วิชาสหสาขาศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท (0201232) : การเลี้ยงสัตว์
โดย รศ.น.สพ. ดร.มานพ ม่วงใหญ่
หน่วยวิชาปรสิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณ ะสั ตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทร. 2189661 Fax.255-3910, E- mail: mmanop@chula.ac.th
บรรยายวันที่ 1 ธันวาคม 2542 เวลา 13.00-15.00 น. ห้อง 504 อาคารบรมราชกุมารี
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วัตถุประสงค์
เพื่อให้นิสิตได้ทราบข้อมูลโดยทั่วไปของการเลี้ยงสัตว์ โดยเน้นการเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญในชนบทเช่นไก่ สุกร โค และกระบือ และการเลี้ยงสัตว์ที่มีความสำคัญในประเทศไทย ทั้งในด้านที่เป็นอุตสาหกรรมการส่งออกนำรายได้เข้าประเทศ และเพื่อเป็นการบริโภคภายในประเทศ หรือเพื่อการบริโภคภายในครอบครัว
การเลี้ยงไก่
การเลี้ยงไก่ในประเทศไทยมีมานานมาก จนไม่สามารสืบประวัต ิได้ ว่านานเพียงใด ในทุกแห่งทุกที่ ทุกหมู่บ้านจะมีการเลี้ยงไก่มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งแต่เดิมนั้นจะเป็นการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เพื่อใช้เป็นอาหาร และที่เลี้ยงกันโดยมีวัตถุประสงค์อย่างอื่นบ้างเช่นเพื่อการพนันชนไก่ แต่ก็เป็นส่วนน้อย จนกระทั่งในระยะเวลาประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ชนิดต่างๆได้เจริญก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะพันธุ์ไก่และการเลี้ยง ประเทศไทยได้ยอมรับเทคโนโลยีการผลิตไก่สมัยใหม่เข้ามาในประเทศไทยนานกว่า 20 ปี และได้มีการพัฒนาการเลี้ยงเป็นระบบอุตสาหกรรม จนกระทั่งปัจจุบันนี้ได้การเลี้ยงเพื่อใช้บริโภคในประเทศ และส่งออกนำรายได้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี
การเลี้ยงไก่ในประเทศไทย มี 2 ระบบใหญ่ๆคือ
1. ระบบอุตสาหกรรม เป็นการเลี้ยงจำนวนมากในแต่ละฟาร์ม ในตอนแรกจะเลี้ยงในแถบภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ จากนั้นได้มีการกระจายไปในภาคต่างๆ การเลี้ยงในระบบอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1.1 การเลี้ยงไก่เนื้อหรือไก่กระทง (broilers) ประเทศไทยสามารถผลิตไก่เนื้อเพื่อการส่งออกและบริโภคภายในประเทศปีละ 700 ล้านตัว ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งได้ส่งออกไปขายต่างปะเทศ ที่เหลืออีกครี่งหนึ่งใช้บริโภคภายในประเทศ การเลี้ยงไก่เนื้อต้องนำเทคโนโลยีเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะพันธุ์ไก่ต้องนำเข้าพันธุ์ไก่ระดับปู่-ย่า (Grand Parent Stock, GP) มาผลิตไก่ระดับพ่อ-แม่พันธุ์ (Parent Stock)หรือมีการนำเข้าระดับพ่อแม่พันธุ์ (Parent Stock) จากต่างประเทศ และจากระดับพ่อ-แม่พันธุ์จึงผลิตเป็นไก่เนื้อ (broilers) เพื่อการบริโภคหรือส่งออก ไก่ที่นำเข้าในระดับปู่-ย่าหรือพ่อแม่พันธุ์ก็ตาม จะต้องเลี้ยงอยู่นาน 5-6 เดือนจึงเริ่มออกไข่ และจะออกไข่อยู่นานประมาณ 1 ปีจึงปลดระวาง
ในปัจจุบันนี้เนื้อไก่จากการเลี้ยงประเภทนี้มีบทบาทสำคัญในการเป็นอาหารโปรตีนสำหรับประชาชนทั่วไป การบริโภคเนื้อไก่ของคนไทยเมื่อปีพ.ศ. 2537 เฉลี่ยคนละ 5.5 กก. และมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2539 คาดว่าจะมีอัตราเฉลี่ยสูงถึง 9.5 กก. เนื้อไก่ที่ใช้บริโภคในประเทศไทยกว่า 90% เป็นเนื้อที่ได้จากการเลี้ยงไก่ประเภทนี้ ซึ่งในการเลี้ยงต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งในด้านอาหารสัตว์ เพราะไก่พวกนี้โตเร็วมีอัตราการแลกเนื้อต่ำ โดยทั่วไปไก่กินอาหาร 2 กก.หรือน้อยกว่า จะสามารถสร้างเป็นน้ำหนักได้ 1 กก. และมีระยะเวลาการเลี้ยงสั้นประมาณ 5-7 สัปดาห์ก็จะสามารถที่จะขายได้ในน้ำหนักประมาณ 1.5-2.0 กก. ดังนั้นอาหารจะต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพดี มีระบบการป้องกันโรคที่ดี การจัดการที่ดี ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ผลกำไรเฉลี่ยต่อไก่ 1 ตัวจะไม่มากนัก ประมาณ 1-5 บาท ดังนั้นต้องเลี้ยงเป็นจำนวนมากจึงจะคุ้มทุน ในด้านโรงเรือนก็ได้มีการพัฒนาไปมาก จากเดิมซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรือนระบบเปิด ในปัจจุบันฟาร์มไก่ขนาดใหญ่หลายแห่งได้หันมาเลี้ยงในระบบปิดโดยใช้โรงเรือนระบบที่เรียกว่า evaporative cooled cell โดยที่ในโรงเรือนจะมีระบบทำความเย็นด้วยน้ำ ภายในโรงเรือนจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าภายนอกประมาณ 4-5o ซ. ทำให้สามารถที่จะเลี้ยงไก่ในพื้นที่ 1 ตร.ม. ได้มากขึ้น ในระบบนี้สามารถมารถที่จะเลี้ยงไก่ได้ 15-17 ตัวต่อ 1 ตร.ม. ซึ่งในระบบเดิมสามรถเลี้ยงได้ ประมาณ 12 ตัวต่อ 1 ตร.ม. โรงเรือนแต่ละหลังอาจจะเลี้ยงไก่ได้มากถึง 10,000 ตัว หรืออาจจะมากว่า
ปัจจุบันนี้ธุระกิจการเลี้ยงไก่เนื้อเป็นธุระกิจขนาดใหญ่ มีหลายบริษัทที่ทำธุระกิจแบบครบวงจร คือตั้งแต่นำไก่ระดับปู่-ย่าเข้ามา มีโรงฟักไข่ มีโรงฆ่าไก่ที่ทันสมัยเป็นของตนเอง มีโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูปสำหรับประชาชน เช่นไส้กรอกไก่ ไก่ย่าง ร้านอาหารประเภท Fast Food ขายสู่ประชาชนโดยตรง และส่งเนื้อไก่ออกต่างประเทศ ซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่นส่งออกไก่แช่แข็งทั้งตัว เนื้อไก่ถอดกระดูก หรือชิ้นส่วนของเนื้อในรูปแบบต่างๆ นำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก และบริษัทเหล่านี้ยังมีธุระกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไก่อีกมากมาย เช่นธุระกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพืชอาหารสัตว์ การจับปลาเพื่อผลิตปลาป่น และโรงงานอาหารสัตว์ซึ่งเป็นธุระกิจที่ใหญ่มาก
สำหรับเกษตรกรรายย่อย มีบางรายที่เลี้ยงไก่เนื้อเป็นอิสระ แต่จะเลี้ยงไม่มากนัก เนื่องจากต้องลงทุนสูง และมีอัตราการเสี่ยงจากราคาที่ไม่แน่นอน และไม่มีตลาดการผลิตเป็นของตนเอง เมื่อถึงคราวต้องขายไก่ อาจจะมีปัญหาในการขาย แต่ถ้าไก่ราคาดีและสามารถหาคนมาซื้อได้ ก็จะได้กำไรมากแต่บางครั้งจะพบปัญหาราคาไก่ตกต่ำ และหาคนรับซื้อไก่ไม่ได้ก็จะประสบกับปัญหาขาดทุน มีเกษตรกรจำนวนหนึ่งที่เป็นผู้รับจ้างเลี้ยงไก่เนื้อให้แก่บริษัทใหญ่หรือที่เรียกกันว่า "ไก่ประกัน" ระบบนี้ทุกอย่างทางบริษัทใหญ่จะจัดหาให้ทุกอย่าง เกษตรกรต้องใช้ที่ดินของตนเอง ต้องลงทุนสร้างโรงเรือนและแรงงานในการเลี้ยง ถึงเวลาขายไก่ทางบริษัทจะดำเนินการให้ทุกอย่าง และได้มีการตกลงราคารับซื้อกันไว้ล่วงหน้าก่อนทำการเลี้ยง การเลี้ยงแบบนี้จะประกันความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง
เกษตรกรในเขตภาคกลางเช่นเขตรอบนอกของกรุงเทพมหานคร จังหวัดอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดในภาคอื่นๆ ได้สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อไว้เหนือบ่อปลาที่เรียกกันว่า "เล้าลอย" เศษอาหารที่เหลือจากไก่ หรืออุจจาระไก่จะล่วงในบ่อปลาเป็นอาหารปลา เป็นการเลี้ยงปลาโดยไม่ต้องให้อาหารหรือให้ก็เป็นส่วนน้อยเท่านั้น ในบางแห่งกำไรที่ได้จากการเลี้ยงปลา อาจมากกว่ากำไรที่ได้จากการเลี้ยงไก่เสียอีก
เกษตรกรบางกลุ่มนิยมเลี้ยงไก่เนื้อนานออกไป 3-3.5 เดือน เพื่อให้ได้น้ำหนัก 2.5-3 กก. ซึ่งไก่อายุขนาดนี้จะเป็นไก่ที่มีไขมันมาก ตัวโต เลี้ยงสำหรับขายเพื่อทำอาหารประเภทข้าวมันไก่โดยเฉพาะ แต่ตลาดสำหรับเนื้อไก่ประเภทนี้มีไม่มากนัก คาดว่าประมาณปีละ3-5 แสนตัว
ตารางที่ 1 จำนวนไก่เนื้อ และไข่ไก่ที่ผลิตได้
ปี |
ไก่เนื้อ x 1000 |
ไช่ไก่ x 1,000,000 |
1992 |
723,316.25 |
8,071.23 |
1993 |
725,782.11 |
7,337.04 |
1994 |
679,798.09 |
7,992.08 |
1995 |
699,875.93 |
8,317.19 |
1996 |
718,836.83 |
8,619.68 |
1997 |
753,460.82 |
8,986.12 |
1998 |
798,330.90 |
9,178.53 |
ตาราง ที่ 2 จำนวนเนื้อไก่ส่งออก
