สหสาขาศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท |
รายงานการศึกษาภาคสนามของกลุ่มที่ 4 เรื่อง "การศึกษาในชนบทเปรียบเทียบระหว่างหมู่บ้านหนองชาด และหมู่บ้านค้อ ตำบลบ้านเหล่า อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น" สภาพการณ์ในปัจจุบันนั้น สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี่ การสื่อสาร และเศรษฐกิจ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แม้แต่ทางด้านการศึกษาก็มีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาทิ การศึกษาภาคบังคับจากเดิมประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.6) เป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3) ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการยกระดับการศึกษาในประเทศให้สูงขึ้น เพราะการศึกษานั้น นับว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับประชากรในประเทศ ในเรื่องของการศึกษานั้น มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลายประการที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา อาทิ สถานภาพของครอบครัว จุดมุ่งหมาย ความสนใจ สถานศึกษา และบุคลากร ส่วนปัจจัยที่เป็นผลต่อเนื่องของการศึกษา ได้แก่ การประกอบอาชีพ รายได้ ความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพของตนเอง ความเชื่อ การนับถือ และสิ่งที่ใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นต้น 4.1 วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และองค์ประกอบที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 2. เปรียบเทียบ และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษา 4.2 ขอบเขตการศึกษา 1. เลือกศึกษา และสำรวจข้อมูลจากหมู่บ้านหนองชาด และหมู่บ้านค้อ ตำบลบ้าน เหล่า อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น 2. สำรวจข้อมูลจากเพศหญิง และชาย จำนวนหมู่บ้านละ 30 ตัวอย่าง 4.3 วิธีการศึกษา 1. สำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่ง จำนวนหมู่บ้านละ 30 ตัวอย่าง 2. รวบรวม และเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการศึกษา 3. เรียบเรียง วิเคราะห์ และสรุป 4.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ทราบถึงอิทธิพล และผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับระดับการศึกษาในชนบท 4.5 ผลการศึกษาภาคสนาม 4.5.1 สถานภาพทางครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา จากการสุ่มตัวอย่างประชากรในการออกภาคสนามศึกษาพื้นที่ระหว่าง 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านค้อ และหมู่บ้านหนองชาด จำนวนหมู่บ้านละ 30 ครัวเรือน เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปรากฎว่าสถานภาพทางครอบครัวมีอิทธิพลต่อการศึกษาของชาวบ้านเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวว่าสถานภาพทางครอบครัวมีอิทธิพลต่อการศึกษาหมายความ 