ตัวอย่างปกภาษาไทย

 

 

 

 

การถอดรหัสแบบวนซ้ำโดยอาศัยการตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์

สำหรับสัญญาณคิวพีเอสเคที่เกิดเรย์ลีเฟดดิงที่มีสหสัมพันธ์กัน



 

 

 

 

 

 

 

นางสาวจันทิมา ศรีเตียเพ็ชร

 

 

 

 

 

 

 

 

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีการศึกษา  2545
ISBN  974-17-1653-2

ลิขสิทธิ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


 

 

 

 

 

ตัวอย่างปกภาษาอังกฤษ

 

 


 

 

ITERATIVE DECODING USING MULTIPLE SYMBOL DIFFERENTIAL

DETECTION OF CORRELATED RAYLEIGH FADING QPSK

 

 

 

 

 

 

 

 

Miss Chantima Sritiapetch

 

 

 

 

 

 

 

 

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Degree of Master of Engineering in Electrical Engineering
Department of Electrical Engineering
Faculty of Engineering
Chulalongkorn University
Academic Year 2002

ISBN 974-17-1653-2

 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างหน้าอนุมัติภาษาไทย

 

 

 
 


 






 

 

 

 

 

 

 

หัวข้อวิทยานิพนธ์

การถอดรหัสแบบวนซ้ำโดยอาศัยการตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์สำหรับสัญญาณคิวพีเอสเคที่เกิดเรย์ลีเฟดดิงที่มีสหสัมพันธ์กัน

 
โดย นางสาวจันทิมา ศรีเตียเพ็ชร
สาขาวิชา วิศวกรรมไฟฟ้า
อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวิทย์ นาคพีระยุทธ
     
          

                              คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต

 

          ....................................................  คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

          (ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

 

  .............................................................ประธานกรรมการ

  (ศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ)

 

  ..............................................................อาจารย์ที่ปรึกษา

   (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวิทย์ นาคพีระยุทธ)

 

   ...........................................................กรรมการ

    (รองศาสตราจารย์ ดร.วาทิต เบญจพลกุล)

 

   ............................................................ กรรมการ

 (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ)

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างหน้าอนุมัติภาษาอังกฤษ

 
   

 







 

 

 

 

 

 

 

     

 

 
Thesis Title

InteractiveDdecoding Using Multiple Symbol Differential Detection of Correlated Rayeigh Fading  QPSK

By Chantima  Sritaipetch
Field of Study Electrical Engineering
Thesis Advisor Asst. Prof. Suvit Nakpeerayuth
   
 
 

                 Accepted by the Faculty of Engineering, Chulalongkorn University in Partial Fulfillment of the Requirements for the Master ’s Degree

 

                                          .......................................................... Dean of Faculty of Engineering

                                  (Professor Somsak Panyakaew,Dr.Eng. )

 

THESIS COMMITTEE

 

                                      .............................................................. Chairman

                                 (Professor Prasit  Prapinmongkolkran)

 

                                    .............................................................. Thesis Advisor

                          (Assistant Professor Suvit  Nakpeerayuth,Ph.D.)

 

                                    ...............................................................Member

                            (Assocoate Professor Vatit Benjapolkul, Ph.D.)

 

                                    ................................................................Member   

                    (Assistant Professor Lunchakorn Vuthisitkulkit, Ph.D.)

 

 

     

 

                            

   

 

 

 

ตัวอย่างบทคัดย่อภาษาไทย

 

 
   

ง 

 

จันทิมา ศรีเตียเพ็ชร : การถอดรหัสแบบวนซ้ำโดยอาศัยการตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์สำหรับสัญญาณคิวพีเอสเคที่เกิดเรย์ลีเฟดดิงที่มีสหสัมพันธ์กัน.(ITERATIVE DECODING USING MULTIPLE SYMBOL DIFFERENTIAL DETECTION OF CORRELATED RAYLEIGH FADING QPSK)  อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.   สุวิทย์ นาคพีระยุทธ, 87 หน้า. ISBN 974-17- 1653-2.

                 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอวิธีการปรับปรุงสมรรถนะของระบบถอดรหัสเทอร์โบ ที่ใช้ตัวตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์สำหรับสัญญาณคิวพีเอสเคที่เกิดเรย์ลีเฟดดิงที่มีสหสัมพันธ์กัน ตัวตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์ทำหน้าที่ประมาณข่าวสารช่องสัญญาณ และส่งข่าวสารนี้ให้กับเครื่องถอดรหัสเทอร์โบเพื่อใช้ในกระบวนการถอดรหัส นอกจากนี้เครื่องถอดรหัสเทอร์โบยังถูกออกแบบให้ส่งข่าวสารกลับไปให้ตัวตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์ ทำให้การประมาณช่องสัญญาณแม่นยำขึ้นในแต่ละรอบของการถอดรหัสและส่งผลให้กระบวนการถอดรหัสมีประสิทธิภาพดีขึ้น  แนวความคิดหลักที่ใช้ในการปรับปรุงสมรรถนะของระบบถอดรหัสเทอร์โบที่ใช้ตัวตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์ คือ  การเสนอให้ภาคส่งแยกส่งบิตข้อมูลและบิตรหัสที่คู่กันไปในสัญญาณคิวพีเอสเคต่างสัญลักษณ์กัน เพื่อหลีกเลี่ยงกรณีที่บิตข้อมูลและบิตรหัสจะเสียหายไปพร้อมกันเมื่อผ่านช่องสัญญาณแบบเฟดดิง ทั้งนี้ระบบที่เสนอนี้จำเป็นจะต้องวิเคราะห์วิธีการถอดรหัสขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกัน โดยที่เครื่องถอดรหัสเทอร์โบยังคงสามารถใช้ข่าวสารช่องสัญญาณที่คำนวณมาจากตัวตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์ได้  ผลจากการจำลองระบบแสดงให้เห็นว่า ระบบถอดรหัสที่เสนอสามารถปรับปรุงสมรรถนะของระบบถอดรหัสแบบเดิมให้ดีขึ้นได้  ทั้งในกรณีที่อัตราเร็วเฟดดิงเท่ากับ 0.01 0.125 และ 0.200  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ  เฟดดิงมีการเปลี่ยนแปลงช้า ๆ ที่อัตราเร็วเฟดดิงเท่ากับ 0.01 ระบบถอดรหัสที่เสนอสามารถลดอัตราความผิดพลาดของบิตลงได้ถึง 3 ระดับขนาด