ปี |
น้ำหนัก-ตัน |
มูลค่า -ล้านบาท |
1989 |
109,304.30 |
5,464.10 |
1990 |
136,033.63 |
6,784.28 |
1991 |
165,727.40 |
9,983.70 |
1992 |
163,530.80 |
10,149.80 |
1993 |
156,879.30 |
9,394.80 |
1994 |
160,162.50 |
10,374.50 |
1995 |
168,004.70 |
10,597.90 |
1996 |
126,520.64 |
8,457.50 |
* ประเทศที่นำเข้าเนื้อไก่จากประเทศไทยรายที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น เยอรมัน สิงคโปร์ เนเทอแลนด์ และประเทศอื่นๆ
1.2 การเลี้ยงไก่ไข่ (layers) การเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศ ทั้งประเทศผลิตได้วันละประมาณ 12-14 ล้านฟอง มีเลี้ยงกันทั่วไป แต่บริเวณที่เลี้ยงกันมากคือที่ ต. เทพราช อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา บริเวณนี้จะผลิตไข่ได้ประมาณวันละ 10 ล้านฟอง หลายฟาร์มเป็นฟาร์มขนาดใหญ่สามารถผลิตไข่ได้มากกว่าวันละ 2-3 แสนฟอง ในการเลี้ยงส่วนไก่ไข่เพื่อส่งตลาด เกือบทั้งหมดจะเลี้ยงแบบขังกรงตับ (battery) โดยกรงจะแบ่งเป็นช่องๆ ยกกรงสูงจากพื้นดิน อาจจะเป็นกรงชั้นเดียวจนถึง 3 ชั้นเรียงซ้อนกัน โดยในช่องหนึ่งอาจจะใส่ไก่ 1-3 ตัว ไข่ที่ได้จะเป็นไข่ไม่มีเชื้อ (infertile egg) คือไม่ได้รับการผสมพันธุ์จากไก่ตัวผู้ ไข่เหล่านี้จะนำไปฟักให้ออกเป็นลูกไก่ไม่ได้ บางแห่งอาจะเลี้ยงในคอกบนพื้นแต่ก็มีเป็นจำนวนน้อย ไก่เหล่านี้จะเป็นพันธุ์ไก่ไข่โดยเฉพาะ สามารถออกไข่ได้ปีละมากกว่า 300 ฟอง แต่ก็เช่นเดียวกับไก่เนื้อ ที่จะต้องซื้อไก่ พ่อ-แม่พันธุ์มาจากต่างประเทศ ในการเลี้ยงระยะแรกโดยทั่วไปแล้ว ผู้เลี้ยงจะเลี้ยงไก่เล็กบนพื้นก่อนที่จะออกไข่นาน 4-5 เดือน จากนั้นจึงนำขึ้นกรงตับเพื่อออกไข่ ระยะออกไข่จะนานประมาณ 15-18 เดือน จึงจะปลดระวางในการเลี้ยงไก่ในระบบนี้การใช้อาหารจะเป็นประเภทเดียวกัน แต่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องการใช้เทคโนโลยีการจัดการ บางแห่งอาจจะใช้แรงงานคนมาก แต่บางแห่งจะใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องทุ่นแรงเป็นอย่างมาก แต่จะน้อยกว่าการเลี้ยงไก่เนื้อ จำนวนการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทยจากสถิติมีรายงานว่ามีจำนวนกว่า 24 ล้านตัว
ไข่เป็นอาหารที่มีคุณค่า มีโปรตีนสูง มีกรดอะมิโน (amino acid) แทบทุกชนิด ในไข่ขาวจะประกอบด้วยน้ำ 87.06 % โปรตีนประมาณ 10.9% คาร์โบฮัยเดรทประมาณ 1% ที่เหลือเป็นไขมัน ส่วนไข่แดงจะมีน้ำประมาณ 49% โปรตีนประมาณ 16% ไขมันประมาณ 32 %ที่เหลือจะเป็นคาร์โบฮัยเดรท ไขมันที่อยู่ในไข่แดงจะเป็นไทรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ฟอสโฟไลปิด (phospholipid) และ คอเลสเตอรอล (cholesterol) .และ ยังมีเกลือแร่ต่างๆอีกหลายชนิด ในไข่ 1 ฟองทั้งในไข่ขาวและไข่แดงจะมีคอเลสเตอรอลอยู่ประมาณ 250-300 มิลลิกรัม
2. การเลี้ยงไก่ในชนบท เป็นการเลี้ยงไก่พื้นเมืองรายย่อย หรือการเลี้ยงแบบหลังบ้าน เป็นการเลี้ยงเพื่อบริโภคภายในครัวเรือนหรือเป็นรายได้เสริม โดยทั่วไปจะเลี้ยงกันรายละ 10-20 ตัว หรือในบางรายอาจจะเลี้ยงเป็นรายได้หลักของครอบครัวก็ได้แต่ก็มีเป็นจะนวนน้อย การเลี้ยงไก่ในชนบทมักจะเลี้ยงกันแทบทุกครัวเรือน ซึ่งการเลี้ยงอาจจะมี 2 วัตถุประสงค์ คือใช้เนื้อเป็นอาหารและเลี้ยงไก่เพื่อการพนันหรือไก่ชน
ได้มีความพยายามที่จะมีการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อเพิ่มปริมาณอาหารโปรตีนให้กับประชาชนในชนบทมาตลอด แต่อาจจะกล่าวได้ว่าไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ปัญหาเรื่องการจัดการเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรค การป้องกันโรค และการมีชีวิตรอดของไก่ โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรขาดแคลนทุนทรัพย์หรือไม่เห็นความสำคัญในการที่จะลงทุนสร้างคอกที่ดี อาจจะทำเล้าเล็กๆไว้ข้างบ้านหรือใต้ถุนบ้าน เพื่อให้ไก่เข้านอนตอนกลางคืน หรือไก่อาจจะนอนบริเวณคอกสัตว์ (คอกโคหรือกระบือ) หรือบางแห่งอาจจะนอนบนต้นไม้ ไก่เหล่านี้จะไม่เชื่อง จับได้ยาก ถ้าต้องการจะจับ มักจะต้องจับในตอนกลางคืนเมื่อไก่นอน
ในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง มักจะปล่อยให้ไก่หากินเองตามธรรมชาติ อาจจะมีการโปรยข้าวเปลือกให้กินบ้างเป็นครั้งคราว ไก่ตัวเมียจะเริ่มผสมพันธุ และออกไ่ข่เมื่ออายุได้ 6-8 เดือน การออกไข่จะออกไข่ทุกวันหรือเกือบทุกวันวันละฟอง เกษตรกรมักไม่นิยมบริโภคไก่ไข่ที่เกิดจากไก่ของเขาเอง เพราะต้องการที่จะนำไปฟักเป็นลูกไก่มากกว่า เมื่อแม่ไก่ออกไข่ได้ประมาณ 10-16 ฟองแล้วไก่จะเริ่มฟัก เกษตรกรจะจัดเตรียมรังสำหรับฟักไข่ซึ่งอาจจะเป็นตะกร้า หรือกระบุง และรองรังด้วยหญ้าหรือฟาง แม่ไก่ตัวเล็ก จะมีความสามารถที่จะกกไข่ได้น้อย ถ้ามีไข่มาก ไข่ที่วางอยู่รอบนอกจะเสียได้ง่ายเพราะได้รับความอบอุ่นไม่เพียงพอ ในตอนกลางวันแม่ไก่จะลงจากรังไปหากินเป็นระยะๆเวลาสั้นๆ ถ้าเป็นตอนกลางคืนจะกกไข่ตลอด แม่ไก่จะใช้เวลากกไข่ประมาณ 20-21 วัน ลูกไก่ก็จะฟักออกจากไข่ จากนั้นก็จะพาลูกหากิน แม่ไก่จะดูแลลูกนานประมาณ 6-8 สัปดาห์ก็จะทิ้งลูก และจากนั้นก็จะเริ่มออกไข่อีกครั้งหนึ่ง ในปีหนึ่งแม่ไก่อาจจะออกไข่ได้ 4-5 ชุด ไก่ตัวผู้จะโตเร็วกว่าไก่ตัวเมีย เมื่ออายุได้ 6 เดือนไก่ตัวผู้อาจจะมีน้ำหนักได้ถึง 1.7 กก. แต่ไก่ตัวเมียจะมีน้ำหนักเพียง 1.2 กก.ไก่พื้นเมืองจะกกไข่แต่ละครั้งประมาณ 10-16 ฟอง ไข่จะฟักออกเป็นลูกไก่ประมาณ 8-10 ตัว กว่าจะโตรอดจากอันตรายต่างๆมาจนสามารถที่จะใช้บริโภคได้จะเหลือเพียง 4-5 ตัวเท่านั้น
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ไก่ตายคราวละมากๆได้แก่โรคระบาดชนิดต่างๆ เช่นโรคนิวคาสเซิล โรคหวัดหน้าบวม โรคอหิวาต์ โรคฝีดาษ และโรคพยาธิชนิดต่างๆ การป้องกันโรคระบาดอาจจะทำได้ โดยการทำวัคซีน แต่มักจะไม่ค่อยจะได้ผลดีนัก เพราะไก่มักไม่ค่อยจะมีความพร้อมในการรับวัคซีน เจ้าของไม่สดวกในการจัดหาวัคซีน บางโรคก็ไม่มีวัคซีนป้องกัน โปรแกรมการให้วัคซีนไม่เหมาะสม จะพบว่าบางครั้งมีการระบาดอย่างรุนแรงของโรคนิวคาสเซิลทำให้ไก่ตายทั้งหมู่บ้าน สถิติจำนวนไก่พื้นเมืองที่มีรางานในปี 2539 มีจำนวนกว่า 53 ล้านตัว
ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีปัญหาด้านการตลาดสำหรับไก่พื้นเมือง เนื้อไก่พื้นเมืองจะเป็นที่ต้องการของตลาดมากและมีราคาดีกว่าไก่เนื้อที่เลี้ยงจากฟาร์ม
3. การเลี้ยงไก่ลูกผสม ได้มีเกษตรกรบางคนที่พยายามเลี้ยงไก่ลูกผสม โดยใช้ไก่พื้นเมืองตัวผู้ ที่มีลักษณะดีเป็นพ่อพันธุ์และใช้แม่ไก่พันธฺ์ไข่จากต่างประเทศที่ให้ผลผลิตดี แล้วนำลูกไก่ที่ได้ไปเลี้ยงเป็นไก่เนื้อเพื่อส่งตลาด จะมีคุณภาพของเนื้อ ดีกว่าและราคาสูงกว่าไก่เนื้อ (broilers)
ตารางที่ 3 จำนวนไก่เนื้อ ,ไก่พื้นเมือง และไข่ไก่
ปี | ไก่เนื้อ x1000 | ไก่พื้นเมือง | ไข่ไก่ x1,000,000 |
1992 | 723,316.25 | ? | 8,071.23 |
1993 | 725,782.11 | ? | 7,337.04 |
1994 | 679,798.09 | 73,978,956 | 7,992.08 |
1995 | 699,875.93 | 82,154,416 | 8,317.19 |
1996 | 718,836.83 | 89,878,324 | 8,619.68 |
1997 | 753,460,82 | ? | 8,986.12 |
1998 | 798,330.90 | ? | 9,178.53 |
?
การเลี้ยงเป็ด
เป็ดที่เลี้ยงในประเทศไทยมีหลายชนิดคือ
1.1 พันธุ์แคมเบลล์ (Campbell) เป็นพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว ยังแยกออกเป็นสายพันธุ์ย่อยอีกหลายชนิด ที่เลี้ยงกันโดยทั่วไปคือพันธุ์กากีแคมเบลล์ (Khaki Campbell) เป็นพันธุ์ที่พัฒนาจนได้ไข่มากที่สุดในโลก อาจจะไข่ได้มากถึงปีละ 365 ฟอง เพศผู้มีขนสีน้ำตาลเข้มที่หัว คอ และหาง ส่วนที่เหลือมีสีกากี ปากสีเขียวเข้ม ขาและเท้าสีส้ม ตัวเมียขนที่หัวและคอสีน้ำตาลเข้ม ปากสีดำแกมเขียว เท้าและขาสีน้ำตาล เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 2.5-2.7 กก. ตัวเมียหนัก 2.0-2.2 กก.