2 กรณี คือ มีอิทธิพลในทางสนับสนุนการศึกษา และเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ในส่วนที่มีอิทธิพลในทางสนับสนุนการศึกษาของสมาชิกในแต่ละครัวเรือน ได้แก่ การที่แต่ละครอบครัวเห็นความสำคัญในการศึกษาของสมาชิกในครัวเรือนของตน เนื่องจากเห็นว่าการศึกษาจะช่วยให้มีอาชีพที่ดี เพื่อที่จะมีรายได้มาเลี้ยงตัวเอง หรือช่วยเหลือครอบครัว ตามปกติแล้วครอบครัวในชนบทส่วนใหญ่จะมีสมาชิกเป็นที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนจำนวนมาก จากการสำรวจพบว่า จำนวนสมาชิกในวัยเรียนภายในครอบครัว ของทั้งสองหมู่บ้านก็ไม่ได้มีผลในทางที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เพราะทุกคนมีโอกาสได้เรียนหนังสือ นอกจากนี้ยังพบว่า ระดับการศึกษาของชาวบ้านแต่ละครัวเรือนของทั้ง 2 หมู่บ้านนั้น แตกต่างกัน ส่งผลให้เห็นถึงสถานภาพทางครอบครัวที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาต่อได้ นั่นคือ รายได้ของแต่ละครอบครัวที่ไม่แน่นอน ไม่มีผู้ส่งเสียให้เรียนต่อ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกในวัยเรียนเป็นจำนวนมาก หรือบางคนต้องออกมาทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัว จำนวนสมาชิก โอกาสทางการศึกษา ระดับการศึกษา เหตุผลที่ไม่ศึกษาต่อ (ส่วนใหญ่) มาก ระมาน 5-10 ค ได้เรียนทุกคน จบ ป.4, ป.6, ม.3, ม.6 1. ไม่ทุนทรัพย์ 2. ต้องทำงานช่วยเหลือครอบครัว 3. ต้องเสียสละให้พี่ หรือน้องของตนได้ศึกษาต่อ น้อย ประมาณ 1-4 คน
ได้เรียนทุกคน จบ ป.4, ป.6, ม.3, ม.6 1. ไม่มีทุนทรัพย์ 2. ต้องทำงานช่วยเหลือครอบครัว ตารางแสดงสถานภาพทางครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาของหมู่บ้านค้อ จำนวนสมาชิก โอกาสทางการศึกษา ระดับการศึกษา เหตุผลที่ไม่ศึกษาต่อ (ส่วนใหญ่) มาก ประมาณ 5-10 คน ได้เรียนทุกคน
จบ ป.4, ป.6, ม.3, ม.6 1. ไม่มีทุนทรัพย์ 2. ต้องทำงานช่วยเหลือครอบครัว น้อย ประมาณ 1-4 คน
ได้เรียนทุกคน
จบ ป.4, ป.6, ม.3, ม.6 1. ไม่มีทุนทรัพย์ 2. ต้องทำงานช่วยเหลือครอบครัว
ตารางแสดงสถานภาพทางครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาของหมู่บ้านหนองชาด เมื่อนำข้อมูลของทั้ง 2 หมู่บ้านมาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก กล่าวคือ แม้ว่าทั้ง 2 หมู่บ้านจะมีจำนวนสมาชิกที่อยู่ในวัยเรียน เป็นจำนวนมาก หรือน้อยก็มีโอกาสได้เรียนกันทุกคน เนื่องจากสถานภาพทางครอบครัวมีส่วนสนับสนุนในการศึกษาของคนในครอบครัว กล่าวคือ ต่างก็เห็นความสำคัญของการศึกษาที่จะช่วยให้มีอนาคตที่ดีกว่าการที่ ไม่ได้รับการศึกษาเลย ส่วนที่มีความเหมือนกันอีกประการหนึ่งคือ สาเหตุของการไม่ศึกษาต่อ ซึ่งได้แก่ การไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะศึกษาต่อได้ ในทางกลับกันระหว่าง 2 หมู่บ้านนี้มีความแตกต่างกันตรงที่ว่า หมู่บ้านค้อจะมีครอบครัวที่มีจำนวนสมาชิก ที่อยูในวัยเรียนเป็นจำนวนมากเป็นส่วนใหญ่ ทำให้พี่หรือน้องต้องเสียสละให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียนต่อ ในขณะที่หมู่บ้านหนองชาดแม้ว่าครอบครัวจะมีสมาชิกในวัยเรียนเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน แต่จากการสำรวจไม่พบว่ามีพี่ หรือน้องที่ต้องเสียสละให้อีกฝ่ายได้เรียนต่อ 4.5.2 จุดมุ่งหมาย และความสนใจที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา การตั้งเป้าหมายของระดับความสนใจ และความกระตือรือร้นที่มีต่อการศึกษาอาจเป็นตัวบ่งชี้ระดับการศึกษาได้ว่า จะมีการศึกษาอยู่ในขั้นต่ำหรือสูง เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีได้ ต้องเกิดจากความสนใจในการศึกษาในตัวบุคคลนั้น ๆ ก่อน แต่การตั้งใจ และความคาดหวังของแต่ละคนที่มีต่อเป้าหมายนั้น ก็อาจจะมีอุปสรรคต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ทำให้ไม่สามารถบรรลุถึงเจตนารมณ์ที่คาดหวังเอาไว้ในตอนแรก โดยถ้าเราต้องการให้สิ่งที่เราคาดหวังไว้นั้นสำเร็จ ก็จำเป็นต้องอาศัยปัจจัย และองค์ประกอบหลายอย่างรวมเข้าด้วยกัน จากตัวอย่างที่ได้ทำการสุ่มสำรวจในหมู่บ้านบ้านค้อ และหมู่บ้านหนองชาดที่จังหวัดขอนแก่นนั้น ชาวบ้านทั้ง 2 แห่งนี้มีจุดมุ่งหมาย และความสนใจต่อการศึกษาที่ต่างกันดังนี้ หมู่บ้านบ้านค้อ จากการสุ่มสำรวจชาวบ้านทั้งหมด 30 คน มีผู้แสดงความต้องการเรียนต่อ 26 คน คิดเป็น 86.67% และผู้ใหญ่อยากเรียนต่อมีจำนวน 4 คน คิดเป็น 13.33% ส่วนสาเหตุที่คนอยากเรียนต่อนั้น สามารถจัดออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. เพื่อจะได้งานดี และมีรายได้สูงกว่าในปัจจุบันนี้ 17 คน (63.38%) 2. อยากมีความก้าวหน้า (โดยไม่เกี่ยวข้องกับเงินเดือน) 9 คน (34.62%) อย่างไรก็ตาม พื้นฐานทางครอบครัวที่ต่างกัน ทำให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ กัน จึงมีทั้งผู้ที่ได้ศึกษาต่อ และผู้ที่ไม่ได้ศึกษาต่อ โดยจำนวนผู้ได้เรียนต่อมี 3 คน (11.54%) ส่วนผู้ที่ไม่ได้ศึกษาต่อมี 23 คน (88.64%) สาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถศึกษาต่อในระดับชชั้นที่สูงกว่านี้ได้ มีดังนี้ 1. ไม่มีโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้าน 10 คน (43.48%) 2. ยากจน 9 คน (39.13%) 3. สาเหตุอื่น ๆ เช่น คนในสมัยนั้นไม่นิยมเรียนกัน 4 คน (17.39%) บ้านหนองชาด จากการสุ่มจำนวนชาวบ้านทั้งหมด 30 คน มีผู้แสดงความต้องการศึกษาต่อ 24 คน (80%) และผู้ไม่อยากศึกษาต่อ 6 คน (20%) สาเหตุที่อยากเรียนต่อ คือ 1. รายได้ดี 21 คน (87.5%) 2. ก้าวหน้า 3 คน (12.5%) สาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถศึกษาต่อได้ มีดังนี้ 1. ไม่มีโรงเรียน 3 คน (20%) 2. ยากจน 7 คน (46.67%) 3. สาเหตุอื่น ๆ 5 คน (33.33%) 4.5.3 สถานศึกษา และบุคลากรที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา สถานศึกษา และบุคลากรเป็นส่วนประกอบที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา เนื่องมาจากในความพร้อมของสถานที่ อุปกรณ์ และจำนวนครู เหล่านี้จะทำให้ระบบของการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากการสำรวจในส่วนของสถานศึกษา และบุคลากรของหมู่บ้านหนองชาด และหมู่บ้านบ้านค้อ สามารถสรุปออกมาตามตารางต่อไปนี้ ชื่อโรงเรียน ชั้นที่เปิดสอน จำนวนครู จำนวนนักเรียน สิ่งที่ขาดแคลน หนองชาดพิทยาคม (หมู่บ้านหนองชาด)
