Radiation Oncology Chulolongkorn University

ชนิดของ Stereotactic Radiosurgery


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


วิธีการที่ใช้มีดังนี้คือ


1. ฝังสารกัมมันตรังสีเข้าไปยังส่วนที่ต้องการโดยตรง (Implantation) ซึ่งแบ่งเป็น


ก. ใช้สารกัมมันตรังสีที่เป็นน้ำ (unsealed source) และให้เฉพาะรังสีเบต้า เช่น 32P chromic
phosphate ซึ่งใช้ในสหรัฐอเมริกา และ 90 Y (Yttrium) ซึ่งใช้ในยุโรปและญี่ปุ่น (10,15) ฉีดเข้าถุงน้ำ
เช่น ใน cranio-pharyngioma ซึ่งได้ผลถึง 96% (10,15) และต่อม pituitary ยังทำงานปกติมากกว่า 50%
ปริมาณรังสีที่ให้ที่ผนังของ cyst ประมาณ 20,000 cGy โดยใช้ 32P 255 mCi (5)


ข. ใช้สารกัมมันตรังสีที่เป็นของแข็ง (sealed source) โดยใช้เข็มกลวงแทงเข้าไปในก้อน
เนื้องอกของสมอง แล้วใช้สารกัมมันตรังสี เช่น 125I (5,16) หรือ 192Ir HDR สอดเข้าไปในเข็มตรงตำแหน่ง
ของก้อนนั้นเพื่อให้ก้อนเนื้อได้รังสีโดยตรง โดยทั่วไปจะใช้กับก้อนไม่เกิน 5 cm. ไม่ติดกับเส้นเลือด และ
เป็น supratentorial lesion ใช้ปริมาณรังสี 50-60 Gray ใน 5-6 วัน สำหรับ 125I


2. ใช้วิธีการฉายรังสี โดยใช้ลำรังสีเล็ก ๆ ฉายเข้าหลายทิศทางสู่ตำแหน่ง หรือก้อนที่ต้องการ
ซึ่งแบ่งใหญ่ ๆ ได้ 3 วิธี คือ
ก. ใช้เครื่อง gamma-knife เครื่องนี้ประกอบด้วย ต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์ จำนวน 201 อัน
อันละ 30 Ci แต่ละอันจะฉายรังสีไปยังจุด ๆ เดียวกัน ซึ่งเป็นตำแหน่งศูนย์กลาง และห่างจากต้นกำเนิด
ประมาณ 40 ซ.ม. เวลาทำการฉายรังสีก็จะวางตำแหน่งจุดกลางของก้อน หรือตำแหน่งที่ต้องการฉาย

ให้ตรงกับจุดศูนย์กลางของเครื่อง การเรียงตัวของต้นกำเนิดรังสีมี 2 แบบคือ แบบ U-type หรือ
prototype A. ซึ่งใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ต้นกำเนิดรังสีจะเรียงเป็นแนวด้านบนของศีรษะจากหน้า
ไปหลัง ดังรูปที่ 1 อีกแบบคือ O - type หรือ prototype B ซึ่งต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์จะเรียงเป็น
วงกลมรอบศีรษะ 5 แถว ดังรูปที่ 2 ทั้ง 2 แบบ จะมี secondary collimator หรือ helmet ซึ่งเปลี่ยน
ได้ 4 ขนาด คือ 4, 8, 14 และ 18 มิลลิเมตร ที่จุดศูนย์กลาง และถ้าลำรังสีใดผ่านตาก็สามารถเปลี่ยน
เป็นไม่มีรูให้รังสีผ่านได้ เพื่อไม่ให้ตาถูกรังสี


ข. ใช้เครื่อง Linear Accelerator ในการฉาย โดยมีอุปกรณ์ประกอบในการทำให้ขนาด
ของรังสีที่ออกมาเล็กลงเป็นขนาดมิลลิเมตร คือ ตั้งแต่ 4 ถึง 50 มิลลิเมตร จึงใช้รักษาขนาดของก้อน
5-25 c.c. ได้ดีกว่าเครื่อง gamma knife (11) วิธีการฉายก็โดย ตั้งจุดศูนย์กลางของก้อน หรือบริเวณ
ของสมองที่ต้องการฉายให้ตรงกับจุดศูนย์กลางของการหมุนของหัวฉายรังสี (gantry) และเตียง (couch)
แล้วฉายโดยหมุนหัวฉายและเตียง ซึ่งจะหมุนพร้อมกันหรือไม่พร้อมกันก็ได้ ขอยกตัวอย่างวิธีการฉาย
ของสถาบันวิจัยมะเร็ง เมือง Heidelberg ประเทศเยอรมันนี ซึ่งใช้ 9 arcs ในการฉายดังแสดงไว้ใน
ตารางที่ 1 การฉายด้วยเครื่อง linear accelerator นี้จะใช้ทั้งการฉายครั้งเดียว (single fraction) ซึ่งใช้
ในการรักษา AVM และฉายหลายครั้ง (multiple fractions) ประมาณ 5-6 ครั้ง ซึ่งใช้ในพวก tumor
โดยใช้ frame หรือหน้ากากที่ถอดออกได้ โดยการยึดศีรษะไม่ต้องเจาะผ่านผิวหนังไปยึดกระโหลก
ศีรษะเหมือน แบบ frame ที่ใช้ในการฉายครั้งเดียว


ค. ใช้ Particles Beam(11,14)
รังสีชนิดนี้จะผลิตจากเครื่อง cyclotron ซึ่งจะให้ proton และ neutron beam แต่จะ
ใช้เฉพาะ proton ใน radiosurgery และเครื่อง Synchrotron ซึ่งจะให้ Heavy ion particle beam เช่น
Carbon, Helium, Neon เป็นต้น วิธีการฉายก็เช่นเดียวกัน จะให้จุดกลางก้อนหรือบริเวณของสมองที่
จะฉายอยู่ตรงกลางจุดหมุนของเครื่องและตรง Bragg peak ถ้าเครื่องหมุนไม่ได้ก็จะใช้วิธีหมุนผู้ป่วย
แทน การฉายจะฉายเป็นหลายทิศทาง (ประมาณ 3-5)(14) เข้าไปยังตำแหน่งของก้อน โดยจะฉายทีละ
ตำแหน่งไม่ฉายขณะเครื่องหมุน นอกจากนี้ยังใช้ filter เพื่อเลื่อน bragg peak (รูปที่ 3) ให้คลุมก้อน
ทั้งหมดหรือสร้าง collimator ให้พอเหมะกับขนาดของก้อนที่จะฉายรังสี ปัจจุบันนี้เชื่อว่าการฉายด้วย
เครื่องนี้จะให้ผลข้างเคียงน้อยที่สุด และสามารถฉายก้อนได้โตที่สุดถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 cm
แต่ก็มีสถาบันไม่กี่แห่งในโลกนี้ที่มีเครื่องแบบนี้


[Previous]

Introduction

[Next]

การใช้รักษาโรค (Clinical Uses)

[Up]

Stereotactic Radiosurgery

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996