ความปลอดภัยและวิธีการใช้เครื่องมือทั่วไปอย่างถูกต้อง
การปฏิบัติของนิสิตเพื่อความปลอดภัย
- ห้ามนิสิตใช้เครื่องมือโดยปราศจากคำแนะนำของผู้สอน
- ใส่ถุงมือพลาสติกและที่ครอบตาทุกครั้งที่ใช้สารเคมีที่กัดกร่อนได้สำหรับการเปิดปิดวาล์วของไอน้ำ
ต้องใช้ถุงมือ asbestos
- ต้องทำการทดลองภายใต้ที่ป้องกันพิเศษถ้าการทดลองเกี่ยวข้องกับสารที่ระเบิดได้
- ใช้อุปกรณ์ที่มีที่ระบายอากาศกับสารทำละลายที่ระเหยได้
- ห้ามเทสารทำละลายที่ใช้แล้วลงในท่อระบายน้ำหรืออ่างน้ำ
แต่คืนสารให้เจ้าหน้าที่
- ห้ามสูบบุหรี่ในห้องทดลอง
- ใส่หมวกป้องกันศรีษะทุกครั้งที่ทำการทดลอง
- ห้ามนิสิตใช้เครื่องมือช่วยอย่างเช่น vacuum generator โดยลำพัง
- ยึดถังก็าซติดกับโต๊ะในลักษณะตั้งตรงห่างจากแสงแดดและเปลวไฟในขณะใช้งานและต้องปิดถังก๊าซให้สนิทหลังจากใช้งานเสร็จแล้ว
- ทำความเข้าใจถึงความอันตรายและวิธีป้องกันยามฉุกเฉินของสารเคมีก่อนใช้สารนั้น
- เมื่อเกิดข้อสงสัย
ให้ถามผู้สอน
- ทยอยออกจากห้องทดลองอย่างเป็นระเบียบ
เมื่อเกิดกรณีสารเคมีหกหรือรั่ว
วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้
- เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องให้ความปลอดภัยแก่นิสิต
- ผู้สอนต้องดูแลนิสิตจนกระทั้งถึงที่ปลอดภัยภายนอกตัวอาคาร
- ช่างเครื่องต้องหยุดการทำงานของเครื่องไฟฟ้าเช่นปิดสวิทซ์ปัมป์หรือมอเตอร์
ทุกตัวแล้วจึงออกไปยังทางออกที่ใกล้ที่สุด
- ผู้สอนประจำแต่ละส่วนของอาคารต้องรายงานจำนวนนิสิตที่ออกจากอาคารแก่
หัวหน้าส่วน
การปฏิบัติโดยทั่วไปเพื่อความปลอดภัย
- เก็บสารเคมีที่อันตรายไว้ในห้องเก็บสารหลังจากใช้เสร็จแล้ว
- ห้ามนิสิตทำการทดลองโดยปราศจากคำปรึกษาของผู้สอนและต้องสอนนิสิตเกี่ยวกับการป้องกันเพื่อความปลอดภัยในห้องเรียนและห้องทดลอง
วิธีการใช้หอกลั่น
(CTS-3 Corning Teaching System:
Combined
Packed & Bubble Cap Column)
- การตรวจสภาพหอกลั่นก่อนการใช้งาน
- ตรวจจดูค่าความเข้มข้นของสารในส่วนเครื่องต้มกลั่นให้ถูกต้องและระดับของสารต้องอยู่กึ่งกลางของภาชนะ
- ตรวจดูรอยแตกร้าวของแก้วหรือรอยรั่วของหอกลั่น
ถ้าพบต้องซ่อมแซมตามคู่มือการติดตั้ง
- ตรวจดูสภาวะเปิดปิดของวาล์วตามตารางต่อไปนี้
ชื่อวาล์ว
|
เปิด
|
ปิด
|
V.1 Rotameter drain valve |
|
X
|
RCV.1 Reflux control valve |
|
X
|
V.2 Distillate flow valve |
X
|
|
V.3 Distillate flow valve |
|
X
|
V.4 Distillate receiver drain valve |
|
X
|
V.5 Reboiler drain valve |
|
X
|
V.6 Charge port valve |
|
X
|
V.7 Vacuum isolate valve |
|
X
|
V.8 Vent valve |
X
|
|
V.9 Vacuum isolate valve |
|
X
|
V.10 Vent valve |
X
|
|
FCV.2 Water flow control valve |
|
X
|
ชื่อวาล์วในส่วน
ทำความร้อนโดยไอน้ำ
|
เปิด
|
ปิด
|
V.11 Steam trap by-pass valve |
X
|
|
PCV.4 Steam pressure control valve |
|
X
|
ชื่อวาล์วในส่วนที่ใช้
bubble cap column
|
เปิด
|
ปิด
|
V. 14 Reflux return valve |
ให้ทิศทาง refluxไปทาง bubble cap column