 

 

        

 

 

 

 

 

ภาควิชา  วิศวกรรมไฟฟ้า  ลายมือชื่อนิสิต...........................................
สาขาวิชา วิศวกรรมไฟฟ้า ลายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา...........................
ปีการศึกษา 2545  

 

 
 

 

   

ตัวอย่างบทคัดย่อภาษาอังกฤษ

 

 
 

 

 

# # 4370246021 : MAJOR   ELECTRICAL ENGINEERING
KEY WORD:  ITERATIVE DECODING / MULTIPLE SYMBOL DIFFERENTIAL DETECTION / RAYLEIGH FADING
 

CHANTIMA SRITIAPETCH : ITERATIVE DECODING USING MULTIPLE SYMBOL DIFFERENTIAL DETECTION OF CORRELATED RAYLEIGH FADING QPSK. THESIS ADVISOR : ASST.PROF.SUVIT NAKPEERAYUTH, 87 pp. ISBN 974-17-1653-2.

           In this thesis, an improvement strategy of a turbo decoding system with Multiple Symbol Differential Detector (MSDD) of correlated Rayleigh fading QPSK is proposed. The main task of MSDD is to estimate the channel states and send to turbo decoder. In addition, MSDD can also utilize the information output from turbo decoder. Due to the information exchange between MSDD and turbo decoder, the channel estimation can be improved with each decoding iteration resulting in better performance of decoding process. The main idea in improving the performace of turbo decoding system with MSDD is to transmit data bit and associated coded bit into different QPSK symbols in order to avoid the case that both bits are corrupted over fading channel. With this proposed system, the new decoding scheme has to be derived accordingly. However, the channel information calculated from MSDD can still be used by turbo decoder. Based on the results from computer simulations, it is found that the performance of the proposed decoding system is better than that of the original decoding system for fading rate of 0.01  0.125 and 0.200. Especially for slow fading at fading rate equals to 0.01, the proposed decoding system can lower the bit error rate down by 3 orders of magnitude.

 

 

Department        Electrical Engineerin Student’ssignatur....................
Field of study      Electrical Engineering  Advisor’s signature..................
Academic year    2002  

 
 

 

   

 

 

 

ต้วอย่างกิตติกรรมประกาศ

 
     
 
   

กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยความช่วยเหลือของอาจารย์สุวิทย์ นาคพีระยุทธ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ซึ่งท่านได้ให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการทำวิจัย อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานอีกด้วย  ขอขอบคุณ คุณพิสิฐ วนิชชานันท์ สำหรับข้อแนะนำและความช่วยเหลือในทุก ๆ ด้านในการทำวิจัย นอกจากนี้ขอขอบคุณเพื่อน ๆ ในห้องปฏิบัติการไฟฟ้าสื่อสารทุกคนที่เป็นกำลังใจ และให้ความช่วยเหลือในการทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้

สุดท้ายนี้ ผู้วิจัยขอขอบพระคุณบิดามารดา และครอบครัว ซึ่งเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนคอยช่วยเหลือและให้กำลังใจผู้วิจัยเสมอมาจนสำเร็จการศึกษา

                                    

                                                                                                                                        จันทิมา ศรีเตียเพ็ชร

 

 

 

 

 

 

 
 
     
 

 

ตัวอย่างหน้าสารบัญ

 
 
 
 

 

สารบัญ

 

บทคัดย่อภาษาไทย............................................................................................................... ง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ........................................................................................................... จ

กิตติกรรมประกาศ............................................................................................................... ฉ

สารบัญ.................................................................................... .......................................... ช

สารบัญตาราง....................................................................................................................  ญ

สารบัญรูป..........................................................................................................................  ฎ

บัญชีคำศัพท์....................................................................................................................... ฑ

บทที่

1  บทนำ..................................................................................................................   1     

         1.1  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา.........................................................
 .  1     

1.2  แนวทางของงานวิจัย
.....................................................................................   4     

1.3  วัตถุประสงค์ของการวิจัย
...............................................................................   4     

1.4  ขอบเขตของวิทยานิพนธ์
................................................................................   5     

1.5  ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
..........................................................................   5     

1.6  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ............................................................................   5     

2   โครงสร้างของภาคส่ง.....................................................................................   6     

          2.1  การเข้ารหัสเทอร์โบ..................................................................................   6     

                 2.1.1 เครื่องเข้ารหัสย่อย.............................................................................  8    

                 2.1.2 ตัวสลับลำดับการเข้ารหัส.................................................................  10     

          2.2  การจับคู่สัญลักษณ์....................................................................................  11    

          2.3  การสลับลำดับช่องสัญญาณ.......................................................................  12    

          2.4  การเข้ารหัสเชิงผลต่าง.............................................................................  14    

3   ช่องสัญญาณ....................................................................................................  16    

          3.1  ช่องสัญญาณแบบเฟดดิง............................................................................. 16    

                 3.1.1 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเกิดเฟดดิง....................................................  17   

                 3.1.2 รูปแบบของเฟดดิง...........................................................................  17   

                          3.1.2.1 ผลของเฟดดิงเนื่องจากการแผ่แบบประวิงเวลา......................... 19   

                         3.1.2.2 ผลของเฟดดิงเนื่องจากการแผ่แบบดอปเปลอร์........................ .  19   

3.2  แบบจำลองของช่องสัญญาณ.............................................................................. 20

           3.3  การจำลองช่องสัญญาณโดยใช้แบบจำลองของ Jakes...................................  22

            3.4  ผลที่ได้จากการจำลองช่องสัญญาณ.................................................................  23

4   โครงสร้างของภาครับ........................................................................................  26

          4.1  การประมาณข่าวสารช่องสัญญาณ.................................................................  26

                 4.1.1 การตรวจจับแบบร่วมนัย......................................................................  26

                 4.1.2 การตรวจจับแบบไม่ร่วมนัย..................................................................  27

                          4.1.2.1 การตรวจจับเชิงผลต่าง...........................................................  27

                          4.1.2.2 การตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์..............................  28

          4.2  การถอดรหัสเทอร์โบ....................................................................................  31

                 4.2.1 การถอดรหัสโดยใช้ขั้นตอนวิธี BCJR.................................................. 32