อนุบาล - ม.3 14 229 หนังสือ น้ำดื่ม ยารักษาโรค ห้องสมุด อุปกรณกีฬา บ้าค้อ (หมู่บ้านค้อ)
อนุบาล - ป.6 8
101 อาหารกลางวัน ห้องพยาบาล ตารางแสดงการเปรียบเทียบของสถานศึกษา และบุคลากรระหว่างบ้านหนองชาด และหมู่บ้านค้อ จะเห็นได้ว่า โรงเรียนหนองชาดพิทยาคม (หมู่บ้านหนองชาด) เป็นโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่กว่าคือ เปิดระดับชั้นในการศึกษามากกว่า (ถึง ม.3) ดังนั้นจำนวนนักเรียนจึงมากกว่า โรงเรียนบ้านค้อ เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่มีขนาดเล็กกว่า จึงมีความพร้อมน้อยกว่า ส่วนสิ่งที่ขาดแคลนนั้น เหมือนกันคือ หนังสือ น้ำดื่ม ห้องสมุด อุปกรณ์กีฬา อาหารกลางวัน ห้องพยาบาล และยารักษาโรค สรุปคือ ถ้าสถานศึกษามีความพร้อมมากกว่าปัจจุบัน ก็จะสามารถรองรับจำนวนนักเรียนให้มีการศึกษาได้เต็มที่กว่าสถานศึกษาที่มีขนาดเล็ก และขาดความพร้อม 4.5.4 การศึกษาที่มีผลต่อจำนวนรายได้ จากการเก็บข้อมูลของพื้นที่บ้านค้อ และบ้านหนองชาดโดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ครอบครัว เพื่อเปรียบเทียบการศึกษา และรายได้ของบ้านค้อกับบ้านหนองชาด จะเห็นได้ว่าระดับการศึกษาชั้น ป.4 บ้านหนองชาดมีผู้สำเร็จการศึกษาระดับนี้ 46% ส่วนบ้านค้อ 50% ระดับการศึกษาชั้น ป.6 มีผู้สำเร็จการศึกษา 10% ส่วนบ้านค้อ 33.3% ส่วนระดับ ม.3 จะเห็นว่าใกล้เคียงกันประมาณ 3.4% ระดับการศึกษาชั้น ม.6 บ้านหนองชาด 23.3% บ้านค้อ 10% การศึกษาสูงกว่า ม.6 บ้านหนองชาด 17.3% บ้านค้อ 3.3% เมื่อดูข้อมูลของรายได้ของบ้านค้อ และบ้านหนองชาดพบว่า จำนวนผู้มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท/ปี บ้านหนองชาดมี 46% บ้านค้อมี 40% จำนวนผู้มีรายได้ตั้งแต่ 10,000-50,000 บาท/ปี บ้านหนองชาดมี 33% บ้านค้อมี 53% จำนวนผู้มีรายได้มากกว่า 50,000 บาท/ปี บ้านหนองชาดมี 21% บ้านค้อมี 7% จะเห็นว่าผู้มีรายได้มากกว่า 50,000 บาท/ปี ของบ้านหนองชาดมีสูงมาก เมื่อพิจารณาข้อมูลปรากฎว่า จะมีการศึกษาตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป และมักจะประกอบอาชีพประจำ เช่น ข้าราชการ ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท/ปี หรือ 10,000-50,000 บาท/ปี จะมีการศึกษาประมาณประถมศึกษาปีที่ 4-6 ส่วนมากจะทำนา เลี้ยงสัตว์ ซึ่งอาชีพเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ และสภาพเศรษฐกิจ 4.5.5 การศึกษาที่มีผลต่อความรู้ทางการเมืองการปกครอง จากการศึกษาความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติ เกี่ยวกับเรื่องการเมือง