|
|
V.13 Packed column valve |
|
X
|
V.12 Bubble cap column valve |
X
|
|
V.15 Cooling water flow valve |
X
|
|
V.16 Cooling water flow valve |
|
X
|
V.17 Cooling water drain valve |
|
X
|
ชื่อวาล์วในส่วนที่ใช้
packed column
|
เปิด
|
ปิด
|
V. 14 Reflux return valve |
ให้ทิศทาง refluxไปทาง packed column
|
|
V.13 Packed column valve |
X
|
|
V.12 Bubble cap column valve |
|
X
|
V.15 Cooling water flow valve |
|
X
|
V.16 Cooling water flow valve |
X
|
|
V.17 Cooling water drain valve |
|
X
|
- การปรับ
reflux ตั้งต้นของหอกลั่น
- จุดประสงค์
: ปรับให้ทิศทางของ distillate
ไหลกลับเข้าหอกลั่นทั้งหมด (Total
reflux)
วิธีการ
ปิดวาล์วควบคุม
reflux (RCV.1)
- การเปิดระบบน้ำเย็นของหอกลั่น
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย
- เปิดวาล์วควบคุมการไหลของน้ำเย็น
( FCV.2)
อย่างช้าๆเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงของความดันอย่างรวดเร็วในระบบทำความเย็น
- ระวังอย่าให้ความดันน้ำที่
PI.2 เกินสเกลสูงสุดที่ 2.7 bars
- ถ้าเข็มสเกลของ
PI.2 แสดงค่าความดันของน้ำไหล
แต่ไม่เห็นการไหลของน้ำ
ต้องปิดวาล์วควบคุมการไหลของน้ำ(
FCV.2)ทันทีและตรวจดูสาเหตุเช่นน้ำเย็นอาจไม่สามารถไหลเข้าหอกลั่นได้หรือมีสิ่งกีดขวางในท่อน้ำขาออก
จุดประสงค์
:
เปิดให้น้ำเย็นไหลเข้าเครื่องควบแน่น(condenser)
และเครื่องทำความเย็นของ distillate
วิธีการ
- สังเกตดูวาล์วควบคุมการไหลของน้ำเย็น
( FCV.2)ต้องปิดอยู่
- เปิดวาล์วควบคุมการไหลของน้ำเย็น
( FCV.2)ช้าๆจนความดันเป็น 2 bars ที่
PI.2
แล้วสังเกตเข็มสเกลของเครื่องวัดความเร็ว
FI.2
ชี้เกินครึ่งของสเกลทั้งหมดซึ่งแสดงว่ามีน้ำไหล
- การปรับสภาวะสุญญากาศหรือบรรยากาศให้กับหอกลั่น
4.1) การปรับสภาวะบรรยากาศ
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย
เปิดวาล์ว V.8
ระหว่างทำการทดลอง
มิฉะนั้นความดันในระบบจะสูงขึ้น
วิธีการ
- วาล์ว V.8
ต้องเปิดไว้
- ปิดวาล์ว V.7
4.2) การปรับสภาวะสุญญากาศ
วิธีการ
- ปิดวาล์ว V.8
และ V.10
- เปิดวาล์ว V.7
เพื่อให้เกิดสุญญากาศในหอกลั่น
- ใช้วาล์ว PCV.3
ควบคุมความดันจนเป็นสุญญากาศ
ซึ่งมองดูได้จากเครื่องวัดความดัน
PI.3
- การเปิดระบบทำความร้อนโดยไอน้ำของหอกลั่น
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย
- เปิดวาล์วควบคุมความดันไอน้ำ(
PCV.4)ซึ่งควบคุมอย่างช้าๆ
เพื่อป้องกันความดันที่มีต่อเครื่องต้มกลั่น
- อย่าปิดวาล์ว
V.11
จนกระทั้งไอน้ำไหลอย่างสม่ำเสมอโดยปราศจาก
condensate ผสมในไอน้ำ
- ที่ steam trap
ต้องมีสายยางต่อออกมาที่ท่อน้ำทิ้งในตำแหน่งที่ปลอดภัย
- ตรวจดู steam trap
ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพคือต้องไม่มีการสะสมของ
condensate
ในส่วนของเครื่องต้มกลั่น
หากสงสัยว่า steam trap ทำงานไม่ดี
ต้องปิดวาล์วควบคุมความดันไอน้ำ
( PCV.4)
และหยุดการทำงานของหอกลั่น
แล้วจึงสำรวจหาสาเหตุของปัญหาต่อไป