สายพันธุ์ย่อยอื่นๆของพันธุ์แคมเบลล์เช่นสายพันธุ์แคมเบลล์สีเข้ม (Dark Campbell) และสายพันธุ์แคมเบลล์สีขาว (White Campbell) ซึ่งสายพันธุ์แคมเบลล์สีขาวนี้ได้มีผู้เอาปรับปรุงพันธุ์ต่อไปเป็นเป็ดเนื้อ
1.2 พันธุ์อินเดียนรันเนอร์ (Indian Runner) ได้มีผู้นำเป็ดพื้นเมืองจากประเทศอินเดียและมาเลเซียไปปรับปรุงพันธุ์ในประเทศอังกฤษ มีขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์แคมเบลล์ วิ่งเร็ว ตกใจง่าย
1.3 เป็ดไข่พื้นเมือง เป็นเป็ดที่เลี้ยงกันโดยทั่วไปในบ้านเรา มักจะเป็นทั้งเป็ดไข่และเป็ดเนื้อ แต่จะได้ไม่ดีเท่าเป็ดพันธุ์แท้ อาจจะแยกได้เป็นสายพันธุ์เป็ดนครปฐมและสายพันธุ์เป็ดปากน้ำ เป็ดพื้นเมืองได้รับความนิยมในการเลี้ยงในชนบททั่วไป
2. เป็ดเนื้อพันธุ์แท้ มีหลายสายพันธุ์ ที่รู้จักกันดีคือ
2.1 เป็ดปักกิ่ง (Pekin) มีกำเนิดจากประเทศจีน นิยมเลี้ยงกันทั่วไป ขนสีขาว หนังสีเหลือง ปากและเท้าสีส้ม ตัวใหญ่โตเร็ว ตัวผู้โตเต็มที่อาจจะหนักถึง 4.1 กก. ตัวเมียหนัก 3.6 กก.
2.2 เป็ดเทศ (Muscovy) เป็นเป็ดพื้นเมืองจากอเมริกาใต้ เนื้อมีคุณภาพดี ไขมันน้อย เนื้อมาก ไม่มีขนเบริเวณใบหน้า แต่มีผิวหนังสีแดง มีตุ่มบริเวณหน้าและคอด้านบนเหมือนไก่งวงเพศผู้ เป็ดตัวผู้จะมีตุ่มบนหัวซึ่งมีลักษณะคล้ายหงอน ขนหางไม่หงิกงอ มีขนสีที่แตกต่างกันไป ตัวผู้หนัก 4.5-6.4 กก. ตัวเมียหัก 2.2-3.1 กก. เป็ดเทศโตช้า จึงไม่ได้รับความนิยมในทางการค้า ถ้าเลี้ยงหนาแน่น มักมีนิสัยก้าวร้าวมีนิสัยชอบฟักไข่ ใช้เวลาฟักไข่นาน 34-36 วัน ในขณะที่เป็ดอื่นๆใช้เวลาฟักไข่เพียง 28 วัน เป็ดพันธุ์นี้ได้รับความนิยมในการเลี้ยงในชนบททั่วไป ถ้าเป็ดพันธุ์นี้ผสมข้ามพันธุ์กับเป็ดพันธุ์อื่น ลูกที่ออกมาจะเป็นหมัน
2.3 เป็ดปั๊วไฉ่ หรือ โป้ยฉ่าย (Mule duck) เป็นเป็ดลูกผสมที่ใช้เป็ดเทศเป็นพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์เป็นเป็ดพื้นเมือง มีเนื้อที่มีคุณภาพดีกว่าเป็ดพื้นเมือง แข็งแรง อัตราการตายต่ำกว่าเป็ดพันธุ์แท้ เนื้อมีกลิ่นน้อยกว่าเป็ดเทศ
เป็ดพันธุ์อื่นๆที่ได้มีการพัฒนาในประเทศไทยขึ้นเช่นพันธุ์บางปะกง 1 พัฒนามาจากสายพันธุ์ลูกผสมของกากีแคมเบลล์และเป็ดปากน้ำ และเป็ดพันธุ์บางปะกง 2 ซึ่งพัฒนามาจากเป็ดพื้นเมืองปากน้ำ
รูปแบบการเลี้ยงเป็ดในประเทศไทย
1. เพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน หรือการเลี้ยงแบบหลังบ้าน ส่วนใหญ่มักจะเป็นการเลี้ยงเป็ดพื้นเมืองเป็นหลัก เลี้ยงกันมากในชนบท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ไข่หรือเนื้อเป็นอาหารภายในครัวเรือนหรือขายกันภายในหมู่บ้าน นอกจากนี้ในหลายแห่งยังมีการเลี้ยงเป็ดเทศ หรือเป็ดปั๊วใฉ่กันด้วย ทั้งนี้เพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร ข้อดีของการเลี้ยงเป็ดในระดับรายย่อยก็คือ เป็ดจะมีโรคระบาดน้อยกว่าไก่ มีอัตราการเลี้ยงรอดสูงกว่า แต่เป็ดต้องการน้ำ หรือแหล่งน้ำ อยู่บ้าง เป็ดมักจะทำเกิดการเปียกชื้น และสกปรกได้ง่ายกว่าไก่
2.1 การเลี้ยงแบบไล่ทุ่ง (Normadic system)ใช้กันทั้งเป็ดเนื้อและเป็ดไข่ แต่มักใช้กันในเป็ดเนื้อมากกว่า เป็นการเลี้ยงที่มีมานานหลายสิบปีแล้ว ของเกษตรกรแถบจังหวัดอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม และฉะเชิงเทรา จะแบ่งการเลี้ยงออกเป็น 2 ฤดู คือหลังฤดูการทำนาปรังและฤดูการทำนาปี เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว วิธีการคือจะมีการเเลี้ยงเป็ดเล็กในโรงเรือนจนอายุได้ประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นจะปล่อยลงทุ่งนาเพื่อเก็บกินเมล็ดข้าวที่เหลือ และกินกุ้ง หอย ปู ปลา ในทุ่งนา เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดค่าอาหาร จากนั้นจึงต้อนเป็ดเข้าโรงเรือน เพื่อนำไปขุนต่ออีกประมาณ 1 เดือนเพื่อเป็นเป็ดเนื้อ หรือเพื่อเตรียมเป็นเป็ดไข่ต่อไป ในท้องที่ที่มีการทำนาปรังจะทำให้เป็ดอยู่ในทุ่งสั้นกว่า 3 เดือน ทำให้ต้องต้อนเป็ดไปหากินที่อื่นหรือต้องเข้าโรงเรือนเร็วกว่าปกติ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
2. การเลี้ยงแบบปล่อยลาน (Extensive system) การเลี้ยงแบบนี้จะต้องมีลานดิน และบ่อน้ำอยู่ใกล้กับโรงเรือน เป็ดจะกินอาหารนอกโรงเรือน และจะลงน้ำ ทำให้ลดความหนาแน่นของเป็ดใน บางเวลา เป็ดจะใช้พลังงานไปในกิจกรรมต่างๆมากกว่าแบบการเลี้ยงในโรงเรือน การเลี้ยงแบบนี้จะพบได้ทั่วไป อาหารที่ใช้เลี้ยงจะเป็นอาหารข้น วิธีนี้มักใช้กันในการเลี้ยงเป็ดไข่
3. การเลี้ยงในโรงเรือน (Intensive system) จะเป็นการเลี้ยงคล้ายไก่ ให้เป็ดอยู่ภายในโรงเรือนตลอด แต่จะต้องจัดพื้นที่ให้เป็ดได้สัมผัสกับน้ำบ้าง ทำให้บางพื้นที่อาจจะเปียกแฉะบ้าง การลี้ยงแบบนี้ ต้องลงทุนมาก แต่จะได้ผลตอบแทนสูง อาหารที่ใช้เลี้ยงจะเป็นอาหารข้น การเลี้ยงแบบนี้มักจะเป็นเป็ดเนื้อ
?
ตารางที่ 4 จำนวนเป็ดที่มีรายงานในปี 1996
เป็ดเนื้อ |
8,686,845 |
เป็ดไข่ |
8,443,065 |
เป็ดเทศ |
4,270,465 |
รวม |
21,400,375 |
การเลี้ยงสุกร
จากการที่มีการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรในระบบอุตสาหกรรมกันอย่างจริงจังระยะประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา ทำให้อิทธิพลของสุกรพันธุ์ดีจากฟาร์มเริ่มเผยแพร่ออกไปมากขึ้น สุกรเหล่านี้ต้องซื้อสายพันธุ์ต้นตอมาจากต่างประเทศ เป็นสุกรที่เติบโตเร็ว ตัวโต ทนทานต่อโรคได้น้อย ต้องใช้อาหารที่มีคุณภาพสูง และต้องใช้เทคนิคการจัดการที่ดี พันธุ์ที่นิยมกันมากคือพันธุ์ Large White (สีขาวหูตั้ง) พันธุ์ Land Race (สีขาวหูตก) พันธุ์ Duroc (สีแดง) พันธุ์ Bergshire (สีดำ) และพันธุ์อื่นๆ อีกบ้าง จากนั้นจึงนำสุกรเหล่านี้มาผสมข้ามพันธุ์กัน (cross breed) เพื่อให้ได้ลูกที่มีลักษณะดีของแต่ละพันธุ์ และใช้ลูกสุกรเหล่านี้เป็นสุกรขุน เพื่อขายส่งตลาด ในการผสมพันธุ์มักจะใช้ 3 พันธุ์ เพื่อให้ลูกที่เรียกว่า ลูก 3 สายเลือดจะมีอัตราการเติบโตดี เลี้ยงง่ายกว่าสุกรพันธุ์แท้ สำหรับการจัดการ อาหารต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพดี มีโปรตีนสูง สุกรจึงจะโตเร็ว ในปัจจุบันนี้การเลี้ยงที่ดีจะใช้เวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น หลังจากคลอด จะได้น้ำหนักส่งตลาดคือที่น้ำหนักประมาณ 100 กก. ในประเทศไทยการเลี้ยงสุกรในระบบอุตสาหกรรมเหล่านี้จะเป็นการเลี้ยงในโรงเรือนทั้งหมด ไม่ปล่อยสุกรให้ลงดินเลย ทำให้ต้นทุนในการจัดการสูง
ในสมัยก่อนประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรม มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ สุกรเป็นสัตว์ที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงทั้งนี้เพื่อใช้เป็นอาหารในครอบครัว หรือขายเพื่อเป็นรายได้เสริม สุกรที่เกษตรกรเลี้ยงมักจะเป็นสุกรพันธุ์พื้นเมืองมักจะมีขนาดตัวเล็ก สีดำหรือดำสลับขาว หลังแอ่น ท้องยาน เลี้ยงลูกเก่ง โตช้า มีเนื้อแดงน้อย ไขมันมาก การเลี้ยงจะสร้างคอกแบบง่ายๆ หรือกึ่งเลี้ยงกึ่งปล่อย หรือผูกเชือกล่ามไว้กับต้นไม้ก็มี หรือเลี้ยงในคอกที่เป็นพื้นดิน ซึ่งสุกรพื้นเมืองจะทนทานต่อการเลี้ยงแบบนี้ได้ดี คนไทยเชื้อสายจีนที่อยู่แถบ จ.นครปฐม ราชบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี จะมีความชำนาญในการเลี้ยงกันเป็นอย่างมาก โดยมักจะควบคู่ไปกับการปลูกผักและใช้อุจจาระสุกรไปรดผักเพื่อเป็นปุ๋ย
