สิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้อย่างไร

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ เลิศสงวนสินชัย

16 กันยายน 2541

จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอายุเฉลี่ยของประชาชนชาวไทย มีแนวโน้มที่จะมีอายุ ที่ยืนยาวขึ้น คือ

อายุเฉลี่ย ปี 2535 ปี 2539

เพศหญิง 68.7 ปี 71.1 ปี

เพศชาย 63.2 ปี 66.6 ปี

ทั้งนี้เนื่องจากความเจริญก้าวหน้า และการพัฒนาการในการให้บริการทางด้านสาธารณสุขที่มี ประสิทธิภาพและให้บริการกว้างขวางมากขึ้น ตลอดจนการลดอุบัติการการเสียชีวิตของทารกแรกคลอดและอุบัติการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ

ปัจจุบันนี้ สาเหตุของการเสียชีวิตของประชาชนชาวไทย พบว่า

อันดับที่ 1 คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด 78.9 รายต่อประชากรแสนคน

อันดับที่ 2 คือ อุบัติเหตุ 61.5 รายต่อประชากรแสนคน

อันดับที่ 3 คือ โรคมะเร็ง 50.9 รายต่อประชากรแสนคน

โรคมะเร็งถือเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของโลก และของประชาชนชาวไทยด้วยเช่นกัน โดยพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการตาย คิดเป็น 13% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดของคนไทย

โรคมะเร็งคืออะไร

มะเร็งคือ เนื้องอกชนิดร้ายแรง ซึ่งจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีการหยุดยั้ง มะเร็งจะสามารถมีการลุกลามไปสู่อวัยวะหรือเนื้อเยื่ออื่นที่อยู่ใกล้เคียง และยังสามารถมีการแพร่กระจายของโรคสู่อวัยวะที่ห่างไกลออกไปได้

อุบัติการของโรคมะเร็งในประเทศไทยเป็นอย่างไร

จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้รวบรวมสถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งในปี พ.ศ. 2533 พบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งใหม่จำนวนประมาณ 60,000 ราย โดยมีอุบัติการใน เพศชาย 153.6 รายต่อประชากรแสนคน ในเพศหญิง 128.5 รายต่อประชากรแสนคน

 

 

 

 

 

โรคมะเร็งที่พบบ่อย 6 อันดับแรกของคนทั่วโลกคือ

    1. มะเร็งปอด
    2. มะเร็งกระเพาะอาหาร
    3. มะเร็งเต้านม
    4. มะเร็งลำไส้ใหญ่
    5. มะเร็งตับ
    6. มะเร็งปากมดลูก

ส่วนโรคมะเร็งที่พบบ่อย 6 อันดับแรกของคนไทยคือ (พ.ศ. 2533)

    1. มะเร็งตับ 11,600 ราย
    2. มะเร็งปอด 7,300 ราย
    3. มะเร็งปากมดลูก 5,600 ราย
    4. มะเร็งเต้านม 3,300 ราย
    5. มะเร็งลำไส้ใหญ่ 3,100 ราย
    6. มะเร็งช่องปาก 2,000 ราย

นอกจากนี้ ยังพบว่าอุบัติการของการเกิดโรคมะเร็ง ยังแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นหรือ ชุมชน แต่ละภูมิภาค แต่ละประเทศ เช่น

มะเร็งที่พบบ่อยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ชาย หญิง

มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด

มะเร็งช่องปาก มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งรังไข่

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งช่องปาก

มะเร็งที่พบบ่อยในจังหวัดทางภาคเหนือ

ชาย หญิง

มะเร็งปอด มะเร็งปอด

มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเต้านม

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งตับ

มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งผิวหนัง มะเร็งช่องปาก

 

