ประกาศ
กระทรวงมหาดไทย
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง

การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ

เพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 (7) และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103

ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 กระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย และ ความปลอดภัยใน การทำงานสำหรับลูกจ้าง โดยวางมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยในถานประกอบการไว้

ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้น
ข้อ 2 ประกาศนี้
"นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึง
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทน ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
"ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้างไม่ว่าจะเป็นผู้รับค่า
จ้างด้วยตนเองหรือไม่ก็ตาม
"อาคารไม้" หมายความว่า โครงสร้างของอาคารในส่วนที่เป็นผนัง พื้น หรือหลังคาที่ทำด้วยไม้
"อาคารที่ไหม้ไฟช้า" หมายความว่า โครงสร้างของอาคารในส่วนที่เป็นกำแพงปูนและเสาไม้
ที่ลุกไหม้ได้ช้า
-------------------------------------------------------------------------------------------
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 217 วันที่ 10 ธันวาคม 2534
สาระสำคัญ ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัย
ในการทำงานของลูกจ้าง
เจตนารมย์ของกฎหมาย
1. เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากอัคคีภัย
2. เพื่อป้องกันความสูญเสียที่เกิดกับลูกจ้างและสถานประกอบการ
3. เพื่อป้องกันต้นเหตุของอัคคีภัยที่จะเกิดผลกระทบต่อประชาชน
ขอบเขตการบังคับใช้ของกฎหมาย
โรงงานอุตสาหกรรมทุกประการ โรงแรม งานบริการ เหมืองแร่ การขนส่ง เป็นต้น
และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 7 มิถุนายน 2535
บทลงโทษ ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
Top

 

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์การขอใบรับรองเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น
และหลักเกณฑ์การขอใบรับรองเป็นหน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ
-------------------------------
โดยที่ปะกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ
เพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ข้อ 19 (3) กำหนด
ให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนด
หรือยอมรับไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบการ และ
ข้อ 36 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมหนีไฟอย่างน้อยปีละ
หนึ่งครั้ง ถ้านายจ้างไม่สามารถฝึกซ้อมดับเพลิงหรือหนีไฟได้เองให้ขอความร่วมมือหน่วยงานดับเพลิง
ท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่ทางราชการรับรองช่วยดำเนินการฝึกซ้อม ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด
ดังกล่าว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงกำหนดหลักเกณฑ์การขอใบรับรองเป็นหน่วยงาน
ฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น และหลักเกณฑ์การขอใบรับรองเป็นหน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อม
หนีไฟไว้ดังต่อไปนี้
Top
หน้าหลัก