รังสีรักษาในปัจจุบันของประเทศไทย

นายแพทย์นพดล อัศวเมธา *

น.ส. โชติกา จำปาเงิน **

บทคัดย่อ

จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2540 พบว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันที่ใช้รังสีในการรักษาผู้ป่วย อยู่ทั้งสิ้น 23 สถาบัน มีแพทย์ที่ปฏิบัติงานทางรังสีรักษา 56 ท่าน นักฟิสิกส์ทางรังสีรักษา 35 ท่าน เจ้าหน้าที่และนักรังสีเทคนิคทางรังสีรักษา 115 ท่าน มีเครื่องเร่งอนุภาค (Linear accelerator)23 เครื่อง เครื่องฉายรังสีโคบอลต์ 22 เครื่อง เครื่อง g -knife 1 เครื่อง และอุปกรณ์สำหรับฉายรังสีแบบ Stereotactic radiosugery ด้วยเครื่อง Linear accelerator 3 เครื่อง ปัญหาขาดแคลนบุคลากรจะมีมากกว่าขาดแคลนเครื่องมือ โดยเฉพาะสถาบันที่อยู่นอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งสถาบันมีน้อยเมื่อเทียบกับประชากรและสถาบันอยู่ห่างไกลทำให้ผู้ป่วยมีความไม่สดวกในการรักษา

บทนำ

เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันที่ให้บริการทางรังสีรักษาบุคลากรต่าง ๆ ที่ทำงานทางด้านนี้ และเครื่องมือที่มีอยู่ในสถาบันเหล่านี้ ทำให้ไม่ทราบถึงสถานะความต้องการ ความขาดแคลนของงานทางรังสีรักษา จึงได้รวบรวมข้อมูลทางรังสีรักษาขึ้น เพื่อประโยชน์ของการวางแผนต่อไปในอนาคต

วิธีการ

ส่งแบบสอบถามไปยังสถาบันต่าง ๆ ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีและเนื่องจากแพทย์และนักฟิสิกส์บางท่านทำงานหลายสถาบัน อันจะทำให้จำนวนที่ได้ซ้ำกันเกิดความผิดพลาดได้ จึงไช้โทรศัพท์สอบถาม และถามโดยตรงจากบุคลากรที่ทำงานในสถาบันนั้น ๆ เพื่อความถูกต้องของข้อมูล

ผล

ข้อมูลทางรังสีรักษาได้แสดงในตารางที่ 1 และตารางที่ 2


* หน่วยรังสีรักษา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

* * หน่วยรังสีรักษา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

 

 


 

 

- 2 -

ข้อมูลทางรังสีรักษาของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2540

 

ทั้งหมด

กรุงเทพฯ

ต่างจังหวัด

สถาบันที่ให้บริการรังสีรักษา

23

13

10

แพทย์

56

41

15

นักฟิสิกส์

35

24

11

รังสีเทคนิค 4 ปี

50

38

12

รังสีเทคนิค 2 ปี

65

26

39

เครื่องมือ

 

ทั้งหมด

กรุงเทพฯ

ต่างจังหวัด

Linear

23

15

8

Cobalt

22

12

10

Sup + Contact + x-ray

9

5

4

Simulator

21

13

8

Planning

23

15

8

Hyper Thermia

4

4

-

Stereotactic radiosugery

3

2

1

g - Knife

1

1

-

HDR

10

5

5

MDR or LDR

10

7

3


HDR = High Dose Rate Brachytherapy

MDR = Medium Dose Rate Brachytherapy

LDR = Low Dose Rate Brachytherapy

 

 

 

 

 

 