มะเร็งที่พบบ่อยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชาย หญิง

มะเร็งตับ มะเร็งตับ

มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม

มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งช่องปาก

มะเร็งผิวหนัง มะเร็งรังไข่

มะเร็งช่องปาก มะเร็งต่อมธัยรอยด์

มะเร็งที่พบบ่อยทางภาคใต้

ชาย หญิง

มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม

มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก มะเร็งปอด

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมธัยรอยด์

มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งผิวหนัง

การเกิดโรคมะเร็งเป็นขบวนการหลายขั้นตอน มีกลไกที่สลับซับซ้อนที่ทำให้เซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็ง (มะเร็งบางชนิดก็ทราบกลไกที่แน่ชัด แต่มีโรคมะเร็งอีกมากชนิดที่ยังไม่ทราบกลไกที่ แน่นอน) และมีการเปลี่ยนแปลงเจริญเติบโตจากเซลล์มะเร็งเพียงเซลล์เดียวกลายเป็นก้อนมะเร็งขึ้นมา ต่อมาจะมีการลุกลามเฉพาะที่และเกิดการแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นในที่สุด ดังนั้นจะเห็นว่า โรคมะเร็งเป็นโรคที่ใช้ระยะเวลานานหลายปี ในการก่อให้เกิดโรคขึ้นมา (รูป) ในปัจจุบันนี้ พอจะสรุปขบวนการของการเกิดมะเร็งเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ

    1. ขบวนการเริ่มต้นโดยมีตัวกระตุ้น (initiator) เป็นตัวที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือ
    2. ทำลายยีนส์ (gene) ที่ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ตามปกติ เกิดการกลายพันธุ์ (mutation) ซึ่งใช้เวลาหลายปี

    3. ตัวกระตุ้นเสิรม (promotor) เมื่อเซลล์ปกติที่เกิดการกลายพันธุ์ ได้รับสิ่งกระตุ้นเสริม

ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้เกิดการเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มีปัจจัยหรือสาเหตุหลายอย่างที่มีส่วนร่วมในการที่จะก่อให้เกิดเป็นโรคมะเร็ง โดยสาเหตุ ส่วนใหญ่พบว่าเป็นผลมาจากวิถีการดำเนินชีวิต และปัจจัยต่าง ๆ ทางสิ่งแวดล้อม สามารถแบ่งปัจจัยหรือสาเหตุต่าง ๆ ออกเป็น 2 ส่วนคือ

    1. ปัจจัยหรือสาเหตุจากภายนอกร่างกาย
    1. ปัจจัยหรือสาเหตุจากภายในร่างกาย

จากการคาดประมาณ การตายจากโรคมะเร็งในปัจจุบัน พบว่า

30% เกิดจากการสูบบุหรี่

30% จากปัจจัยต่าง ๆ ในอาหาร

15% จากการติดเชื้อเรื้อรังชนิดต่าง ๆ

สารก่อมะเร็ง (carcinogens) ในสิ่งแวดล้อม

สารก่อมะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในคน

    1. สารเคมี (chemicals)
    2. มีสารเคมีหลายชนิดที่ปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม และโดยเฉพาะในสถานที่ประกอบอาชีพของบุคคลบางกลุ่มเป็นสารก่อมะเร็ง

      1. สารหนู (arsenic) พบว่าการได้รับสารนี้เป็นประจำหรือปริมาณที่มาก จะก่อให้เกิด
      2. โรคมะเร็งของปอด และมะเร็งผิวหนัง

      3. แร่ใยหิน สารทนไฟ (asbestos) ในอุตสาหกรรมทำแก้วและกระจก วัสดุทนไฟ
      4. ต่าง ๆ บุคคลที่สัมผัสหรือได้รับสารนี้มาก จะมีอุบัติการของการเป็นมะเร็งของเยื่อหุ้มปอด (mesothelioma) และมเร็งปอด

      5. เบนซีน (Benzene) พบมีอุบัติการของการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) ถ้า
      6. สูดดมหรือสัมผัสสารนี้มากและบ่อย

      7. Formaldehyde, formalin ใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อาจก่อให้เกิดมะเร็งของจมูก
      8. (nose) และมะเร็งหลังโพรงจมูก (nasopharyngeal carcinoma)

      9. ยาฆ่าแมลง และยากำจัดวัชพืช (Pesticides, DDT) อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งทาง