การปกครองระหว่างชาวบ้านในหมู่บ้านค้อ และหมู่บ้านหนองชาด ไม่ค่อยเห็นความแตกต่างกันมากนัก ซึ่งอาจเป็นเพราะทั้ง 2 หมู่บ้านอยู่ใกล้กัน ทำให้ได้รับข่าวสารทางการเมืองเท่า ๆ กัน จึงสามารถทำการวิจัย เรื่องการศึกษากับการเมือง การปกครอง ได้ดังนี้ ระบบการเมืองการปกครองกับการส่งเสริมด้านการศึกษา จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านค้อ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่อายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป เมื่อกล่าวถึงกองทุนส่งเสริมด้านการศึกษาในขณะที่เรียนอยู่ ส่วนใหญ่จะตอบว่าไม่มี แต่จากการสัมภาษฎณ์ครูที่โรงเรียนบ้านค้อ ทราบว่ามีกองทุนอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนทุกคนทุกวัน ประมาณ 5 บาท/คน/วัน ส่วนเด็กอนุบาลก็จะมีนมให้ดื่ม และมีทุนหนังสือ เสื้อผ้า และอุปกรณ์การเรียนด้วย ส่วนหมู่บ้านหนองชาดก็เช่นเดียวกัน คือ ชาวบ้านจะตอบว่าไม่มีกองทุน แต่จะพบในวัยที่น้อยลงมาคือ 21 ปี แต่จากการสัมภาษณ์ครู และเด็กนักเรียนซึ่งมีอายุมากที่สุด 18 ปี และกำลังศึกษาอยู่ จะทราบว่ามีกองทุนต่าง ๆ เหมือนหมู่บ้านบ้านค้อ จะเห็นได้ว่าในสมัยก่อนไม่ถึง 10 ปีที่แล้ว รัฐบาลยังไม่มีกองทุนส่งเสิรมด้านการศึกษาดังเช่นปัจจุบัน และจากการสอบถามครูทั้ง 2 หมู่บ้าน จะบอกว่าเงินทุนที่ได้รับนั้น ความจริงแล้วไม่เพียงพอ ทั้งด้านอุปกรณ์การเรียน และอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียน จากการสัมภาษณ์กำนันซึ่งเป็นกำนันของทั้ง 2 หมู่บ้านนี้ ทางกำนันคิดว่าเรื่องทุนอาหารกลางวัน และอุปกรณ์การเรียนนั้นเพียงพอ แต่เรื่องการขาดแคลนน้ำ แม้มีอุปกรณ์สูบน้ำบาดาลแล้วแต่คิดว่ายังมีน้ำใช้ไม่เพียงพอ เนื่องจากความแห้งแล้ว ปัญหาที่พบจากการสำรวจครั้งนี้ คือ การไม่มีการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยการปกครองกับสถานศึกษา เห็นได้จากทางโรงเรียนทราบว่ากองทุนต่าง ๆที่ให้มานั้นไม่เพียงพอ แต่ไม่มีการติดต่อประสานงานกับกำนันเพื่อหาทางแก้ไขหรือของบประมาณ ระดับการศึกษากับความิคดทางการเมืองการปกครอง จากการศึกษาพบว่า ระดับการศึกษาจะเกี่ยวข้อกับความคิดทางการเมืองการปกครองด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ก) การใช้สิทธิเลือกตั้ง จากการสุ่มตัวอย่างประชากรในหมู่บ้านหนองชาดพบว่า ทุกคนไปใช้สิทธิลงคะแทนนเสียงเลือกตั้งทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งในระดับเล็ก ๆ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน อบด. หรือ สส. ส่วนในหมู่บ้านบ้านค้อ ซึ่งสุ่มตัวอย่างในประมาณใกล้เคียงกันพบว่า มีการไปใช้สิทธิทุกครั้งเหมือนหมู่บ้านหนองชาด แต่มีเพียง 1 คนที่ไม่เคยไปใช้สิทธิเลือกตั้งเลย เนื่องจากไปทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ และไม่เคยกลับมาเลือกตั้งเลยสักครั้ง จากการไปสัมภาษณ์เด็กที่ยังไม่สามารถเลือกตั้งได้ บางคนจะเฉย ๆ หรือไม่สนใจ เพราะคิดว่ายังเป็นเรื่องที่ไกลตัว