ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)


เนื้อหารายวิชา

ประมวลการเรียนรายวิชา

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม


1. รหัสวิชา 3102312

2. จำนวนหน่วยกิต (Course Credit) 4(2-4-6)

3. ชื่อวิชา (Course Title) สรีรวิทยาทางสัตวแพทย์ 2

4. คณะ/ภาควิชา สัตวแพทยศาสตร์/สรีรวิทยา

5. ภาคการศึกษา ภาคต้น

6. ปีการศึกษา 2541

7. ชื่อผู้สอน อาจารย์ผู้ประสานงาน ศ.น.สพ.ดร.ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร

8. เงื่อนไขรายวิชา วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน 3101-210 สรีรวิทยาทางสัตว์แพทย์ 1

9. สถานภาพของวิชา วิชาบังคับ

10. ชื่อหลักสูตร สัตวแพทยศาสตร์

11. วิชาระดับ ปริญญาตรี

12. จำนวนชั่วโมงที่สอน/สัปดาห์ บรรยาย 3 ชั่วโมง ปฏิบัติการ 3 ชั่วโมง

(จันทร์ บรรยาย 13.00-14.00 น.,ปฏิบัติการ 14.00-17.00 น.,

พุธ บรรยาย 9.00-11.00 น.)

เนื้อหารายวิชา

ศึกษาและปฏิบัติการทดลองการทำหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ได้แก่ การหายใจ ระบบทางเดินอาหาร เมแทบอลิซึม สรีรวิทยาการหลั่งน้ำนม และการทำงานของไต

ประมวลการเรียนรายวิชา

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

อธิบาย ทดลองและวิเคราะห์กลไกการทำงานของอวัยวะในร่างกายตามปกติของ ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร เมแทบอลิซึม สรีรวิทยาการหลั่งน้ำนม และระบบขับปัสสาวะ

14.2 เนื้อหารายวิชาโดยละเอียด และผู้สอน

หัวข้อ "ระบบหายใจ" ศ.สพ.ญ.ประภา ลอยเพ็ชร

จุดเน้น - การแพร่ผ่านอากาศ

- การไหลเวียนในปอด

- กลไกและการควบคุมการหายใจ

- การขนส่งแก๊ส

- การหายใจของสัตว์ปีก

- ปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจ

หัวข้อ “ระบบทางเดินอาหาร” ผศ.น.สพ.ดร.กฤษ อังคนาพร

จุดเน้น - ลักษณะเปรียบเทียบทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบย่อยอาหารในสัตว์ชนิดต่าง ๆ

- ลักษณะการกินอาหาร การเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย

- การหดตัวของกระเพาะและลำไส้

- กลไกการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

- ฮอร์โมนที่ควบคุมการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะและลำไส้

- การขับหลั่งน้ำย่อยในลำไส้เล็ก ตับอ่อน และการขับหลั่งน้ำดี

- การย่อยและการดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร

- การหดตัวของกระเพาะอาหารในสัตว์เคี้ยวเอื้อง

- สรีรวิทยาของการเคี้ยวเอื้องและการเรอ

- การเคลื่อนผ่านของสารและจุลชีพในกระเพาะส่วนรูเมน

- กลไกการเคลื่อนผ่านของสารในกระเพาะส่วนต่าง ๆ ของสัตว์เคี้ยวเอื้อง

หัวข้อ "ระบบเมแทบอลิซึม" ศ.น.สพ.ดร.อายุส พิชัยชาญณรงค์

จุดเน้น - แหล่งของพลังงานเมแทบอลิซึม

- อัตราเมแทบอลิซึม, BMR, RMR

- การวัดและปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเมแทบอลิซึม

- การควบคุมอุณหภูมิและสภาวะแวดล้อมทางสรีรวิทยา

หัวข้อ "สรีรวิทยาการหลั่งน้ำนม" ศ.น.สพ.ดร.ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร

จุดเน้น - โครงสร้างของต่อมน้ำนม

- การเจริญและหน้าที่ของต่อมน้ำนมขณะตั้งท้อง

- ฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญของต่อมน้ำนมและการหลั่งน้ำนม

- กลไกการสังเคราะห์ส่วนประกอบน้ำนมแลคโตส,ไขมันนม/โปรตีนจากสารอาหารต่างๆ

- กลไกการเคลื่อนผ่านอิเลคโทรไลต์

- ปัจจัยที่มีผลต่อการหลั่งน้ำนม

หัวข้อ "ระบบขับปัสสาวะ" ศ.น.สพ.ดร.ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร

จุดเน้น - หน้าที่ทั่วไปและโครงสร้างของไต

- ระบบไหลเวียนของเลือดในไต

- การกรองผ่านกลอเมอรูลัสและเคลียรานซ์

- ปัจจัยภายนอกและภายในที่ควบคุมการกรอง- การทำงานของเซลล์ไตกับการเคลื่อนผ่านของสารอินทรีย์- การทำงานของเซลล์ไตกับการเคลื่อนผ่านของสารอนินทรีย์- กลไกทำปัสสาวะให้เข้มข้นและเจือจาง

- กลไกการทำงานเกี่ยวกับดุล กรด-ด่าง

- กลไกการทำงานขับปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ

- การวิเคราะห์ปัญหาทางสรีรวิทยาระบบขับปัสสาวะ

14.3 วิธีจัดการเรียนการสอน

- บรรยาย

- ปฏิบัติการกลุ่มย่อย โดยแบ่งกลุ่มนิสิต ศึกษาและมีการอภิปรายผลทุกกลุ่ม

14.4 สื่อการสอน

- แผ่นโปร่งใส

- สไลด์

- วีดีโอเทป

14.5 การวัดผลการเรียน

1. สอบกลางภาค - ข้อเขียน 25%

- สอบปฏิบัติการ 20%

- รายงาน 5%

2. สอบปลายภาค - ข้อเขียน 25%

- สอบปฏิบัติการ 20%

- รายงาน 5%

15. รายชื่อหนังสืออ่านประกอบ

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

Review of Medical Physiolody (W.F.Ganong)

Dukes' Physiology of Domestic Animal (M.J.Swenson)

สรีรวิทยาระบบขับปัสสาวะทางสัตวแพทย์ (ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร)

คู่มือปฏิบัติการสรีรวิทยาที่เกี่ยวกับสัตว์ (หน่วยสรีรวิทยา ภาควิชาสรีรวิทยา

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)