- ปรับความดันไอน้ำไม่ให้เกิน
2 bars
จุดประสงค์
:
เปิดให้ไอน้ำไหลเข้าเครื่องต้มกลั่น
วิธีการ
- ต้องเปิดวาล์ว
V.11 ไว้
- เปิดวาล์วควบคุมความดันไอน้ำ
( PCV.4)พอประมาณ
ซึ่งวาล์วนี้ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์
- ปิดวาล์ว V.11
เมื่อไอน้ำไหลออกทางท่อระบายอย่างสม่ำเสมอโดยปราศจาก
condensate
- ปรับวาล์วควบคุมความดันไอน้ำ
( PCV.4)ให้ได้ความดันไอน้ำประมาณ
2 bars
- เมื่อสังเกตเห็นผลิตภัณฑ์เหลวจากส่วนบนของหอกลั่นหรือ
distillate
ไหลผ่านเครื่องวัดอัตราเร็ว
RI.1A
ต้องลดความดันไอน้ำโดยปรับที่วาล์วควบคุมความดันไอน้ำ
( PCV.4) จนค่าบน RI.1A อยู่ประมาณที่
7.5 ในขณะเดียวกัน
ปล่อยให้หอกลั่นถึงสมดุลย์ซึ่งใช้เวลาประมาณ
15 นาที
ขณะนี้หอกลั่นอยู่ในสภาวะที่พร้อมทำงานเพื่อการทดลอง
กระบวนการหยุดการทำงานของหอกลั่น
การหยุดการทำงานของหอกลั่นสามารถทำเมื่อไรก็ได้ในขณะที่เครื่องทำงาน
(ถ้าเครื่องทำงานภายใต้สภาวะปกติ
ต้องหยุดการงานในขณะที่หอกลั่นมีสภาวะ
total reflux)
สำหรับการหยุดการทำงานของหอกลั่นแบบฉุกเฉิน
ต้องปิดวาล์วควบคุมความดันไอน้ำ (
PCV.4) ก่อน และเปิด วาล์ว V.11
อย่างระวัง
เพราะไอน้ำความดันสูงจะถูกปล่อยผ่านวาล์วนี้
- การหยุดการทำงานของ
reflux
- จุดประสงค์
: ปรับหอกลั่นให้อยู่ที่สภาวะ
Total Reflux
วิธีการ
ปิดวาล์วควบคุม
reflux ( RCV.1 )
- การปิดระบบให้ความร้อนด้วยไอน้ำของหอกลั่น
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย
- ปิดวาล์วควบคุมความดันไอน้ำ
( PCV.4) เรียบร้อย
แล้วจึงเปิดวาล์ว V.11
- จัดสายยางของ
condensate จาก steam trap
ให้อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย
แล้วจึงเปิดวาล์ว V.11
จุดประสงค์
: ไล่ไอน้ำออกจากเครื่องต้มกลั่น
วิธีการ
- ปิดวาล์วควบคุมความดันไอน้ำ
(PCV. 4)
- คอยจนกระทั้งการเดือดของเครื่องต้มทุเลาลง
และ ไม่มีการไหลกลับของ distillate
ผ่าน RI.1A
- เปิดวาล์ว V.11
อย่างระมัดระวัง
เพื่อลดความดันไอน้ำของ residual
ที่ coil ของเครื่องต้มกลั่น
- การหยุดสภาวะสุญญากาศของหอกลั่น
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย
ต้องปิดวาล์ว V.7
ก่อนเปิดวาล์ว V.8
จุดประสงค์
: ลดสภาวะสุญญากาศของหอกลั่น
วิธีการ
- ปิดวาล์ว V.7
- เปิดวาล์ว V.8
ทีละน้อยไม่ต้องเปิดหมดและอ่านค่าความดันจากเครื่องวัดความดัน
PI.3
เมื่อค่าความดันคงที่ที่ความดันบรรยากาศจึงเปิดวาล์ว
V.8 หมด
- การปิดระบบน้ำเย็นของหอกลั่น
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย
ห้ามปิดน้ำเย็นจนกว่าเครื่องให้ความร้อนปิดไปแล้วเป็นเวลาอย่างน้อย
10
นาทีและไม่สังเกตเห็นไอน้ำในเครื่องควบแน่น
จุดประสงค์
:
หยุดการไหลของน้ำเย็นในเครื่องควบแน่นและเครื่องทำความเย็นของ
distillate
วิธีการ
- ปิดวาล์วควบคุมการไหลของน้ำเย็น
( FCV.2 )
- สังเกตค่าความดันน้ำที่
PI.2 และค่าความเร็วน้ำที่ FI.2
ควรเป็นศูนย์
ขณะนี้หอกลั่นหยุดทำงานอย่างปลอดภัย
วิธีการควบคุมการทำงานของหอกลั่น
- วิธีการควบคุม