ทั้งที่มีความรู้ถึงระดับ ม.3 และ ปวช. แต่ก็มีบางส่วนที่บอกบ่อแม่ให้ไปเลือกตั้ง เพราะมีการประชาสัมพันธ์มาทางโรงเรียน การสุ่มตัวอย่างจะมีทั้งผู้ที่จบการศึกษาตั้งแต่ระดับ ป.4 ถึง ปริญญาตรี (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ป.4) และมีอายุแตกต่างกัน ซึ่งจากการสำรวจดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า ระดับการศึกษาไม่ค่อยมีผลกระทบกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนเลย แต่ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความสนใจของประชาชน และการประชาสัมพันธ์มากกว่า จากการไปทำวิจัยครั้งนี้ ทำให้ทราบว่ามีผู้คนในชนบทตามต่างจังหวัด มีความก้าวหน้าทางการเมืองมาก ซึ่งแตกต่างจากความคิดความเชื่อก่อนที่จะมาทำการสำรวจ ที่เคยเชื่อว่ามีการซื้อเสียงขายสิทธิ ซึ่งเหมาเอาว่าผู้ที่ไม่มีการศึกษานั้นมักจะขายสิทธิของตน จากการไปสอบถามพบว่ามีการซื้อเสียงกันจริงซึ่งตกประมาณ 50-200 บาท/เบอร์/เสียง ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่จะรับไว้ตแไม่เลือก หรือเลือกคนที่เขาตั้งใจจะเลือกอยู่ก่อนแล้ว ถ้าหากการสัมภาษณ์ได้คำตอบที่ชาวบ้านได้ปฎิบัติจริง จะเห็นได้ว่าการศึกษาไม่ได้ทำให้คนไม่ขายเสียง แต่การโฆษณาประชาสัมพันธ์ของทางภาครัฐ มีส่วนช่วยในเรื่องนี้ได้อย่างมาก ข) การตัดสินใจเลือกนักการเมือง จากการสัมภาษณ์ถึงการตัดสินใจเลือกนักการเมืองของทั้ง 2 หมู่บ้าน จะได้คำตอบที่คิดเป็นเปอร์เซนต์ได้ใกล้เคียงกัน คือ ส่วนใหญ่จะเลือกเป็นพรรคการเมืองยกพรรค ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เลือกพรรคการเมืองก็คือหัวหน้าพรรค สื่อที่ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโทรทัศน์ รองลงมาคือวิทยุ และหนังสือพิมพ์ที่มีส่วนช่วยให้ชาวบ้านใช้ในการรับข้อมูลข่าวสาร เพื่อช่วยในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังมีการปราศรัย และนโยบายพรรคด้วย ส่วนคนที่เลือกนักการเมืองเป็นคน ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยใช้สื่อโทรทัศน์ วุทยุ หรือ หนังสือพิมพ์ แต่จะดูจากผลงาน และการปราศรัยของผู้ลงสมัครของแต่ละคน จากการสำรวจจะพบว่า ผู้ที่ใช้สื่อมักจะเป็นผู้ที่ค่อนข้างมีความรู้ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ จำเป็นจะต้องอาศัยการศึกษาในการเสพสื่อนี้ และจะพบว่ายิ่งมีการศึกษาสูงยิ่งมีการใช้สื่อหลายชนิด และหลายประเภท และจากการสำรวจพบว่าบางกลุ่มที่อาศัยคำร่ำลือ คือการบอกเล่าต่อ ๆ กันมา หรือเลือกตามเพื่อน ซึ่งจะพบในผู้ที่มีการศึกษาไม่สูงนักคือ ระดับ ป.4 และ ป.6 ค) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรบริหารส่วนตำบล (อบด.) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อบต. ของทั้ง 2 หมู่บ้าน ส่วนใหญ่ก็จะเหมือนกันคือ จะรู้ว่ามี อบต. ไว้เพื่อช่วยพัฒนาท้องถิ่น และคิดว่ามี อบต. ดีกว่าไม่มี ซึ่งชาวบ้านจะเห็นจากการทำงาน เห็นผลงงาน เช่น ทำถนนเข้าหมู่บ้าน ถนนภายในหมู่บ้าน แต่ยังไม่เข้าใจการทำงาน โครงสร้างของ อบต. ตัวอย่างเช่น จากการสัมภาษณ์ภรรยาของกำนัน (ป.4) ยังคิดว่า อบต. ใช้เงินของตัวเองในการพัฒนาหมู่บ้าน ในส่วนที่แตกต่างกันของทั้ง 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านหนองชาด จะมีส่วนหนึ่งไม่รู้ไม่เข้าใจ และไม่สนใจ อบต. เลย ซึ่งก็มีทั้งที่จบ ป.4 ถึง ปวส. และจะมีอีกส่วนหนึ่ง คือ ไม่เห็นความสำคัญของ อบต. ซึ่งความคิดนี้จะพบในวัยรุ่น อายุ 18-23 ปี ซึ่งมีการศึกษาระดับ ป.6-ปวส. ส่วนหมู่บ้านค้อ จะมีอยู่ส่วนน้อยที่เคยได้ยินแต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ซึ่งเป็นคนที่อายุมากแล้วคือ 60 ปีขึ้นไป และจบ ป.4 และมีอีกส่วนหนึ่งที่สนับสนุนเห็นชอบ และรณรงค์ให้มี อบด. ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 56-61 ปี และจบ ม.6 หรือ ปวช. แต่จะมี 1 คน จบ ป.4 จะเห็นได้ว่าการศึกษาก็ยังไม่ส่งผลกระทบด้านการเมืองอย่างเด่นชัด ในเรื่อง อบต. แต่จะมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ อายุ 4.5.6 การศึกษาที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพ จากหมู่บ้านที่ได้ทำการศึกษาพบว่า ประชากรมีการดูแลสุขภาพของตนเองค่อข้างน้อย ไม่เอาใจใส่หรือสนใจที่จะพูแลสุขภาพ ชาวบ้านส่วนใหญ่ได้รับสารอาหาร ม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ขาดสารอาหารที่จำเป็นและสำคัญ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอาหารเหล่านี้ราคาค่อนข้างแพงหายาก ภาคอีสารเป็นภาคที่อยู่ห่างไกลทะเล และนอกจากนี้ชาวบ้านส่วนมากจะไม่รับประทานอาหารเช้า และรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ซึ่งอาหารเช้านั้นนับได้ว่าเป็นอาหารมื้อสำคัญ เนื่องจากจะได้กลายเป็นพลังงานในการทำงานรับจ้าง นอกจากนี้จะพบว่าชาวบ้านที่ออกกำลังกายมีน้อยมาก เพราะชาวบ้านไม่มีเวลาเพียงพอ สำหรับการออกกำลังกาย และที่สำคัญชาวบ้านจำเป็นจะต้องออกไปทำงานรับจ้างเป็นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมภายในตัวเมือง เมื่อกลับถึงบ้านก็เหนื่อยอยากพักผ่อน แต่ก็จะพบว่าเมื่อชาวบ้านว่างจากการทำงาน ชาวบ้านส่วนมากจะเลือกการพักผ่อนโดยการดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือบางครั้งอาจจะออกไปเที่ยวคุยกับญาติ หรือชาวบ้านที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกัน เพื่อเป็นการพักผ่อน หรือคลายเครียดจากการที่ทำงานมาหนักตลอดทั้งวัน แต่ชาวบ้านไม่นิยมอ่านหนังสือพิมพ์ เพราะหมู่บ้านอยู่ไกลจากตัวเมือง การศึกษาของชาวบ้านค่อนข้างน้อย การเรียนรู้ก็แค่เพียงการอ่านออกเขียนได้บ้างเท่านั้น ส่งผลให้ชาวบ้านได้รับทราบข่าวสารบ้านเมือง ความรู้ที่ทันสมัย ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพน้อย เลือกแหล่งรักษาตนเองเมื่อเจ็บป่วยไม่ถูกต้อง การเลือกสถานที่รับบริการรักษาตนเองนั้นนับเป็นสิ่งสำคัญ จากการศึกษาสรุปได้ว่า