                 4.2.2 ข่าวสารเอ็กซ์ทรินซิก............................................................................ 35

5   ระบบที่เสนอ........................................................................................................  37

          5.1  ภาคเข้ารหัสที่เสนอ......................................................................................  37

          5.2  ภาคถอดรหัสที่เสนอ....................................................................................  38

                 5.2.1 การคำนวณค่าความน่าจะเป็นหลัง.......................................................  38

                          5.2.1.1 ค่าความน่าจะเป็นหลังของบิตข้อมูล ..................................  40

6   ผลการทดสอบ.....................................................................................................  44

          6.1  การจำลองระบบ...........................................................................................  44

          6.2  ผลการทดสอบสมรรถนะของระบบ...............................................................  45

                 6.2.1 สมรรถนะของระบบถอดรหัสสำหรับกรณีการตรวจจับแบบร่วมนัย.........  45

                 6.2.2 สมรรถนะของระบบถอดรหัสสำหรับกรณีการตรวจจับแบบไม่ร่วมนัย...... 50

          6.3  ผลการทดสอบผลกระทบจากการเปลี่ยนค่าพารามิเตอร์...................................  58

                           6.3.1 ผลของจำนวนรอบในการถอดรหัสแบบวนซ้ำที่มีต่อสมรรถนะของ

                          ระบบถอดรหัส...........................................................................  58

                 6.3.2 ผลของขนาดของบล็อกข้อมูลที่มีต่อสมรรถนะของระบบถอดรหัส........... 59

                 6.3.3 ผลของตัวสลับลำดับบิตรหัสที่มีต่อสมรรถนะของระบบถอดรหัส........    61
 

7   บทสรุปและข้อเสนอแนะ.................................................................................... 66

          7.1  บทสรุป.....................................................................................................  66

          7.2  ข้อเสนอแนะ...............................................................................................  68

รายการอ้างอิง............................................................................................................... 69

ภาคผนวก.....................................................................................................................  71

       ภาคผนวก ก............................................................................................................  72

       ภาคผนวก ข.............................................................................................................. 74

       ภาคผนวก ค.............................................................................................................. 80

ประวัติผู้เขียนวิทยานิพนธ์.....................................................................................   87 

 

 

หมายเหตุ  ถ้าหน้าสารบัญมีมากกว่า 1 หน้า หน้าต่อไปให้พิมพ์คำว่า
 สารบัญ (ต่อ) ภาษาอังกฤษใช้คำว่า CONTENTS (Continued) ที่กึ่งกลางหน้ากระดาษด้านบน
        

 

 
 
 
     
  ตัวอย่างการพิมพ์เนื้อหา  
 
 

 

 

บทที่  1
 
(เว้นระยะห่าง 1 บรรทัดทุกบท)

บทนำ


 
1.1    ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การสื่อสารแบบไร้สายเข้ามามีบทบาทในโลกยุคปัจจุบันมากขึ้น ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกพัฒนาให้สามารถส่งสัญญาณเสียง สัญญาณภาพ รวมไปถึงรองรับบริการต่าง ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคต ปัญหาสำคัญสำหรับการสื่อสารในระบบโทรคมนาคมคือสภาพแวดล้อมของตัวกลางที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้สัญญาณที่ปลายทางได้รับผิดเพี้ยนไปจากสัญญาณจริงที่ถูกส่งและทำให้การรับส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำข้อมูลดิจิตอลไปผ่านกระบวนการเข้ารหัสช่องสัญญาณ (channel coding) ก่อนที่จะส่งออก เพื่อให้การรับส่งข้อมูลมีความผิดพลาดน้อยลงและอยู่ในระดับที่ยอมรับได้

           การเข้ารหัสช่องสัญญาณเป็นกระบวนการที่ภาคส่งเพิ่มบิตพิเศษเข้าไปกับบิตข้อมูล เพื่อช่วยให้ภาครับสามารถตรวจจับหรือแก้ไขบิตบางบิตที่ผิดพลาดระหว่างการส่งผ่านช่องสัญญาณได้ ทั้งนี้ความสามารถในการแก้ไขบิตที่ผิดพลาดขึ้นอยู่กับขนาดของบิตรหัสที่เพิ่มเข้าไป อย่างไรก็ตามเมื่อจำนวนบิตรหัสเพิ่มขึ้น ความซับซ้อนและเวลาที่ใช้ในการถอดรหัสก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยจนไม่สามารถกระทำได้ในทางปฏิบัติ การศึกษาและค้นคว้ารหัสที่มีสมรรถนะสูงแต่มีความซับซ้อนในกระบวนการถอดรหัสต่ำจึงเกิดขึ้น

           รหัสเทอร์โบ (Turbo code) เป็นกรรมวิธีการเข้าและถอดรหัสช่องสัญญาณที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1993 โดย Claude Berrou, Alain Glavieux และ Punya Thitimajshima [1] และได้รับความสนใจจากนักวิจัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถจัดการกับปัญหาความผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะที่มีกระบวนการเข้าและถอดรหัสที่ไม่ซับซ้อน งานวิจัยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของรหัสเทอร์โบในการส่งสัญญาณผ่านช่องสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวนแบบเกาส์ (Gaussian channel) [1-2] โดยรหัสเทอร์โบสามารถให้อัตราความผิดพลาดของบิต (bit error rate : BER) ที่ต่ำ แม้ว่าจะอยู่ในสถานะที่อัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (signal-to-noise ratio : SNR) มีค่าน้อยก็ตาม นักวิจัยจึงสนใจถึงการนำรหัสเทอร์โบมาประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารระบบดิจิตอลในช่องสัญญาณแบบเฟดดิง (fading channel) งานวิจัยในช่วงแรกศึกษาโดยจำกัดให้ช่องสัญญาณเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ กล่าวคือ กำหนดให้ระบบรับทราบแอมพลิจูด (amplitude) และเฟส (phase) ของ เฟดดิงอย่างถูกต้อง หรือกำหนดให้ช่องสัญญาณเกิดเฟดดิงที่ไม่มีสหสัมพันธ์กัน (uncorrelated fading) ต่อมาการศึกษาได้ขยายออกไปในกรณีช่องสัญญาณที่เกิดเรย์ลีเฟดดิงที่มีสหสัมพันธ์กัน (correlated Rayleigh fading channel) เช่น ในงานวิจัยอ้างอิง [3] ซึ่งพิจารณาทั้งในกรณีที่รู้ และไม่รู้แอมพลิจูดของเฟดดิง แต่ยังคงสมมติให้เฟสเป็นค่าที่รับทราบและมีค่าคงที่ในช่วงสัญลักษณ์ช่วงหนึ่ง ๆ สมมติฐานดังกล่าวนำมาใช้ได้เฉพาะในกรณีเฟดดิงแบบช้า (slow fading) เท่านั้น สำหรับกรณีเฟดดิงแบบเร็ว (fast fading) เฟสจะเปลี่ยนแปลงเร็วมากดังนั้นจึงยากที่จะตรวจจับได้