ต่อมาเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา มีความตื่นตัวกันในเรื่องการเลี้ยงสุกร เนื่องจากเนื้อสุกรมีราคาสูง ทำให้มีการขยายตัวในการเลี้ยงสุกรกันเป็นอย่างมาก ที่ดินมีราคาแพงขึ้น เกษตรกรมีความต้องการเลี้ยงสุกรมากขึ้น แต่ไม่สามารที่จะซื้อพื้นที่เพิ่มเติมได้ ทำให้ต้องเลิกการปลูกผัก หันมาเลี้ยงสุกรแต่เพียงอย่างเดียว และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์โดยการสั่งสุกรสายพันธุ์ดีมาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2538 ประมาณการว่าประเทศไทยสามารถผลิตสุกรได้มากกว่า 9 ล้านตัวเกือบทั้งหมดได้จากการผลิตในระบบอุตสาหกรรมหรือฟาร์มใหญ่ทั้งสิ้น สุกรที่เลี้ยงในระบบฟาร์มขนาดย่อยหรือจากชนบทมีเพียงจำนวนน้อยเท่านั้น คาดว่าไม่น่าจะเกิน 5 % ซึ่งแตกกต่างจากเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา ที่การผลิตสุกรของประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วได้มาจากการผลิตรายย่อย จากฟาร์มขนาดเล็กหรือจากชนบท ที่มีการเลี้ยงสุกรขุนรายละ 5-10 ตัวหรือแม่สุกรรายละ 1-2 ตัว
จากการที่ปัจจุบันชนบทได้ลดจำนวนการเลี้ยงสุกรลงเป็นอย่างมาก สามารถวิเคราะห์สาเหตุได้ดังนี้
1. การขาดแคลนพันธุ์สุกรที่เหมาะสม เดิมสุกรที่มีการเลี้ยงในชนบทจะเป็นการเลี้ยงสุกรพันธุ์พื้นเมือง หรือลูกผสมพื้นเมือง ที่มีการเติบโตช้า ตัวเล็ก ทนทานต่อโรค แต่สามารถใช้เศษอาหาร พืชผักที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรืออาหารที่มีคุณภาพต่ำได้ดี แต่จากการที่ไม่มีหน่วยงานใดให้ความสำคัญในปัญหาในข้อนี้ จึงได้ปล่อยให้พันธุ์สุกรดังกล่าวลดน้อยลงไปและอาจจะกล่าวได้ว่าเกือบจะสูญพันธุ์ไปอย่างน่าเสียดาย สุกรพันธุ์ดังกล่าวจะหาได้ยากยิ่งในปัจุบันนี้ พบเห็นได้ในท้องถิ่นที่ห่างไกลมากๆ เช่นบนภูเขา หรือตามแถบชายแดนเท่านั้น
เมื่อสุกรพันธุ์พื้นเมืองหายาก มีเกษตรกรบางรายพยายามที่จะนำสุกรพันธุ์ดีจากฟาร์มไปทดลองเลี้ยงในระบบเดิม คือการขังในคอกที่ทำด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น พื้นคอกอาจจะปูด้วยไม้ หรือพื้นซีเมนต์ หรือพื้นดิน ล่ามด้วยเชือกแล้วผูกไว้โคนต้นไม้ หรือเลี้ยงปล่อยก็มี อาหารก็ใช้เศษอาหารจากครัวเรือนและใช้ผักหญ้าที่หาได้จากธรรมชาติเป็นหลัก เนื่องจากอาหารมีคุณภาพต่ำที่สำคัญคือมีโปรตีนน้อย สุกรเติบโตช้ามาก ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูง ประสบต่อการขาดทุน แต่บางรายก็ยังเลี้ยงอยู่ โดยเลี้ยงแม่สุกรเพื่อจะขายลูก แต่บางรายก็ต้องเลิกเลี้ยงไป แต่ก็มีบางแห่งที่พยายามจะเลี้ยงสุกรพื้นมืองเหมือนกันแต่มีเป็นจำนวนน้อย
2. ปัญหาเรื่องโรงเรือนและการจัดการ เนื่องจากสุกรสายเลือดสูงที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีความต้านทานต่อสิ่งแวดล้อมและความต้านทานต่อโรคต่ำ ดังนั้นโรงเรือนที่ใช้ จะต้องเป็นโรงเรือนที่ได้มาตราฐาน สามารถป้องกันการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งแวดล้อมได้ดี เช่นจะต้องแยกคอกสุกร ออกเป็นกลุ่มต่างๆ เช่นสุกรตั้งท้อง สุกรระยะใกล้คลอดและหลังคลอด แม่สุกรระยะที่กำลังให้นม และลูกสุกรระยะดูดนม ลูกสุกรอนุบาลหลังหย่านม ลูกสุกรเล็ก สุกรขุน สุกรที่คัดเป็นพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งในการจัดการเหล่านี้จะต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมาก
3. ปัญหาเรื่องอาหารที่มีคุณภาพมีราคาสูง ยิ่งซื้อน้อย ราคาต่อหน่วยก็ยิ่งสูงมากตามไปด้วย บ่อยครั้งที่ราคาสุกรตกต่ำ ทำให้ประสบปัญหาขาดทุน ในปัจจุบันการเลี้ยงสุกรสายพันธุ์ดีจากฟาร์มอาจจะพบมีการเลี้ยงกันอยู่บ้างหมู่บ้านละ 1-2 ราย รายละ 10-40 ตัว แต่แทบจะทุกรายที่เลี้ยงจะมีโรงสีข้าวขนาดเล็กอยู่ในครอบครอง ซึ่งโรงสีนี้จะให้บริการสีข้าวให้แก่ผู้นำข้าวมาสีโดยไม่คิดมูลค่า แต่ทางโรงสีจะได้รำเป็นค่าตอบแทน ซึ่งเจ้าของโรงสีจะนำรำไปเลี้ยงสุกรเป็นอาหารหลักทำให้ลดค่าใช้จ่ายลงมาก และใส่หัวอาหาร (premix) และสิ่งอื่นๆเสริม ซึ่งทำให้พอที่จะเลี้ยงอยู่ได้
4. ปัญหาทางด้านโครงสร้างทางสังคม เดิมโครงสร้างของหมู่บ้านเป็นแบบเกษตรกรรม ชาวบ้านมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ แต่ละบ้านอาจจะเลี้ยงสุกรไว้ 2-3 ตัวหรือเลี้ยงแม่สุกรเพื่อใช้เศษอาหาร ซึ่งมักจะสร้างคอกเล็กๆไว้ข้างบ้านหรือเลี้ยงไว้ใต้ยุงข้าว ซึ่งจะส่งกลิ่นเหม็นพอสมควร แต่เนื่องจากแทบทุกบ้านจะเลี้ยงกัน ก็เลยไม่ค่อยจะมีปัญหา ต่อมาโครงสร้างทางสังคมเริ่มเปลี่ยนไปจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมบริการและสังคมอุตสาหกรรม มีการออกไปทำงานนอกหมู่บ้านมากขี้น ไปทำงานในเมืองหรือไปขายแรงงานต่างประเทศ จะมีประชาชนจำนวนหนึ่งในหมู่บ้าน ที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ประกอบอาชีพเลย แต่อาศัยรายได้ที่ส่งมาจากผู้ที่ไปประกอบอาชีพที่อื่น ฐานะของคนเหล่านี้เริ่มเปลี่ยนไป ลักษณะของบ้านที่ปลูกใหม่ๆ เริ่มเปลี่ยนไป หลายบ้านเริ่มปลูกแบบชั้นเดียวหรือ 2 ชั้น แต่ไม่มีใต้ถุนบ้านเหมือนบ้านของคนในเมือง คนในวัยแรงงานในหมู่บ้านมีน้อยลง โครงสร้างทางการปกครองในหมู่บ้านเริ่มแข็งขี้น มีการแบ่งกลุ่มในหมู่บ้านเป็นกลุ่มหรือคุ้มต่างๆ มีการประกวดความสะอาด ความเป็นระเบียบของหมู่บ้าน การเลี้ยงสุกรทำให้เกิดความสกปรกและส่งกลิ่นเหม็น เป็นที่รังเกียจของบ้านใกล้เคียง ทำให้การเลี้ยงสุกรในหมู่บ้านในชนบทลดน้อยลงไปเป็นอย่างมาก ดังนั้นหมู่บ้านชนบทในปัจจุบันจึงเป็นผู้บริโภคสุกรจากฟาร์มซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ มากกว่าที่จะผลิตเองจากภายในหมู่บ้าน มีเกษตรกรบางรายได้มีความพยายามในการเลี้ยงหมูป่า เพราะว่าเนื้อมีราคาดี มีผู้นิยมบริโภคโดยนำมาเลี้ยงคล้ายสุกรบ้าน แต่ก็มีจำนวนน้อย (สถิติจำนวนสุกรแสดงในตารางที่ 10)
การเลี้ยงโค
การเลี้ยงโคในประเทศไทยแบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้ 4 ประเภทคือ
1. การเลี้ยงเพื่อการใช้งาน การใช้โคในการทำงานโดยเฉพาะในการกสิกรรมได้มีมานาน ควบคู่กับการใช้กระบือ ข้อได้เปรียบของโคคือ โคมีเท้าเล็กกว่า จะเป็นสัตว์ที่เดินได้เร็วกว่ากระบือ ดังนั้นโคจึงเหมาะใช้ในการเทียมเกวียน ลากเลื่อน ใช้ไถนาดอนได้ดีกว่านาลุ่ม และทนแดด แต่ข้อเสียคือโคจะมีกำลังน้อยมักจะต้องใช้ทำงานเป็นคู่ ปัจจุบันการใช้โคเพื่องานเกษตรกรรมลดน้อยลงไปมาก โคงานที่ปลดระวางหรือไม่สามารถใช้ทำงานต่อไปได้ มักจะใช้เนื้อเป็นอาหารเช่นเดียวกับกระบือ โคที่ใช้ทำงานเดิมมักจะโคพื้นเมืองที่มีขนาดโต หรือโคลูกผสมโคพันธุ์อเมริกันบรามัน (American Brahman) ซึ่งจะเป็นโคที่มีขนาดโตกว่าโคพื้นเมือง ในปัจจุบันนี้เครื่องจักรเข้ามามีบทบาทแทนการใช้แรงงานแทนโค เช่นเดียวกับกระบือ
2. การเลี้ยงโคเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร การใช้เนื้อเป็นอาหาร เดิมโคที่ปลดจากโคงาน ก็จะนำมาเป็นอาหารของมนุษย์ ซึ่งจะเป็นเนื้อที่มีคุณภาพต่ำ ในต่างประเทศได้มีการพัฒนาพันธุ์โคเนื้อไปเป็นอย่างมาก โดยมีวัตถุประสงค์ในการเลี้ยงเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหารโดยเฉพาะ มีหลายพันธุ์ มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก และบางชนิดก็สามารถที่จะใช้เป็นโคงานได้ด้วย เช่น โคพันธุ์เมริกันบรามัน หรือเป็นโคเนื้อโดยเฉพาะเช่นโคพันธุ์ชาโลเลย์(Charlolais) พันธุ์อะเบอดีนแองกัส (Aberdeen Angus) ในประเทศไทยเกษตรกรมักนิยมเลี้ยงโคพันธุ์ผสมมากกว่าพันธุ์แท้ เนื่องจากโคพันธุ์ผสมสมารถปรับตัวในสภาพของอากาศของประเทศไทยได้ดีกว่า แต่จะมีขนาดเล็กกว่า โคที่เลี้ยงเพื่อเป็นโคเนื้อจะสามารถขายได้เมื่ออายุเพียง 2-3 ปี เท่านั้นหรือถ้าต้องการเนื้อที่มีคุณภาพดีมากๆ อาจจะส่งตลาดเมื่ออายุ 1-1.5 ปีเท่านั้น มีเกษตรกรส่วนหนึ่งซื้อลูกโคนมตัวผู้มาขุน และทำเป็นโคเนื้อ
ในประเทศไทยได้มีความพยายามในการสร้างสายพันธุ์โคพันธุ์เนื้อขึ้นในประเทศไทย เช่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พยายามสร้างโคพันธุ์เนื้อลูกผสม 3 สายพันธุ์ คือ
โคเนื้อกำแพงแสน 1 เป็นโคพื้นเมือง 25% โคบราห์มัน25% และโคพันธุ์ชาโลเลส์ 50%
