Radiation Oncology Chulolongkorn University

ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาและผลแทรกซ้อน


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


ก. บริเวณที่รักษา เช่น ถ้าใกล้เส้นประสาทตา optic Nerve ก็ต้องระวังไม่ให้ปริมาณรังสีที่
ถูกเส้นประสาทตาเกิน 10 Gray ถ้าถูกเป็นบางส่วนก็ไม่ควรเกิน 15 Gray เพราะถ้าเส้นประสาทตา
ได้ปริมาณรังสีมากเกินไปก็ทำให้ตาบอดได้ นอกจากความยาวของเส้นประสาทที่ถูกรังสี จะมีผลต่อ
ผลแทรกซ้อนแล้ว ชนิดของเส้นประสาท ถ้าเป็น pure motor หรือ sensory ก็จะ recover หลังถูก
รังสีดีกว่า mixed nerve(9)
ข. ปริมาณรังสีที่ใช้ ถ้าใช้ปริมาณรังสีมากก็มีโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนมากโดยทั่วไปจะใช้
ไม่เกิน 30 Gray (ประมาณ 10-40 Gray) ขึ้นกับว่าใช้ % isodose curve ที่เท่าไร ถ้าใช้ isodose curve ที่ percent ต่ำ ๆ เช่น 50% line โอกาสที่ dose maximum จะเกิน 2 เท่าก็สูง จึงเป็นเทคนิคที่ไม่ดี
ตามข้อกำหนดของ RTOG (17) และถ้าใช้ multiple shots ก็จะเกิด tumor dose inhomogeneity สูง
และเกิดผลแทรกซ้อนได้มาก (13) แต่ก็คงขึ้นกับลักษณะของก้อนด้วย

ค. เทคนิคการฉาย เช่น ฉายครั้งเดียวในการรักษา AVM และฉายหลายครั้งในก้อนเนื้องอก
เพื่อที่ผลการรักษาจะได้ดีขึ้น(4,6,18)
ง. ขนาดของก้อนที่จะรักษา ถ้าก้อนโตก็มีโอกาสที่จะเกิดผลแทรกซ้อนมาก ดังรูปที่ 4 (12)
จ. ความแม่นยำในการฉาย ซึ่งขึ้นกับเครื่องมือการฉาย และโดยเฉพาะเครื่องตรวจ เช่น
CT, MRI ซึ่งให้ความคลาดเคลื่อนสูงกว่าเครื่องฉายเสียอีก (11)


[Previous]

การใช้รักษาโรค (Clinical Uses)

[Next]

บรรณานุกรม

[Up]

Stereotactic Radiosurgery

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996