ขนมสามเกลอ เป็น ขนมเสี่ยงทายในพิธีแต่งงาน ถ้าขนมยังติดกันทั้ง 3 ลูกในขณะที่ทอด หมายความว่า คู่บ่าวสาวที่จะแต่งงานจะอยู่ด้วยกันดี ตลอดจนมีลูกด้วยกัน แต่ติดกันอยู่เพียง 2 ลูก หมายความว่า มีลูกยากหรือไม่มี ถ้าแยกหรือหลุดออกทั้ง 3 ลูก หมายความว่า อยู่ด้วยกันไม่ยืด |
|
ขนมโพรงแสม ขนม ชนิดนี้ใช้ในพิธีแต่งงาน โดยแทนเสาบ้านเสาเรือน เพื่อให้คู่บ่าวสาวอยู่กันยั่งย ืนและร่ำรวย ลักษณะคล้ายๆขนมทองม้วน แต่ขนมชนิดนี้จะมีความแตกต่างอยู่ตรงที่มีน้ำตาลเคลือบพันร้อยอยู่ที่ตัวขนม |
|
ขนมหม้อตาล เป็นขนมโบราณ ที่ใช้ในพิธีแต่งงาน เรียกว่า "หม้อเงิน หม้อทอง" |
|
ขนมพันตอง แบ่ง เป็น 2 ส่วน แยกเป็น 2 ห่อ ห่อแรกคือส่วนผสมของไส้ ประกอบด้วยมะพร้าวกับน้ำตาลปี๊บ แล้วนำมาปั้นเป็นก้อน อีกห่อประกอบด้วย หัวกะทิ แป้งข้าวเจ้า เกลือ น้ำตาล แล้วตักใส่ห่อ เพื่อความอร่อยยิ่งขึ้นควรจะรับประทานพร้อมกัน |
|
ขนมพระพาย เป็น ขนมที่ใช้ในพิธีแต่งงานใช้แป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำดอกมะลิ ใส่สีต่างๆ เพื่อหุ้มไส้ ที่ประกอบด้วยถั่วเขียวเลาะเปลือกที่บดละเอียด ผสมกับกะทิ และน้ำตาล ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เมื่อหุ้มเสร็จแล้ว นำมาวางบนใบตองที่ตัดเป็นกลม ๆเมื่อนึ่งสุกแล้ว พรมด้วยหัวกะทิ |
|
ขนมเทียนแก้ว หรือ ขนมนมสาว เปรียบเสมือนแสงสว่าง ลักษณะ ที่สวยถูกต้อง ต้องปลายแหลม และฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วางได้โดยไม่เสียรูปทรง ทำจากถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก กวนกับกะทิและน้ำตาลทราย อบด้วยควันเทียน ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ นำแป้งถั่วเขียว หรือแป้งซ่าหริ่ม กวนกับน้ำตาลทราย และน้ำลอยดอกมะลิ |
|
ตะลุ่ม มี สองส่วน คือส่วนตัวขนม ทำแป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม แป้งมันสำปะหลัง น้ำปูนใส และหางกะทิ นำไปนึ่งจนสุก ส่วนของตัวหน้า ได้แก่ หัวกะทิ ไข่ และน้ำตาล ใส่แป้งข้าวเจ้าเล็กน้อย แล้วเทลงบนตัวที่สุกแล้ว นำไปนึ่ง เวลาเสิร์ฟตัดเป็นสี่เหลี่ยมขนาดพอดีคำหรือลักษณะตามชอบ |
|
บุหลันดั้นเมฆ ลักษณะ ของขนมจะคล้ายขนมน้ำดอกไม้ เป็นขนมชาววังคิดประดิษฐ์ขึ้น ให้มีสีสันอุปมาอุปไมยเลียนแบบเพลงไทย 'บุหลันลอยเลื่อน' ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 |
|
เห็ดโคน ทำ จากไข่ขาวตีกับน้ำตาลทรายป่นจนตั้งยอด ใส่น้ำมะนาวเพื่อให้ไข่ไม่เหลว นำกระดาษขาวหนา ๆ มาม้วนเป็นกรวย ใส่น้ำตาลที่ตีแล้ว บีบกลม ๆ เป็นหัวเห็ด แล้วบีบยาว ๆ เป็นก้านเห็ด นำไปอบ พอสุกแล้วนำส่วนหัวมาเจาะตรงกลาง เพื่อติดกับตัวก้านเห็ดโดยใช้น้ำเชื่อม นำผงโกโก้ มาร่อนตระแกรงละเลงโรยบนหัวเห็ด |
|
เกสรชมพู่ ขนม ไทยโบราณ เมื่อได้มองครั้งแรกอาจจะคิดว่าขนมชนิดนี้คือ "ข้าวเหนียวแก้ว" แต่ถ้าพิศมองให้ดีจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะมีลักษณะแข็งกระด้างของข้าวเหนียว ส่วนเกสรชมพู่จะดูนุ่มนวล อ่อนโยน ที่ทำจากมะพร้าวขูดขาว ผัดกับน้ำและน้ำตาลทราย ใส่วุ้นกวนให้เข้ากันใส่สีชมพูแก่ |