โคเนื้อกำแพงแสน 2 เป็นโคพื้นเมือง 12.5% โคบราห์มัน25% และโคพันธุ์ชาโลเลส์ 62.5%
ซึ่งความจริงแล้วโคเนื้อดังกล่าวมิใช้โคเนื้อพันธุ์แท้ เป็นเพียงโคลูกผสมที่อาจจะเหมาะสมในการทำเป็นโคขุนเพื่อการค้าเท่านั้น
3. การเลี้ยงโคนมเพื่อให้นม ในประเทศไทยธุระกิจน้ำนมเป็นธุระกิจขนาดใหญ่ การบริโภคนมภายในประเทศมีมาก ทั้งในรูปนมพร้อมดื่มซึ่งมีหลายรูปแบบเช่น นมสดพาสเจอไรส์ (Pasturized) นม U.H.T. (Ultra HighTemperature) นมสะเตอริไลส์ (Sterilized) และผลิตภัณฑ์อื่นๆแต่ยังไม่พอเพียง ประเทศไทยต้องสั่งนมและผลิตภัณฑ์นมเช่น นมผง นมเปรี้ยว เนย และผลิตภัณฑ์อื่นๆเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีการเลี้ยงโคนมกันมาหลายสิบปีแล้วก็ตาม
ประวัติการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประทศเดนมาร์คเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2503 ได้ทรงสนพระทัยในกิจการเลี้ยงโคนมเป็นอย่างมาก ทางรัฐบาลเดนมาร์คได้ถวายโครงการการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจ จัดทำโครงการ และจัดสร้างฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ขึ้นที่สถานีพืชอาหารสัตว์มวกเหล็ก กรมปศุสัตว์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.มวกเหล็ก จ. สระบุรี เมื่อปี พ.ศ.2504 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเจ้าเฟรดเดอริคที่ 9 แห่งประเทศเดนมาร์คได้เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดฟาร์มเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2505 การพัฒนาการเลี้ยงโคนมยังเป็นไปได้ช้ามาก และการดื่มนมของคนไทยก็ยังอยู่ในวงจำกัด ได้มีการรณรงค์ให้มีการดื่มนมกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ทำให้การดื่มนมมีปริมาณสูงขึ้น ต้องมีการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมจากต่างประเทศมากขี้น ต่อมาประเทศไทยมีปัญหาเรื่องผลผลิตการเกษตรล้นตลาดและราคาตกต่ำ เช่นมันสำปะหลัง และข้าว รัฐบาลจึงมีนโบายลดพื้นที่การปลูกพืชบางชนิดเช่นมันสำปะหลัง และในพื้นที่ที่การปลูกข้าวแต่ให้ผลผลิตน้อย ให้เกษตรกรเปลี่ยนอาชีพไปเลี้ยงโคนม ในปี พ.ศ.2530 รัฐบาลได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเลี้ยงโคนมกันมากขึ้น โดยให้อ.ส.ค.เป็นผู้ดำเนินการจัดหาและส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของ อ.ส.ค.และในปี พ.ศ.2531 กรมปศุสัตว์ได้รับงบประมาณในการจัดหาโคนมให้เกษตรกร อ.วังน้ำเย็น จ.ปราจีนบุรี (ปัจจุบัน จ.สระแก้ว) มีเกษตรกรเข้าร่วม 200 ราย และ ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี มีเกษตรกรเข้าร่วม 100 รายจากนั้นก็ได้มีโครงการในจังหวัดต่างๆเพิ่มขึ้นอีกมากมาย มีเกษตรกรและนักธุระกิจได้สนใจในการเลี้ยงโคนมเป็นจำนวนมาก รัฐบาลได้มีโครงการส่งเสริมให้ประชาชนดื่มนมเพื่อสุขภาพ และต้องการให้ประชาชนชาวไทยมีร่างกายสูงใหญ่ขึ้นจากเดิม โดยการส่งเสริมให้เด็กเล็กในโรงเรียนดื่มนมที่เรียกว่าโครงการ"นมโรงเรียน" ในปี พ.ศ.2536 โดยเริ่มจากชั้นอนุบาลก่อน และจะเพิ่มปีละ 1 ชั้นเรียนจนถึงชั้นประถมปีที่ 6 ปีงบประมาณ 2539 มีงบประมาณ 2,765 ล้านบาท สำหรับนักเรียน ป.1-3 มีนมดื่มฟรี คนละ 200 ซีซี /คน /วัน จำนวน 200 วัน ซึ่งมีนักเรียนในโครงการประมาณ 4.5 ล้านคน ในปี 2540 ทางรัฐบาลได้ตั้งงบประมาณไว้ 6,000 ล้านบาท ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยสามารถผลิตนมได้เพียงร้อยละ25-30 ของความต้องการภายในประเทศเท่านั้น รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมการเลี้ยงโคนมเพื่อทดแทนการนำเข้า โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)ให้การสนับสนุนเรื่องเงินกู้ กรมปศุสัตว์และองค์การส่งเสริมโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ
ปัญหาการเลี้ยงโคนม
ปัจจุบันผู้เลี้ยงโคนมส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ร้อยละ 89.6 เลี้ยงโคไม่เกิน 20 ตัว ร้อยละ 80 เลี้ยงโคนมเป็นอาชีพหลัก การเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพรอง มักไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะการเลี้ยงโคนม ต้องการการทุ่มเท เอาใจใส่อย่างจริงจังตลอดเวลา ปัญหาที่สำคัญมีดังนี้
ก. ผลผลิตต่ำ เนื่องจากพันธุ์โคที่เลี้ยงเป็นพันธุ์ลูกผสมขาวดำ (Holstein Friesian) เกษตรกรพยายามยกสายเลือดให้สูงขึ้น แต่การจัดการต่างๆและอาหาร ไม่สอดคล้อง ทำให้รีดน้ำนมได้น้อย
ข. ต้นทุนการผลิตสูง จากค่าตัวและพันธุ์โคนม ซึ่งสูงกว่าที่ควร เนื่องจากมีความต้องการมาก การเลี้ยงน้อย ทำให้ต้นทุนต่างๆต่อหน่วยสูง เช่นการซื้ออาหารจำนวนน้อย การเกิดโรคต่างๆทำให้มีต้นทุนเรื่องการรักษาเพิ่มขึ้น
ตารวงที่ 5 จำนวนโคเนื้อ (โคพื้นเมืองและโคลูกผสม) และโคนมในประเทศไทย
ปี |
โคเนื้อ-ตัว |
โคนม-ตัว |
1986 |
4,287,856 |
63,605 |
1987 |
4,331,423 |
67,676 |
1988 |
4,500,740 |
94,927 |
1989 |
4,986,941 |
132,776 |
1990 |
5,510,993 |
157,537 |
1991 |
6,435,777 |
191,194 |
1992 |
6,898,980 |
222,499 |
1993 |
7,235,384 |
237,189 |
1994 |
7,405,732 |
231,618 |
1995 |
7,321,821 |
287,247 |
1996 |
5,854,529 |
276,345 |
ตารางที่ 6 จำนวนโคนม จำนวนฟาร์ม ผลผลิตน้ำนม และอัตราการเพิ่ม
ปี |
จำนวนโคนม* |
จำนวนฟาร์ม |
ผลผลิตน้ำนม-ตัน |
อัตราการเพิ่ม (%) |
1987 | 75,791 |
6,671 |
89,713 |
? |
1988 | 93,654 |
11,098 |
106,709 |
18.9 |
1989 | 114,190 |
11,292 |
122,501 |
14.8 |
1990 | 137,392 |
12,161 |
155,574 |
26.9 |
1991 | 165,722 |
14,750 |
193,895 |
24.6 |
1992 | 194,896 |
14,697 |
227,784 |
17.5 |
1993 | 227,498 |
19,249 |
293,255 |
28.7 |
1994 | 266,119 |
17,900 |
326,381 |
11.3 |
1995 | 292,694 |
no data |
350,196 |
7.29 |
1996 | 276,381 |
16,693 |
387,622 |
10.7 |
* จำนวนทั้งหมดของโครีดนม โคพักรีดนมก่อนคลอด โคสาว โคสาวตั้งท้องและโคตัวผู้
?
ตารางที่ 7 นมสดและนมปรุงรสที่ผลิตได้ในประเทศไทย
นมสด |
นมปรุงรส |
จำนวนรวม |
|||
ปี |
ตัน/ปี |
% |
ตัน/ปี |
% |
ตัน/ปี |
1990 |
40,400 |
20 |
157,164 |
80 |
197,564 |
1991 |
37,265 |
15 |
211,549 |
85 |
248,814 |
1992 |
41,080 |
14 |
252,589 |
86 |
293,669 |
1993 |
45,286 |
13 |
306,954 |
87 |
352,240 |
1994 |
49,375 |
12 |
364,472 |
88 |
413,848 |
1995 |
57,426 |
11 |
470,041 |
89 |
527,467 |
1996 |
69,926 |
11 |
565,764 |
89 |
635,690 |
ตารางที่ 8 ปริมาณนมผงและผลิตภัณฑ์นมอื่นๆที่นำเข้า
ปี |
นมผง/ตัน |
ผลิตภัณฑ์ นมอื่นๆ / ตัน |
ราคา-บาท (x1,000) |
1987 |
38,671 |
30,798 |
2,811,655 |
1988 |
47,173 |
32,277 |
3,267,123 |
1989 |
32,589 |
30,361 |
3,288,767 |
1990 |
47,536 |
41,050 |
4,180,153 |
1991 |
50,905 |
45,630 |
4,031,087 |
1992 |
62,147 |
51,866 |
5,570,266 |
1993 |
52,375 |
53,918 |
5,163,255 |
1994 |
71,749 |
71,642 |
6,202,219 |
1995 |
? | ? | 8,249,900 |
หมายเหตุ ความต้องการน้ำนมและผลิตภัณฑ์นมอื่นๆทั้งหมดปีละประมาณ 800,000 ตัน
?
?
ตารางที่ 9 เป้าหมายของรัฐบาลในการจัดหาโคนมให้เกษตรกร /ตัว
ปี |
กรมปศสัตว์ |
อ.ส.ค. |
1997 |
6,000 |
5,000 |
1998 |
7,000 |
5,000 |
1999 |
8,000 |
5,000 |
2000 |
9,000 |
5,000 |
2001 |
10,000 |
5,000 |
ค. การขาดแคลนโคนม มีความจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นจำนวนมาก ทำให้เสียทั้งค่าตัวโคและค่าขนส่ง ทำให้การขยายตัวของเกษตรกรที่ต้องการจะเลี้ยงเป็นไปอย่างจำกัด ภาครัฐได้มีโครงการในการขยายโดยการนำเข้าโดยกรมปศุสัตว์และ อ.ส.ค.