reflux ratio
- ค่า Reflux ratio
ที่ต้องการ
คำนวณได้จากค่าที่อ่านจาก
Rotameter RI.1A และ RI.1B ตามสมการนี้
- Reflux ratio = (
ค่าที่อ่านจาก RI.1A) / (
ค่าที่อ่านจาก RI.1B )
- การปรับค่า
Reflux ratio
สามารถทำได้โดยเปิดวาล์วควบคุม
reflux (RCV.1)
อย่างช้าๆเพื่อให้distillate
ไหลผ่าน RI.1B
- วิธีการควบคุมทิศทางของ
distillate
2.1) ปรับทิศทางของ
distillate
ให้ไหลกลับเข้าเครื่องต้มกลั่น
(Constant reboiler composition mode
or Return of distillate
to reboiler)
วิธีการ
- เปิดวาล์ว V.2
- ปิดวาล์ว V.3
2.2) ปรับทิศทางของ
distillate เพื่อใช้ในการเก็บตัวอย่าง
(Batch rectification)
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย
ห้ามนำ distillate
ที่เก็บตัวอย่างมา
ใส่กลับเข้าเครื่องต้มกลั่นขณะเครื่องทำงาน
แต่ทำได้ตอนเครื่องต้มกลั่นเย็นตัวแล้ว
วิธีการ
- เปิดวาล์ว V.3
- ปิดวาล์ว V.2
- ตัวอย่าง
distillate
ที่เก็บมาได้ควรส่งกลับไปที่เครื่องต้มกลั่นหลังจบการทดลองแล้ว
2.3) ปรับทิศทางของ
distillate เพื่อใช้ในการวัดความเร็วของ
distillate
2.3.1) แบบ Constant
reboiler composition mode
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย
ก่อนเปิดวาล์ว
V.2
ต้องตรวจดูให้ระดับของเหลวขึ้นสูงได้ไม่เกินส่วนบนสุดของท่อ
วิธีการ
- ปิดวาล์ว V.2
- จับเวลาที่
distillate ไหลเข้าส่วน Calibrated tube section
( RI.1C ) คำนวณอัตราการไหลของ
distillate จากเวลาที่วัด และ
ปริมาตรของสารที่ไหลเข้า RI.1C (
โดย calibrate Rotameter ในหน่วย
มิลลิเมตร)
- เปิดวาล์ว V.2
เพื่อปล่อย distillate ออกจาก RI.1C
เมื่อการวัดเสร็จสิ้น
2.3.2) แบบ Batch
rectification mode
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย
ก่อนเปิดวาล์ว
V.3
ต้องตรวจดูให้ระดับของเหลวขึ้นสูงได้ไม่เกินส่วนบนสุดของท่อ
วิธีการ
- ปิดวาล์ว V.3
- จับเวลาที่
distillate ไหลเข้าส่วน Calibrated tube section
( RI.1C ) คำนวณอัตราการไหลของ
distillate จากเวลาที่วัด และ
ปริมาตรของสารที่ไหลเข้า RI.1C
- เปิดวาล์ว V.3
เพื่อปล่อย distillate ออกจาก RI.1C
เมื่อการวัดเสร็จสิ้น
2.4) ปรับทิศทางของ
distillate
เพื่อใช้ในการปรับความเข้มข้นของสารในเครื่องต้มกลั่น
(Reboiler concentration adjustment)
วิธีการ
- ปรับให้ระบบเป็นแบบ
Batch rectification (เปิดวาล์ว V.3,
ปิดวาล์ว V.2)
- เปิดวาล์วควบคุม
reflux (RCV.1) จนอัตราส่วนของค่าของ
RI.1A ต่อ ค่าของ RI.1B เป็น 1:1
- เก็บตัวอย่าง
distillate
จนกระทั้งอุณหภูมิของเครื่องต้มกลั่นได้ตามที่กำหนดไว้ซึ่งอ่านได้จาก
TI.4
- ปรับให้ระบบเป็นแบบ
Constant reboiler composition (เปิดวาล์ว V.2,
ปิดวาล์ว V.3)
- วิธีการควบคุมความร้อนที่ให้กับหอกลั่น
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย
- ห้ามเพิ่มความดันไอน้ำจนถึงจุดที่
column flood
- ความดันไอน้ำต้องไม่ทำให้ความเร็วของ
distillate ใน RI.1A และ RI.1B
เกินสเกลสูงสุดคือที่ 7.3
ลิตร/ช.ม.