          

 

 
 
     
 
 

 

2

           เป็นที่ทราบกันดีว่าเฟดดิงทำให้การส่งสัญญาณในระบบดิจิตอลมีประสิทธิภาพด้อยลงไปถึงแม้จะเพิ่มอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน ก็ไม่ทำให้อัตราความผิดพลาดของบิตลดลงได้ เกิดเป็นค่าพื้นของความผิดพลาดขึ้น (error floor) [4]  และเมื่อเฟดดิงมีความเร็วเพิ่มขึ้น       ค่าพื้นของความผิดพลาดก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยเนื่องจากเฟดดิงมีผลทำให้สัญญาณที่ภาครับได้รับมีความผิดเพี้ยนไป ทั้งในแง่ของแอมพลิจูดที่ถูกลดทอนและเฟสที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัญญาณที่ถูกมอดูเลตทางเฟส หรือที่เรียกว่า สัญญาณ M-PSK (M-ary Phase Shift Keying) ข่าวสารของสัญญาณจะถูกเข้ารหัสให้อยู่ในรูปของเฟสของสัญญาณพาห์ (carrier signal) ดังนั้นเพื่อให้ได้สมรรถนะที่ดีที่สุด ภาครับจำเป็นจะต้องมีการซิงโครไนซ์เฟส (phase synchronization) ที่แม่นยำ เพื่อใช้ตรวจหาสัญญาณที่ถูกต้องที่ถูกส่งมา วิธีการเช่นนี้เรียกว่า การตรวจจับแบบร่วมนัย (coherent detection) ซึ่งมีความซับซ้อนสูง เนื่องจากภาครับต้องมีความสามารถในการติดตามเฟสของสัญญาณพาห์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ ทั้งนี้ในระบบสื่อสารไร้สายส่วนใหญ่ ภาครับไม่สามารถจะรับทราบเฟสที่ถูกต้องของสัญญาณพาห์ได้เลย วิธีการนี้จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้ในทางปฏิบัติ เทคนิคการแทรกสัญลักษณ์ไพลอต (pilot symbol insertion) เข้าไปในชุดลำดับข้อมูลอาจช่วยลดปัญหาข้างต้นได้บ้าง แต่ระบบก็ต้องสูญเสียพลังงานและแบนด์วิดท์ (bandwidth) บางส่วนไป

          วิธีการที่นำมาใช้แทนการตรวจจับแบบร่วมนัย (coherent detection) คือ การตรวจจับแบบไม่ร่วมนัย (noncoherent detection) ขั้นตอนหนึ่งที่นิยมใช้คือการเข้ารหัสเชิงผลต่าง (differential encoding) ที่ภาคส่งหลังจากที่สัญญาณถูกมอดูเลตทางเฟสแล้ว วิธีนี้ทำให้ข่าวสารของสัญญาณถูกเข้ารหัสอยู่ในผลต่างระหว่างเฟสของสัญลักษณ์ที่อยู่ติดกัน ทางภาครับสามารถตรวจจับข่าวสาร โดยการหาผลต่างระหว่างเฟสของสัญลักษณ์ก่อนหน้าและสัญลักษณ์ปัจจุบันที่รับได้ เรียกวิธีการนี้ว่า การตรวจจับเชิงผลต่าง (differential detection)    จะเห็นว่าการตรวจจับเชิงผลต่างอาศัยช่วงสังเกตการณ์ (observation interval) เพียงสองสัญลักษณ์เท่านั้น และไม่ต้องการการซิงโครไนซ์สัญญาณพาห์อีกต่อไป การตรวจจับเชิงผลต่างจึงมีความซับซ้อนต่ำกว่าการตรวจจับแบบร่วมนัยมาก งานวิจัยเกี่ยวกับการตรวจจับเชิงผลต่างได้แก่ งานวิจัยอ้างอิง [5] ซึ่งนำตัวตรวจจับเชิงผลต่างมาใช้ร่วมกับการถอดรหัสเทอร์โบ ในช่องสัญญาณที่เกิดเรย์ลีเฟดดิงแบบเร็วที่มีสหสัมพันธ์กัน (correlated fast Rayleigh fading channel) เทคนิคดังกล่าวทำให้อัตราความผิดพลาดของบิต (bit error rate : BER) และอัตราความผิดพลาดของบล็อก (block error rate :BKER) ต่ำกว่าการใช้รหัสคอนโวลูชัน (convolutional code) อย่างไรก็ดี เนื่องจากการตรวจจับเชิงผลต่างอาศัยช่วงสังเกตการณ์เพียง 2 สัญลักษณ์ในการประมาณเฟสที่ผิดพลาด ผลที่ได้จึงแย่กว่าการตรวจจับแบบร่วมนัย ทำให้เกิดเป็นข้อด้อยของการตรวจจับแบบไม่ร่วมนัยขึ้น (noncoherence penalty) นอกจากนี้เมื่ออัตราเร็วเฟดดิง (fading rate) เพิ่มขึ้น ตัวตรวจจับเชิงผลต่างก็ไม่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของเฟสที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้อีกต่อไป ถึงแม้จะเพิ่มจำนวนรอบของการถอดรหัสเทอร์โบก็ไม่ทำให้สมรรถนะดีขึ้นได้

          การตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์ (multiple symbol differential detection : MSDD) จึงถูกเสนอขึ้นเพื่อปรับปรุงสมรรถนะของการตรวจจับเชิงผลต่างแบบเดิม โดยการเพิ่มช่วงสังเกตการณ์ของสัญลักษณ์ที่รับได้ที่ภาครับเป็นมากกว่า 2 สัญลักษณ์ ทำให้เครื่องรับสามารถประมาณช่องสัญญาณได้แม่นยำมากขึ้น งานวิจัยที่ผ่านมา [6-12] ชี้ให้เห็นว่าการตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์ มีผลทำให้ค่าพื้นของความผิดพลาดลดลง เนื่องจากการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของเฟสดีขึ้น พร้อมทั้งยังช่วยลดจุดด้อยของเครื่องรับแบบไม่ร่วมนัยที่จำเป็นต้องใช้อัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนสูงกว่าเครื่องรับแบบร่วมนัยได้อีกด้วย

 

 

 
     
 
     
 

 

ตัวอย่างการเขียนรายการอ้างอิง

 
 
 

ตัวอย่าง การเขียนรายการอ้างอิง แบบนาม-ปีและแบบเชิงอรรถ

แบบที่ 1

ผู้แต่งชื่อหนังสือเล่มที่หรือจำนวนเล่ม (ถ้ามี).  ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).  ชื่อชุดหนังสือและลำดับที่ (ถ้ามี).  สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ปีพิมพ์.

 

 

ภาษาไทย

ขจร สุขพานิช. ฐานันดรไพร่. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ  ประสานมิตร,  2519.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. รวมบทความวิชาการด้านเศรษฐกิจและสังคมกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.  2519.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะรัฐศาสตร์ แผนกวิชาการปกครอง รายงานการสัมมนาเรื่องปัญหาของรัฐวิสาหกิจไทยกรุงเทพมหานคร แผนกวิชาการปกครองคณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  2518.

ชาญวิทย์  เกษตรศิริ  และ  สุชาติ  สวัสดิศรีบรรณาธิการ ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทยกรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น,  2519.

เชิดชาย  เหล่าหล้า สังคมวิทยาชนบทพิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์แพร่พิทยา,  2519.

เติม  วิภาคย์พจนกิจ ประวัติศาสตร์อีสาน.  2  เล่มพิมพ์ครั้งที่ 2.  พระนคร สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,  2515.

แน้ชจอร์ชวอลดอร์ฟแดนและ  ไรซ์โรเบิร์ต  อี มหาวิทยาลัยกับชุมชนเมือง แปลโดย  อัปสร ทรัยอัน  และคนอื่นๆ กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์แพร่พิทยา,  2518.

ประชาสัมพันธ์กรม รวมบทความเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศลาวพระนคร กรมประชาสัมพันธ์,  2504.

ประพัฒน์  ตรีณรงค์ พระประวัติและงานสมเด็จฯ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ครั้งที่ 2.  นครหลวงกรุงเทพธนบุรี สำนักพิมพ์แพร่พิทยา,  2516.

พระราชวรมุนีปรัชญาการศึกษาของไทยพระนคร สำนักพิมพ์เคล็ดไทย.  2518.

ไพฑูรย์  มีกุศล การปฏิรูปการปกครองมณฑลอีสาน  ..  2436-2453เอกสารการนิเทศการศึกษาฉบับที่  149.  กรุงเทพมหานครหน่วยศึกษานิเทศก์  กรมการฝึกหัดครู,  2517.

วิจิตรวาทการหลวงศาสนาสากล เปรียบเทียบศาสนา  ลัทธิ  และปรัชญาต่างๆ ทั่วโลก.  5  เล่ม พิมพ์ครั้งที่ 2.  พระนครโรงพิมพ์ ส.ธรรมภักดี,  2498-2501.

วิชาการกรม จุดประสงค์ในการสอนพระนคร: กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ,  2518.

วิญญู  อังคณารักษ์  และคนอื่นๆกรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานคร ฝ่ายพัฒนาการเมืองและการปกครอง  สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย  กระทรวงมหาดไทย,  2516.

สมบูรณ์  ไพรินทร์ บันทึกเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่  24  มิถุนายน  2475-25  ธันวาคม  2515.     2  เล่ม.  (...,  ...).

สุธรรม  พงศ์สำราญวิรัช    สงขลา  และพึงใจ  พึ่งพานิชหลักการประกันวินาศภัย กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช,  2519 

ภาษาอังกฤษ

College  bound  seniors.  Princeton,  NJ:  College  Board  Publications,  1979.

Elliott,  H.  Public  personnel administration:  A  value  perspective.  Reston,  VA:  Reston  Publishing,  1985.

Fontana,  D.,  Jr.  Classroom  control:  Understanding  and  building  classroom  behavior.  London:  The British  Psychological  Society,  1985.

Burris-Meyer,  H.,  and  Cole,  E.  C.  Theatres and  auditoriums.  2 nd  ed.  with  new  supplement.  New  York:  Robert  E.  Krieger,  1975.

Fletcher,  R.  The making  of sociology:  A  study  of  sociology  theory.  Vol.  1:  Beginnings  and foundations.  New  York:  Charles  Scribner’s  Sons,  1971.

Foucault,  M.  The  archaeology  of  knowledge.  Translated  by  A.  M.  Sheridan  Smith.  London:  Tavistock  Publications,  1972.

Fukutake,  T.,  and  Morioka,  K.,  eds.  Sociology  and  social  development  in  Asia:  Proceedings  of  the  symposium.  Tokyo:  University  of  Tokyo  Press,  1974.

Katz,  W.  A.  Introduction  to reference  work.  2  Vols.  2 nd ed.  New  York:  McGraw-Hill,  1974.

Lauer,  J.  M.,  and  others.  Four  worlds  of  writing.  2nd  ed.  New  York:  Harper  &  Row,  1985.

Letheridge,  S.,  and  Camnon,  C.  R.,  eds.  Bilingual  education:  Teaching  English  as  a  second  language.  New  York:  Prager,  1980.

Thailand.  Office  of the  National  Education  Commission.  A  research  report  on  higher  education  system:  A  case  study  of  Thailand.  Bangkok:  Office  of  the  National  Education  Commission,  1977.

 

แบบที่ 2
ให้ระบุปีพิมพ์ตามหลังชื่อผู้แต่ง
ผู้แต่ง
ปีพิมพ์ชื่อหนังสือ เล่มที่หรือจำนวนเล่ม (ถ้ามี).  ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).  ชื่อชุดหนังสือและ   
           ลำดับที่ (ถ้ามี). สถานที่พิมพ์สำนักพิมพ์.

