Radiation
Oncology Chulolongkorn University
เคมีบำบัด
(Chemotherapy)
ต้องระลึกไว้เสมอว่าการรักษาหลักของมะเร็งปากมดลูกคือ
การผ่าตัด และ/หรือ การฉายรังสี
ยาเคมีบำบัดนั้นไม่สามารถนำมาใช้แทนการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือฉายรังสี
แต่ยาเคมีบำบัดอาจนำมาใช้
ได้ในกรณีที่มีการกลับเป็นซ้ำของโรค
หรือมีการแพร่กระจายของโรค
และในบางครั้งอาจนำมาใช้ร่วมกับ
การฉายรังสี
เพื่อหวังผลในการควบคุมโรคเฉพาะที่ให้ดีขึ้น
ทำให้มีระยะเวลาปลอดโรค (disease-free
survival)
และอาจทำให้มีอัตราการรอดชีวิต
(overall survival) เพิ่มมากขึ้น 44-49
ปัจจุบันนี้มีการศึกษาวิจัยการใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษามะเร็งปากมดลูกอย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่มีการกลับเป็นใหม่ของโรคภายหลังการรักษาด้วยรังสี
หรือ
การผ่าตัด
และผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะต่าง
ๆ
Cisplatin
จัดว่าเป็นยาซึ่งออกฤทธิ์ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษามะเร็งปากมดลูก
ขนาดของยาที่ใช้ 50-100 mg/m2 ให้ทุก 3-4
สัปดาห์ พบว่ามีการตอบสนอง (overall
response rate)
ประมาณ 30-40%
นอกจากนี้ก็ยังมียาเคมีบำบัดตัวอื่น
ๆ อีก เช่น Bleomycin, Doxorubicin, Mitomycin-C,
Methotrexate, Ifosfamide, 5-Fluouracil เป็นต้น
ซึ่งจะมีการตอบสนองอยู่ระหว่าง 10-25%
ดังแสดง
ในตารางที่ 5
ตารางที่ 5 Single agent activity against squamous cell
carcinoma of cervix 50-52
ส่วนการใช้ยาเคมีบำบัดตั้งแต่
2 ตัวขึ้นไป (combination chemotherapy)
พบว่ามีการตอบสนอง
ต่อการรักษาที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการรักษาก็สูงมากขึ้น
เช่นกัน Combination Chemotherapy ที่ได้ผลดี
เช่น
- Bleomycin + Mitomycin-C 53
- Bleomycin + Methotrexate 54
- Cyclophosphamide + Adriamycin + Cisplatinum (CAP) 55
- Cisplatinum + Vinblastine + Bleomycin (PVB) 56
- Bleomycin + Methotrexate + Cisplatinum (BMP)57
โดยจะพบว่ามีการตอบสนองต่อการรักษาอยู่ระหว่าง
55% - 93% และมีช่วงเวลาการตอบสนอง
(Duration of response) 3 - 30 เดือน
Last
modified on 25 October 1996