ง. ปัญหาการส่งเสริมและบริการจากรัฐ ระบบการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในการให้การสนับ สนุนการเลี้ยงโคนมในลักษณะของการเลี้ยงรายย่อย ยังขาดศักยภาพ และไม่ชัดเจน เกษตรกรไทยที่เป็นผู้เลี้ยงเหล่านี้ ยังไม่สามารถช่วยตนเองได้ในหลายๆเรื่อง เช่นการจัดการ ระบบการสหกรณ์ยังไม่เข้มแข็ง คาดว่าถ้าภาครัฐไม่ดูแลให้ดีแล้ว อาจจะเกิดปัญหาได้
จ. ปัญหาเรื่องการจำหน่ายน้ำนม ฟาร์มโคนมจะส่งนมให้สหกรณ์ประมาณ 30-40% ที่เหลือจะส่งให้บริษัทเอกชน และ อ.ส.ค. เพื่อนำไปแปรรูปเป็นนมพร้อมดื่ม ในรูปต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันนมพร้อมดื่มส่วนหนึ่งของบริษัทเอกชนได้จากการนำเข้านมผงจากต่างประเทศ นำมาทำเป็นนมพร้อมดื่ม ซึ่งจะมีราคาถูกกว่า ดังนั้นรัฐต้องดูแลโควต้าการนำเข้านมผงให้พอเหมาะ กับการผลิตนมดิบในประเทศ และต้องมีนโยบายที่จะให้บริษัทรับซื้อนมดิบจากเกษตรกรให้มากที่สุดในราคาที่เหมาะสม
ฉ. ปัญหาเรื่องเงินทุน การเลี้ยงโคนมต้องลงทุนมาก โดยเฉพาะค่าตัวโคนม เกษตรกรประมาณ
ร้อยละ 40 เท่านั้นที่ใช้เงินของตนเอง นอกนั้นจะต้องกู้จากสถาบันการเงินของรัฐ และผ่อนส่งระยะยาว
สำหรับเงินกู้จาก ธ.ก.ส. มีระยะปลอดหนี้ 2 ปี จากนั้นคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี
ช. ปัญหาเรื่องการจัดการสุขภาพของโคนม เนื่องจากโคนมส่วนใหญ่เป็นโคที่นำเข้าจากต่างประเทศทำให้มีปัญหาเรื่องการปรับตัวไม่ได้ดี ทำให้สุขภาพอ่อนแอ มีความไวต่อโรคเขตร้อนหลายชนิด โดยเฉพาะโรคที่นำโดยเห็บและแมลงเช่นโรค อะนาพลาสโมซิส (Anaplasmosis) โรคบาบีซิโอซิส (Babesiosis) และโรคที่พบบ่อยที่สุดในของโคนมคือโรคเต้านมอักเสบ (Mastitis) ที่เกิดจากสาเหตุหลายประการ ส่วนหนึ่งจะเกิดจากการจัดการที่ไม่เหมาะสม เกษตรกรขาดประสบการในการเลี้ยงโคนมมาก่อน และโรคอื่นๆ เนื่องจากเมื่อเกิดปัญหาด้านสุขภาพของโคนม ทางรัฐฯไม่ได้เตรียมการในการให้การสนับสนุน อย่างเหมาะสม เน้นการเพิ่มจำนวนโคโดยการนำเข้า ซึ่งโคนมที่นำเข้าเหล่านี้ราคาเฉลี่ยประมาณตัวละ 3.5 หมื่นบาท และจุดอ่อนของโคนม คือจะมีความไวมากในการที่จะให้น้ำนมน้อยหรือไม่ให้น้ำนม เพียงเปลี่ยนคนรีดนมเท่านั้น ปริมาณน้ำนมที่ได้ก็จะลดลงทันที หรือเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยก็จะไม่ให้น้ำนม โคนมเหล่านี้ถ้าไม่สามารถรีดนมได้ ก็จะมีมูลค่าเนื้อประมาณ 7,000-8,000 บาท เท่านั้น
ฉ. การจัดการเรื่องหญ้า อาหารหลักของโคคือหญ้า ซึ่งอาจจะเป็นในรูปของหญ้าสด หรือหญ้าหมัก (silage) หรือหญ้าแห้ง (hay) ซึ่งหญ้าเหล่านี้ต้องมีคุณภาพดีและมีจำนวนอย่างเพียงพอ เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงที่โคนม มีน้อยรายที่จะคิดปลูกหญ้าเพื่อใช้เลี้ยงโค ส่วนใหญ่จะใช้ตัดหญ้าจากธรรมชาติ ที่มีคุณภาพไม่ดีเพียงพอ จำนวนที่ได้ไม่แน่นอน ในฤดูแล้งจะหาได้ยาก และในกรณีที่เลี้ยงกันหนาแน่น หญ้าที่ขึ้นตามธรรมชาติในท้องถิ่นจะไม่เพียงพอ ทำให้ต้องออกไปหาจากแหล่งไกลออกไป ซึ่งจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขี้น
4. การเลื้ยงโคเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ การเลี้ยงเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่นเพื่อการกีฬาชนโคหรือเพื่อความสวยงาม การเลี้ยงโคเพื่อกีฬา มีทำกันในเขตภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น เป็นการกีฬาเพื่อการพนันโดยเฉพาะ หรือการเลี้ยงโคสวยงาม (fancy cattle) เช่นการเลี้ยงโคฮินดูบราซิล (Hindu Brazil) ในประเทศเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา
นมโคประเภทต่างๆ
1.นมดิบ (raw ilk) คือนมที่รีดจากแม่โคหลังจากคลอดลูกได้แล้ว .3 วัน ทั้งนี้เพราะจะต้องเป็นน้ำนมที่จะต้องปราศจากนมนำ้เหลือง (colostrum)
2.นมสด (whole fresh milk) คือนมสดที่ผ่านการกรองให้สะอาดและทำให้เย็นลงที่ประมาณ 4 o :ซ เป็นนมที่พร้อมจะแปรรูปไปทำเป็นนมประเภทอื่นๆ เช่นนมสดพร้อมดื่มประเภทต่างๆ (หรือเป็นนมที่เกษตรกรรายย่อยนำไปต้มและเอาไปจำหน่ายถึงมือผู้บริโภคโดยตรงเลย) นมผงประเภทต่างๆ นมระเหยน้ำนม ข้นหวานประเภทต่างๆ หรือผลิตภัณฑ์นมนาๆชนิด
นมพร้อมดื่มชนิดต่างที่แปรรูปไปจากนมสด ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้มีดัง
1.นมสดพาสเตอไรส์ (pasteurized milk) อุณหภูมิ 63 o ซ นาน 30 นาที หรือ 72o ซ นาน 6 วินาที ทำให้เห็นลงทันทีที่ 5 o ซ นมชนิดนี้มีข้อเสียคือต้องเก็บที่อุณหภูมิ ประมาณ 4o ซ :อายุการเก็บสั้นประมาณ 3 วันหลังจากบรรจุแล้ว นมสดชนิดนี้มีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับนมสด (whole fresh milk ) มากที่สุด
2. นมสดสเตอริไลส์ชนิดปกติ (sterilized milk) อุณหภูมิ 100o ซ นานตามความเหมาะสม นมสดชนิดนี้เก็บได้นานอย่างน้อย 7 วันหลังบรรจุ นมสดชนิดนี้มีจำหน่ายไม่มากนัก
3. นมสดสเตอริไลส์ชนิดเข้มข้น (concentrate sterilized milk) เหมือนนมสดสเตอริไลส์ชนิดปกติ แต่ไ้มีการระเหยน้ำออกไปส่วนหนึ่ง นมชนิดนี้มีไม่มากชนิดนัก
4. นมสด ยู เอช ที (U.H.T.= Ultra heat treated mik หรือ Ultra high temperature milk) อุณหภูมิ 133o C นานไม่น้อย กว่า 1 วินาที เป็นนมสดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
นมสด (whole fresh milk) อาจจะนำไปดัดแปลงเป็นนมหรือผลิตภัณฑ์นมประเภทต่างๆเช่น
1. นมผง (milk powder) ประเภทต่างๆ
1. นมผงดัดแปลงสำหรับทารก ( instant fulll creamed milk powder) เป็นนมผงที่เติมสารและส่วนประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะในการใช้เลี้ยงทารก
2.นมผงธรรมดา (whole milk powder) เป็นนมผงที่ทำจากนมสด (whole fresh milk) นำ
มาระเหยน้ำออก มีไขมันอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 26 ของน้ำหนัก
3.นมผงขาดมันเนย (skimmed milk powder) เป็นนมผงที่มีไขมันไม่เกินร้อยละ 1.5 ของ
น้ำหนัก ประเทศไทยสั่งนมผงชนิดนี้เข้ามาเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ทดแทนนมสดที่ผลิตในประเทศได้ไม่พอความต้องการ ใช้ทำเป็นอาหารคนเช่นทำขนมเค็ก นมชนิดนี้อาจจะนำมาอัดเป็นเม็ดได้ นมผงชนิดนี้เป็นนมผงที่มีไขมันต่ำ มีคุณค่าทางอาหารน้อย อาจจะนำไปเลี้ยงสัตว์หรือทำเป็นอาหารบางประเภทได้เช่นทำไอสครีม หรือทำนมพร้อมดื่มบางชนิด
2. นมพร้อมดื่มชนิดเหลว นมชนิดนี้ มักจะใช้ส่วนหนึ่งของนมสด ผสมกับนมผง หรืออาจจะใช้นมผงทั้งหมดก็ได้ มีส่วนประกอบของหางนมผง ไขมันสัตว์ น้ำ และส่วนประกอบอื่นๆ เช่นรสเทียมสี กลิ่น นมประเภทนี้มักจะทำเป็นนมประเภท U.H.T :ซึ่งในปัจจุบันจะเป็นส่วนสำคัญของตลาด
3. นมข้นหวาน มีส่วนประกอบของหางนมผง น้ำมันพืช น้ำตาล น้ำ และอาจมีส่วนประกอบอื่นๆ นมข้นหวานอาจจะทำจากนมสด (whole milk) แต่จะมีน้อย ส่วนใหญ่แล้วจะทำจากนมผง
ส่วนประกอบของน้ำนม
น้ำนมมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ (ร้อยละ) น้ำ 87.0 (82.0-89.0),ไขมัน (fat)3.7 (2.5-6.0) Casein 2.8 (2.3-4.0), Lactalbumin+Lactoglobulin 0.7 (0.4-0.8), Lactose 4.9 (3.5-6.0), Minerals 0.7 (0.6-0.75) ไวตามินชนิดต่างๆเช่น ไวตามิน เอ, บี 2
การเลี้ยงกระบือ
กระบือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่เลี้ยงกันในประทศไทยมาช้านาน ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรมโดยเฉพาะการปลูกข้าว ซึ่งต้องอาศัยกระบือเป็นหลักในด้านแรงงาน คือการใช้ไถ คราด ลากเข็นข้าวหลังเก็บเกี่ยว และนวดข้าว เนื่องจากกระบือมีขนาดใหญ่ มีแรงมาก มีกีบเท้าขนาดใหญ่ จึงเหมาะที่จะใช้ทำนาในที่ราบลุ่ม และมีน้ำมากได้ดี ดังนั้นการใช้แรงงานกระบือจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งในการปลูกข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของของคนไทยในชนบทมาช้านาน ในบางแห่งอาจจะใช้กระบือในการไถไร่ หรือพรวนดินด้วย งานที่ใช้กระบือในการทำนาคือการไถนา การคราดนา การลากข้าวเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว การนวดข้าว และการใช้มูลกระบือเป็นปุ๋ย กระบือตัวหนึ่งสามารถให้ปุ๋ยคอกได้ปีละ 2-3 ตันแต่บางท่านกล่าวว่า กระบือจะถ่ายอุจจาระวันละประมาณ 5%ของน้ำหนักตัว กระบือหนัก 400 กก.ปีหนึ่งอาจจะถ่ายอุจจาระได้ถึง 7 ตัน ในการไถนา กระบือตัวหนึ่งสามารถได้นาได้ ครึ่งไร่ในเวลา 5 ชม.
