Transportation Engineering
 
 

>>Misc.>>ระดับการให้บริการ

ระดับการให้บริการ (Level of Service)

  • ลองพิจารณาคลิปต่อไปนี้ (กดปุ่ม play เพื่อเปิดไฟล์)

ท่านคิดว่าสภาพการจราจรดังกล่าวเป็นอย่างไร หากท่านต้องขับรถอยู่ในสภาพการจราจรแบบนี้ ท่านจะรู้สึกอย่างไร

ลองอีกครั้งหนึ่ง พิจารณาคลิปข้างล่างนี้ (กดปุ่ม play เพื่อเปิดไฟล์)


สภาพการจราจรในกรณีนี้แตกต่างกับสภาพการจราจรในคลิปแรกหรือไม่ ท่านคิดว่าสภาพการจราจาแบบใดดีกว่ากัน

  • แนวคิดของระดับการให้บริการ (Level of Service)

ในทางวิศวกรรมจราจร ระดับการให้บริการเป็นมาตรวัดในเชิงคุณภาพ (Qualitative Measrue) ซึ่งบ่งบอกถึงคุณภาพในการให้บริการของถนน โดยแสดงเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ 6 ตัว ได้แก่ A ,B, C, D, E และ F ค่าแต่ละค่าจะแสดงถึงลักษณะและสภาพการจราจรที่แตกต่างกัน โดยระดับการให้บริการ A หรือ LOS A แสดงสภาพการจราจรที่ดีที่สุด และในทางตรงกันข้าม ระดับการให้บริการ F หรือ LOS F จะแสดงสภาพการจราจรที่แย่ที่สุด

  • ใช้เกณฑ์อะไรในการกำหนดระดับการให้บริการ

ถนนที่มีลักษณะแตกต่างกัน จะมีเกณฑ์สำหรับระดับการให้บริการที่แตกต่างกัน อาทิเช่น ทางด่วนหรือ ทางพิเศษ ย่อมมีเกณฑ์ที่แตกต่างกับแยกที่มีสัญญาณไฟจราจร อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นถนนประเภทใดก็จะมีค่าระดับการให้บริการ 6 ค่าเท่ากัน คือ LOS A ถึง LOS F

โดยทั่วไป เกณฑ์ที่ใช้กำหนดระดับการให้บริการของถนนจะอ้างอิงตาม Highway Capacity Manual ของสหรัฐอเมริกา ดังนี้

>> สำหรับการไหลแบบไม่มีการกีดขวาง (Uninterrupted Flow)

ประเภทของถนน
เกณฑ์ที่ใช้กำหนด LOS
Two-lane highway
ความเร็ว (Speed) และ
ร้อยละของเวลาที่ต้องขับตาม
( percent time-spent-following)
Multilane highway
ความหนาแน่น (Density)
Freeway: Basic Segment
ความหนาแน่น (Density)
Freeway: Ramp Merge
ความหนาแน่น (Density)
Freeway: Ramp Diverge
ความหนาแน่น (Density)
Freeway: Weaving
ความเร็ว (Speed)

>> สำหรับการไหลแบบมีการกีดขวาง (Interrupted Flow)

ประเภทของถนน
เกณฑ์ที่ใช้กำหนด LOS
Urban street
ความเร็ว (Speed)
Signalized intersection
ความล่าช้า (Delay)
Two-way stop intersection
ความล่าช้า (Delay)
All-way stop intersection
ความล่าช้า (Delay)
Roundabout
n/a
Interchange ramp terminal
ความล่าช้า (Delay)
  • ตัวอย่างค่าของระดับการให้บริการบนทางด่วน

สำหรับทางด่วน (Freeway) หรือทางพิเศษ (Expressway) จะใช้ค่าความหนาแน่นของการจราจร เป็นเกณฑ์ในการแบ่งค่าระดับการให้บริการ ดังนี้

ค่าระดับการให้บริการ
ความหนาแน่น
(คันของรถยนต์/กิโลเมตร/ช่องจราจร)
LOS A
0-7
LOS B
> 7-11
LOS C
> 11-16
LOS D
> 16-22
LOS E
> 22-28
LOS F
> 28
  • เกณฑ์ที่ใช้ในประเทศไทยเหมือนของสหรัฐอเมริกาหรือไม่

ณ ปัจจุบัน เกณฑ์ที่ใช้ในประเทศไทย ยังคงเป็นเกณฑ์เดียวกันกับที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี ในบางประเทศก็ได้มีการค้นคว้าวิจัย เพื่อหาเกณฑ์ที่เหมาะสมกับประเทศนั้นๆ ซึ่งยังคงแนวคิดของตัวอักษรแสดงระดับการให้บริการ 6 ค่า แต่มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์สำหรับแต่ละระดับการให้บริการ

  • ตัวอย่างของระดับการให้บริการ ณ ระดับต่างๆ บนทางหลวงหลายช่องจราจร (Multilane Highways)

    กดปุ่ม play เพื่อเปิดไฟล์

LOS A LOS B
   
LOS C LOS D
   
LOS E LOS F

 

  • งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  • เกษม ชูจารุกุล. “การพัฒนาตัวชี้วัดการจราจรติดขัดสำหรับประเทศไทย.” เอกสารรวมบทความวิชาการ การประชุมวิชาการขนส่งแห่งชาติ คร้งที่ 2, พฤศจิกายน 2547. หน้า 74-79.
  • เกษม ชูจารุกุล. “เกณฑ์ในการวัดการจราจรติดขัดในประเทศไทยในมุมมองของผู้ปฏิบัติ.” เอกสารรวมบทความวิชาการ การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 10, พฤษภาคม 2548, หน้า TRP111-TRP118.
 
 
       
  © Copyright 2008, K. Choocharukul, Last Updated: June 25, 2008 .