 

ภาษาไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะรัฐศาสตร์ แผนกวิชาการปกครอง.  2518.  รายงานการสัมมนาเรื่องปัญหาของรัฐวิสาหกิจไทยกรุงเทพมหานคร แผนกวิชาการปกครอง  คณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชาญวิทย์  เกษตรศิริ  และ  สุชาติ  สวัสดิศรีบรรณาธิการ. 2519.  ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทยกรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น.

แน้ชจอร์ชวอลดอร์ฟแดนและ  ไรซ์โรเบิร์ต  อี.  2518.  มหาวิทยาลัยกับชุมชนเมือง แปลโดย        อับสร  ทรัยอัน  และคนอื่นๆกรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์แพร่พิทยา.

ภาษาอังกฤษ

Katz,  W.  A.  1974.  Introduction  to reference  work.  2  vols.  2 nd  ed.  New  York:  McGraw-Hill.

Lauer,  J.  M.,  and  others.  1985.  Four  worlds  of  writing.  2 nd  ed.  New  York:  Harper  &  Row. 

Letheridge,  S.,  and  Comnon,  C.  R.,  eds.  1980.  Bilingual  education  :  Teaching  English  as  a  second  language.  New  York:  Praeger.

Thailand.  1977.  Office  of  the  National  Education  Commission.  A  research  report  on higher  education  system:  A  case  study  of  Thailand.  Bangkok:  Office  of  the  National  Education  Commission.

 

การเขียนรายการอ้างอิงแบบตัวเลข 

(ให้เรียงตามลำดับตัวเลขที่อ้างอิง  โดยไม่ต้องเรียงตัวอักษรไม่ต้องแยกภาษาและประเภทของเอกสาร)

 

ตัวอย่าง แบบที่1

1.     ขจร  สุขพานิชฐานันดรไพร่กรุงเทพมหานคร ภาควิชาประวัติศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ  ประสานมิตร,  2519.

1.   ไพฑูรย์  มีกุศลการปฏิรูปการปกครองมณฑลอีสาน  พ..  2436-2453เอกสารการนิเทศการศึกษาฉบับที่  149.  กรุงเทพมหานครหน่วยศึกษานิเทศก์  กรมการฝึกหัดครู,  2517.

2.   Fukutake,  T.,  and  Morioka,  K.,  eds.  Sociology  and  social  development  in  Asia:  Proceedings  of  the symposium.  Tokyo:  University  of  Tokyo  Press,  1974.

3.   ชาญวิทย์  เกษตรศิริ  และสุชาติ  สวัสดิศรีบรรณาธิการ ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทยกรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น,  2519.

4.   ประพัฒน์  ตรีณรงค์พระประวัติและงานสมเด็จฯ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ครั้งที่ 2. นครหลวงกรุงเทพธนบุรี สำนักพิมพ์แพร่วิทยา,  2516.

5.   Fletcher,  R.  The  making  of  sociology:  A  study  of  sociology  theory.  Vol.  I:  Beginnings  and  foundations.  New  York:  Charles  Scribner’s  Sons,  1971.

6.   วิจิตรวาทการหลวง ศาสนาสากล  เปรียบเทียบศาสนา  ลัทธิ  และปรัชญาต่างๆ  ทั่วโลก.  5  เล่มพิมพ์ครั้งที่ 2.  พระนครโรงพิมพ์  ส.ธรรมภักดี.  2498-2501.

7.   เติม  วิภาคย์พจนกิจประวัติศาสตร์อีสาน.  2  เล่มพิมพ์ครั้งที่ 2.  พระนคร สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,  2515.

 

แบบที่ 2  การเขียนรายการอ้างอิงแบบตัวเลขแบบที่ 2 ให้ระบุ ปีพิมพ์ตามหลังชื่อผู้แต่ง และให้ใช้แบบใดแบบหนึ่งเพียงแบบเดียวโดยตลอด

 

ตัวอย่าง (การเขียนรายการอ้างอิงวารสารแบบนาม-ปี และแบบเชิงอรรถ)

แบบที่ 1

จักรกฤษณ์  นรนิติผดุงการ  และ  ทวี  สวนมาลี ความสามารถในด้านการเงินของเทศบาลกรณีของเทศบาลนครกรุงเทพก่อนเปลี่ยนแปลงเป็นกรุงเทพมหานครวารสารพัฒน-

บริหารศาสตร์  16  (เมษายน  2519) :  231-254.

ชมเพลิน  จันทร์เรืองเพ็ญสมคิด  แก้วสนธิ  และทองอินทร์  วงศ์โสธรการสอนแบบต่างๆ  ในระดับอุดมศึกษาวารสารครุศาสตร์  6  (พฤษภาคม-มิถุนายน)  2519):  34-49.

ธเนศ  อาภรณ์สุวรรณ ข้อสังเกตเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทยวารสารมนุษยศาสตร์  ฉบับที่ 2  (2518):  35-40.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน  พ..  2518.  ราชกิจจานุเบกษา  92  (6  กุมภาพันธ์  2518):  1-78.

พีรสิทธิ์  คำนวณศิลป์  และ  โคกิลโดนอนด์  โอ ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของครอบครัวและจำนวนบุตรในประเทศไทยวารสารพัฒนบริหารศาสตร์  16  (กรกฎาคม  2518):  299-323.

 

Adler,  I.  A  model  of  contact  pressure  in  phyllotaxis, J.Theor.Biol.45 (1987): 1-79.

Alexander,  C.  A  city  is  not  a  tree.  Architectural  Forum  122  (April  1968):  58-62;  (May  1965):  58-91.

Area  and  population  of  Thailand  by  sex,  region  for  selected  changwats  1979.  Quarterly  Bulletin  of  Statistics  (Thailand)  27  (June  1979):  7.

Elmore,  C.  D. ;  Hesketh,  J.  D.;  and  Muramoto,  H.  A  survey  of  reates  of  leaf  growth,  leaf  aging  and  leaf  photosynthetic  rate  among  and  within  species.  J.  Arizona  Acad.  Sci.  4  (1967):  215-219.

Jaccard,  J.;  Knox,  R.;  and  Brinberg,  D.  Prediction  of  behavior  from  beliefs:  An  extension  and  test  of  a  subjective  probability  model.  Journal  of  Personality  and  Social  Psychology  37  (July  1979):  1239-1248.