การเลี้ยงกระบือเพื่อการใช้งานในชนบทมีด้วยกันหลายรูปแบบคือ
1. การซื้อกระบือมาเลี้ยงเพื่อการใช้งานในช่วงฤดูทำนาเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะขายไป การเลี้ยงแบบนี้ อาจจะเนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่เลี้ยงดู หรือแรงงาน หรือในบางรายอาจจะใช้วิธีเช่ากระบือมาใช้งาน เนื่องจากยากจนไม่สามารถซื้อกระบือเป็นของตนเองได้ ราคากระบือเพศผู้ที่โตเต็มที่อาจจะสูงถึง 15,000 บาท แต่โดยทั่วไปแล้วราคาจะอยู่ระหว่าง 10,000-12,000 บาท ปัจจุบันได้มีโครงการธนาคารกระบือ ที่รับบริจาคกระบือจากประชาชน แล้วนำไปแจกจ่ายให้เกษตรกรที่ยากจนยืมใช้ชั่วคราว หรือยกให้เลย หรือ แบ่งลูกก็มี
2. การที่เลี้ยงกระบือเฉพาะที่มีความจำเป็นต้องใช้งานเท่านั้น เกษตรกรจะเลี้ยงกระบือเพียง 1-2 ตัว ตามความจำเป็นของการใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะเป็นกระบือตัวผู้ที่ตอนแล้ว หรืออาจจะเลี้ยงกระบือเพศเมียเพื่อการใช้งานและต้องการลูก ในการเลี้ยงกระบือเพศเมียนี้ ถ้ากระบือตั้งท้องในช่วงฤดูการใช้งาน ก็จะต้องหยุดใช้งาน
3. การเลี้ยงในลักษณะที่เป็นฝูงขนาดย่อมๆ แต่มักจะไม่เกิน 10 ตัว ซึ่งในฝูงจะมีกระบือตัวเมียที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์เป็นหลัก อาจจะมี 2-3 ตัว อาจจะมีลูกกระบือเล็กๆ อยู่ด้วย และอาจจะมีกระบือรุ่นอายุ 1-3 ปีอยู่ด้วย การเลี้ยงกระบือชนิดนี้ทีความสำคัญในการเพิ่มปริมาณของกระบือในประเทศไทย เพราะจะมีการให้ลูกกระบือเป็นระยะๆ สำหรับลูกกระบือเพศเมียก็อาจจะใช้เป็นแม่พันธุ์ต่อไป สำหรับกระบือรุ่นเพศผู้ ก็อาจตอนหรือขายไป
4. การเลี้ยงกระบือเป็นฝูงขนาดใหญ่ จะคล้ายกับฝูงขนาดย่อม แต่ฝูงหนึ่งอาจจะมีหลายสิบตัว ปัจจุบันนี้มีน้อย
ในการเลี้ยงกระบือโดยทั่วไปแล้ว ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในตอนกลางคืนมักจะเก็บกระบือใว้ในคอกที่อยู่ใต้ถุนบ้าน หรือคอกที่อยู่ติดบ้าน ถ้าเป็นนอกฤดูทำนา ในตอนเช้าก็จะปล่อยให้กระบือออกไปหากิน ในบริเวณทุ่งนาที่อยู่รอบๆหมูบ้าน ในตอนเย็นกระบือจะเดินกลับบ้านเอง หรือไปต้อนกลับ จากการที่ปล่อยกระบือเป็นอิสระในการหากิน ถ้ากระบือเพศเมียที่เป็นสัด (heat) ก็จะได้รับการผสมพันธุ์จากกระบือเพศผู้วัยรุ่น ที่เจ้าของยังไม่ได้ตอนและเลี้ยงอยู่ในบริเวณเดียวกัน ถ้าเป็นฤดูทำนาการปล่อยกระบือหากินเป็นอิสระอาจจะทำความเสียหายให้แก่ไร่นาได้ เจ้าของจึงมักจะเอากระบือไปผูกไว้ในที่ที่มีหญ้า น้ำบริบูรณ์ ในกรณีที่หญ้าไม่เพียงพอ เจ้าของจะจัดหาฟางเสริมให้ในตอนเย็น กระบือตัวเมียอายุ 3-4 ปีก็จะเริ่มผสมพันธุ์ และให้ลูกตัวแรกเมื่ออายุประมาณ 4-5 ปี ถ้าไม่มีปัญหา ก็จะให้ลูกในอัตราประมาณ 3 ปี ต่อ 2 ตัว ปกติแล้วตลอดชีวิตของกระบือจะให้ลูกประมาณ3-6 ตัว เมื่อกระบือจะมีอายุมากเจ้าของก็มักจะขายไป แต่ก็มีบางรายที่เลี้ยงกระบือไว้จนแก่ตายไปเอง
นิสัยของกระบือเป็นสัตว์ที่เชื่องช้า นิสัยดี ไม่ดุร้าย เป็นมิตรกับเจ้าของ ไม่ตื่นง่าย เด็กหรือผู้หญิงก็สามารถที่จะดูแลได้ง่าย กระบือจะเริ่มถูกฝึกให้ทำงานเมื่ออายุได้ 3 ปีครึ่งถึง 4 ปี หรือมากกว่านี้เล็กน้อย และจะใช้งานได้เต็มที่เมื่ออายุ 5-6 ปี กระบือตัวเมียเมื่อท้องถูกพักการใช้งาน จนกว่าจะหลังคลอด ลูกกระบือที่คลอดออกมาจะอยู่กับแม่ตลอดเวลา จะดูดนมแม่ไปเรื่อยๆจนกว่าจะไม่มีน้ำนมหรือจนกว่าแม่กระบือจะมีลูกตัวใหม่ เนื่องจากการมีปัญหาเรื่องแรงงานการในเลี้ยงดู โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้เด็ก ซึ่งไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะควบคุมกระบือที่โตเต็มที่ที่ยังไม่ตอนได้ กระบือที่ไม่ตอนมักจะดื้อ เกษตรกรมักจึงนิยมตอนกระบือตัวผู้เมื่ออายุ 4-5 ปี แต่บางครั้งก็ตอนเมื่อกระบือยังไม่โตเต็มที่ ส่วนคอของกระบือยังไม่ขยายใหญ่ เมื่อตอนทำให้ส่วนคอซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความแข็งแรงในการทำงาน เพราะจะต้องใช้วางแอกหรืออุปกรณ์สำหรับทำงาน ไม่พัฒนาเท่าที่ควร ทำให้กระบือไม่มีพลังเท่าที่ควรจะเป็น วิธีที่ดีที่ควรตอนเมื่อกระบือโตเต็มที่ ซึ่งจะสังเกตได้จากส่วนคอที่จะมีการขยายเต็มที่ อย่างไรก็ตามการตอนกระบือตัวผู้ที่มีลักษณะดี ทำให้ขาดพ่อพันธุ์ที่โตและแข็งแรงไป กระบือรุ่นที่มีขนาดเล็กก็จะทำหน้าที่เป็นพ่อพันธุ์แทน ทำให้กระบือไทยจะมีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ เมื่อประมาณ 20-30 ปีที่ผ่านมา กระบือโตเต็มที่ ที่มีน้ำหนัก 500-600 กก.หาได้ไม่ยาก พ่อกระบือบางตัวอาจจะมีน้ำหนักถึง 700 กก. แต่ในปัจจุบันนี้กระบือโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 300-350 กก.เท่านั้น เมื่อประมาณ 15-20 ปีที่แล้วได้มีการตื่นตัวกันมากในการวิจัยต่างๆเกี่ยวกับเรื่องกระบือ ทั้งการปรับปรุงพันธุ์และเรื่องสุขภาพ ปัจจุบันค่อยๆเลือนหายไป มีคนเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่ยังสนใจทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องกระบืออยู่
ปริมาณของกระบือในประเทศไทยก็เป็นเรื่องที่โต้แย้งกันมาตลอดว่าจำนวนที่แท้จริงควรจะเป็นเท่าไร รายงานของทางราชการปี 2509 มีกระบือ 5.38 ล้านตัว ในปี 2529 มีกระบือ 4.9 ล้านตัว และในปี 2539 เหลือเพียง 2.7 ล้านตัวเท่านั้น จากสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ฝนฟ้าไม่ค่อยจะตกต้องตามฤดูกาล แหล่งน้ำสำหรับกระบือลงแช่ปลักมีน้อย โจรผู้ร้ายที่จ้องจะขะโมยกระบือไปขาย เครื่องจักรกลการเกษตรที่สามารถจะเข้ามาทำงานแทนกระบือราคาไม่แพงนักและมีระบบผ่อนส่งได้ สามารถเก็บได้มิดชิดไม่หายง่าย สามารถทำงานได้มากกว่ากระบือใน 1 วัน อย่างไรก็ตามการใช้เครื่องจักรก็มีข้อเสียเช่นเดียวกัน เช่นชิ้นส่วนต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วต้องนำเข้าจากต่างประเทศ กระบือก็มีข้อจำกัดและเจ็บป่วยหรือเป็นโรคระบาดตายได้ง่าย เมื่อกระบือเกิดเจ็บป่วยขึ้นและต้องจัดหาสัตวแพทย์มารักษา ซึ่งก็หาได้ไม่ง่ายนัก บางคนที่ประสบปัญหานี้ก็หันไปใช้เครื่องจักรแทนเพราะเมื่อเกิดเสียขึ้นก็หาคนซ่อมแซมได้ง่ายกว่า
ในปัจจุบันนี้ได้มีการส่งเสริมให้มีตลาดนัดโคกระบือมากมายหลายแห่ง โคและกระบือที่เข้าตลาดนัดมากกว่าครึ่ง จะถูกนำส่งโรงฆ่าสัตว์ ผลกระทบของการมีตลาดนัดต่อจำนวนโคกระบือ ยังไม่มีผู้ใดทำการศึกษา แต่ดูเหมือนว่าจะส่งผลกระทบในทางลบมากกว่า
สังคมที่เปลี่ยนไป เกษตรกรส่วนหนึ่งเปลี่ยนอาชีพมาเป็นผู้ใช้แรงงานทั้งในโรงงาน และขายบริการต่างๆ หมดความจำเป็นในการเลี้ยงกระบือ สำหรับเกษตรกรที่ยังทำนา เครื่องจักรซึ่งมีความสามารถมากกว่าและมีความคล่องตัวมากกว่าเริ่มเข้ามาแทนที่ อนาคตของกระบือไทยดูท่าว่าจะไม่สดใส คงจะลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ.......ใครจะช่วยได้ ?? (สถิติจำนวนกระบือแสดงในตารางที่ 10)
การเลี้ยงปศุสัตว์ชนิดอื่น
.ปศุสัตว์ชนิดอื่นๆที่มีรายงานในปี 1966 คือ
การเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นๆในประเทศไทย
1. สัตว์อื่นๆนอกเหนือจากนี้
นกพิราบ มีทั้งนกเนื้อและนกแข่ง
นกกระทา ผลิตสำหรับบริโภคและใช้เนื้อเป็นอาหาร
กระต่าย เลี้ยงเพื่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การทดลองเพื่อวัตถุประสงค์อื่นมีน้อย
นกกระจอกเทศ อูฐ
2. ปลาชนิดต่างๆเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหารเช่นปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลาสลิด ปลาสวยงาม
3. กุ้งชนิดต่างๆเช่นกุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม
สำหรับกุ้งกุลาดำ มีตลาดส่งออกปีละประมาณ 50,000 ล้านบาท (ที่อัตราแลกเปลี่ยน US$ ต่อ 25 บาท) ราคากุ้งขนาด 40 ตัวต่อ 1 กก. ราคาประมาณ กก.ละ 300 บาท
4. สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหลายชนิดเช่นจรเข้ ,ตะพาบน้ำ, กบ
?
ตารางที่ 10 จำนวนสัตว์ชนิดต่างๆที่มีรายงานในประเทศไทย
(หนังสือประมวลสถิติประจำปี 1996 กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
ปี |
กระบือ |
โค |
สุกร* |
เป็ด* |
ไก่* |
ช้าง |
1986 |
4,980,794 |
4,351,461 |
5,872,520 |
19,966,277 |
87,324,420 |
3,216 |
1987 |
4,683,599 |
4,399,099 |
5,866,886 |
19,831,031 |
92,133,783 |
3,390 |
1988 |
4,619,286 |
4,595,667 |
5,740,399 |
15,934,434 |
89,812,207 |
3,147 |
1989 |
4,611,692 |
5,119,717 |
6,015,398 |
16,683,376 |
96,594,264 |
3,243 |
1990 |
4,694,290 |
5,668,530 |
7,349,710 |
17,901,840 |
107,559,232 |
3,145 |
1991 |
4,805,071 |
6,626,971 |
8,202,472 |
19,123,564 |
130,837,394 |
2,938 |
1992 |
4,728,271 |
7,121,479 |
8,332,688 |
19,344,714 |
135,175,576 |
2,954 |
1993 |
4,804,164 |
7,472,573 |
8,569,126 |
21,778,395 |
138,832,024 |
2,665 |
1994 |
4,224,791 |
7,637,390 |
8,479,400 |
21,811,815 |
129,997,098 |
2,502 |
1995 |
3,710,061 |
7,609,068 |
8,561,921 |
18,896,635 |
111,648,510 |
2,692 |
1996 |
2,711,737 |
6,225,211 |
8,707,887 |
21,400,375 |
21,400,375 |
3,514 |
* คาดว่าเป็นสถิติตัวเลขศึกษาในการสำรวจครั้งเดียวในรอบปี
กระบือ จากปี 1986 ถึงปี 1996 ลดลง 2,261,120 ตัว=45.40% โคเพิ่มขึ้น 1,873,750 ตัว=43.06%
จำนวนช้างป่าในประเทศไทยในป่าอนุรักษ์ 47 แห่งมีจำนวน 1,975 เชือก
?
