Radiation Oncology Chulolongkorn University

การวินิจฉัยโรค (Diagnosis)


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูก มีวิธีการและขั้นตอนต่าง ๆ พอจะสรุปได้ดังนี้ คือ
1. การตรวจหาเซลล์มะเร็ง (Exfoliative cytology) โดยการทำ Pap smear นับเป็นหัวใจ
สำคัญของการวินิจฉัยผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะแรก ถือว่าเป็น screening test ที่ดีที่สุด ทำได้ง่าย
สะดวก และประหยัด แต่ก็อาจมี false negative หรือ false positive ได้ ถ้าเห็นพยาธิสภาพที่น่าสงสัย
ก็ควรตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจศึกษาลักษณะทางกล้องจุลทรรศน์คู่กันไปด้วยทันที
False negative คือ ภาวะการตรวจเซลล์ที่ให้ผลว่าไม่เป็น CIN (cervical intraepithelial
neoplasia) หรือมะเร็ง แต่ความเป็นจริงผู้ป่วยเป็นมะเร็ง
False positive คือ ภาวะตรงกันข้ามที่การตรวจเซลล์บ่งชี้ว่าผู้ป่วยอาจจะเป็น CIN หรือ
เป็นมะเร็ง แต่จากการตรวจอื่น ๆ เช่น Colposcopic biopsy และ conization ไม่ให้การวินิจฉัยว่าเป็น
CIN หรือมะเร็ง
ดังนั้นจะเห็นว่า false positive อาจก่อให้เกิดการตรวจหรือการผ่าตัดที่ไม่จำเป็น ส่วน
false negative ทำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจหรือการรักษาล่าช้า จึงเป็นข้อเสียที่ต้องระวังไว้ด้วย
ซึ่งอาจจะมีได้ประมาณ 20%32 เพราะฉะนั้นการตรวจหรือการรวบรวมเซลล์มาตรวจจึงมีความ
สำคัญมาก ควรจะได้เซลล์จากจุดหรือบริเวณที่มีเซลล์ที่ผิดปกติมากที่สุด โดยแนะนำให้เก็บเซลล์
จาก Vaginal pool และจาก cervix โดยการขูดเอาเซลล์จาก Transformation zone และจาก
endocervical canal โดยการดูดหรือการเช็ดเซลล์จากภายในช่องปากมดลูก ขณะทำการตรวจภายใน
โดยใช้ไม้ป้ายที่เรียก Ayre’s spatula เมื่อได้เซลล์มาแล้ว ให้นำมาคลึงบนแผ่นสไลด์ รีบ fix เซลล์ทันที
ใน 95% ethyl alcohol
การรายงานผลการตรวจเซลล์จะรายงานเป็น Class I - V ดังนี้คือ
Class I Benign
Class II Atypical benign
Class III Suspicious malignancy
Class IV Very suspicious for malignancy
Class V Conclusive for malignancy
Pap smear ที่ผิดปกติหมายถึง Pap smear ที่บ่งบอกว่าสตรีรายนั้นน่าจะมีรอยโรคของ
CIN, Microinvassive หรือ Invasive carcinoma อย่างใดอย่างหนึ่งที่ปากมดลูก หรืออาจมีรอยโรคมะเร็ง
ของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีส่วนอื่น ซึ่งพบเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับที่ปากมดลูก ดังนั้นผู้ป่วยที่มีผล Pap
smear ผิดปกติต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาต่อ 33,34 (ตารางที่ 3)
2. Schiller’s test เป็นวิธีการตรวจหาบริเวณที่ผิดปกติที่ปากมลดูก โดยถือหลักว่าเซลล์มะเร็งหรือ
neoplastic cells จะไม่มี glycogen เหมือน squamous cell ปกติทั่วไป ดังนั้นเมื่อป้ายบริเวณปากมดลูกด้วย lugol’s solution ซึ่งมีไอโอดีน 5% เนื้อ epitheliums ที่ปกติจะติดสีน้ำตาลเข้ม แต่บริเวณที่ผิดปกติ
จะไม่ติดสีเรียกว่า Schiller’s test positive บริเวณที่ไม่ติดสีอาจจะไม่ใช่มะเร็งหรือ CIN ก็ได้ แต่อาจ
