Thailand Health Care Festival จริยธรรมในการทำวิจัยทางการแพทย์

การจะทำวิจัยในมนุษย์ไม่ใช่เรื่องที่นึกอยากจะทำก็ทำได้นะครับ เพราะถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นมา ก็อาจทำให้คน ๆ หนึ่งต้องพิการหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้น ในบ้านเราจึงมีการจัดตั้งองค์กรเพื่อดูแล จริยธรรมด้านการทำวิจัยในมนุษย์โดยเฉพาะ

ประเทศไทยมีการจัดตั้ง "ชมรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์" หรือ "เฟอร์ซิท" (FERCIT) เพื่อควบคุมจริยธรรมในการทำวิจัยในมนุษย์ โดยมีข้อบังคับสำคัญ เช่น ผู้ถูกทำวิจัยต้องได้รับการชี้แจงจนเข้าใจในโครงการวิจัยเป็นอย่างดีเสียก่อน และมีสิทธิเลือกว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธการทำวิจัยนั้น ..ส่วนในกรณีที่ได้ทำการวิจัยไปแล้วและเกิดผลกระทบขึ้น เช่น เสียชีวิตหรือพิการ ผู้วิจัยจะต้องรับผิดชอบ ดูแลชีวิตของผู้ถูกทำวิจัยอย่างดีที่สุด นอกจากนี้ ถ้าเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงระหว่างทำการวิจัย การดำเนินการทุกอย่างจะต้องหยุดลงทันที เพื่อให้ผู้ถูกทำวิจัยได้รับความปลอดภัยที่สุด ...และนี่ก็คือส่วนหนึ่งของการควบคุมจริยธรรมในการทำวิจัยทางการแพทย์ในมนุษย์ และเรายังมีเรื่องราวที่เกี่ยวกับจริยธรรมในการทำวิจัยอีกมากมาย ซึ่งน่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น เรื่อง "กฎหมายการทำวิจัยในคน" "การวิจัยทางสังคม" "การวิจัยเรื่องสมุนไพร" และ "การวิจัยในสัตว์ทดลอง" ซึ่งท่านที่สนใจสามารถติดตามต่อได้ในการสัมมนาเรื่อง "จริยธรรมในการทำวิจัยทางการแพทย์" ในงาน Thailand Health Care Festival ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์จัดขึ้น ที่ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ในวันพุธที่ 31 ตุลาคม 2544 เวลา 9.00 - 15.30 น.

พบกับ "Thailand Health Care Festival ..ศตวรรษใหม่สุขภาพไทย" ที่ ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติอิมแพ็ค เมืองทองธานี วันที่ 26 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน 2544