*
ทฤษฎีการสอนศิลปศึกษา
ดร. อำไพ ตีรณสาร

        ทฤษฎีการสอนศิลปศึกษาที่พึงประสงค์นั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า ควรเป็นทฤษฎีที่มีรากฐานมาจาก การพิจารณา มาจากสาระของศิลปะเอง จากนั้นจึงพิจารณาปัจจัยร่วมต่างๆ  เพื่อนำไปสู่แนวทาง การจัดการเรียนการสอน ศิลปศึกษาซึ่งพัฒนาโดยอาเธอร์ เอฟแลนด์ (Arther Efland) ซึ่งได้เสนอแนวความคิดเป็นไปตามข้อกระบวนการ ที่ผู้เขียนนำเสนอข้างต้น
         เอฟแลนด์วางเค้าโครงทฤษฎีการสอนศิลปศึกษาโดยวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของสถานการณ์ทางศิลปะและใช้ปัจจัยเหล่านี้ เป็นหลักในเปรียบเทียบและประสานกับทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์ จากนั้นจึงเทียบเคียงกับทฤษฎีทางจิตวิทยา ทฤษฎีทางการสอน และในที่สุดจึงนำเสนอทฤษฎีในการสอนศิลปศึกษา

องค์ประกอบของวัฏจักรทางศิลปะ คือองค์ประกอบพื้นฐานของสถานการณ์ทางศิลปะ (the elements in the total situation of a work of art) ได้แก่
1. ตัวงานศิลปะ ( the work of art itself ) 
2. ศิลปิน ( the artist )
3. ผู้ชมงานศิลปะ ( the audience )
4. สาระหรือความเป็นสากลในงานศิลปะ ( the universe )
         ถึงแม้ทุกสถานการณ์ทางศิลปะจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่กล่าวถึงนี้ แต่น้ำหนักการเน้นในแต่ละองค์ประกอบอาจแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กัยจุดยืนของกลุ่มบุคคลในการให้ความสำคัญตามความถนัดหรือตามบทบาทเฉพาะอย่าง เช่น นักวิจารณ์ศิลปะ จะมุ่งการแยกแยะ วิเคราะห์ และและเมินค่างานศิลปะตามหลัก และวิธีการของตน ในขณะที่บุคคลกลุ่มอื่นๆ เช่น ครูศิลปะ จะมีจุดยืน และให้ลำดับความสำคัญต่อองค์ประกอบหนึ่งๆ แตกต่างกันออกไป

ทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์ เมื่อพิจารณาโดยยึดองค์ประกอบพื้นฐานของสถานการณ์ทางศิลปะดังที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นแกน สามารถเทียบเคียงกับทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์หลักได้ 4 แนวดังนี้คือ

* 1. ทฤษฎีมิเมติค (mimetic theories) เป็นแนวทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับความเป็นสากล หรือธรรมชาติ การพิจารณาคุณค่าของงานศืลปะในแนวนี้ คือ การพิจารณาระดับความใกล้เคียงหรือความเหมือนกับต้นแบบในความสากลจากธรรมชาติ หรือจากชีวิต ดังนั้นวิถีทางการสร้างงานศิลปะของศิลปินที่ทำงานตามแนวมิเมติคนี้ คือลอกเลียนแบบให้เหมือนจริงให้ได้มากที่สุด

2. ทฤษฎีแพรกเมติก (pragmatic theories) เป็นแนวทางที่มีผู้ชมเป็นแกนกลาง เน้นการเป็นกระบวนการ 
หรือการเป็นสื่อกลาง ดังนั้น งานศิลปะในแนวนี้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่ทำให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งในตัวผู้ชม การพิจารณาคุณค่าของงานศิลปะในแนวแพรกเมติก คือ การพิจารณาตามระดับที่งานศิลปะจะสามารถสร้างความพึงพอใจ หรือ ความรู้สึกหนึ่งๆในตัวผู้ชม หรือ ประสิทธิภาพของงานศิลปะในการให้สาระความรู้แก่ผู้ชม ซึ่งสามารถใช้เป็นหลัก หรือแนวทางในการประเมินคุณค่าของงานศิลปะในโอกาสต่อไปในภายหน้า

3. ทฤษฎีเอกเพรสซีพ (expressive theories) เป็นแนวทฤษฎีที่ยึดตัวศิลปินผู้สร้างงานศิลปะเป็นศูนย์กลาง ความหมายของงศิลปะตามแนวนี้ คือ การแสดงออกตามอารมณ์ หรือ ความรู้สึกของศิลปิน ดังนั้นการประเมินคุณค่าของงานศิลปะในแนวนี้ คือการพิจารณาจากระดับที่ทำงานศิลปะสามารถแสดงออกซึ่งอารมณ์ของศิลปิน