- 3 -

วิจารณ์

จำนวน 23 สถาบันที่ให้บริการทางรังสีรักษามี 1 สถาบันที่มีเฉพาะเครื่อง g – knife ดังนั้นสถาบันที่ให้การรักษาเเบบทั่วไปมี 22 สถาบัน เป็นของเอกชน 5 สถาบัน จำนวนเครื่อง Linear และ Cobalt รวมกันมี 45 เครื่อง ในปี ค.ศ.1990 ประเทศไทยมีอัตรามะเร็งในเพศชาย 149.6 ต่อประชากร 100,000 คน และในเพศหญิง 125.2 ต่อประชากร 100,000 คน1 ถ้าคิดอัตรามะเร็งเฉลี่ย 130 คนต่อประชากร 100,000 คน และประชากร 60 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2540 จะได้ผู้ป่วยมะเร็ง 78,000 คนต่อปีเป็นอย่างน้อย หากคิดว่าผู้ป่วยมะเร็งประมาณหนึ่งในสามต้องการรักษาด้วยรังสี2 ดังนั้นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาด้วยรังสีเป็น 26,000 คนต่อปี คิดเฉลี่ยแต่ละสถาบันรักษาผู้ป่วยใหม่ได้ 1,000 คน ต่อปี ประเทศไทยจึงขาดสถาบันอยู่อีก 4 สถาบันในปัจจุบันซึ่งควรที่จะอยู่นอกกรุงเทพมหานคร คาดว่าอัตรากำลังต่อหนึ่งสถาบันมี แพทย์ 3 ท่าน นักฟิสิกส์ 1 ท่าน นักรังสีเทคนิค 1 ท่าน เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค หรือนักรังสีเทคนิค 8 ท่าน เป็นอย่างน้อย ในการรักษาผู้ป่วยใหม่ 1,000 คนต่อปี ถ้าเป็นโรงเรียนแพทย์ให้เป็นแพทย์ 6 ท่าน นักฟิสิกส์ 3 ท่าน นักรังสีเทคนิค 3 ท่าน และเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคหรือนักรังสีเทคนิค 8 ท่าน เพื่อการสอนนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน นิสิตปริญญาโท และการทำหัตถการอย่างยาก รวมแล้วเราต้องการแพทย์ทั้งสิ้น 102 ท่าน นักฟิสิกส์ 42 ท่าน เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค หรือนักรังสีเทคนิค 250 ท่านถ้าเปรียบเทียบกับอัตรากำลังคนของข้อมูลในปัจจุบัน จะเห็นว่าเรายังขาดอัตรากำลังประมาณครึ่งหนึ่งสำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่และนักรังสีเทคนิค

สรุป

ในปัจจุบันเรายังขาดสถาบันสำหรับรังสีรักษาอีก 4 สถาบัน สำหรับประชากรนอกกรุงเทพมหานคร และเครื่องมือสำหรับสถาบันใหม่ ส่วนบุคลากรยังขาดอยู่ทุกสาขา โดยเฉพาะสถาบันที่อยู่นอกกรุงเทพมหานคร 10 สถาบันซึ่งยังขาดแคลนทั้งแพทย์ ,นักฟิสิกส์, เจ้าหน้าที่และนักรังสีเทคนิคอีกอย่างน้อย 1 เท่าของที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนสถาบันในกรุงเทพจะขาดแคลน ในจำนวนที่น้อยกว่า ในต่างจังหวัด หากมีสถาบันเพียงพอและได้มาตรฐานแล้วจำนวนผู้ป่วยที่มารับการรักษาในกรุงเทพจากต่างจังหวัดก็จะลดลง และหากคิดจำนวนสถาบันทางรังสีรักษา สำหรับประชากรในกรุงเทพและปริมณฑลแล้ว ก็คิดว่าน่าจะเพียงพอแล้ว เพียงแต่เพิ่มความสามารถของสถาบัน ในด้านเครื่องมือและบุคลากรเท่านั้นก็จะสามารถในบริการประชากรในกรุงเทพและปริมณฑลได้อย่างเพียงพอ

 

 

 

 

- 4 -

บรรณานุกรม

    1. V. Vatanasopt et al. Cancer in thailand 1988 – 1991 IARC Technical Report

No 16, 1993. Page 61

2. Optimization of Radiotherapy Report of a WHO meetings of Invertigaters. World Health Organization Technical Report Series. 644 , 1980 , Page 8