Stevenson,  H.  W.,  et  al. Longitudinal  study  of  individual  differences  in  cognitive  development  and  scholastic  achievement.  Journal  of  Educational  Psychology  68  (August  1976):  377-400.

Thanat  Khoman.  The  Consequences  for  Southeast  Asia  of  events  in  Indo-China.  Journal  of  Social  Sciences  13  (January  1976):  16-25.

Wilson,  K.,  and  others.  Rights  and  responsibilities  in  interlibrary  cooperative  ventures.  Southeastern  Librarian  30  (Spring  1980):  22-28.

แบบที่ 2

จักรกฤษณ์  นรนิติผดุงการ  และทวี  สวนมาลี.  2519.  ความสามารถในด้านการเงินของเทศ-บาล กรณีของเทศบาลนครกรุงเทพก่อนเปลี่ยนแปลงเป็นกรุงเทพมหานครวารสารพัฒนบริหารศาสตร์  16 (เมษายน):  231-254.

ชมเพลิน  จันทร์เรืองเพ็ญสมคิด  แก้วสนธิ  และทองอินทร์  วงศ์โสธร.  2519.  การสอนแบบต่างๆ  ในระดับอุดมศึกษาวารสารครุศาสตร์  6 (พฤษภาคม-มิถุนายน):  34-39.

Adler,  I. 1987.  A  model  of  contact  pressure  in  phyllotaxis. J. Theor. Bilo.45: 1-79.

Alexander,  C.  1965.  A  city  is  not  a  tree.  Architectural  Forum  122:  58-62.

Area  and  population  of  Thailand  by  sex,  region  for  selected  Changwats.  1979.  Quarterly  Bulletin  of  Statistics  (Thailand)  27:  7.

Gardner,  H.  1981,  December.  Do  babies  sing  a  universal  song.  Psychology  Today,  70-76.

Wilson,  K.,  and  others.  1980.  Rights  and  responsibilities  in  interlibrary  cooperative  ventures.  Southeastern  Librarian  30:  22-28.

ตัวอย่าง  การเขียนรายการอ้างอิงวารสารแบบตัวเลข

 แบบที่ 1

1.  พีรสิทธิ์  คำนวณศิลป์  และโคกิลโดนอนด์  โอ ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของครอบครัวและจำนวนบุตรในประเทศไทยวารสารพัฒนบริหารศาสตร์  16  (กรกฎาคม  2519):  299-323.

2.  จักรกฤษณ์  นรนิติผดุงการ  และ  ทวี  สวนมาลี ความสามารถในด้านการเงินของเทศบาล กรณีของเทศบาลนครกรุงเทพก่อนเปลี่ยนแปลงเป็นกรุงเทพมหานคร.    วารสารพัฒนบริหารศาสตร์  16  (เมษายน  2519):  231-254.

3.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน  พ..  2518.  ราชกิจจานุเบกษา  92  (6  กุมภาพันธ์  2518):  1-78.

4.  Wilson,  K.,  and  others,  Rights  and  responsibilities  in  interlibrary  cooperative  ventures.  Southeastern  Librarian  30  (Spring  1980):  22-28.

5.  ชมเพลิน  จันทร์เรืองเพ็ญสมคิด  แก้วสนธิ  และทองอินทร์  วงศ์โสธร การสอนแบบต่างๆ  ในระดับอุดมศึกษา วารสารครุศาสตร์  6  (พฤษภาคม-มิถุนายน  2519):  34-49.

6.  Area  and  population  of  Thailand  by  sex,  region  for  selected  changwats  1979.  Quarterly  bulletin  of  Statistics  (Thailand)  27  (June  1979):  7.

7.  Stevenson,  H.  W.,  et  al.  Longitudinal  study  of  individual  differences  in  cognitive  development  and  scholastic  achievement.  Journal  of  Educational  Psychology  68  (August  1976):  377-400.

8.  Jaccard,  J.;  Knox,  R.;  and  Brinberg,  D.  Prediction  of  behavior  from  celiefs  :  An  extension  and  test  of  a  subjective  probability  model.  Journal  of  Personality  and  Social  Psychology  37  (July  1979):  1239-1248.

9.  ธเนศ  อาภรณ์สุวรรณ ข้อสังเกตเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยวารสารมนุษยศาสตร์  ฉบับที่  2  (2518):  35-40.

10.  Alexander,  C.  A  city  is  not  a  tree.  Architectural  Forum  122  (April  1968):  58-62;  (May  1965):  58-91.

11.  Thanat  Khoman.  The  Consequences  for  Southeast  Asia  of  events  in  Indo-China.  Journal  of  Social  Sciences  13  (January  1976):  16-25.

12.  Elmore,  C.  D.;  Hesketh,  J,  D.;  and  Muramoto,  H.  A  survey  of  reates  of  leaf  growth,  leaf  aging  and  leaf  photosynthetic  rate  among  and  within  species.  J.  Arizona  Acad.  Sci.  4  (1987):  1-79.

13.  Adler,  I.  A  model  of  contact  pressure  in  phyllotaxis.  J.  Theor.  Biol.  45  (1987):  1-79.

แบบที๋ 2  การเขียนรายการอ้างอิงวารสารแบบตัวเลข แบบที่ 2 ให้ระบุปีพิมพ์ตามหลังชื่อผู้แต่ง และให้ใช้แบบใดแบบหนึ่งเพียงแบบเดียวโดยตลอด

 

การเขียนรายการอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์

รายการอ้างอิงวิทยานิพนธ์  ให้ระบุชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์  ชื่อวิทยานิพนธ์  ระดับวิทยานิพนธ์  ชื่อสาขาหรือภาควิชา  คณะ  ชื่อมหาวิทยาลัย  ปีพิมพ์

แบบที่ 1  

ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ชื่อวิทยานิพนธ์ ระดับวิทยานิพนธ์  ชื่อสาขาวิชาหรือภาควิชา  คณะ    ชื่อมหาวิทยาลัยปีพิมพ์.

