logos.gif (7470 bytes)วิชาสหสาขาศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท

rural4.gif (12907 bytes)

การเกษตรในท้องถิ่น

อรุณี จันทรสนิท

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

แม้ว่าประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นใน 30 ปีที่ผ่านมา แต่พื้นฐานของประเทศยังเป็นประเทศเกษตรกรรม ในปัจจุบันพลเมืองกว่า 60% ยังมีอาชีพเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร ทั้งนี้เนื่องจากความเหมาะสมของพื้นที่ประกอบกับความสามารถพิเศษด้านเกษตร-กรรมของคนไทย และแม้ว่ารายได้จากการส่งออกระดับต้น ๆ ของประเทศจะไม่ใช่สินค้าเกษตรอีกต่อไป แต่สินค้าอุตสาหกรรมที่ส่งออกจำนวนมากก็เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางเกษตร ดังนั้นรูป-แบบการผลิตจึงได้เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อการยังชีพ (subsistence agriculture) ไปเป็นการผลิตเพื่อขายด้วย ทำให้เกิดการพัฒนาระบบการผลิตมาเป็นลำดับคือ

  1. ระบบปลูกพืช (cropping system)
  2. ระบบฟาร์ม (farming system)
  3. ระบบเกษตร (agricultural system)

กล่าวโดยทั่วไป กสิกรรมระดับท้องถิ่นเน้นการปลูกพืชหลักเพียงอย่างเดียว ซึ่งสามารถแยกตามลักษณะพืชที่ปลูกและวิธีการเพาะปลูกได้ดังนี้

1. การทำนา การทำนาในแต่ละภูมิภาคของไทยแตกต่างกัน

1.1 นาดำ พื้นที่ส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝน ปลูกข้าวพื้นเมืองพันธุ์ดี เช่น ขาวดอกมะลิและพันธุ์ แนะนำของรัฐ

1.2 นาหว่าน มักจะอยู่ในเขตชลประทาน เช่น นาน้ำตม บางส่วนเพาะปลูกได้มากกว่า 1 ครั้ง โดยใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวแสง

1.3 นาหยอด ปลูกในบริเวณที่ฝนตกน้อย ใช้พันธุ์ข้าวไร่ มักได้ผลผลิตต่ำ

2. การปลูกพืชไร่

2.1 อ้อย

2.2 มันสัมปะหลัง

2.3 ยาสูบ

2.4 ข้าวโพด ข้าวฟ่าง

2.5 ฝ้าย

2.6 เครื่องเทศ เช่น หอม กระเทียม พริกไทย

3. การปลูกพืชสวน พืชสวนโดยทั่วไปหมายถึงพืชผัก ผลไม้ ไม้ดอก และไม้ประดับ แต่บางครั้งเกษตรกรไทยเรียกลักษณะพื้นที่ ๆ ปลูกพืชแล้วเกิดความร่มรื่นว่าพืชสวน ทั้ง ๆ ที่ลักษณะพืชนั้น ๆ ไม่ค่อยตรงกับลักษณะของพืชสวน เช่น มะพร้าว ยางพารา รวมไปถึงสวนป่าไม้โตเร็ว

4. การเลี้ยงสัตว์ อาชีพเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญทำรายได้จากการส่งออกที่สำคัญคือสัตว์น้ำและสัตว์ปีก ส่วนปศุ-สัตว์มักจะมีเพียงพอแค่ใช้ในประเทศ

ปัญหาของเกษตรกร

เกษตรกรไทยมีปัญหาเรื่องที่ดินและผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ยังมีปัญหาคล้ายเกษตรกรในประเทศอื่นแม้แต่สหรัฐอเมริกา คือ นอกเหนือจากความรู้น้อยแล้วยังมีเรื่องอื่น ๆ เช่น

  • - ไม่สามารถหาตลาดและกำหนดราคาด้วยตนเอง
  • - ภัยธรรมชาติ
  • - ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม
  • - การช่วยเหลือจากรัฐเพื่อพัฒนาท้องถิ่นน้อย

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตร

เนื่องจากปัญหาและการขาดแคลนปัจจัยในการผลิตดังกล่าว จึงทำให้ประสิทธิภาพและคุณภาพของผลผลิตที่ได้ของเกษตรกรไทยต่ำ กระทรวงเกษตรมีหน่วยงานหลักที่มีหน้ามี่ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านนี้ คือ

