสกปรกทำความสะอาดตามข้อแนะนำบำรุงรักษา
    - ตั้งเครื่องดูดความชื้นไม่ถูกต้อง จะต้องตั้งเครื่องให้มีระยะห่างอย่างน้อยมีช่องว่างด้านหน้าและด้านหลังเครื่องไม่น้อยกว่า 3 ฟุต
    - เครื่องดูดความชื้นจะไม่ทำงาน ถ้าอุณหภูมิในห้องต่ำกว่า 65องศาฟาเรนไฮท์ (17องศาเซลเซียส) จะเห็นมีน้ำแข็งเกาะที่คอยล์ปิดสวิตซ์เครื่องดูดความชื้นให้น้ำแข็งละลายจึงเปิดสวิตซ์ใหม่และอุณหภูมิต้องสูงกว่า 65องศาฟาเรนไฮท์ (17องศาเซลเซียส)

7. ปัญหา น้ำเต็มถังในเครื่องดูดความชื้น
    สาเหตุ
    - - เครื่องได้ดูดความชื้นในอากาศเพียงพอจนน้ำเต็มถัง

    วิธีแก้ไข
    - - เทน้ำทิ้งแล้วใส่ถังกลับที่เดิม


8. ปัญหา น้ำล้นถัง
    สาเหตุ
    - ใส่ถังไม่เข้าที่
    - สปริงยึดถังปรับไม่ถูก

    วิธีแก้ไข
    - ใส่ถังให้ถูกที่
    - ปรับสปริงยึดถังให้ถูกต้องตามคำแนะนำวิธีใช้ข้างต้น

9. ปัญหา เสียงดังจากพัดลมหรือเสียงกระทบดัง
    สาเหตุ
    - อากาศไหลผ่านเครื่อง
    - คอยล์ด้านหลังอาจหลวมกระทบตัวตู้ด้านหลัง
    วิธีแก้ไข
    - เป็นเสียงปกติธรรมดา
    - ตรวจดูพลาสติกยึดคอยล์


                

Back to the top of this list






      Copyright (c) Saichol pimmongkol 2005