วิธีการ
ตรวจค่าความดันไอน้ำที่
PI.4 และปรับวาล์วควบคุมความดันไอน้ำ
(PCV.4)ทีละน้อย
เพื่อให้ได้ความดันไอน้ำตามต้องการและได้ความดันของระบบที่คงที่
- วิธีการควบคุมการไหลของน้ำเย็น
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย
- เปิดวาล์วน้ำเย็น
FCV.2
อย่างช้าๆเพื่อป้องกันความดันเพิ่มอย่างรวดเร็ว
- ห้ามความดันน้ำสูงเกินกว่า
2.7 bar ที่ PI.2
- อุณหภูมิน้ำออกที่
TI.6
ต้องไม่สูงกว่าอุณหภูมิน้ำเข้าที่
TI.5 เกินกว่า 12 oC
- ความแตกต่างของอุณหภูมิน้ำออกที่
TI.1 และอุณหภูมิน้ำเข้าที่ TI.5
ต้องไม่เกินกว่า 25 oC
วิธีการ
ตรวจดูอัตราการไหลของน้ำที่
FI.2 และปรับวาล์วน้ำเย็น
FCV.2ให้ได้อัตราการไหลและอุณหภูมิของน้ำตามต้องการ
- วิธีการควบคุมสภาวะสุญญากาศ
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย
- การปรับสภาวะสุญญากาศต้องทำขณะเครื่องทำงาน
- ระวังการเกิด
column flood
เนื่องจากความเป็นสุญญากาศมากเกินไปที่ทำให้จุดเดือดของสารในหอกลั่นลดลงจนก่อให้เกิดไอออกมามาก
วิธีการ
ตรวจดูความดันที่
PI.3 และปรับวาล์วน้ำเย็น PCV.3
เพื่อให้เกิดสภาวะสุญญากาศ
- การบรรจุสารเคมีเข้าและการปล่อยสารเคมีออกจากหอกลั่นด้วยความปลอดภัย
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย
ห้ามบรรจุสารเคมีเข้าหอกลั่นในขณะที่หอกลั่นยังร้อนหรือกำลังทำงานอยู่
6.1) การบรรจุสารเคมีเข้าหอกลั่น
วิธีการ
- เปิดวาล์ว V.8,
วาล์ว V.6, วาล์ว V.12 และ วาล์ว V.13
- ปิดวาล์ว V.5
- บรรจุสารเคมีที่เตรียมไว้เข้าหอกลั่นทาง
Feed port
6.2) การปล่อยสารเคมีออกจากหอกลั่น
6.2.1) การปล่อยสารเคมีออกจากหอกลั่นที่
Reboiler
วิธีการ
- เปิดวาล์ว V.8
- เปิดวาล์ว V.5
บางส่วนเพื่อให้สารในเครื่องต้มกลั่นไหลออกสู่ภาชนะ
6.2.2) การปล่อยสารเคมีออกจากหอกลั่นทื่
Rotameter system
วิธีการ
- เปิดวาล์ว V.8
- เปิดวาล์ว V.1
เพื่อให้สารใน
Rotameterไหลออกสู่ภาชนะ
6.2.3) การปล่อยสารเคมีออกจากหอกลั่นที่
Distillate receiver
6.2.3.1)
เเบบการทำงานที่สภาวะบรรยากาศ
วิธีการ
- เปิดวาล์ว V.4
เพื่อให้สารใน Distillate receiver
ไหลออกสู่ภาชนะ
- ปิดวาล์ว V.4
6.2.3.2)
เเบบการทำงานที่สภาวะสุญญากาศ
วิธีการ
- ปิดวาล์ว V.3
- ปิดวาล์ว V.9
- เปิดวาล์ว V.10
อย่างช้าๆเพื่อทำให้ความดันในระบบเท่ากับความดันบรรยากาศ
- เปิดวาล์ว V.4
เพื่อให้สารใน Distillate receiver
ไหลออกสู่ภาชนะ
- ปิดวาล์ว V.4
- ปิดวาล์ว V.10
- เปิดวาล์ว V.9
อย่างช้าๆเพื่อทำให้ความดันในระบบเป็นสุญญากาศ
- เปิดวาล์ว V.3