กล้องจุลทรรศน์ :

ชนิดของกล้องจุลทรรศน์
     เครื่องมือที่ใช้ขยายขอบเขตของการเห็นอีกชนิดหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และใช้กันมานานพอๆ กับกล้องโทรทรรศน์ ได้แก่ กล้องจุลทรรศน์
     กล้องสองชนิดนี้มีที่ใช้แตกต่างกันไป แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันในบางเรื่องกล้องโทรทรรศน์ใช้สำหรับส่องดูวัตถุไกลๆ ให้เห็นใกล้ ส่วนกล้องจุลทรรศน์ใช้สำหรับส่องดูดวัตถุเล็กๆ ให้เห็นใหญ่ ทั้งกล้องโทรทรรศน์ และกล้องจุลทรรศน์ต่างมีเลนส์ใกล้วัตถุ สำหรับทำให้เกิดภาพ และต้องมีเลนส์อีกเลนส์หนึ่งสำหรับขยายเลนส์ชนิดนี้อยู่ใกล้ตา จึงเรียกว่า เลนส์ใกล้ตา (eyepiece)



- กล้องจุลทรรศน์แบบเลนส์ประกอบ
(Compound microscope)


                     

     กล้องชนิดนี้ใช้แหล่ง กำเนิดแสงจากหลอดไฟ ภาพที่เห็นจากกล้อง ชนิดนี้มี 2 มิติ คือกว้าง กับยาว กล้องจุลทรรศน์ ส่วนใหญ่ที่ใช้กันหรือที่พูดถึงกันคือ กล้อง ประเภทนี้นั่นเอง กล้องประเภทนี้สามารถใช้ดู สิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวได้ กล้องนี้มีกำลัง ขยายสูงแต่มี resolution ต่ำ



- กล้องผ่าตัดหรือกล้องสเตอริโอ
(Dissection or stereoscope)


                     

     กล้องชนิดนี้เป็นกล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบที่ทำให้เกิดภาพสามมิติ ใช้ในการศึกษาวัตถุที่มีขนาดใหญ่ แต่ตาเปล่าไม่สามารถแยกรายละเอียดได้จึงต้องใช้กล้องชนิดนี้ช่วยขยาย กล้องชนิดนี้ใช้แหล่ง กำเนิดแสงจากหลอด ไฟ ภาพที่ได้จะเป็น 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และลึก กล้องชนิดนี้ ใช้ผ่าตัดหรือดูสิ่งมี ชีวิตที่มีขนาดเล็กๆ ได้ แต่ก็มีข้อจำกัดที่มีกำลังขยายต่ำกล้องชนิดนี้มีข้อแตกต่างจากกล้องทั่วๆไปคือ
     1. ภาพที่เห็นเป็นภาพเสมือนมีความชัดลึกและเป็นภาพสามมิติ
     2. เลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยายต่ำ คือ น้อยกว่า 10 เท่า
     3. ใช้ศึกษาได้ทั้งวัตถุโปร่งแสงและวัตถุทึบแสง
     4. ระยะห่างจากเลนส์ใกล้วัตถุกับวัตถุที่ศึกษาจะอยู่ในช่วง 63-225 มิลลิเมตร



- กล้องชนิดคอนโฟคัล
(Confocal microscope)

                      

     กล้องชนิดนี้ใช้แหล่ง กำเนิดแสงจากเลเซอร์ สามารถเลือกความยาว คลื่นให้เหมาะกับวัตถุได้ ภาพที่ได้จากกล้อง ประเภทนี้สามารถดูได้ ผ่านจอคอมพิวเตอร์

 

- กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ชนิดส่องกราด
Scanning Electron Microscope (SEM)

                                

     กล้องชนิดนี้ใช้แหล่ง กำเนิดแสงจาก อิเล็กตรอน ภาพที่ได้ มี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และลึก กล้องชนิดนี้ มีกำลังขยายสูง และมี resolution สูง และภาพที่ได้จาก กล้องจุลทรรศน์นี้ จะเป็นภาพขาวดำ


- กล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนชนิด ส่องผ่าน
Transmission Electron Microscope (TEM)

                      

     กล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนชนิดนี้ ให้ภาพ 2 มิติ ตัวอย่างที่จะใช้ดูกับ กล้องชนิดนี้จะต้อง มีความบางมากที่สุด เพื่อให้แสง อิเล็กตรอนผ่านได้ กล้อง TEM มีกำลัง ขยายสูง และมี resolution สูง

      Copyright (c) Saichol pimmongkol 2005