แบบที่ 2  

ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ปีพิมพ์ ชื่อวิทยานิพนธ์ระดับวิทยานิพนธ์ ชื่อสาขาวิชาหรือภาควิชา  คณะ  ชื่อมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง  แบบที่ 1

ชุติมา  สัจจานันท์การสำรวจสถานภาพการทำงานของบัณฑิต  (ปีการศึกษา  2502-2516)  และมหาบัณฑิต  (ปีการศึกษา  2507-2516)  สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต  ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์  บัณฑิตวิทยาลัย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  2518.

Buppha  Devahuti.  Use  of  computer  in  serials  control  in  Thai  libraries.  Master’s  Thesis,  Department  of  library  Science,  Graduate  School,  Chulalongkorn  University,  1975.

ตัวอย่าง  แบบที่ 2

ชุติมา  สัจจานันท์.  2518.  การสำรวจสถานภาพการทำงานของบัณฑิต  (ปีการศึกษา  2502-2516)  และมหาบัณฑิต  (ปีการศึกษา  2507-2516)  สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต  ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์  บัณฑิตวิทยาลัย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Buppha  Devahuti.  1975.  Use  of  computer  in  serials  control  in  Thai  libraries.  Master’s  Thesis,  Department  of  Library  Science,  Graduate  School,  Chulalongkorn  University.

 

การอ้างอิง จากสื่ออเล็คทรอนิกส์ และ www.

แหล่งที่มา (Available from  เปรียบได้กับสถานที่พิมพ์และชื่อสำนักพิมพ์ ให้ระบุแหล่งที่มาหรือที่สืบค้นข้อมูลได้ ในกรณีที่ใช้อินเทอร์เน็ต  ให้ระบุว่า ใช้โปรโตคอล(Protocal) ชนิดใด   เช่น FTP,  GOPHER, TELNET, WWW., UseNet, WAIS,  E-Mail   ฯลฯ   ถ้าเข้าถึงจากเว็บไซต์ ให้ระบุชื่อเว็บไซต์ต่อท้ายคำว่า  แหล่งที่มา( ภาษาอังกฤษใช้ว่า  Available from : )   ตัวอย่างเช่น

                                  แหล่งที่มา http://www.grad.chula.ac.th

                                    แหล่งที่มา E-Mail:  grad@chula.ac.th                            

                                    Available from :  http://www.grad.chula.ac.th

                                   Available from E-Mail:  grad@chula.ac.th

               วัน เดือน ปี ที่เข้าถึงข้อมูล ( Access date )

             -  ให้ระบุ วัน เดือน ปี  ที่เข้าถึงข้อมูลไว้ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม

  ตัวอย่าง    แบบที่ 1

  Miller,  W.;  Miller,  A.;  and  Kline,  G.  The  CPS  1974  American  national  election  study  [Machinereadable  data  file].  Ann  Arbor:  University  of  Michigan,  Center  for  Political  Studies  (Producer).  Ann  Arbor:  Inter-University  Consortium  for  Political  and  Social  Research  (Distributor),  1975.

  Fernandes,  F.  D.  Theoretical  prediction  of  interference  loading  on  aircraft  stores:  Part  1.  Subsonic  speeds  [Computer  program].  Pomona,  CA:  General  Dynamics,  Electro  Dynamics  Division.  (National  Aeronautics  and  Space  Administration  Report  No.  NASA  CR-112065-1;  Acquistion  No.  LAR-11249),  1972.

  Kulikowski  Stan.  “Readability  Formula.”  In  NL-KR (Digest  vol.5, no.10)  [electronic  bulletin  board].  Rochester,  NY,  1988  [cited  31  January  1989]  Available  from E-mail: nl-kr@cs.rochester.edu; 

  Jefferson, T. The declaration of independence [Online]. 1989.  Available from:  FTP: quake think.com; directory:pub/etext/1991/

  Bowers, K.L.,and others. FYI on where to start – bibliography of  internet working information[Online].1990.  Available from E-mail:  nisinfo@nis.nsf.net

  Prizker, T.J. An early fragment from central  Nepal[Online]. (n.d.).  Available from:  http://www.ingress.com/-astanart/pritzker/pritzker.html  [1995,June 8]

 Inada, K.  A Buddhist response to the nature of human rights.  Journal of Buddhist Ethics[Online].

            1995.  Available from:  http://www.cac.psu.edu/jbe/twocont.html  [1995, June 21]

 ตัวอย่าง  แบบที่ 2

Miller,  W.;  Miller,  A.;  and  Kline,  G.  1975.  The  CPS  1974  American  national  election  study  [Machinereadable  data  file],  Ann  Arbor:  University  of  Michigan,  Center  for  Political  Studies  (Producer).  Ann  Arbor:  Inter-University  Consortium  for  Poltical  and  Social  Research  (Distributor).

Fernandes,  F.  D.  1972.  Theoretical  prediction  of  interference  loading  on  aircraft  stores:  Part  1.  Subsonic  speeds  [Computer  program].  Pomona,  CA:  General  Dynamics,  Elector  Dynamics  Division.  (National  Aeronautics  and  Space  Administration  Report  No. NASA  CR-112065-1;  Acquisition  No. LAR-11249.

Bender  report  [Computer  software].  1993.  Melbourne,  FL:  Psychometric  Software.

Breckler,  S.  J.,  &  Pratkanis,  A. R.  1985.  Experiment  Command  Interpreter  for  the  IBM  personal  computer  [Computer  programming  language].  Baltimore:  Authors.

Miller,  M. E.  1993.  The  Interactive Tester  (Version  4.0)  [Computer  software].  Westminster,  CA:  Psytek  Services.

Kulikowski  Stan. 1988.   “Readability  Formula.”  In  NL-KR (Digest  vol.5, no.10)  [electronic  bulletin  board].  Rochester,  NY, [cited  31  January  1989] Available  from E-mail:   nl-kr@cs.rochester.edu; 

Jefferson, T. 1989.  The declaration of independence [Online] Available from:  FTP: quake think.com;    directory:pub/etext/1991/

Bowers, K.L.,and others. 1990.  FYI on where to start – bibliography of  internet working information[Online] Available from E-mail:  nisinfo@nis.nsf.net

Prizker, T.J. An early fragment from central  Nepal[Online]. (n.d.).  Available from:  http://www.ingress.com/-astanart/pritzker/pritzker.html [1995,June 8]

Inada, K. 1995.  A Buddhist response to the nature of human rights.  Journal of Buddhist Ethics[Online].Available from:  http://www.cac.psu.edu/jbe/twocont.html [1995, June 21]