ชาวบ้านที่จบการศึกษาต่ำกว่าชั้น ป.6 ยังมีความเชื่อมั่นในการรักษาโดยทางไสยศาสตร์อยู่บ้าง แต่เมื่อได้รับการศึกษาสูงขึ้นชาวบ้านจะไม่เชื่อ และไม่รักษาตนเองด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ ส่วนมากจะรักษาตนเองกับแพทย์แผนปัจจุบันในโรงพยาบาล และสถานีอนามัย และจากการสำรวจจะพบว่า เมื่อชาวบ้านได้รับการศึกษาตั้งแต่ชั้น ม.6 ขึ้นไป การรักษาตนเองในโรงพยาบาลมีมากกว่า 50% และจะไม่พบการรักษาโดยทางไสยศาสตร์เลย ดังนั้น เมื่อชาวบ้านได้รับการศึกษามากยิ่งขึ้น การดูแลรักษาตนเองจะเหมาะสม และถูกต้องตามหลักสุขภาพมากขึ้น ชาวบ้านบ้านค้อส่วนใหญ่เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย มักเลือกไปรักษากับแพทย์ที่โรงพยาบาล ชาวบ้านที่ได้รับการศึกษาตั้งแต่ชั้น ป.6 ขึ้นไป จะไม่รักษาทางด้านไสยศาสตร์ แต่ยังมีการรักษาโดยทางแพทย์แผนโบราณเป็นจำนวนเล็กน้อย ส่วนชาวบ้านที่ได้รับการศึกษาในชั้น ม.3 ขึ้นไปจะไม่รับการรักษาทางด้านแพทย์แผนโบราณ แต่จะพบว่าจะมารับการรักษากับแพทย์ที่โรงพยาบาล และสถานีอนามัยเท่านั้น และเมื่อจบ ม.6 ขึ้นไปการรักษากับทางโรงพยาบาล จะมีเปอร์เซนต์สูงมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าชาวบ้านในหมู่บ้านหนองชาด ที่ได้รับการศึกษาต่ำกว่าชั้น ป.6 นั้น ยังมีความเชื่อ หรือยอมรับการรักษาโดยทางไสยศาสตร์มากกว่าบ้านค้อ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชาวบ้านในหมู่บ้านหนองชาดยังมีการเชื่อถือด้านไสยศาสตร์มาก แต่ทั้ง 2 หมู่บ้านจะมีแนวโน้มลักษณะเดียวกันคือ เมื่อชาวบ้านได้รับการศึกษานั้น การเลือกสถานที่รักษาตนเองจะเหมาะสมมากขึ้นเท่านั้น 4.6 บทสรุป 1. ชาวบ้านในทั้ง 2 หมู่บ้านได้รับการศึกษาค่อนข้างน้อย โดยสังเกตว่าประชากรที่สุ่มมาส่วนมากเป็นชาวบ้านที่ได้รับการศึกษาเพียงแค่จบชั้น ป.4 2. ชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านมีการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง เอาใจใส่ต่อสุขภาพของตนเองน้อยมาก 3. ทั้ง 2 หมู่บ้าน ชาวบ้านมีแนวโน้มเลือกสถานที่รับบริการรักษาตนเองกับแพทย์ที่โรงพยาบาล และสถานีอนามัยมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามระดับการศึกษา 4. ชาวบ้านที่ได้รับการศึกษาน้อยยังคงยอมรับและเชื่อถือการรักษา ดยทางไสยศาสตร์ แต่เมื่อได้รับการศึกษามากขึ้น การรักษาโดยทางไสยศาสตร์ก็จะลดน้อยลง และจะหมดไปในที่สุด 5. ชาวบ้านหมู่บ้านหนองชาดมีความเชื่อทางด้านการรักษา โดยทางไสยศาสตร์มากกว่าชาวบ้านหมู่บ้านค้อ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะค่านิยม การปลูกฝัง การถ่ายทอดระหว่างคนในหมู่บ้านด้วยกัน 6. ความช่วยเหลือ และดูแลชาวบ้านของรัฐบาลประสบความสำเร็จพอสมควร สำหรับการทำบัตรสุขภาพให้ชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านได้มีโอกาสรักษาในสถานที่ที่เหมาะสม 7. เมื่อชาวบ้านได้รับการศึกษามากขึ้น การเลือกแหล่งรักษาตนเองก็จะเป็นไปในทางที่เหมาะสม
|