<<<<<<<<<<<<<<<<<<>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
?
?
?
?
?
?
?
?
?
?
?
?
?
?
?
?
?
?
?
?
?
5. Financial problem. The cost of investment at the beginning is high for the farmers . They have to borrow the money from the Agriculture and Co-operative Bank to buy the animals, some other equipments and housing. It is the long-term loan with 5% interest rate with 2 years interest free period.
6. Feedstuff problem. The main feedstuff of dairy cattle is high quality grass. This can be the fresh grass, hay or silage. Most of the small farm holders harvest the naturally grown grass. The grass is poor in quality and less available in the dry season. Some farmers feed the cattle with rice straw.
Types of milk
1. Raw milk. The farmer started to milk the cows 3 days after calving in order to avoid of the colostrum.
2. Fresh whole milk. After delivered to the processing plant, milk is filtered and cooled down to about 4oC. This is the stock fresh whole milk for producing other products: pasteurized, sterilized, U.H.T. or the other milk products. For the small farm holders, they may heat or boil raw milk and then distribute directly to the consumers.
3. Liquid flavored milk. This may be made from fresh whole milk with addition of some additives, whole milk mixed with milk powder, or purely milk powder.
3.1 Pasteurized milk. Milk has to be heated at not less than 63oC for at least 30 min, or not less than 72oC for at least 15 sec, then immediately cooled down to 5oC or lower. Milk homoginization is not required. After the process, milk has to be kept at lower than 10oC . The shelf-life is less than 3 days after packaging.
3.2 Sterilized milk. Milk has to be heated at at least 100oC at the proper time. Milk homoginization is obligated.
3.3 U.H.T. (Ultra high temperature milk or Ultra heat treated milk). Milk has to be heated at at least 133oC not less than 1 sec, and kept in steriled container. Milk homoginization is obligated. The market share of U.H.T. milk is increased over the years, in 1999 the market size is estimated at 5,000-6,000 million bahts. This is not include the school milk project.
4. Milk Powder. There are several kinds of milk powder. These are :
4.1 Whole milk powder. It is made from evaporated whole fresh milk,
which contains not less than 26% milk fat by weight.
4.2 Full cream milk powder. The evaporated fresh milk with some
minerals and some other additives added.
4.3 Skim milk powder. The milk powder which contain less than 1.5%
milk fat by weight.
5. Sweetened condensed milk. This products have been partially evaporated and added with sugar. There are several kinds, including sweetened condensed whole milk, sweetened condensed skim milk and recombined sweetened condensed skim milk.
Milk composition:
Water 87.0% (82.0-89.0), Fat 3.7% (2.5-6.0), Casein 2.8% (2.3-4.0), lactalbumin + Lactoglobulin 0.7 (0.4-08), Lactose 4.9 (3.5-6.0), Minerals 0.7 (0.6-0.75), Vitamins A, B2
BUFFALOES |
?
In the ancient time, buffaloes were raised in Thailand for the purpose of rice farming. Ploughing, harrowing, treshing, cart or dray tracting were the routine jobs of buffaloes. Since buffaloes have more strength and larger hooves than cattle, they can work efficiently in the muddy area. Not only for labour but their manure is also a very good fertilizer. A buffalo can give a couple of tons of manure within a year. As well as cattle, retired buffaloes are used for human food
Nowday, there are several patterns of buffalo farming in Thailand.
1. Short-period farming. The farmers buy a buffalo (may be a castrated bull) for working during the rice growing season and then sell it. This may be because of the lack of land or a person to take care of the animal. The price of a medium size castrated bull is about 12,000-15,000 Bahts. For the poor farmers, they may solve the problem by renting the buffalo from the neighbour and returning with cash or paddy rice after harvesting. Alternatively they may borrow the buffalo from local cattle and buffaloes bank (if available).
2. Self-sufficient farming. The farmers have only a couple of buffaloes. These may be the castrated bull or buffaloes cows. The majority of the farmers are in this catagory.
3. Small farming. About 4-8 buffaloes are kept. These include the buffalo cows, young calves and may be some young bulls. These type of farming supplies the buffaloes to the country. The cows calves every 1.5-2 years. The young bulls are castrated for working or sold, but the heifers for producing calves.
4. Large farming. There are only a few large buffalo herds in Thailand. Sometimes we may see a large group of buffaloes, that may be the temporary gathered for selling.
Buffaloes can be seen all over the country, but most of them are raised in the rural area in the Northeast and the North of Thailand. The way of farming is still primitive. The farmers keep the animals in the simple stall under or nearby the houses. Out of the rice farming season, the buffaloes are let free grazing the natural grass in the empty rice field around the villages. In some area, a public pasture for grazing is shared among the neighbouring villages. Buffaloes may return home by themselves or the farmers lead them back in the late afternoon. In the rice season, the animals may be tied in the grassy area. The owners may supply them with extra rice straw in the evening.
For the convenience, most of the bulls are castrated at adolescent or young adult age. They should be castrated when fully grown with muscularized-neck, at 4-5 years old. Nowaday, the uncastrated mature bull is rarely found in the village. When the females are in heat, they may be mated by the young or adolescent male and give the smaller calves. The young female may get pregnant and give the first calf at 4-5 year old. Highly fertile cows may calve every year. However, 1 calf in every 2 years is the average. Artificial insemination in buffalo cows are less successful than in the cattle since buffalo cows on heat are not easily detected. The cow may give about 3-6 calves throughout her life. The gestation period is 10 months. After calving, the calves stay nearby the dams for intermittent milk sucking.
Most of the buffaloes are tame to the owners. Childrens can easily look after them. The adult calves will be trained for working at the age of 3-4 years and they can fully work at 5-6 years of age. For the ease of controlling, a hinged nose ring is put into the animals nasal septum. Both bulls and cows can work well but the bulls are stronger. The cows have to be rested during late pregnancy. The castrated bulls are popular for agricultural work. During working, i.e. ploughing or harrowing, a yoke attached with 2 ropes to the plough or harrow is put on the neck of the buffaloes. The bigger neck gives more strength for the traction of plough or harrow. In the past 30 years, the bulls that weigh above 500 kg are easy to find. Some large, nearly a ton, are not uncommon. Since the big bulls are castrated for the ease of control and handling. At present, the males weigh 300-350 kg and the females weigh 250-300 kg.
In the past, a lot of young calves died from various diseases including viral, bacterial and parasitic infections. Nowaday, the mortality of the buffaloes is reduced.
The total number of buffaloes is controversial. The official number in 1966 was 5.38 x 106, in 1986 was 4.5 x 106 and only 2.7 x 106 in 1996. The dramatic reduction in the number of buffaloes is obvious. Several factors are involved, these are:
1. Machine replacement. Most of buffalo jobs can be performed by several kinds of machines. The most important is the tractors, particularly the 2-wheel-tractor. Due to the massive promotion, credit system, and the low price. The 2-wheel-tractor has been widely used for multi-purposes; e.g. ploughing, water pumping and as vehicle. Furthermore, the machine can do more job in the equal time.
2. Environment changing. Buffaloes have the habit of wallowing 1-2 times a day. This is necessary during the hot climate. The water reservoirs are now hard to find in several areas, in particular the Northeast. Moreover, the public pasture for grazing have been invaded by the people.
3. Lack of human labour. Previously the obligation of studying was only 4 years, thus the children stayed home and took care of the animals after the school years. At present the obligated school period is extended to 6 years. At this age, the children are mature enough to apply for the job in the city or move to find the job at the other place. Furthermore, due to the great success of family planning promotion in the rural area, each family have only a few children. The labour is not enough in some families. In some villages, only young school children, the elders and pregnant women are left at home.
4. Establishment of the local animal markets. At present, the local temporary markets for the cattle and buffaloes have been operated in several districts and provinces. Most of the markets are opened once a week, but on a different day among the neighboring areas. All kinds of buffaloes and cattle are sold in the markets, the bulls, the cows, the pregnant cows or even the young calves. About half of the animals from the markets go to the abbatoirs. Although no one has ever studied, the market seems to have a negative impact on the number of the buffaloes.
The general aspect of the life in rural area, some of the farmers have changed their life from agricultural to service soceities. They move to find jobs in the big city or elsewhere. There is no need to keep the buffaloes since some farmers who still grow rice use the more efficient machine. The number of buffaloes has decreased from year to year. Who will help them ?
Other Livestocks |
The number of the other livestock and domesticated animals in 1996 are:
1. Elephants: 3,514 (There are 1,975 elephants in 47 conserved forests.)
2. Horses: 12,003
3. Sheep: 40,900
4. Goats: 118,829
OTHER ECONOMICALLY IMPORTANT ANIMALS |
The other economically important animals are:
1. Fish. Several kind of fish have been bred and cultured for meat consumption. Fish meat is one of the main protein sources of the country both in the rural and urban areas. Moreover, many species of fancy fish have been cultured for recreation and exportation.
2. Prawns. Several kinds of prawns, or shrimps, have been bred and cultured for both domestic consumption and exportation. The most important species is black tiger prawn. The export value is larger than 50,000 million bahts/year.
The other economically important species and their usages are:
1. Crocodiles, skin and meat
2. Soft turtles: meat
3. Quails : eggs
4. Geese : meat
?
Table 9 Number of Some Domestic Animals in Thailand.
Year |
Buffaloes |
Cattle |
Swine* |
Ducks* |
Chickens* |
1986 |
4,980,794 |
4,351,461 |
5,872,520 |
19,966,277 |
87,324,420 |
1987 |
4,683,599 |
4,399,099 |
5,866,866 |
19,831,031 |
92,133,783 |
1988 |
4,619,286 |
4,595,667 |
5,740,399 |
15,934,434 |
89,812,207 |
1989 |
4,611,692 |
5,119,717 |
6,015,398 |
16,683,376 |
96,594,264 |
1990 |
4,694,290 |
5,668,530 |
7,349,710 |
17,901,840 |
107,559,232 |
1991 |
4,805,071 |
6,626,971 |
8,202,472 |
19,123,564 |
130,837,394 |
1992 |
4,728,271 |
7,121,479 |
8,332,688 |
19,344,714 |
135,175,576 |
1993 |
4,804,164 |
7,472,573 |
8,569,126 |
21,778,395 |
138,832,024 |
1994 |
4,224,791 |
7,637,390 |
8,479,400 |
21,811,815 |
129,997,098 |
1995 |
3,701,061 |
7,609,068 |
8,561,921 |
18,896,635 |
111,648,510 |
1996 |
2,711,737 |
6,225,211 |
8,707,887 |
21,400,375 |
144,679,428 |
Source: yearly statistics report 1996. Department of Livestock Development.
*This data is the cross-sectional study in a year.
From 1986-1996, the number of buffaloes is decreased by 45.4%, where as the number
of the cattle is increased by 43.06%.
?
<<<<>>>>
?
Dairy cycle
Pregnant dry cow
?
Calving
?
Male Calf Female Calf Colostrum (for calf only)
?
may be Milking
1.fattend for meat
2.selected to be a bull Mating
by natural
or A.I..
Heifer
mating Pregnant Cow
?
Pregnant heifer
Dry Cow
Calving
Calving
?
Colostrum
?
?
Milking
?
?
?
?
?
?
?
?
?