4. ทฤษฎีออบเจคทีฟ (objective theories) เป็นแนวที่ยึดงานศิลปะเป็นศูนย์กลางกล่าวคือ เป็นแนวทฤษฎีที่มีความเชื่อว่า งานศิลปะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวของมันเองโดยไม่จำเป็นต้องงอาศัยแหล่งอ้างอิงจากภายนอก คุณค่าดังกล่าวอาศัยเพียงหลักและกฎเกณฑ์ทางศิลปะที่ปรากฎอยู่ในตัวงานศิลปะเอง

ทฤษฎีทางจิตวิทยา จากการวางแนวความคิดโดยใช้สถานการณ์ทางศิลปะ แล้วประมวลแนวทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์ตามโครงสร้างดังกล่าว จากจุดนี้เพื่อเป็นการโยงเข้าสู่แนวทางในการจัดการเรียนการสอนศิลปะ จึงควรจะประมวลแนวทฤษฎีทางจิตวิทยาตาม จึงจะเห็นสภาพและธรรมชาติในการเรียนรู้ชัดเจนขึ้น ทฤษฎีทางจิตวิทยาตามโครงสร้างหลักดังกล่าวสามารแยกแยะเป็น 4 แนวได้ดังนี้ คือ
1. จิตวิทยาพฤติกรรมนิยม (Psychological Behavioralism)โดยพิจารณาร่วมกับทฤษฎีมิเมติคทางสุนทรียศาสตร์ จะเห็นความสอดคล้องกันในแง่ที่ว่า เน้นการลอกเลียนแบบ การเรียนรู้ในเชิงจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม เกิดขึ้นได้ด้วยการเลียนแบบ ตัวอย่างเช่น เด็กจะเรียนรู้การพูดโดการเลียนแบบจากเสียงที่เกิดจาการพูดของผู้ใหญ ่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากพ่อแม่ แม้กระทั่งการทำท่าทางต่างๆ เด็กจะเลียนแบบจากผู้ใหญ่เช่นกัน ทัศนคติเกี่ยวกับศีลธรรม จริย-ธรรม ก็เกิดจากการที่เด็กเลียนจากรูปแบบที่เป็นที่ยอมรับของพ่อแม่ และสังคมของตนโดยภาพรวม ทางด้านการเรียนรู้ทางศิลปะเช่นเดียวกัน เกิดขึ้นจากการลอกเลียนแบบจากงานของผู้อื่น เป็นต้นว่าการเลียนแบบการวาดของครู หรือ เลียนแบบสิ่งต่างๆในธรรมชาติตามที่ปรากฎต่อสายตา

2. ทฤษฎีจิตวิทยาปัญญานิยม (Cognitive Psychology) สามารถเทียบเคียงได้กับทฤษฎีแพรคเมติค ทางสุนทรียศาสตร์ กล่าวคือการเน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวด-ล้อม การเรียนรู้เกิดขึ้นจากกระบวนการการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ในกระบวนการดังกล่าว มนุษย์จะแยกแยะสัญญลักษณ์ต่างๆที่รับรู้เข้ามา และเลือกใช้เฉพาะอันที่เหมาะสมในสถานการณ์หนึ่งๆ ทางด้านการเรียนรู้ทางศิลปะนั้นจะเกิดขึ้นจากการตั้งสมมติฐาน เป็นต้นว่าเมื่อวาดรูปหนึ่งๆแล้วจะทำให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ตนตั้งใจจะวาดหรือไม่ ถ้าเมื่อวาดไปแล้วคนอื่นเข้าใจ ก็จะเกิดการเรียนรู้ว่าสัญญลักษณ์นั้นคือตัวแทนสิ่งที่ตนตั้งใจจะวาด แต่ถ้าผู้อื่นไม่เข้าใจ ก็ยกเลิกสมมติฐานเดิม และลองตั้งสมมติฐานใหม่เพื่อยืนยันสัญญลักษณ์ที่เป็นที่เข้าใจของผู้อื่นต่อไป

3. ทฤษฎีจิตวิทยาจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Psychology) สามารถพิจารณาร่วมกับทฤษฎีเอกเพรสซีพทางสุนทรียศาสตร์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์นี้มีความเขื่อว่า พฤติ-กรรมทั้งหลายเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกที่ถูกกระตุ้นจากความต้องการภายในของบุคคล ตัวอย่างเช่น ศิลปินจะถ่ายทอดความต้องการจากจิตใต้สำนึกของตนออกมาในงานศิลปะ เด็กจะถ่ายทอดสิ่งที่อาจไม่สามารถมี หรือทำได้ในอวกาศ การผจญภัยที่เสี่ยงอันตราย เป็นต้น

4. ทฤษฎีจิตวิทยาเกสตอลท์ (Gestalt Psychology) ในขณะที่ทฤษฎีออบเจคทีฟทางสุนทรียศาสตร์ เห็นว่างานศิลปะ เป็นสิ่งที่มองโดยภาพรวมมากกว่าการรวมกันของส่วนประกอบย่อยต่างๆ อีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมมีความเป็นเอกภาพ ไม่สามารถนำมาแยกย่อยเป็นองค์ประกอบเล็กๆ การรับรู้เกิดขึ้นจากสภาวการณ์ในสนามการรับรู้ (Perception Field)