Information System for Radiation Oncology
นพ. ชลเกียรติ ขอประเสิรฐ
บทนำ
เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา และการที่ราคาของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีราคาไม่แพงมาก ในปัจจุบันจึงมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย รวมทั้งงานรังสีรักษา
สำหรับรังสีรักษาแพทย์ นอกจากจะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาความรู้ใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็วผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือโปรแกรมสำเร็จรูปที่บันทึกไว้บนแผ่น CD-ROM แล้ว ยังสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในงานการรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะอธิบายไว้โดยสังเขปในเอกสารประกอบการสอนนี้
Radiation Oncology Network
คือ การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานรังสีรักษาเข้าด้วยกันโดยสายเคเบิล เพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ดังรูปที่ 1Treatment Machine Simulator Planning Computer
รูปที่ 1 Radiation Oncology Network
เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ในงานรังสีรักษาส่วนใหญ่นั้นจะเป็นคอมพิวเตอร์หรือถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ และงานของรังสีรักษา จะเริ่มเป็นกระบวนการเริ่มจากการลงทะเบียนผู้ป่วยและจะไปสิ้นสุดที่เครื่องฉายรังสี (Treatment machine) ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน จะลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้รวดเร็ว ทำให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น
Radiation Oncology Network จะประกอบด้วย
1. เครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในหน่วยรังสีรักษาของหลาย ๆ สถาบันจะมีเพื่อใช้ในการวางแผนรักษาผู้ป่วย เนื่องจากการที่จะรู้ตำแหน่งที่แน่นอนของก้อนมะเร็งและอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ในร่างกายจะต้องอาศัยภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการวางแผนการรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ต่อไป
2. คอมพิวเตอร์สำหรับวางแผนการรักษาด้วยรังสี โดยเครื่องนี้จะรับข้อมูลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มา เพื่อจำลองการวางแผนการให้รังสีด้วยวิธีต่าง ๆ และแสดงปริมาณรังสีที่ก้อนมะเร็งและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้รับ
3. Simulator เป็นเครื่องจำลองการรักษาก่อนที่จะรักษาจริง โดยเครื่องจะรับ parameters ต่าง ๆ ที่ได้จากคอมพิวเตอร์วางแผน เช่น Gantry angles collimator angles, field size ฯลฯ มาวางแผนการรักษากับผู้ป่วยจริง และตรวจสอบดูอีกครั้งว่าถูกต้องสมบูรณ์มากน้อยเพียงได้
4. Treatment machine ก็จะรับข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมดที่ได้จากการจำลองการรักษาด้วยเครื่อง Simulator มาทำการรักษาจริง
5. Desktop workstation ก่อนที่ผู้ป่วยจะเริ่มผ่านกระบวนต่าง ๆ ข้างต้น จะต้องมีการลงทะเบียนและทำแฟ้มประวัติตลอดจนบันทึกข้อมูลทางคลินิคเพื่อใช้ในการวิจัยต่อไปในอนาคต โดยใช้คอมพิวเตอร์ที่ความสามารถไม่สูงมากนัก ซึ่งเรียกว่า desktop workstation นอกจากนี้ desktop workstation ยังสามารถใช้เรียกดูภาพเอกซเรย์ต่าง ๆ ที่อยู่ใน digital form ได้อีกด้วย เช่น ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์, ภาพเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
6. Server Data Repository เป็นคอมพิวเตอร์ความสามารถสูง เพื่อใช้เก็บข้อมูลทั้งหมดในระบบและส่งไปยังเครื่องมือที่ต้องการข้อมูลนั้น
เปลี่ยนข้อมูลกับระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาลได้
Internet-Based Communication in Radiation Oncology
1. Getting connected to the Internet
การเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตใช้เครื่อง IBM-compatible หรือเครื่อง Macintosh
เป็นเรื่องที่ไม่ยากในปัจจุบัน ระบบปฏิบัติการในปัจจุบันมักจะมีโปรแกรมสำหรับติดต่อกับอินเตอร์เน็ตให้มาอยู่แล้ว
องค์ประกอบที่จำเป็นพื้นฐานที่จำเป็นที่สุดคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็น networking protocol พื้นฐานของระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งมักจะมีมาให้พร้อมกับระบบปฏิบัติการในปัจจุบันอยู่แล้ว เช่น windows 95, Windows NT จากนั้นก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งติดตั้ง TCP/IP เรียบร้อยแล้วติดต่อไปยัง ISP (Internet service providers) โดยอาจจะใช้โมเด็ม หรือการต่อตรงแบบเครือข่าย ISP หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตนั้นอาจจะเป็นหน่วยงานของรัฐบาลหรือของบริษัทเอกชนก็ได้ สำหรับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสถาบันบริการคอมพิวเตอร์เป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต สำหรับการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับ ISP นั้น อาจจะใช้ SLIP หรือ PPP protocols ก็ได้