      เดินลมหายใจและมะเร็งปอดได้

      1.6 โลหะหนัก เช่น แคดเมี่ยม, ดีบุก, ตะกั่ว

    3. อาหารและสิ่งเจือปนในอาหาร (Food and food contaminants)
    4. การกินพอดี จะทำให้ชีวิตมีความสุข และยืนยาว (Eat right, live longer)

      อาหารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนทั้งปริมาณและคุณภาพที่ไม่เหมาะสมจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคชนิดต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งโรคมะเร็งด้วย

      ปัจจุบันนี้ พบว่าอาหารเป็นสาเหตุของการก่อให้เกิดโรคมะเร็งประมาณ 1/3 ของ อุบัติการทั้งหมดของผู้ป่วยโรคมะเร็ง

      1. ไขมันจากสัตว์ (animal fat) เป็นไขมันชนิดอิ่มตัว (saturated fat) การรับประทาน
      2. อาหารไขมันจากสัตว์ในปริมาณที่มากในคนวัยที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว พบว่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก

      3. ปลาเค็ม (salted fish) และพวกอาหารรสเค็ม หมักดอง
      4. พบว่าในอาหารพวกปลาเค็ม ปลาร้า แหนม เนื้อเค็ม จะมีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า

        สาร nitrosamine ซึ่งจะเป็นสาเหตุของการเป็นมะเร็งของกระเพาะอาหารและมะเร็งหลังโพรงจมูก

      5. อาหารพวกปิ้ง ทอด รมควัน จนไหม้เกรียม จะมีสารพวกไฮโดรคาร์บอนเกิดขึ้น ซึ่ง
      6. เป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เกิดมะเร็งของกระเพาะอาหาร เป็นต้น

      7. สารพิษอัฟลาทอกซิน จากเชื้อราในอาหาร เช่น ขนมปัง ถั่ว ฟักทอง ที่อับมีเชื้อรา
      8. ขึ้น อาจก่อให้เกิดเป็นมะเร็งในตับได้

      9. การดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนมาก ๆ เช่น ชา กาแฟ ก็จะพบว่ามีอุบัติการเกิดมะเร็งของ
      10. หลอดอาหารเพิ่มขึ้น

      11. พลังงานที่ได้จากสารอาหารที่รับเข้าไป ถ้าได้รับพลังงานจากสารอาหารมากเกินไป
      12. ก็จะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต โรคไขมันในเส้นเลือดและหัวใจ ตลอดจนโรคมะเร็ง เป็นต้น ส่วนในเด็กที่ได้สารอาหารมาก จะทำให้เด็กเจริญเติบโตเร็ว เข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วขึ้น พบว่าหญิงที่มีประจำเดือนเร็ว และหมดประจำเดือนช้า จะมีอุบัติการของมะเร็งเต้านมสูง ส่วนในเพศชายจะเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น

      13. ผักและผลไม้สด (Vegetables and fruits)

      ในผักและผลไม้สด จะมีสาร antioxidant ที่เชื่อว่าจะเป็นตัวช่วย neutralize free

      radical ในร่างกาย ซึ่งพบว่าตัวอนุมูลอิสระ (free radical) เป็นตัวก่อให้เกิดปฏิกริยาทางเคมีต่าง ๆ ในโมเลกุลของเซลล์ มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือทำลายยีนส์ (gene) ใน DNA ทำให้มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น (mutation)

      สารเคมีบางอย่างในผักและผลไม้สด สามารถช่วยยับยั้งการส่งสัญญาณหรือขัดขวาง ขบวนการบางขั้นตอนของการเกิดมะเร็งได้ และลดการแบ่งตัวของเซลล์ได้ เป็นต้น

      การปรุงอาหารหรือการหมักดองผลไม้ที่ไม่ถูกวิธีหรือไม่เหมาะสม จะมีผลทำลาย คุณสมบัติของ antioxidant ลงได้

    5. การใช้สารบางอย่างในทางที่ผิด
      1. บุหรี่
      2. พบว่าบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง ในโลกนี้พบว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง

        ทั้งหมด มีสาเหตุมาจากบุหรี่ถึง 1 ใน 3

        บุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งของช่องทางเดินหายใจส่วนบน, มะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งกระเพาะอาหาร

        อุบัติการของการเกิดมะเร็ง จะขึ้นกับจำนวนของการสูบบุหรี่ในแต่ละวัน ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ อายุที่เริ่มต้นสูบบุหรี่ และปริมาณของน้ำมันดิน (tar) ในบุหรี่

        สำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวงของผู้สูบบุหรี่ ซึ่งอาจจะต้องรับควันบุหรี่เข้าไปในปอดหรือร่างกายด้วย (passive smoking) พบว่าจะก่อให้เกิดอุบัติการของมะเร็งปอดค่อนข้างน้อยมาก ใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ หรือประชากรทั่ว ๆ ไป

      3. การดื่มสุรา (alcoholic beverage)
      4. พบว่าการดื่มสุรา และที่มีดีกรีสูง ๆ จะก่อให้เกิดมะเร็งของทางเดินหายใจ และ

        ทางเดินอาหารส่วนบน และจะสูงมากขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อสูบบุหรี่ร่วมด้วย

        นอกจากนี้สุรายังทำให้มีอาการโรคตับแข็ง และเพิ่มอุบัติการการเกิดมะเร็งตับด้วย

      5. การเคี้ยวหมาก พบว่าอุบัติการของการเกิดมะเร็งในช่องปากและริมฝีปากสูงขึ้น
    6. การติดเชื้อเรื้อรัง (chronic infections)
    7. โรคติดเชื้อเรื้อรังบางชนิด มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งขึ้นได้

      1. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus) การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะ
      2. ให้เกิดเป็นมะเร็งตับสูงกว่าผู้ไม่ได้ติดเชื้อนี้ และถ้ามีภาวะตับแข็งร่วมด้วย จะยิ่งเพิ่มอุบัติการสูงมากขึ้น

      3. การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ (liver fluke) ทำให้เกิดเป็นมะเร็งท่อทางเดินน้ำดี ซึ่ง
      4. พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และพบเป็นอุบัติการที่สูงที่สุดในโลก

      5. Epstein-Barr virus (EBV) การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ จะทำให้มีอุบัติการเป็นมะเร็ง

ต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งหลังโพรงจมูก

4.4 Herpes Papilloma Virus (HPV) การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ จะทำให้เกิดเป็นมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งของทวารหนัก

    1. การติดเชื้อไวรัสเอดส์ (HIV) ปัจจุบันนี้กำลังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอย่างมาก

ผู้ป่วยเหล่านี้จะเกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนังชนิด Kaposi’s sarcoma และมะเร็งสมอง สูงกว่าคนปกติทั่วไป

    1. รังสี (radiation) เป็นสาเหตุก่อให้เกิดมะเร็งได้ 2% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด
      1. รังสีจากแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะรังสีอุลตราไวโอเล็ต-เบต้า (ultraviolet b -rays)
      2. จะสามารถทำลาย DNA และมีผลทำให้เกิดเป็นมะเร็งผิวหนัง รวมทั้งมะเร็งชนิด melanoma

      3. รังสีที่มีอยู่เองตามธรรมชาติ และตำแหน่งที่ขุดทำเหมืองแร่ ทำให้เพิ่มอุบัติการเกิด

      มะเร็งปอด และมะเร็งกระดูกได้

      5.3 รังสีจากเครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องใช้ในครัวเรือน ตลอดจนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือ มีข้อน่าสังเกตว่าอาจก่อให้เกิดอุบัติการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งสมองได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันได้อย่างแน่ชัดในปัจจุบันนี้

      5.4 รังสีจากแหล่งปฏิกรณ์ปรมาณู มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นอย่างแน่ชัดแล้วว่า การรับ