  • - กรมวิชาการเกษตร
  • - กรมส่งเสริมการเกษตร
  • - กรมชลประทาน
  • - กรมป่าไม้

และยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตร เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตร และโครงการหลวง เป็นต้น

ระบบเกษตรแบบพึ่งตนเอง

การช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐดังกล่าวยังไม่ทั่วถึง เพราะมีกสิกรเป็นจำนวนมากอยู่ในฐานะต้องการความช่วยเหลือเกษตรกรจึงจำเป็นต้องหาทาง พึ่งพาตนเองโดยการปรับระบบการปลูกพืชของตนให้สามารถเลี้ยงตัวได้ โดยเป็นระบบที่ลงทุนน้อย เช่น ระบบเกษตรแบบผสมผสาน ระบบเกษตร-อินทรีย์   ระบบเกษตรธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรไม่ประสบปัญหาดินเสื่อม พิษภัยจากสาร-เคมี และการขาดทุนอย่างหนักอย่างระบบเกษตรที่ลงทุนสูง

โครงการพระราชดำริในการจัดการที่ดินและแหล่งน้ำ

เพื่อแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำหลังหน้าฝน เนื่องจากการชลประทานมีประมาณ 25% ของพื้นที่เพาะปลูกเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานแนวคิดใหม่ ในการบริหารจัดการที่ดินให้มีสัดส่วนการใช้พื้นที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับเกษตรกรไทยที่มีที่ดินเฉลี่ยโดยประมาณ 15 ไร่ต่อครอบครัว โดยแบ่งพื้นที่ดิน ในการใช้ประโยชน์ คือ

  • 30% ใช้ขุดสระน้ำเพื่อเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้
  • 60% ใช้ทำไร่ทำนา หรือไร่นาสวนผสม
  • 10% เป็นที่อยู่อาศัย ทำถนนเข้าบ้าน ใช้เลี้ยงสัตว์ และปลูกพืชสวนครัว

นอกจากนี้ยังพระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับเกษตรยั่งยืน เช่น การทดลองใช้หญ้าแฝกกันการพังทลายของดิน การปลูกพืชหมุนเวียน ตลอดจนการ ปลูกไม้ใช้สอยแซมในไร่นา เป็นต้น

อุตสาหกรรมในครัวเรือน

นอกเหนือจากการเพาะปลูกแล้ว คนไทยเป็นชนชาติที่มีความสามารถด้านศิลปหัตถกรรมและการถนอมอาหารต่าง ๆ ช่วงที่ว่างจากงานในไร่จึง สามารถเพิ่มรายได้ของครอบครัวด้วย ทุกวันนี้อุตสาหกรรมในท้องถิ่นจึงมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีคุณประโยชน์มากมาย คือ

  • - ช่วยเพิ่มคุณค่าของผลผลิต
  • - มีรายได้เพิ่มขึ้น
  • - ลดเวลาว่างและปัญหาครอบครัว
  • - รักษาสังคมชนบทและระบบครอบครัว
  • - ลดการถูกชักจูงไปทำงานที่ต้องเสี่ยงในเมืองหรือต่างประเทศ
  • - รักษาภูมิปัญญาชาวบ้าน
  • - เรียนรู้เรื่องสหกรณ์

-----------------------------------------------------------------

เอกสารอ้างอิง

  1. พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ 2539 เกษตรไทยในปี ค.ศ.2000 เอกสารประกอบการสัมมนา “เกษตรไทยในปี ค.ศ 2000” ในงานเกษตรเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. สุเมธ ตันติเวชกุล 2538 แนวพระราชดำริและการพัฒนาชนบท เอกสารการประชุมวิชาการ เรื่อง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและเทคโนโลยีชนบท สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. อำพล เสนาณรงค์ 2538 วิวัฒนาการของการเกษตรในประเทศไทย ประมวลบทความทางวิชาการเกษตร 2536 - 2538 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  4. Cramer G.L. and C.W. Jensen 1979. Agricnltural Economics and Agribusiness : An Introduction. John Wiley & Sons. Inc.

?