จะเป็น columnar epitheliums หรือ benign conditions อื่น ๆ เช่น ภาวะการอักเสบ, squamous
metaplasia ระยะเริ่มแรก เป็นต้น จึงให้ความแน่นอนสู้ colposcopy ไม่ได้ (จะกล่าวต่อไป) แต่ก็ยังมี
ประโยชน์มากเมื่อไม่มี colposope เมื่อจะทำ cervical conization หรือเป็นเครื่องหมายการรักษาด้วย
การจี้ด้วยไฟฟ้า cryosurgery หรือ laser
3. Colposcopy เป็นการตรวจโดยการใช้กล้องขยาย โดยทั่วไปจะมีกำลังขยายขนาด 8-18 เท่า
การตรวจวิธีการนี้จะช่วยให้แพทย์ทราบว่ามีรอยโรคที่ปากมดลูกหรือไม่ บอกตำแหน่งของรอยโรค
รวมทั้งขนาดและจำนวน และช่วยจำแนกรอยโรคที่ตรวจพบว่า น่าสงสัยว่าเป็นมะเร็งระยะลุกลามหรือไม่
วิธีการตรวจ ทำการทาเนื้อเยื่อบุผิวของปากมดลูกด้วยน้ำยา 3% acetic solution หรือ Lugol’s
solution ซึ่งจะช่วยแยกความผิดปกติระหว่างเยื่อบุผิวที่ผิดปกติได้ง่ายขึ้น แล้วทำการตัดชิ้นเนื้อบริเวณ
ที่เห็นว่าผิดปกติส่งตรวจทางพยาธิวิทยา การตัดชิ้นเนื้อผ่านกล้องขยายจะช่วยลดการตัดชิ้นเนื้อที่
ปากมดลูก (Blind cervical punch biopsy) และการผ่าตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย (cone biopsy) โดย
ไม่จำเป็นได้ การตัดชิ้นเนื้อผ่านกล้องขยาย (colposcopic biopsy) ทำได้ง่าย การตัดควรตัดชิ้นเนื้อ
หลาย ๆ ชิ้น ทั่วทุกจุดที่มองผ่านกล้องขยาย ที่สงสัยว่าเป็นพยาธิสภาพ ความแม่นยำของการตัดชิ้นเนื้อ
โดยการบอกตำแหน่งผ่านกล้องขยายนี้สูงถึงร้อยละ 95
4. การตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกตรวจ (cervical biopsy) การวินิจฉัยที่ดีที่สุดคือ การตัดชิ้นเนื้อ
ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา การตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกที่เห็นว่าผิดปกติโดยการดูด้วยตาเปล่าหรือใช้กล้อง
ขยายช่วยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ควรที่จะทำทุกราย ถึงแม้ว่าผลการตรวจเซลล์อาจจะให้ผลว่า
ไม่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งก็ตาม
5. การตัดเนื้อปากมดลูกเป็นรูปกรวย (cervical conization) ซึ่งอาจจะเป็นการตัดเพื่อการ
วินิจฉัยโรคหรือการตัดเพื่อการรักษา มีข้อบ่งชี้ในการทำ conization35 ดังนี้คือ
5.1 ผลการตรวจทางเซลล์วิทยา ไม่สัมพันธ์กับผลทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อที่ส่งตรวจ
จากการทำ Colposcopy
5.2 ผลการตรวจเป็น Unsatisfactory colposcopy
5.3 ผลการขูดภายในปากมดลูกพบเซลล์ผิดปกติ
อย่างไรก็ตาม สำหรับในสถาบันที่ไม่สามารถตรวจด้วยกล้องขยาย Colposcopy ได้ การผ่าตัด
ปากมดลูกเป็นรูปกรวยเพื่อวินิจฉัยโรค ยังถือเป็นวิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจในสตรีที่มีผล Pap
smear ผิดปกติ

ตารางที่ 3 แสดงขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย เมื่อผล Pa (~15K)


[Previous]

พยาธิสภาพ (Pathology)4-6

[Next]

การแบ่งระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก (Clinical staging)

[Up]

มะเร็งปากมดลูก

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996