Thailand Health Care Festival หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตในอนาคต

เพื่อให้คนไทยในชนบทที่ห่างไกล ได้รับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บจากแพทย์อย่างทั่วถึง คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่งจึงพยายามพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนของแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเน้นให้มีคุณหมอที่เชี่ยวชาญการรักษาโรคทั่ว ๆ ไป..ออกไปรับใช้สังคมมากขึ้น

ปัจจุบันนี้ อัตราส่วนของแพทย์ต่อประชาชนในชนบทของไทย อยู่ที่ประมาณ 1:20,000 คน หมายความว่า แพทย์ 1 คนต้องแบกรับภาระในการดูแลคนไข้จำนวนมาก ทำให้รักษาได้ไม่ทั่วถึงและไม่ดีพอ ..คณะแพทยศาสตร์ทั้ง 13 แห่งของไทยเล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงร่วมกันจัดทำหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตแผนใหม่ขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้แพทย์อย่างน้อยร้อยละ 50 จบออกมาเป็นแพทย์ครอบครัวหรือ Family Doctor ซึ่งเชี่ยวชาญในการรักษาโรคหลายชนิด เหมาะสมที่จะไปปฏิบัติงานในชนบท เพราะสามารถดูแลคนไข้ได้ทั่วถึงกว่าแพทย์เฉพาะทาง ...การปรับเปลี่ยนหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต นอกจากจะช่วยให้ผลิตแพทย์ที่ตอบสนองความต้องการของสังคมได้แล้ว ยังมีผลดีอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย ซึ่งท่านสามารถติดตามข้อมูลต่อได้ในการสัมมนาเรื่อง "หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตในอนาคต" ที่จะมีแพทย์และผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านมาพูดคุย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ..ถ้าสนใจเข้าฟังการสัมมนา พบกันได้ที่งาน "Thailand Health Care Festival" ซึ่งจัดโดยแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2544 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 15.30 น. ที่ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี พบกับ "Thailand Health Care Festival ..ศตวรรษใหม่สุขภาพไทย" ที่ ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติอิมแพ็ค เมืองทองธานี วันที่ 26 ตุลาคม 2544 - 4 พฤศจิกายน 2544