สำหรับบริการบนอินเตอร์เน็ตนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์, การรับส่งไฟล์ (FTP), Telnet, กลุ่มข่าว (Newsgroup), List Servers และเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web WWW)
World Wide Web คือการใช้วิธีการที่เรียกว่า hypertext และ hypermedia ร่วมกัน ทำให้การใช้อินเตอร์เน็ตง่ายขึ้นมาก และมีรูปแบบสวยงาม มีทั้งภาพ, เสียง และภาพเคลื่อนไหวประกอบอยู่ สำหรับไฟล์ hypertext นั้นจะต้องเขียนด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language) และใช้วิธีการที่เรียกว่า URL (Universal Resource Locator) เพื่อค้นหาไฟล์ hypertext ที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วโลก และโปรแกรมที่จะแปลงภาษา HTML ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและสวยงามนั้นเราเรียกว่า web browser ซึ่งมีอยู่หลายโปรแกรม เช่น Microsoft Internet Explorer, Netscape Navigator, NCSA Mosaic และอื่น ๆ
เนื่องจาก การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการแพทย์ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เป็น
ระบบที่ประหยัด, สะดวก และรวดเร็ว รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงได้พัฒนาฐานข้อมูลต่าง ๆ ทางการแพทย์ให้สามารถสืบค้นผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไว้มาก และนอกจากนี้ยังมีฐานข้อมูลทางด้านโรคมะเร็งที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชนต่าง ๆ มากมายทั่วโลก รวมถึงหน่วยรังสีรักษา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย web sites ให้ข้อมูลข่าวสารของโรคมะเร็งและรังสีรักษาที่ควรรู้มีดังต่อไปนี้คือ
(http://www.chula.ac.th/rx หรือ http://pioneer.chula.ac.th/~pjongjin)
เป็น Web site ของสาขารังสีรักษา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งให้ข้อมูลทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
รูปที่ 2 Division of Radiation Oncology, Chulalongkorn University Home Page
Brachytherapy, 3D conformal Radiation therapy
และสรุปวิเคราะห์งานของรังสีรักษาในประเทศไทย
PDQ เป็นการรวบรวมและสรุปข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งแต่ละชนิด ซึ่งจัดทำโดย
National Cancer Institute (NCI) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ฐานข้อมูลนี้สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้แพทย์สามารถรับข้อมูลที่สรุปแล้วได้อย่างทันสมัยและรวดเร็ว โดยจะมีคณะกรรมการจัดทำและปรับปรุงให้ทันสมัยทุกเดือน PDQ มีการแจกจ่ายในรูปแบบของ CD-ROM ตั้งแต่ปี 1984 และสามารถสืบค้นผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ตั้งแต่ปี 1994 ซึ่งแบ่งระดับของผู้อ่านไว้ชัดเจนคือ สำหรับแพทย์ และสำหรับผู้ป่วย
รูปที่ 3 : Home Page of CancerNet ที่ให้ PDQ and CANCERLIT database
CANCERLIT คือฐานข้อมูลที่รวบรวมบทคัดย่อของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งที่ตีพิมพ์ในวารสารทั่วโลกในแต่ละเดือน และคัดแยกสำหรับโรคมะเร็งแต่ละโรคไว้เป็นหมวดหมู่
เป็น Web site ของ University of Pennsylvania ซึ่งมีข้อมูลข่าวสารมากมาย และได้ผ่านการคัดเลือกและตรวจสอบโดย editorial board ของ OncoLink แล้ว โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น
2.3.1 what's new? เป็นข่าวใหม่ประจำสัปดาห์เกี่ยวกับโรคมะเร็ง ประกอบด้วย
ข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆ บดคัดย่อใหม่ของการวิจัยโรคมะเร็งที่ตีพิมพ์ที่
น่าสนใจ, การประชุมทางวิชาการต่างๆ และยังมีการส่งภาพวิดีโอและเสียงผ่านอินเตอร์เน็ตของการประชุมวิชาการต่างๆ ด้วย
รูปที่ 4: OncoLink Home Page
2.4.1 ASTRO (American Society of Therapeutic Radiation Oncology) http://www.astro.org
Philosophical and medicolegal issues
ถึงแม้ว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีข้อควรระวังคือ เนื้อหาส่วนใหญ่ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ได้มีการควบคุม, คัดกรองอย่างเป็นทางการ ซึ่งอาจจะมีการนำเสนอข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือข้อมูลที่ผิดพลาดได้ และก็ยังไม่มีกฎหมายรองรับในเรื่องนี้ รวมถึงข้อมูลที่เป็นความลับของผู้ป่วยที่อาจจะถูกส่งจากแพทย์ไปยังแพทย์อีกท่านหนึ่ง แต่ถูกดักจับได้โดยนักคอมพิวเตอร์ท่านอื่น และอาจนำข้อมูลนั้นไปเปิดเผย ซึ่งแพทย์ผู้ใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตควรตระหนักถึงข้อจำกัดเหล่านี้ไว้
Softwares for radiation oncology
ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่ให้ความรู้ทางด้านมะเร็ง ได้แก่
1. Oncodisc เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่บันทึกบนแผ่น CD-ROM จัดทำโดยบริษัท Lippincott ซึ่งมีฐานข้อมูลที่ประกอบด้วย
เดียวกันนี้ที่ให้บริการบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
References