      รังสีในปริมาณที่สูงโดยไม่จำเป็น จะสามารถก่อให้เกิดเป็นมะเร็งได้ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของระเบิดปรมาณูในสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ฮิโรชิมา และนางาซากิ และโรงไฟฟ้าปรมาณูที่เชอร์โนบิลระเบิด ในช่วงระยะเวลา 5-10 ปีต่อมา ผู้คนที่อยู่ในระแวกที่ได้รับรังสี เกิดเป็นมะเร็งชนิดต่าง ๆ ตามมา เช่น มะเร็งต่อมธัยรอยด์ มะเร็งกระดูกและเนื้อเยื่อ มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น

    2. ยาที่ใช้ในการรักษา
      1. เคมีบำบัด ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ก็เป็นสารก่อมะเร็งได้เช่นกัน เช่น
      2. nitrogen mustard, cyclophosphamide ก่อให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

      3. รังสีรักษา แม้ว่าจะใช้ในการรักษาโรคมะเร็งมากมายหลายชนิดก็ตาม แต่ก็พบว่า
      4. ในระยะยาวอาจก่อให้เกิดมะเร็งของเนื้อเยื่อ มะเร็งกระดูก มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

      5. ยากดภูมิต้านทานของร่างกายในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ อาจมีผลทำให้
      6. เกิดมะเร็งของต่อมน้ำเหลือง มะเร็งของไต

      7. การเสริมฮอร์โมนเอสโตรเจน ปัจจุบันนี้ผู้หญิงซึ่งเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (วัยทอง)

      อาจได้รับการแนะนำให้เสริมฮอร์โมนเอสโตรเจน เพื่อป้องกันอาการต่าง ๆ ของการหมดประจำเดือน และลดปัญหาเรื่องกระดูกบอบบาง ฮอร์โมนเหล่านี้อาจมีส่วนในการก่อให้เกิดมะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งเต้านมได้

    3. ภาวะมลพิษต่าง ๆ (pollution)
      1. มลพิษในอากาศ เช่น เขม่าควันไฟ การเผาไหม้ของน้ำมันและถ่านหิน เป็นต้น
      2. มลพิษในน้ำ สิ่งปฏิกูลต่าง ๆ มีทั้งเชื้อโรคต่าง ๆ ปะปนอยู่ในน้ำคลอรีน
      3. มลพิษในดิน การมีสารเคมี หรือสารกัมมันตรังสีตกค้างในพื้นใต้ผิวดิน เป็นต้น

ส่วนปัจจัยหรือสาเหตุจากภายในร่างกาย (Genetic and cancer risk) ประมาณกันว่า ภาวะของ

พันธุกรรมมีผลต่ออัตราการเกิดโรคมะเร็งได้ 5% โรคมะเร็งที่พบว่าเป็นผลจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้คือ มะเร็งเต้านม, มะเร็งรังไข่, มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งของไต (Wilms’ Tumor) กับ Retinoblastoma ที่พบในเด็ก เป็นต้น

สรุปก็คือ สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้คือ

- บุหรี่ เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง 30-35%

- อาหาร เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง 30-35%

- สารเคมี เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง 15%

- โรคติดเชื้อ เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง 15%

- พันธุกรรม เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง 5%

มะเร็งไม่ใช่โรคติดต่อมะเร็งบางชนิดสามารถป้องกันได้ เช่น มะเร็งปอด, มะเร็งตับ, มะเร็งช่องปาก และมีมะเร็งหลายชนิดสามารถตรวจเช็คหรือตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้โดยง่าย เช่น มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งเต้านม, มะเร็งช่องปาก นอกจากนี้มะเร็งหลายชนิดในปัจจุบันนี้ สามารถรักษาได้ผลดี

อย่างไรก็ตาม การหลีกเลี่ยงหรือป้องกันการเกิดโรคมะเร็งจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ทำได้โดย

- งด เลิก สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา

- ลดอาหารไขมันจากสัตว์

- เพิ่มอาหารเส้นใย ผักและผลไม้สด

- หลีกเลี่ยงหรือป้องกันการติดเชื้อบางชนิด

- ทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ

- เสริมสุขภาพอนามัยให้สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