Internet
Prev Content Next

การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต

เมื่อท่านต้องการเข้าใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตนั้นท่านจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมกันมีอยู่สามประเภทดังนี้

เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)

วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ เครือข่ายอืน และเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ทุกวัน จะใช้อินเตอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่

การเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ Router ทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือเน็ตเวิร์กของหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะต่อไปยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISP) เนื่องจากว่า ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กของหน่วยงานนั้นก็จะสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

สำหรับจุฬาลงกรณ์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของหน่วยงานที่ใช้วิธีเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรง แต่มีข้อแตกต่างอยู่ประการหนึ่งคือจุฬา ฯมีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ตเอง ดังนั้นการเชื่อมต่อจึงไม่ต้องผ่าน ISP

จุฬา ฯมีเน็ตเวิร์กของตนเองชื่อ ChulaNet มี Gateway ของตนเอง คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเน็ตเวิร์กของจุฬาฯสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาทั้ง 24 ชั่วโมง เวลาที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็เพียงแต่ผู้ใช้หรือนิสิตมาที่จุฬา ฯและเข้าใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯ แล้วก็สามารถติดต่อใช้อินเตอร์ได้

เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP

การเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบไม่ตลอดเวลา เมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็ค่อยทำการเชื่อมต่อ และเมื่อเลือกใช้ก็ค่อยยกเลิกการเชื่อมต่อ วิธีนี้เหมาะกับหน่วยงานที่ไม่มีงบประมาณพอที่จะใช้วิธีแรกหรือหน่วยงานขนาดเล็กหรือบุคคลทั่วไปอาจใช้วิธีนี้เพราะว่าเสียค่าใช้จ่ายไม่แพง

การเชื่อมต่อวิธีนี้ใช้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์คือเมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์ก็ให้หมุนโทรศัพท์ติดต่อไป สิ่งแรกที่ท่านที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตวิธีนี้ต้องทำคือต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือ ISP(Internet service provider) เจ้าใดเจ้าหนึ่ง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ทางISP จะให้ชื่อผู้ใช้(user account) และรหัสผ่าน(password) พร้อมทั้งเบอร์โทรศํพท์สำหรับติดต่อใช้อินเตอร์เน็ต เบอร์โทรศัพท์ที่ว่านี้บางทีอาจมีเป็นร้อยเบอร์ หรือพันเบอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ISP มีสมาชิกมากน้อยเท่าไร

สิ่งที่ท่านที่เป็นผู้ใช้ต้องมีได้แก่

เวลาที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตให้ท่านใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านทำการสั่งให้โมเด็มทำการหมุนโทรศัพท์ไปยังเบอร์โทรศัพท์ของ ISP เมื่อหมุนติดแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านจะมีสถานะเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งของเน็ตเวิร์กของ ISP โดยที่เน็ตเวิร์กของ ISP นั้นไปต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรง (คือใช้วิธีเชื่อมต่อวิธีแรก) ดังนั้นเมื่อหมุนติดท่านก็สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับวิธีนี้คือ ค่าสมาชิกที่จ่ายให้แก่ ISP และค่าโทรศัพท์ที่ใช้การติดต่อกับ ISP เมื่อพิจารณาดูแล้วเป็นค่าใชัจ่ายที่หน่วยงานขนาดเล็กหรือบุคคลทั่วไปพอจ่ายไว้ ในกรณีของของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นถ้านิสิตเป็นสมาชิกของเน็ตเวิร์กของจุฬา (ChulaNet) เมื่อนิสิตอยู่ที่บ้านและต้องการใช้อินเตอร์เน็ต นิสิตสามารถใช้วิธีนี้ได้ คือ นิสิตก็ใช้คอมพิวเตอร์ทำการสั่งให้โมเด็มทำการหมุนโทรศัพท์มายังเบอร์โทรศัพท์ของ ChulaNet เมื่อหมุนติดก็สามารถใช้อินเตอร์ได้

รูปแบบการใช้งานอินเตอร์เน็ตของการติดต่อวิธีนี้สามารถใช้งานได้ทั้งแบบกราฟิก(Graphic) ได้ และแบบ text (ข้อความ) แล้วแต่จะเลือกใช้งานแบบไหน

เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation

การเชื่อมต่อวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนกับวิธีที่สองคือผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ มีข้อแตกต่างจากวิธีที่สองอยู่ตรงที่รูปแบบการใช้งานมีรูปแบบเดียวคือต้องใช้ในแบบ text เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในแบบกราฟิกได้ บริการอะไรก็ตามในอินเตอร์เน็ตก็ตามที่เป็นมีลักษณะการใช้งานเป็นแบบกราฟิกจะใช้ไม่ได้ในการเชื่อมต่อวิธีนี้ เช่น Web เป็นต้น ส่วนบริการที่มีลักษณะการใช้งานเป็น text ย่อมสามารถใช้ในการติดต่อวิธีนี้ได้ เช่น จดหมายอิเล็คโทรนิคส์ (E-mail) เป็นต้น ดังนั้นบางแห่งจึงเรียกการเชื่อมต่อวิธีนี้ว่า การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection)


Prev Content Next